วานนี้ (4มี.ค.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า สำนักงานกกต.ได้ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 กรณีรัฐบาลเห็นต่างจากกกต.ในการแก้ไขปัญหาการจัดเลือกตั้งส.ส. 28 เขตเลือกตั้งภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งหลัง กกต.ทั้ง 5 คนได้ลงนามเรียบร้อยแล้ว โดยกกต.ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดใน 3 ประเด็น คือ
1. การเลือกตั้งในต 28 เลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร กกต.สามารถอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 มาตรา 236 ประกอบมาตรา 93 วรรคหก ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อรับสมัครเลือกตั้งใหม่ และกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งได้หรือไม่
2 หาก กกต.ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการออกประกาศรับสมัครเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตเลือกตั้งได้ การดำเนินการต้องกระทำเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยเฉพาะของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องนำความกราบบังคมทูลและรับสนองพระบรมราชโองการ ในการตราพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวตาม มาตรา 108 และ มาตรา 187 ใช่หรือไม่
3. หากกรณีศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า จะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อดำเนินการให้มีการรับสมัครเลืออกตั้งใหม่ใน 28 เขตเลือกตั้ง การตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จะสามารถกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ เฉพาะ 28 เขตเลือกตั้ง หรือต้องตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในทุกเขตเลือกตั้ง จึงจะชอบด้วยหลักการของการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดว่าการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังการยุบสภา จะต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรหรือไม่
ทั้งนี้เชื่อว่าทั้ง 3 ประเด็นมีเนื้อหาที่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งทั้งหมด และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไร กกต.ก็พร้อมน้อมรับคำวินิจฉัยและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม
นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวถึงการที่ กกต.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่ 3 ที่หากไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการเลือกตั้งเฉพาะ 28 เขตเลอืกตั้งได้ เพราะจะกลายเป็นการทำให้มีวันเลือกตั้ง 2 วัน ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ดังนั้นจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ ในทุกเขตเลือกตั้งหรือไม่ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ต้องออกพ.ร.ฎ.กำหนดให้เลือกตั้งใหม่ครอบคลุมทั้งประเทศ ก็ต้องยกเลิกการลงคะแนน และการรับสมัคร ส.ส.ของเดิมที่ผ่านมาทั้งหมด แต่คิดว่าศาลรธน. คงไม่ตอบ คงมองเป็นเพียงข้อหารือ
เมื่อถามว่าแล้วกกต.มีความจำเป็นอะไรที่ต้องถามไป นายศุภชัย กล่าวว่า ความจริงความเห็นของตน ถามไปเพียง 2 ข้อ ก็พอแล้ว แต่คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายมีการเสนอมา ตนก็ลงนามตามมติเสียงส่วนใหญ่ แต่เจตนาของ กกต.เพียงต้องถามข้อ 1 และข้อ 2 ส่วนข้อ 3 ก็เป็นการเผื่อไว้เท่านั้น และคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะตอบมา
เมื่อถามต่อว่า ห่วงหรือไม่ว่าอาจมีคนหยิบประเด็นนี้มาโจมตี กกต. นายศุภชัย กล่าวว่า ไม่ห่วง เพราะหนังสือออกไปแล้ว ก็ไม่ต้องกังวล
อะไร
**พท.สั่งกกต.เลือก28เขต พร้อมส.ว.
นายพร้อมพงศ์ นพฤลธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรค
เพื่อไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าว มติที่ประชุมหารือปัญหาที่โดนขัดขวางการเลือกตั้งในเขตโซนภาคใต้ โดยนายพร้อมพงศ์ กล่าวถึง มติที่ประชุมว่า ผู้สมัครทั้งหมดมี
มติ จะเสนอให้กกต. จัดการเลือกตั้งที่ตกค้าง ที่โดนขัดขวางใน 28 เขต 8 จังหวัดภาคใต้ มาเลือกตั้งพร้อมกันกับการเลือกตั้งส.ว.ในวันที่ 30 มี.ค.57 โดยวันนี้ (5 มี.ค.) จะไปยื่นหนังสือให้ กกต.พิจารณา เพราะจะเป็นการประหยัดงบประมาณการเลือกตั้ง และสะดวกแก่ประชาชนที่เดินทางมาเลือกตั้งไม่ต้องเดินทางหลายครั้ง และประกาศรับรองสิทธิว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตพื้นที่ภาคใต้ ที่โดนขัดขวางโดยเร็ว
"ข้อเสนอนี้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการจัดการลือกตั้งแล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปิดประชุมสภาและจัดตั้งรัฐบาลใหม่เร็วขึ้น ไม่ใช่มัวแต่ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอยู่อย่างนี้ เพราะอำนาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง กกต. มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งโดยตรงอยู่แล้ว ท่านต้องฟังเสียงของประชาชน เมื่อตนได้ตรวจสอบข้อมูล การเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 30 มี.ค.ในเขตภาคพื้นที่ใต้แล้วจะไม่มีการขัดขวาง และไม่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชนในการลงคะแนนอย่างแน่นอน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
ด้านร.ต.อ.เฉลิม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนเห็นว่าไม่ควรจะเป็นวันเดียวกัน เพราะชื่อก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ไปทำให้มั่วทำไม
1. การเลือกตั้งในต 28 เลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร กกต.สามารถอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 มาตรา 236 ประกอบมาตรา 93 วรรคหก ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อรับสมัครเลือกตั้งใหม่ และกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งได้หรือไม่
2 หาก กกต.ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการออกประกาศรับสมัครเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตเลือกตั้งได้ การดำเนินการต้องกระทำเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยเฉพาะของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องนำความกราบบังคมทูลและรับสนองพระบรมราชโองการ ในการตราพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวตาม มาตรา 108 และ มาตรา 187 ใช่หรือไม่
3. หากกรณีศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า จะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อดำเนินการให้มีการรับสมัครเลืออกตั้งใหม่ใน 28 เขตเลือกตั้ง การตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จะสามารถกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ เฉพาะ 28 เขตเลือกตั้ง หรือต้องตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ในทุกเขตเลือกตั้ง จึงจะชอบด้วยหลักการของการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดว่าการเลือกตั้งทั่วไปภายหลังการยุบสภา จะต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรหรือไม่
ทั้งนี้เชื่อว่าทั้ง 3 ประเด็นมีเนื้อหาที่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งทั้งหมด และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาอย่างไร กกต.ก็พร้อมน้อมรับคำวินิจฉัยและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม
นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวถึงการที่ กกต.ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นที่ 3 ที่หากไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการเลือกตั้งเฉพาะ 28 เขตเลอืกตั้งได้ เพราะจะกลายเป็นการทำให้มีวันเลือกตั้ง 2 วัน ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ดังนั้นจะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ ในทุกเขตเลือกตั้งหรือไม่ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า ต้องออกพ.ร.ฎ.กำหนดให้เลือกตั้งใหม่ครอบคลุมทั้งประเทศ ก็ต้องยกเลิกการลงคะแนน และการรับสมัคร ส.ส.ของเดิมที่ผ่านมาทั้งหมด แต่คิดว่าศาลรธน. คงไม่ตอบ คงมองเป็นเพียงข้อหารือ
เมื่อถามว่าแล้วกกต.มีความจำเป็นอะไรที่ต้องถามไป นายศุภชัย กล่าวว่า ความจริงความเห็นของตน ถามไปเพียง 2 ข้อ ก็พอแล้ว แต่คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายมีการเสนอมา ตนก็ลงนามตามมติเสียงส่วนใหญ่ แต่เจตนาของ กกต.เพียงต้องถามข้อ 1 และข้อ 2 ส่วนข้อ 3 ก็เป็นการเผื่อไว้เท่านั้น และคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะตอบมา
เมื่อถามต่อว่า ห่วงหรือไม่ว่าอาจมีคนหยิบประเด็นนี้มาโจมตี กกต. นายศุภชัย กล่าวว่า ไม่ห่วง เพราะหนังสือออกไปแล้ว ก็ไม่ต้องกังวล
อะไร
**พท.สั่งกกต.เลือก28เขต พร้อมส.ว.
นายพร้อมพงศ์ นพฤลธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรค
เพื่อไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าว มติที่ประชุมหารือปัญหาที่โดนขัดขวางการเลือกตั้งในเขตโซนภาคใต้ โดยนายพร้อมพงศ์ กล่าวถึง มติที่ประชุมว่า ผู้สมัครทั้งหมดมี
มติ จะเสนอให้กกต. จัดการเลือกตั้งที่ตกค้าง ที่โดนขัดขวางใน 28 เขต 8 จังหวัดภาคใต้ มาเลือกตั้งพร้อมกันกับการเลือกตั้งส.ว.ในวันที่ 30 มี.ค.57 โดยวันนี้ (5 มี.ค.) จะไปยื่นหนังสือให้ กกต.พิจารณา เพราะจะเป็นการประหยัดงบประมาณการเลือกตั้ง และสะดวกแก่ประชาชนที่เดินทางมาเลือกตั้งไม่ต้องเดินทางหลายครั้ง และประกาศรับรองสิทธิว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขตพื้นที่ภาคใต้ ที่โดนขัดขวางโดยเร็ว
"ข้อเสนอนี้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการจัดการลือกตั้งแล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปิดประชุมสภาและจัดตั้งรัฐบาลใหม่เร็วขึ้น ไม่ใช่มัวแต่ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอยู่อย่างนี้ เพราะอำนาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง กกต. มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งโดยตรงอยู่แล้ว ท่านต้องฟังเสียงของประชาชน เมื่อตนได้ตรวจสอบข้อมูล การเลือกตั้ง ส.ว.ในวันที่ 30 มี.ค.ในเขตภาคพื้นที่ใต้แล้วจะไม่มีการขัดขวาง และไม่สร้างความสับสนให้แก่ประชาชนในการลงคะแนนอย่างแน่นอน" นายพร้อมพงศ์ กล่าว
ด้านร.ต.อ.เฉลิม กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนเห็นว่าไม่ควรจะเป็นวันเดียวกัน เพราะชื่อก็ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ไปทำให้มั่วทำไม