ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนครอบคลุม 75 จังหวัด จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 631 คน ในหัวข้อ “ประเทศไทยกับการปฏิรูป”พบว่า
ประชาชนร้อยละ 79.3 เห็นว่า ในเวลานี้ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปด้านต่างๆ ขณะที่ร้อยละ 20.7 เห็นว่า ยังไม่จำเป็นต้องปฏิรูป
เมื่อถามต่อว่าหากจำเป็นต้องปฏิรูป การปฏิรูปต้องเริ่มต้นอย่างจริงจังในด้านใดก่อน ร้อยละ 41.0 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านการเมือง/การปกครองก่อน รองลงมาร้อยละ 22.8 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ และ ร้อยละ 20.6 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านกฎหมาย
สำหรับเรื่องที่ประชาชนอยากให้มีการปฏิรูปมากที่สุดคือ เรื่องความศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดของกฎหมาย (ร้อยละ 75.4 ) รองลงมาเป็นเรื่องการซื้อเสียงเลือกตั้ง (ร้อยละ 67.4) และเรื่องคดีคอร์รัปชันต้องไม่มีอายุความ (ร้อยละ 67.0) ส่วนประเด็นการปฏิรูปวงการตำรวจมีประชาชนร้อยละ 32.0 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป เช่นเดียวกับประเด็นผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนร้อยละ 31.9 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป
เมื่อถามว่า ภาคส่วนใดคือกลไกสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป ร้อยละ 39.6 บอกว่า ภาคประชาชน รองลงมาร้อยละ 24.1 คือ ผู้นำประเทศ และร้อยละ 17.6 คือ ภาคนักการเมือง ขณะที่ กองทัพ ภาคนักวิชาการ และภาคธุรกิจ มีประชาชนเพียงร้อยละ 7.0 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับที่เห็นว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป
**ไม่แน่ใจเวทีเสวนาลดขัดแย้งได้
จากกรณีที่จะมีการจัดเวทีพูดคุยกันในหลายๆ ภาคส่วน เพื่อหาทางออกให้กับประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ แต่ก็ยังมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กับการจัดเวทีพูดคุยดังกล่าว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีความเป็นห่วงต่อบ้านเมือง และแสดงความคิดเห็นต่อการจัดตั้งเวทีพูดคุยที่กำลังจะมีขึ้น “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,325 คน ระหว่างวันที่ 13-14 ธ.ค. 56 สรุปผลดังนี้
ถ้าจะจัดเวทีพูดคุยกัน เพื่อยุติความขัดแย้งและมีความสงบสุข ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้
1.“ใครหรือหน่วยงานใด?”ควรจะเข้ามารับผิดชอบเป็นผู้จัดเวทีพูดคุยกัน อันดับ 1 .หน่วยงานที่เป็นกลาง องค์กรอิสระ31.97%
อันดับ 2. สถาบันที่เป็นกลาง เช่น สถาบันพระปกเกล้า สภาพัฒนาการเมือง 22.79% อันดับ 3.ภาครัฐ 20.75% อันดับ 4.สถาบันการศึกษา 13.95% อันดับ 5.ภาคเอกชน 10.54%
2. ในการจัดเวทีพูดคุยกัน ประชาชนคิดว่าควรเชิญ“ใคร?”เข้ามาพูดคุย อันดับ 1. ทุกๆฝ่าย เช่น ภาครัฐ เอกชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สถานศึกษา และประชาชน 29.03% อันดับ 2.นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และระดับท้องถิ่น27.60% อันดับ 3. ตัวแทนภาคประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ 18.64% อันดับ 4. นักวิชาการ13.98% อันดับ 5. สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ 10.75%
3. เนื้อหาที่จะพูดคุยควรเกี่ยวกับเรื่องอะไร ? อันดับ 1. สาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขหรือหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับบ้านเมือง 36.93% อันดับ 2. การพัฒนาประเทศชาติ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความสุข 26.15% อันดับ 3. การปฏิรูปการเมือง การพิจารณากฎหมาย แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 17.25% อันดับ 4. ขอให้ยุติความขัดแย้งต่างๆเพื่อบ้านเมืองและการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคม11.05% อันดับ 5. การจัดตั้งคณะกรรมการ องค์กรอิสระ หรือคนกลางเข้ามาดูแลและประสานกับทุกฝ่าย 8.62%
4. ประชาชนคิดว่าการจัดเวทีพูดคุยจะช่วยยุติความขัดแย้งได้มากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1. ไม่แน่ใจ 39.72 % เพราะ ต้องรอฟังประเด็น เนื้อหาที่จะพูดคุยก่อนว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับความจริงใจของทุกฝ่ายที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
อันดับ 2. น่าจะช่วยยุติความขัดแย้งได้บ้าง 32.27% เพราะ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เป็นการทำเพื่อบ้านเมือง ฯลฯ
อันดับ 3. ยากที่จะช่วยยุติ 28.01% เพราะ ถึงจะมีการจัดเวทีพูดคุยหรือให้เลือกตั้งใหม่ ปัญหาความขัดแย้งของการเมืองไทยก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ฯลฯ
ประชาชนร้อยละ 79.3 เห็นว่า ในเวลานี้ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปด้านต่างๆ ขณะที่ร้อยละ 20.7 เห็นว่า ยังไม่จำเป็นต้องปฏิรูป
เมื่อถามต่อว่าหากจำเป็นต้องปฏิรูป การปฏิรูปต้องเริ่มต้นอย่างจริงจังในด้านใดก่อน ร้อยละ 41.0 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านการเมือง/การปกครองก่อน รองลงมาร้อยละ 22.8 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ และ ร้อยละ 20.6 เห็นว่าควรปฏิรูปด้านกฎหมาย
สำหรับเรื่องที่ประชาชนอยากให้มีการปฏิรูปมากที่สุดคือ เรื่องความศักดิ์สิทธิ์เด็ดขาดของกฎหมาย (ร้อยละ 75.4 ) รองลงมาเป็นเรื่องการซื้อเสียงเลือกตั้ง (ร้อยละ 67.4) และเรื่องคดีคอร์รัปชันต้องไม่มีอายุความ (ร้อยละ 67.0) ส่วนประเด็นการปฏิรูปวงการตำรวจมีประชาชนร้อยละ 32.0 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป เช่นเดียวกับประเด็นผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนร้อยละ 31.9 ที่ต้องการให้มีการปฏิรูป
เมื่อถามว่า ภาคส่วนใดคือกลไกสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป ร้อยละ 39.6 บอกว่า ภาคประชาชน รองลงมาร้อยละ 24.1 คือ ผู้นำประเทศ และร้อยละ 17.6 คือ ภาคนักการเมือง ขณะที่ กองทัพ ภาคนักวิชาการ และภาคธุรกิจ มีประชาชนเพียงร้อยละ 7.0 ร้อยละ 6.0 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับที่เห็นว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดความสำเร็จของการปฏิรูป
**ไม่แน่ใจเวทีเสวนาลดขัดแย้งได้
จากกรณีที่จะมีการจัดเวทีพูดคุยกันในหลายๆ ภาคส่วน เพื่อหาทางออกให้กับประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ แต่ก็ยังมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย กับการจัดเวทีพูดคุยดังกล่าว เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีความเป็นห่วงต่อบ้านเมือง และแสดงความคิดเห็นต่อการจัดตั้งเวทีพูดคุยที่กำลังจะมีขึ้น “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,325 คน ระหว่างวันที่ 13-14 ธ.ค. 56 สรุปผลดังนี้
ถ้าจะจัดเวทีพูดคุยกัน เพื่อยุติความขัดแย้งและมีความสงบสุข ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้
1.“ใครหรือหน่วยงานใด?”ควรจะเข้ามารับผิดชอบเป็นผู้จัดเวทีพูดคุยกัน อันดับ 1 .หน่วยงานที่เป็นกลาง องค์กรอิสระ31.97%
อันดับ 2. สถาบันที่เป็นกลาง เช่น สถาบันพระปกเกล้า สภาพัฒนาการเมือง 22.79% อันดับ 3.ภาครัฐ 20.75% อันดับ 4.สถาบันการศึกษา 13.95% อันดับ 5.ภาคเอกชน 10.54%
2. ในการจัดเวทีพูดคุยกัน ประชาชนคิดว่าควรเชิญ“ใคร?”เข้ามาพูดคุย อันดับ 1. ทุกๆฝ่าย เช่น ภาครัฐ เอกชน หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สถานศึกษา และประชาชน 29.03% อันดับ 2.นักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และระดับท้องถิ่น27.60% อันดับ 3. ตัวแทนภาคประชาชนจากทุกสาขาอาชีพ 18.64% อันดับ 4. นักวิชาการ13.98% อันดับ 5. สื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ 10.75%
3. เนื้อหาที่จะพูดคุยควรเกี่ยวกับเรื่องอะไร ? อันดับ 1. สาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขหรือหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับบ้านเมือง 36.93% อันดับ 2. การพัฒนาประเทศชาติ ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความสุข 26.15% อันดับ 3. การปฏิรูปการเมือง การพิจารณากฎหมาย แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 17.25% อันดับ 4. ขอให้ยุติความขัดแย้งต่างๆเพื่อบ้านเมืองและการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคม11.05% อันดับ 5. การจัดตั้งคณะกรรมการ องค์กรอิสระ หรือคนกลางเข้ามาดูแลและประสานกับทุกฝ่าย 8.62%
4. ประชาชนคิดว่าการจัดเวทีพูดคุยจะช่วยยุติความขัดแย้งได้มากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1. ไม่แน่ใจ 39.72 % เพราะ ต้องรอฟังประเด็น เนื้อหาที่จะพูดคุยก่อนว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับความจริงใจของทุกฝ่ายที่มาร่วมแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
อันดับ 2. น่าจะช่วยยุติความขัดแย้งได้บ้าง 32.27% เพราะ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เป็นการทำเพื่อบ้านเมือง ฯลฯ
อันดับ 3. ยากที่จะช่วยยุติ 28.01% เพราะ ถึงจะมีการจัดเวทีพูดคุยหรือให้เลือกตั้งใหม่ ปัญหาความขัดแย้งของการเมืองไทยก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ฯลฯ