ASTVผู้จัดการรายวัน-อัยการนำร่องยื่นฟ้องศาสปกครอง สั่งรัฐจ่ายหนี้จำนำข้าวให้ชาวนาชุดแรก 22 ราย พร้อมดอกเบี้ย จ่อยื่นซ้ำอีกล็อต 7 มี.ค.นี้ เผยหลัง 1 เม.ย. ยื่นขอให้ช่วยฟ้องได้ที่จังหวัด "หมอวรงค์"ชม กกต. ทันเกมรัฐ กำหนดเกณฑ์จ่ายจำนำ ป้องกันเพื่อไทยมุบมิบเอาไปจ่ายพื้นที่ตัวเอง "สมชัย"เตือนบิ๊ก "คลัง-พาณิชย์" คิดก่อนลงนามยืมเงิน เผยหากคืนไม่ทัน 31 พ.ค.นี้ถูกฟ้อง ป.ป.ช. ยอมให้ทนาย "ปู" ตรวจหลักฐานคดีโกงข้าวได้ "พาณิชย์"เผยเซ็นสัญญาคอฟโกขายข้าวจีทูจี 1 ล้านตัน เริ่มส่งมอบมี.ค.นี้ ด้านธ.ก.ส.เปิดตัวกองทุนช่วยชาวนา ยอดล่าสุดได้เงิน 217 ล้านบาท เตรียมนำจ่ายชาวนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 มี.ค.) นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม เลขานุการรองอัยการสูงสุด ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางลดาวัลย์ เนียมประยูร กับพวกรวม 22 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรทำนาใน จ.กาญจนบุรี ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล และได้รับใบประทวนสินค้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี , คณะกรรมการนโยบายข้างแห่งชาติ (กขช.) , กระทรวงพาณิชย์ , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) , องค์การคลังสินค้า (อคส.) , องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-7 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 ราย ร่วมกันชำระเงินตามสัญญาจำนำข้าวเปลือกในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามมูลค่าเสียหายตั้ง 19,632-342,704.36 บาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 2,738,992.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ทั้งนี้ ตามฟ้องระบุว่า การที่นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1 กำหนดนโยบาย ออกคำสั่งแต่งตั้ง กขช. ผู้ถูกฟ้องที่ 2 โดยมีผู้ถูกฟ้องที่ 1 เป็นประธาน กขช. ต่อมา กขช. ผู้ถูกฟ้องที่ 2 อนุมัติแผนงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาด และให้ อคส. ผู้ถูกฟ้องที่ 5 กับ อ.ต.ก.ผู้ถูกฟ้องที่ 6 จัดหาโรงสี ที่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการ และให้ชาวนานำข้าวเปลือกที่ฝากไว้กับโรงสีไปจำนำกับ ธ.ก.ส.ผู้ถูกฟ้องที่ 4 โดยมีกระทรวงการคลังผู้ถูกฟ้องที่ 7 ให้การสนับสนุนเงินทุนหรือค้ำประกันการหาเงินทุนมาซื้อข้าวเปลือก และให้กระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องที่ 3 จำหน่ายข้าวเปลือกในต่างประเทศ ทำให้การซื้อขายไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ต้องเร่งหาเงินงบประมาณ มารับซื้อข้าวทุกเมล็ดจากเกษตรกรทั่วภูมิภาค
ขณะเดียวกันการจำหน่ายข้าวที่รับจำนำ ก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสัมฤทธิ์ผล มีปริมาณข้าวตกค้างในโกดังโรงสีข้าวของเอกชนจำนวนมาก เกิดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าเช่าโกดัง ค่ารมยาฆ่าแมลงและอื่นๆ แม้ในเบื้องต้นเกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาเข้าโครงการได้ทุกเมล็ดราคาสูง แต่ภายหลังจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ และระบบการค้า การแข่งขัน ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เพราะรัฐบาลโดยผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ดำเนินการผูกขาดการค้าข้าว หรือรับซื้อข้าวในราคาที่เกินกว่าความเป็นจริง และการกระทำของผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 ที่รับจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดโดยไม่จำกัดจำนวน ประกอบกับการควบคุมดูแลไม่รอบคอบและรัดกุมทำให้เกิดความเสียหาย ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องที่ 3 ไม่สามารถระบายหรือจำหน่ายข้าวไปยังต่างประเทศได้ตามราคาและเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องทั้ง 22 รายไม่สามารถเบิกเงินจำนำข้าวตามจำนวนและราคาในใบรับสินค้า หรือใบประทวนสินค้าจาก ธ.ก.ส.ได้จึงต้องนำคดีมาฟ้องดังกล่าว
นายปรเมศวร์กล่าวว่า มีชาวนาที่ได้นำเอกสารใบประทวนและเอกสารแสดงตน มายื่นให้อัยการช่วยดำเนินการยื่นฟ้องคดีปะมาณ 500-600 ราย ซึ่งได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารของคนแต่ละคนให้ครบถ้วนเพื่อจะยื่นฟ้องคดี แต่เอกสารมีจำนวนมากที่ต้องตรวจสอบ วันนี้จึงยื่นฟ้องคดีได้ชุดแรกก่อนจำนวน 22 ราย ที่เป็นเกษตรกร จ.กาญจนบุรี โดยเรียกค่าเสียหายตามมูลค่าใบประทวนที่มีมาแสดง พร้อมให้มีการชำระดอกเบี้ยตามกฎหมาย ซึ่งอัยการได้พิจารณาลักษณะเรื่องแล้วเห็นว่าเข้าลักษณะสัญญาทางปกครอง จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ไม่ใช่ศาลแพ่งที่เป็นศาลยุติธรรม ทั้งนี้ อัยการจะตรวจสอบเอกสารที่เหลือและทยอยยื่นฟ้องให้ชาวนาไปต่อเนื่อง ซึ่งวันศุกร์ที่ 7 มี.ค.นี้ จะยื่นฟ้องชุดที่ 2 อีกประมาณ 20 รายที่เป็นเกษตรกรพื้นที่ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี เป็นต้น มูลค่าความเสียหายกว่า 2 ล้านบาทเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 1 เม.ย.2557 ชาวนาที่ประสงค์จะยื่นฟ้องคดี สามารถยื่นเอกสารให้กับสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ที่อยู่ในจังหวัดได้ ทำให้ไม่ต้องเดือดร้อนมายื่นในส่วนกลาง
***ปรบมือให้ กกต. รู้ทันเกมเพื่อไทย
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อนุมัติงบกลาง 2 หมื่นล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวนาว่า ขอปรบมือให้ กกต. ที่กำหนดเกณฑ์การชำระเงินให้ชาวนาที่จำนำข้าวในช่วงเดือนต.ค. และพ.ย.2556 แสดงว่า กกต. ตามสถานการณ์การเมืองได้ทัน เพราะมิเช่นนั้นจะทำให้ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย วิ่งเต้นให้จ่ายให้กับชาวนาในพิ้นที่ตนเองเท่านั้น และขอเรียกร้องให้ ธ.ก.ส. ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กกต. และขอให้ กกต. ที่กำหนดให้รัฐบาลคืนเงินภายในวันที่ 31 พ.ค.2557 กกต. ต้องมีหน้าที่ทวงคืนด้วย เพราะเป็นผู้อนุมัติเงินดังกล่าว และต้องชี้แจงสังคมด้วยว่าหากรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ จะมีความผิดอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ หลังจากได้เงิน2หมื่นล้านบาทไปคืนชาวนาแล้ว ยังมีหนี้ค้างชาวนาอีก 9.5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลต้องชี้แจงกับชาวนา ที่มีใบประทวนในช่วงเดือนธ.ค.ถึงก.พ.2557 ว่าจะได้เมื่อไร เพราะถึงวันนี้กองทุนชาวนาของ ธ.ก.ส. ที่มีผลตอบแทน และไม่มีผลตอบแทน มีตัวเลขน้อยมาก เป็นไปไม่ได้ที่จะหาเงินได้ 9.5 หมื่นล้านบาท ส่วนที่มีผลตอบแทนเป็นภาระรัฐบาลใหม่ เพราะกระทรวงการคลังต้องค้ำประกัน รัฐบาลจึงต้องชี้แจงว่า จะนำเงินมาได้อย่างไร และขอเรียกร้องไปยังตระกูลชินวัตร หาเงินแสนล้านมาคืนชาวนา เนื่องจากที่ผ่านมา มีการโอนเงินผ่านโพยก๊วนกว่า 6 หมื่นล้านบาท ถ้าทำไม่ได้ให้ออกไป เพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ปัญหา
ส่วนกรณีที่รัฐบาลกำลังอนุมัติให้มีการเปิดประมูลข้าวในต่างจังหวัด เชื่อว่าจะมีการเลหลังขายข้าวใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และจะมีปัญหาเรื่องการฮั้วตามมา จนทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก จึงขอให้รัฐบาลเปิดเผยว่ามีการขายข้าวชนิดใด ปริมาณเท่าไร เพราะมีการรวมหัวทุบราคาข้าวลงมาเหลือกิโลกรัมละ 8-9 บาท ในขณะที่ต้นทุนรัฐอยู่ที่กิโลกรัมละ 28 บาท ทำให้รัฐเสียหายมาก อีกทั้งการเทขายข้าวช่วงนี้ จะทำให้ราคาข้าวตกต่ำ เพราะการระบายข้าวของรัฐบาล จึงต้องหามาตรการที่เหมาะสมมาดูแลปัญหานี้
***เตือนบิ๊กคลัง-พาณิชย์คิดให้ดีก่อนลงนามกู้
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ว่าหากรัฐบาลไม่สามารถขายข้าว และนำเงิน 2 หมื่นล้านบาท ที่ กกต. มีมติอนุมัติ มาใช้คืนงบกลางได้ทันในวันที่ 31 พ.ค.2557 จะทำอย่างไร ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินยืมทดรองจ่าย ถือเป็นเงินราชการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ต้องทำสัญญากับกระทรวงการคลัง โดยตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ทำสัญญาอาจจะเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรืออธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกับปลัดกระทรวงการคลัง โดยก่อนลงนามในสัญญา ข้าราชการระดับสูงต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่ากระทรวงพาณิชย์มีความสามารถในการระบายขายข้าว จนสามารถจะทำให้ได้เงินมาใช้คืนงบกลางหรือไม่ หากเห็นว่ามีความสามารถในการระบายข้าว ก็ไม่น่ามีประเด็นอะไรขัดข้อง หรือถ้าดำเนินการไปแล้ว พบว่า การขายข้าวไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ และอาจได้เงินคืนไม่ตามกำหนด เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลัง ต้องเร่งรัดให้กระทรวงพาณิชย์ หาเงินมาชำระให้ได้ครบตามกำหนด
"สิ่งที่รัฐบาลต้องคิด คือ เงินที่ได้จากการระบายข้าวครั้งนี้ รัฐบาลจะต้องนำมาใช้คืนงบกลาง ที่ กกต.อนุมัติให้ยืมไป จะนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ชาวนาที่รัฐบาลได้รับจำนำใบประทวนไว้ ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2556-ก.พ.2557 วงเงินกว่า 9 หมื่นล้านบาทไม่ได้ หนี้จำนวนนี้ รัฐบาลจะต้องเร่งระบายข้าวให้เร็วกว่านี้ รวมทั้งต้องหาแหล่งเงินกู้อื่น หรือจะออกพันธบัตร ก็ต้องทำ เพราะถ้า 3 เดือนนี้รัฐบาลขายข้าวได้เท่ากับเงินที่กู้ไป 2 หมื่นล้านบาท อีก 2 เดือนนับจากนั้น รัฐบาลก็จะมีปัญหาเรื่องเงินที่ค้างจ่ายชาวนา 9 หมื่นล้านบาทอีก"
***ถ้าไม่คืนตามกำหนดเจอฟ้องเรียกเงิน
เมื่อถามว่า หากรัฐบาลไม่สามารถหาเงินมาคืนงบกลาง ภายในวันที่ 31 พ.ค. กกต.จะต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าว นายสมชัยกล่าวว่า หากเกิดเหตุเช่นนั้น แล้วมีผู้มาร้อง หรือกระทรวงการคลัง มีหนังสือแจ้ง กกต. ก็อาจจะออกมติให้กระทรวงการคลังฟ้องเรียกเงินคืนจากกระทรวงพาณิชย์ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการชี้แจงของผู้กู้ก่อนว่ามีเหตุผลอะไร จึงไม่สามารถคืนเงินงบกลางได้ และเหตุผลนั้นรับฟังได้หรือไม่ ถ้าหากรับฟังได้ ก็คงต้องยอมรับ แต่ถ้ารับฟังไม่ได้ คงต้องให้กระทรวงการคลัง ฟ้องเรียกคืนเงิน
"ผมถึงได้บอกว่า วันนี้คนที่ต้องทำสัญญา คือ ฝ่ายข้าราชการประจำ ต้องคิดให้มากว่าทำสัญญาแล้ว การระบายข้าว จะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ เพราะเมื่อถึงเวลา ท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากไม่ได้เงินมาคืนงบกลาง ฝ่ายการเมืองที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย อาจมาร่วมรับผิดชอบน้อยมาก"นายสมชัยกล่าว
***ป.ป.ช.ให้"ทนายปู"ตรวจหลักฐานแทนได้
วานนี้ (5 มี.ค.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกเอกสารชี้แจงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มีหนังสือถึงคณะกรรมการป.ป.ช. ลงวันที่ 4 มี.ค.2557 เพื่อขอให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจ เข้าตรวจดูพยานหลักฐานแทนตน ในคดีถูกกล่าวหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่า อนุญาตให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจมาตรวจสอบหลักฐานแทนได้ แต่ต้องดำเนินการสั่งการมิให้มีการชุมนุมข่มขู่ ขัดขวาง การปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช.
***"พาณิชย์"บินเซ็นขายข้าวจีทูจีจีน1ล้านตัน
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ ได้เดินทางไปเจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับ COFCO Corporation ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 4-5 มี.ค.2557 ซึ่งสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวจีทูจีกับ COFCO ได้ปริมาณ 1 ล้านตัน เป็นข้าวหลายชนิด ในเทอมของ FOB Container โดยมีกำหนดส่งมอบเป็นรายงวดและต้องส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งในล็อตแรกจะเริ่มส่งมอบข้าวประมาณ 4 แสนตัน ระหว่างเดือนมี.ค.-ก.ค.2557 โดยภายในสิ้นเดือนมี.ค.2557 คาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ประมาณ 1 แสนตัน โดยหลังจากนี้ กรมฯ จะเร่งดำเนินการออกประกาศเชิญชวนเพื่อให้ผู้ประกอบการเสนอราคาปรับปรุงคุณภาพข้าวสารเพื่อส่งมอบข้าวสารให้แก่ COFCO โดยเร็ว เพื่อให้การส่งมอบข้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา
***ธ.ก.ส.เปิดตัวกองทุนช่วยชาวนา
ที่ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ บางเขน นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวภายหลังการเปิดตัว "กองทุนช่วยเหลือชาวนา" อย่างเป็นทางการ ว่า ถือเป็นประวัติศาสตร์ของธ.ก.ส. ที่ได้เป็นสื่อกลางในการเชิญชวนผู้มีจิตกุศลที่ต้องการช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อน ด้วยการร่วมสมทบเงินเข้ากองทุน เพื่อให้ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวได้รับการดูแลและบรรเทาความเดือดร้อน โดยวงเงินที่ตั้งไว้ 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือชาวนาได้ประมาณ 2 แสนรายจากจำนวนใบประทวนที่ยังค้างมากกว่า 1 แสนล้านบาท และเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผู้ร่วมสมทบเงินก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกผล ส่วนบัญชีเงินบริจาคก็จะเป็นกองทุนถาวร เพื่อนำเงินมาพัฒนาคุณภาพการผลิตและให้ความรู้กับเกษตรกรต่อไป
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้พนักงานธ.ก.ส. ทั่วประเทศกว่า 2 หมื่นคน ไปช่วยรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมสมทบเงินในกองทุน โดยคาดว่าจะได้เงิน 1 พันล้านบาทภายในวันที่ 10 มี.ค.นี้ จากนั้นจะเริ่มโอนเงินจากกองทุนไปยังสาขาทั่วประเทศตามสัดส่วนใบประทวนค้างจ่าย เพื่อจ่ายให้แก่ชาวนาต่อไป ส่วนเงิน 2 หมื่นล้านบาท น่าจะเบิกได้สัปดาห์หน้า เมื่อรวมกับเงินจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะส่งให้เดือนละ 1 หมื่นล้านบาท ทำให้ ธ.ก.ส. จะมีเงินจ่ายจำนำข้าวเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านบาท
สำหรับยอดเงินสมทบ ณ วันที่ 5 มี.ค.2557 กองทุนประเภทบริจาคมียอดรวม 11,814,342.01 บาท กองทุนสมทบแบบไม่มีผลตอบแทนมียอดรวม 172,418,728 บาท และกองทุนประเภทมีผลตอบแทนมียอดรวม 33,473,240.22 บาท รวมทั้ง 3 กองทุนมียอดรวมทั้งสิ้น 217,706,310.23 บาท
***ชาวนาบุรีรัมย์หอบใบประทวนฟ้อง "ปู"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (5 มี.ค.) ชาวนาจังหวัดบุรีรัมย์จาก 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองบุรีรัมย์, ประโคนชัย และนาโพธิ์ กว่า 50 ราย ที่ยังไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าว ได้นำเอกสารหลักฐาน ทั้งใบประทวนขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ที่นำข้าวเปลือกไปเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวปีการผลิต 2556/57 และหลักฐานการจำนำข้าวกับทางรัฐบาล เข้ายื่นต่อสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมเป็น 12 จำเลยร่วม ให้รับผิดชอบต่อการผิดนัดชำระหนี้ในโครงการรับจำนำข้าวต่อชาวนา โดยรัฐบาลจะต้องชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าในอัตรา 7.5% ให้ชาวนาจนกว่าจะชำระหนี้ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (5 มี.ค.) นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม เลขานุการรองอัยการสูงสุด ในฐานะทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางลดาวัลย์ เนียมประยูร กับพวกรวม 22 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรทำนาใน จ.กาญจนบุรี ที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล และได้รับใบประทวนสินค้าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี , คณะกรรมการนโยบายข้างแห่งชาติ (กขช.) , กระทรวงพาณิชย์ , ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) , องค์การคลังสินค้า (อคส.) , องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-7 ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 ราย ร่วมกันชำระเงินตามสัญญาจำนำข้าวเปลือกในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามมูลค่าเสียหายตั้ง 19,632-342,704.36 บาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 2,738,992.65 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
ทั้งนี้ ตามฟ้องระบุว่า การที่นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 1 กำหนดนโยบาย ออกคำสั่งแต่งตั้ง กขช. ผู้ถูกฟ้องที่ 2 โดยมีผู้ถูกฟ้องที่ 1 เป็นประธาน กขช. ต่อมา กขช. ผู้ถูกฟ้องที่ 2 อนุมัติแผนงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาด และให้ อคส. ผู้ถูกฟ้องที่ 5 กับ อ.ต.ก.ผู้ถูกฟ้องที่ 6 จัดหาโรงสี ที่มีสถานที่เก็บข้าวเปลือกเข้าร่วมโครงการ และให้ชาวนานำข้าวเปลือกที่ฝากไว้กับโรงสีไปจำนำกับ ธ.ก.ส.ผู้ถูกฟ้องที่ 4 โดยมีกระทรวงการคลังผู้ถูกฟ้องที่ 7 ให้การสนับสนุนเงินทุนหรือค้ำประกันการหาเงินทุนมาซื้อข้าวเปลือก และให้กระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องที่ 3 จำหน่ายข้าวเปลือกในต่างประเทศ ทำให้การซื้อขายไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ต้องเร่งหาเงินงบประมาณ มารับซื้อข้าวทุกเมล็ดจากเกษตรกรทั่วภูมิภาค
ขณะเดียวกันการจำหน่ายข้าวที่รับจำนำ ก็ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสัมฤทธิ์ผล มีปริมาณข้าวตกค้างในโกดังโรงสีข้าวของเอกชนจำนวนมาก เกิดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าเช่าโกดัง ค่ารมยาฆ่าแมลงและอื่นๆ แม้ในเบื้องต้นเกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาเข้าโครงการได้ทุกเมล็ดราคาสูง แต่ภายหลังจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ และระบบการค้า การแข่งขัน ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เพราะรัฐบาลโดยผู้ถูกฟ้องที่ 1-2 ดำเนินการผูกขาดการค้าข้าว หรือรับซื้อข้าวในราคาที่เกินกว่าความเป็นจริง และการกระทำของผู้ถูกฟ้องทั้ง 7 ที่รับจำนำข้าวในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดโดยไม่จำกัดจำนวน ประกอบกับการควบคุมดูแลไม่รอบคอบและรัดกุมทำให้เกิดความเสียหาย ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องที่ 3 ไม่สามารถระบายหรือจำหน่ายข้าวไปยังต่างประเทศได้ตามราคาและเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องทั้ง 22 รายไม่สามารถเบิกเงินจำนำข้าวตามจำนวนและราคาในใบรับสินค้า หรือใบประทวนสินค้าจาก ธ.ก.ส.ได้จึงต้องนำคดีมาฟ้องดังกล่าว
นายปรเมศวร์กล่าวว่า มีชาวนาที่ได้นำเอกสารใบประทวนและเอกสารแสดงตน มายื่นให้อัยการช่วยดำเนินการยื่นฟ้องคดีปะมาณ 500-600 ราย ซึ่งได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารของคนแต่ละคนให้ครบถ้วนเพื่อจะยื่นฟ้องคดี แต่เอกสารมีจำนวนมากที่ต้องตรวจสอบ วันนี้จึงยื่นฟ้องคดีได้ชุดแรกก่อนจำนวน 22 ราย ที่เป็นเกษตรกร จ.กาญจนบุรี โดยเรียกค่าเสียหายตามมูลค่าใบประทวนที่มีมาแสดง พร้อมให้มีการชำระดอกเบี้ยตามกฎหมาย ซึ่งอัยการได้พิจารณาลักษณะเรื่องแล้วเห็นว่าเข้าลักษณะสัญญาทางปกครอง จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ไม่ใช่ศาลแพ่งที่เป็นศาลยุติธรรม ทั้งนี้ อัยการจะตรวจสอบเอกสารที่เหลือและทยอยยื่นฟ้องให้ชาวนาไปต่อเนื่อง ซึ่งวันศุกร์ที่ 7 มี.ค.นี้ จะยื่นฟ้องชุดที่ 2 อีกประมาณ 20 รายที่เป็นเกษตรกรพื้นที่ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี เป็นต้น มูลค่าความเสียหายกว่า 2 ล้านบาทเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 1 เม.ย.2557 ชาวนาที่ประสงค์จะยื่นฟ้องคดี สามารถยื่นเอกสารให้กับสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ที่อยู่ในจังหวัดได้ ทำให้ไม่ต้องเดือดร้อนมายื่นในส่วนกลาง
***ปรบมือให้ กกต. รู้ทันเกมเพื่อไทย
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อนุมัติงบกลาง 2 หมื่นล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวนาว่า ขอปรบมือให้ กกต. ที่กำหนดเกณฑ์การชำระเงินให้ชาวนาที่จำนำข้าวในช่วงเดือนต.ค. และพ.ย.2556 แสดงว่า กกต. ตามสถานการณ์การเมืองได้ทัน เพราะมิเช่นนั้นจะทำให้ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย วิ่งเต้นให้จ่ายให้กับชาวนาในพิ้นที่ตนเองเท่านั้น และขอเรียกร้องให้ ธ.ก.ส. ปฏิบัติตามเงื่อนไขของ กกต. และขอให้ กกต. ที่กำหนดให้รัฐบาลคืนเงินภายในวันที่ 31 พ.ค.2557 กกต. ต้องมีหน้าที่ทวงคืนด้วย เพราะเป็นผู้อนุมัติเงินดังกล่าว และต้องชี้แจงสังคมด้วยว่าหากรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ จะมีความผิดอย่างไร ใครต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ หลังจากได้เงิน2หมื่นล้านบาทไปคืนชาวนาแล้ว ยังมีหนี้ค้างชาวนาอีก 9.5 หมื่นล้านบาท รัฐบาลต้องชี้แจงกับชาวนา ที่มีใบประทวนในช่วงเดือนธ.ค.ถึงก.พ.2557 ว่าจะได้เมื่อไร เพราะถึงวันนี้กองทุนชาวนาของ ธ.ก.ส. ที่มีผลตอบแทน และไม่มีผลตอบแทน มีตัวเลขน้อยมาก เป็นไปไม่ได้ที่จะหาเงินได้ 9.5 หมื่นล้านบาท ส่วนที่มีผลตอบแทนเป็นภาระรัฐบาลใหม่ เพราะกระทรวงการคลังต้องค้ำประกัน รัฐบาลจึงต้องชี้แจงว่า จะนำเงินมาได้อย่างไร และขอเรียกร้องไปยังตระกูลชินวัตร หาเงินแสนล้านมาคืนชาวนา เนื่องจากที่ผ่านมา มีการโอนเงินผ่านโพยก๊วนกว่า 6 หมื่นล้านบาท ถ้าทำไม่ได้ให้ออกไป เพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ปัญหา
ส่วนกรณีที่รัฐบาลกำลังอนุมัติให้มีการเปิดประมูลข้าวในต่างจังหวัด เชื่อว่าจะมีการเลหลังขายข้าวใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และจะมีปัญหาเรื่องการฮั้วตามมา จนทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมาก จึงขอให้รัฐบาลเปิดเผยว่ามีการขายข้าวชนิดใด ปริมาณเท่าไร เพราะมีการรวมหัวทุบราคาข้าวลงมาเหลือกิโลกรัมละ 8-9 บาท ในขณะที่ต้นทุนรัฐอยู่ที่กิโลกรัมละ 28 บาท ทำให้รัฐเสียหายมาก อีกทั้งการเทขายข้าวช่วงนี้ จะทำให้ราคาข้าวตกต่ำ เพราะการระบายข้าวของรัฐบาล จึงต้องหามาตรการที่เหมาะสมมาดูแลปัญหานี้
***เตือนบิ๊กคลัง-พาณิชย์คิดให้ดีก่อนลงนามกู้
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่ว่าหากรัฐบาลไม่สามารถขายข้าว และนำเงิน 2 หมื่นล้านบาท ที่ กกต. มีมติอนุมัติ มาใช้คืนงบกลางได้ทันในวันที่ 31 พ.ค.2557 จะทำอย่างไร ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินยืมทดรองจ่าย ถือเป็นเงินราชการ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ต้องทำสัญญากับกระทรวงการคลัง โดยตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ทำสัญญาอาจจะเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรืออธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกับปลัดกระทรวงการคลัง โดยก่อนลงนามในสัญญา ข้าราชการระดับสูงต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่ากระทรวงพาณิชย์มีความสามารถในการระบายขายข้าว จนสามารถจะทำให้ได้เงินมาใช้คืนงบกลางหรือไม่ หากเห็นว่ามีความสามารถในการระบายข้าว ก็ไม่น่ามีประเด็นอะไรขัดข้อง หรือถ้าดำเนินการไปแล้ว พบว่า การขายข้าวไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ และอาจได้เงินคืนไม่ตามกำหนด เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลัง ต้องเร่งรัดให้กระทรวงพาณิชย์ หาเงินมาชำระให้ได้ครบตามกำหนด
"สิ่งที่รัฐบาลต้องคิด คือ เงินที่ได้จากการระบายข้าวครั้งนี้ รัฐบาลจะต้องนำมาใช้คืนงบกลาง ที่ กกต.อนุมัติให้ยืมไป จะนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ชาวนาที่รัฐบาลได้รับจำนำใบประทวนไว้ ตั้งแต่เดือน ธ.ค.2556-ก.พ.2557 วงเงินกว่า 9 หมื่นล้านบาทไม่ได้ หนี้จำนวนนี้ รัฐบาลจะต้องเร่งระบายข้าวให้เร็วกว่านี้ รวมทั้งต้องหาแหล่งเงินกู้อื่น หรือจะออกพันธบัตร ก็ต้องทำ เพราะถ้า 3 เดือนนี้รัฐบาลขายข้าวได้เท่ากับเงินที่กู้ไป 2 หมื่นล้านบาท อีก 2 เดือนนับจากนั้น รัฐบาลก็จะมีปัญหาเรื่องเงินที่ค้างจ่ายชาวนา 9 หมื่นล้านบาทอีก"
***ถ้าไม่คืนตามกำหนดเจอฟ้องเรียกเงิน
เมื่อถามว่า หากรัฐบาลไม่สามารถหาเงินมาคืนงบกลาง ภายในวันที่ 31 พ.ค. กกต.จะต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขดังกล่าว นายสมชัยกล่าวว่า หากเกิดเหตุเช่นนั้น แล้วมีผู้มาร้อง หรือกระทรวงการคลัง มีหนังสือแจ้ง กกต. ก็อาจจะออกมติให้กระทรวงการคลังฟ้องเรียกเงินคืนจากกระทรวงพาณิชย์ แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการชี้แจงของผู้กู้ก่อนว่ามีเหตุผลอะไร จึงไม่สามารถคืนเงินงบกลางได้ และเหตุผลนั้นรับฟังได้หรือไม่ ถ้าหากรับฟังได้ ก็คงต้องยอมรับ แต่ถ้ารับฟังไม่ได้ คงต้องให้กระทรวงการคลัง ฟ้องเรียกคืนเงิน
"ผมถึงได้บอกว่า วันนี้คนที่ต้องทำสัญญา คือ ฝ่ายข้าราชการประจำ ต้องคิดให้มากว่าทำสัญญาแล้ว การระบายข้าว จะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ เพราะเมื่อถึงเวลา ท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากไม่ได้เงินมาคืนงบกลาง ฝ่ายการเมืองที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย อาจมาร่วมรับผิดชอบน้อยมาก"นายสมชัยกล่าว
***ป.ป.ช.ให้"ทนายปู"ตรวจหลักฐานแทนได้
วานนี้ (5 มี.ค.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกเอกสารชี้แจงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มีหนังสือถึงคณะกรรมการป.ป.ช. ลงวันที่ 4 มี.ค.2557 เพื่อขอให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจ เข้าตรวจดูพยานหลักฐานแทนตน ในคดีถูกกล่าวหาทุจริตโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่า อนุญาตให้ทนายความผู้รับมอบอำนาจมาตรวจสอบหลักฐานแทนได้ แต่ต้องดำเนินการสั่งการมิให้มีการชุมนุมข่มขู่ ขัดขวาง การปฏิบัติหน้าที่ของ ป.ป.ช.
***"พาณิชย์"บินเซ็นขายข้าวจีทูจีจีน1ล้านตัน
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมฯ ได้เดินทางไปเจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และกระชับความสัมพันธ์ทางการค้ากับ COFCO Corporation ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลจีน ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 4-5 มี.ค.2557 ซึ่งสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายข้าวจีทูจีกับ COFCO ได้ปริมาณ 1 ล้านตัน เป็นข้าวหลายชนิด ในเทอมของ FOB Container โดยมีกำหนดส่งมอบเป็นรายงวดและต้องส่งมอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งในล็อตแรกจะเริ่มส่งมอบข้าวประมาณ 4 แสนตัน ระหว่างเดือนมี.ค.-ก.ค.2557 โดยภายในสิ้นเดือนมี.ค.2557 คาดว่าจะสามารถส่งมอบได้ประมาณ 1 แสนตัน โดยหลังจากนี้ กรมฯ จะเร่งดำเนินการออกประกาศเชิญชวนเพื่อให้ผู้ประกอบการเสนอราคาปรับปรุงคุณภาพข้าวสารเพื่อส่งมอบข้าวสารให้แก่ COFCO โดยเร็ว เพื่อให้การส่งมอบข้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา
***ธ.ก.ส.เปิดตัวกองทุนช่วยชาวนา
ที่ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ บางเขน นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวภายหลังการเปิดตัว "กองทุนช่วยเหลือชาวนา" อย่างเป็นทางการ ว่า ถือเป็นประวัติศาสตร์ของธ.ก.ส. ที่ได้เป็นสื่อกลางในการเชิญชวนผู้มีจิตกุศลที่ต้องการช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อน ด้วยการร่วมสมทบเงินเข้ากองทุน เพื่อให้ชาวนาในโครงการรับจำนำข้าวได้รับการดูแลและบรรเทาความเดือดร้อน โดยวงเงินที่ตั้งไว้ 2 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือชาวนาได้ประมาณ 2 แสนรายจากจำนวนใบประทวนที่ยังค้างมากกว่า 1 แสนล้านบาท และเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผู้ร่วมสมทบเงินก็จะได้รับเงินคืนพร้อมดอกผล ส่วนบัญชีเงินบริจาคก็จะเป็นกองทุนถาวร เพื่อนำเงินมาพัฒนาคุณภาพการผลิตและให้ความรู้กับเกษตรกรต่อไป
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้พนักงานธ.ก.ส. ทั่วประเทศกว่า 2 หมื่นคน ไปช่วยรณรงค์ให้ประชาชนเข้าร่วมสมทบเงินในกองทุน โดยคาดว่าจะได้เงิน 1 พันล้านบาทภายในวันที่ 10 มี.ค.นี้ จากนั้นจะเริ่มโอนเงินจากกองทุนไปยังสาขาทั่วประเทศตามสัดส่วนใบประทวนค้างจ่าย เพื่อจ่ายให้แก่ชาวนาต่อไป ส่วนเงิน 2 หมื่นล้านบาท น่าจะเบิกได้สัปดาห์หน้า เมื่อรวมกับเงินจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะส่งให้เดือนละ 1 หมื่นล้านบาท ทำให้ ธ.ก.ส. จะมีเงินจ่ายจำนำข้าวเพิ่มอีก 3 หมื่นล้านบาท
สำหรับยอดเงินสมทบ ณ วันที่ 5 มี.ค.2557 กองทุนประเภทบริจาคมียอดรวม 11,814,342.01 บาท กองทุนสมทบแบบไม่มีผลตอบแทนมียอดรวม 172,418,728 บาท และกองทุนประเภทมีผลตอบแทนมียอดรวม 33,473,240.22 บาท รวมทั้ง 3 กองทุนมียอดรวมทั้งสิ้น 217,706,310.23 บาท
***ชาวนาบุรีรัมย์หอบใบประทวนฟ้อง "ปู"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (5 มี.ค.) ชาวนาจังหวัดบุรีรัมย์จาก 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองบุรีรัมย์, ประโคนชัย และนาโพธิ์ กว่า 50 ราย ที่ยังไม่ได้รับเงินในโครงการรับจำนำข้าว ได้นำเอกสารหลักฐาน ทั้งใบประทวนขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ที่นำข้าวเปลือกไปเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวปีการผลิต 2556/57 และหลักฐานการจำนำข้าวกับทางรัฐบาล เข้ายื่นต่อสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมเป็น 12 จำเลยร่วม ให้รับผิดชอบต่อการผิดนัดชำระหนี้ในโครงการรับจำนำข้าวต่อชาวนา โดยรัฐบาลจะต้องชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าในอัตรา 7.5% ให้ชาวนาจนกว่าจะชำระหนี้ได้