ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง “การปฏิรูปการหาเสียงที่ใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่ง”โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18 - 26 ก.พ.ที่ผ่านมา
ผลสำรวจพบว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ในรอบการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 48.3 ไม่พบเห็นการหาเสียงของพรรคการเมืองในลักษณะประชานิยมแบบสุดโต่ง รองลงมาด้วยสัดส่วนไม่ต่างกันมากคิดเป็นร้อยละ 41.7 บอกว่า พบเห็นการหาเสียงของพรรคการเมืองในลักษณะใช้นโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง
ส่วนหากการปฏิรูปเกิดขึ้นจริง สังคมไทยควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายต่างๆ ที่ใช้หาเสียง หรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่คิดเป็น ร้อยละ 76.7 เห็นว่า ควรมีคณะกรรมการที่มีหน้าที่ดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 13.3 ที่เห็นว่าไม่ควรมี
เมื่อถามต่อว่า คณะกรรมการดังกล่าวควรมีอำนาจหน้าที่มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 48.3 เห็นว่า ควรมีหน้าที่ให้คำแนะนำความเป็นไปได้ของนโยบายที่ใช้หาเสียงอย่างเป็นทางการแก่ประชาชนเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 40.0 เห็นว่า คณะกรรมการดังกล่าวควรสามารถระงับไม่ให้พรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่งในการหาเสียงได้
สำหรับประเด็นการประเมินความเป็นไปได้ของนโยบายหาเสียง ส่วนใหญ่เห็นว่า นโยบายหาเสียงควรมีลักษณะดังนี้
1.แหล่งที่มาของเงินทุนต้องมีความชัดเจน และตรวจสอบได้ (ร้อยละ 96.7)
2. ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะทำได้จริงหากได้เป็นรัฐบาล (ร้อยละ 93.3)
3. ต้องไม่เสนอนโยบายที่จะทำให้ประชาชนมีนิสัยขาดความรับผิดชอบ (ร้อยละ 93.3)
4. ต้องไม่มีการแทรกแซงจนกลไกราคาไม่สามารถทำงานได้ (ร้อยละ 91.7)
5. ต้องไม่ทำให้รัฐบาลกลายเป็นผู้ประกอบการ (ร้อยละ 76.7)
6. รัฐบาลต้องไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าต่างๆ (ร้อยละ 65.0)
7. ต้องจ่ายเงินผ่านบัญชีของผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบายเท่านั้น (ร้อยละ 61.7)
ด้านความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ต่อการแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองที่บริหารเศรษฐกิจผิดพลาดว่า ในปัจจุบันนี้มีมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 66.7 บอกว่า ไม่มีเลย รองลงมาร้อยละ 31.7 บอกว่า แทบไม่มี
สุดท้ายเมื่อถามว่า ความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าว มีสาเหตุสำคัญมาจากอะไร ร้อยละ 51.0 บอกว่า มาจากการทุจริต คอร์รัปชัน ขาดการตรวจสอบที่เข้มงวด โปร่งใส และเด็ดขาด ร้อยละ 29.4 บอกว่า มาจากการบริหารงานผิดพลาด การไม่มีความสามารถในการระบายข้าว คณะทำงานไม่มีความเข้าใจในโครงการ ไม่เข้าใจตลาดข้าวไทยและข้าวโลก ร้อยละ 29.4 บอกว่า มาจากการตั้งราคาจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดมาก ฝืนกลไกตลาด
ผลสำรวจพบว่า การหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ในรอบการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 48.3 ไม่พบเห็นการหาเสียงของพรรคการเมืองในลักษณะประชานิยมแบบสุดโต่ง รองลงมาด้วยสัดส่วนไม่ต่างกันมากคิดเป็นร้อยละ 41.7 บอกว่า พบเห็นการหาเสียงของพรรคการเมืองในลักษณะใช้นโยบายประชานิยมแบบสุดโต่ง
ส่วนหากการปฏิรูปเกิดขึ้นจริง สังคมไทยควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายต่างๆ ที่ใช้หาเสียง หรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ ส่วนใหญ่คิดเป็น ร้อยละ 76.7 เห็นว่า ควรมีคณะกรรมการที่มีหน้าที่ดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 13.3 ที่เห็นว่าไม่ควรมี
เมื่อถามต่อว่า คณะกรรมการดังกล่าวควรมีอำนาจหน้าที่มากน้อยเพียงใด ร้อยละ 48.3 เห็นว่า ควรมีหน้าที่ให้คำแนะนำความเป็นไปได้ของนโยบายที่ใช้หาเสียงอย่างเป็นทางการแก่ประชาชนเท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 40.0 เห็นว่า คณะกรรมการดังกล่าวควรสามารถระงับไม่ให้พรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่งในการหาเสียงได้
สำหรับประเด็นการประเมินความเป็นไปได้ของนโยบายหาเสียง ส่วนใหญ่เห็นว่า นโยบายหาเสียงควรมีลักษณะดังนี้
1.แหล่งที่มาของเงินทุนต้องมีความชัดเจน และตรวจสอบได้ (ร้อยละ 96.7)
2. ต้องมีความเป็นไปได้ที่จะทำได้จริงหากได้เป็นรัฐบาล (ร้อยละ 93.3)
3. ต้องไม่เสนอนโยบายที่จะทำให้ประชาชนมีนิสัยขาดความรับผิดชอบ (ร้อยละ 93.3)
4. ต้องไม่มีการแทรกแซงจนกลไกราคาไม่สามารถทำงานได้ (ร้อยละ 91.7)
5. ต้องไม่ทำให้รัฐบาลกลายเป็นผู้ประกอบการ (ร้อยละ 76.7)
6. รัฐบาลต้องไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าต่างๆ (ร้อยละ 65.0)
7. ต้องจ่ายเงินผ่านบัญชีของผู้ได้รับประโยชน์จากนโยบายเท่านั้น (ร้อยละ 61.7)
ด้านความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ต่อการแสดงความรับผิดชอบของนักการเมืองที่บริหารเศรษฐกิจผิดพลาดว่า ในปัจจุบันนี้มีมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 66.7 บอกว่า ไม่มีเลย รองลงมาร้อยละ 31.7 บอกว่า แทบไม่มี
สุดท้ายเมื่อถามว่า ความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าว มีสาเหตุสำคัญมาจากอะไร ร้อยละ 51.0 บอกว่า มาจากการทุจริต คอร์รัปชัน ขาดการตรวจสอบที่เข้มงวด โปร่งใส และเด็ดขาด ร้อยละ 29.4 บอกว่า มาจากการบริหารงานผิดพลาด การไม่มีความสามารถในการระบายข้าว คณะทำงานไม่มีความเข้าใจในโครงการ ไม่เข้าใจตลาดข้าวไทยและข้าวโลก ร้อยละ 29.4 บอกว่า มาจากการตั้งราคาจำนำที่สูงกว่าราคาตลาดมาก ฝืนกลไกตลาด