xs
xsm
sm
md
lg

ข้ามพ้นแดงทักษิณและกปปส. สู่ชัยชนะของปวงชน

เผยแพร่:   โดย: ดร.ป. เพชรอริยะ

ศึกษา วิจัย วิเคราะห์ สภาพการณ์ที่เป็นจริงของประเทศไทย นับแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย คือยังดำรงอยู่ของระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญอยู่เช่นเดิม

ส่วนสถานการณ์ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาลนั้นๆ

ระบอบเผด็จการ คือมีผู้ปกครอง พรรคการเมือง นักการเมือง ทุนผูกขาด เป็นศูนย์กลางของการปกครองเพียงหยิบมือเดียว โดยใช้เครื่องมือ หรือวิธีการในการปกครองคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ส่วนรูปการปกครอง ใช้ระบบรัฐสภา จึงเรียกว่า “ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา” นี่คือความจริง เป็นจริงที่ถูกต้องที่สุด

มันเป็นเหตุของระบอบทักษิณ มันเป็นเหตุของเผด็จการรัฐสภา มันจึงเป็นเหตุของการคอร์รัปชันโกงบ้านกินเมือง มันเป็นเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง มันเป็นเหตุแห่งความเห็นผิดทางการเมือง

แจ้งให้รู้ว่า การเมืองเผด็จการทั้ง 2 ขั้ว ไม่เอาหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ก็ไปคิดกันเอาเองนะ ผู้เชิดชูชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พสกนิกรผู้จงรักภักดีทั้งหลาย

ระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญ เริ่มต้นด้วยการเสนอ “ธรรมนูญการปกครอง” อันเป็นความมุ่งมาดปรารถนาอันสูงสุดของคณะราษฎร แรกๆ คณะราษฎร เรียกว่า “ระบอบรัฐธรรมนูญ” ไม่ได้เรียกว่าระบอบประชาธิปไตย

จนกระทั่ง รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 5 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ได้บัญญัติขึ้นลอยๆ ในมาตรา 2 ว่า “ประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ฉบับต่อๆ มาก็เขียนตามกันมาเรื่อยๆ โดยมิได้ฉุกคิดเลยว่า ระบอบประชาธิปไตยนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร

ในขณะเดียวกัน แนวคิดทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พระองค์ทรงเสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยสากล “หลัก Democracy”

การเมืองของฝ่ายคณะราษฎร สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงวิจารณ์ว่า ไม่ใช่ Democracy จริงเลย แต่เป็นเผด็จการโดยอ้อม จะทำให้ประชาชนไม่พอใจ เสี่ยงภัย และเสียเวลา

ประชาชนไม่พอใจ ไม่พอใจทุกรัฐบาลตลอดมา จนกลายเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า “อัปรีย์ไป จัญไรมา” นี่คือรัฐบาลภายใต้ระบอบเผด็จการกว่า 81 ปี

เสี่ยงภัย คือเกิดสงครามกลางระหว่างผู้ปกครองกับพรรคมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2512-2525)

เสี่ยงภัย ทางเศรษฐกิจปี 40 และเรื่อยมา คอร์รัปชันอย่างมหาศาลทุกรัฐบาล เสียเวลา คือ 81 ปี ประเทศยังคงเป็นระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา ใช้วิธีการเลือกตั้งบังหน้า บิดเบือนว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย

ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นรูปการปกครองชนิดหนึ่ง เป็นของกลาง ซึ่งระบอบอะไรๆ ก็นำไปใช้ได้ เช่น ระบอบเผด็จการ ระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น มีต้นแบบคือประเทศอังกฤษ

ระบบรัฐสภา จึงไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ตามที่นักวิชาการและนักการเมืองพูดผิดๆ เพื่อบิดเบือน ระบบรัฐสภาเป็นเพียงรูปการปกครองชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างจากรูปการปกครองชนิดอื่น เช่น รูปการปกครองแบบระบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีต้นแบบคือประเทศสหรัฐอเมริกา และรูปการปกครองแบบระบบกึ่ง-ประธานาธิบดี(Semi-Presidential System) มีประเทศฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ ดังนั้นระบอบกับระบบรัฐสภาจึงเป็นคนละส่วนกัน

ระบอบที่คณะบุคคลเป็นศูนย์กลาง อำนาจอธิปไตยเป็นของคณะบุคคลเพียงหยิบมือเดียวก็เป็นระบอบเผด็จการ

ระบอบที่ถือหลักการปกครองโดยธรรม อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนอย่างแท้จริงโดยภายใต้หลักการปกครองโดยธรรม

การเลือกตั้ง เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง เป็นของกลางเช่นเดียวกับ รูป การปกครอง ระบอบอะไรๆ ก็เอาการเลือกตั้งไปใช้ได้เสมอ ไม่จำเป็นว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นการเลือกตั้งก็ดี การสรรหาก็ดี จึงไม่เกี่ยวกับการเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือไม่เป็นคนละเรื่อง คนละส่วนกัน เอามาปะปนกับระบอบไม่ได้

ระบอบคืออะไร ก็ได้อธิบายละเอียดในบทความคราวที่แล้ว จะขอพูดสั้นๆ ว่า

ระบอบคือหลักการปกครองโดยธรรมหรือเป็นกฎหมายความมั่นคงสูงสุดของชาติ ที่ทั้งโลกยึดถือกันว่า “ความมั่นคงของชาติเป็นกฎหมายสูงสุด” กฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ทั้ง 18 ฉบับ ล้วนเป็นเหตุแห่งการทำลายชาติและประชาชนทั้งสิ้น จึงเป็นกฎหมายสูงสุดได้อย่างไรกัน มันสอนกันผิดๆ เห็นผิดอย่างร้ายแรงต่อชาติ

ระบอบคือเอกภาพของคนในชาติ

ระบอบคือศูนย์กลางของปวงชนในชาติ

ระบอบคือการเมืองของปวงชนในชาติ

ระบอบคือ เหตุที่มา หรือบ่อเกิดของกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ทั้งหมด

ลักษณะของระบอบเผด็จการ ศูนย์การปกครองคือ คณะบุคคล รัฐบาล นักการเมือง ทุนผูกขาด

กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือวิธีการปกครอง ขึ้นอยู่กับพรรครัฐบาล

พรรครัฐบาล ใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญปกครอง ใช้อำนาจตามความในมาตรา...ผลที่ออกมาประชาชนถูกกดขี่ขูดรีด ยากจนลงๆ แต่ฝ่ายผู้ปกครองกลับร่ำรวยขึ้นๆ จากการคอร์รัปชัน และประชาชนต้องตกเป็นทาสทางการเมืองอย่างเป็นไปเองตามกระบวนการทางกฎหมายที่พวกเขาร่างขึ้นตามใจชอบ ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้เลย ดังภาพ

ส่วนแนวทางสมเด็จพระปกเกล้าฯ และวิวัฒนาการจนปัจจุบัน คือการเสนอหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย พัฒนาเป็นหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 อันมีรากฐาน แก่นแท้มาจากชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นตัวตั้ง มีวิธีคิดง่ายๆ ดังนี้

“จุดหมายย่อมมีอยู่ก่อน เกิดก่อนวิธีการไปสู่จุดหมาย ฉันใด หลักการปกครองธรรมาธิปไตย ก็ต้องมาก่อนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉันนั้น”

ซึ่งแตกต่างจากพวกนักการเมืองทั้งหลาย นักวิชาการที่หนุนฝ่ายการเมืองทั้งหลาย เมื่อถามจะกี่คนๆ มักจะตอบว่า วิธีการต้องมาก่อนจุดหมาย แนวคิดนี้ย่อมเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อประชาชน

จุดหมายย่อมเป็นสาธารณะหรือเป็นลักษณะทั่วไป (General Characteristic) อันใครๆ หรือทุกคนเข้าถึงได้ ส่วนวิธีการย่อมเป็นไปตามลักษณะเฉพาะ (Individual Characteristics) อันแตกต่างหลากหลายวิธีการ

ยกตัวอย่าง วัดพระแก้วหรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ศาลากลางจังหวัด โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ฯลฯ ย่อมเป็นจุดหมายสาธารณะ อันใครๆ ก็ไปได้ด้วยวิธีการอันแตกต่างหลากหลาย เช่น เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน เกวียน รถยนต์ เป็นต้น ฉันใด

หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ย่อมเป็นจุดหมายสาธารณะ อันใครๆ ปวงชนทั้งแผ่นก็เข้าถึงได้ด้วยความสนใจมากน้อยของแต่ละคน ฉันนั้น

ชาติ ย่อมเป็นเอกภาพของปวงชน

พระรัตนตรัย ย่อมเป็นเอกภาพของปวงชนชาวพุทธ

พระนิพพาน, ธรรมาธิปไตย, หรือพระเจ้า (God) ย่อมเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง

พระมหากษัตริย์ ย่อมเป็นเอกภาพของพสกนิกร ฉันใด

หลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 ย่อมเป็นเอกภาพของปวงชนไทยทางการเมือง ฉันนั้น ดังสัมพันธภาพ ดังนี้

ระบอบหรือหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กล่าวโดยย่อคือ

กำลังโหลดความคิดเห็น