หุ้นร่วง 17 จุด แรงขายกลุ่มชินคอร์ปทะลักต่อเนื่อง กดทั้งกลุ่มร่วงยกแผง SC –MLINK ร่วงด้วย ส่วนADVANC หนักสุดร่วง 6 บาท วอรุ่มกว่า 2.4 พ้นล้าน ล่าสุดทางกลุ่มรุกชี้แจง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง ยืนยัน “ทักษิณ” ขายหุ้นให้เทมาเส็กหมดแล้ว ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลหุ้นกลุ่มชินฯ ก่อนตัดสินใจเทขาย
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปิดที่ระดับ 1,303.98 จุด ลดลง 17.02 จุด หรือ 1.29% มูลค่าการซื้อขาย 33,673.89 ล้านบาท ภาพรวมตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบต่อเนื่อง เพราะยังถูกปัจจัยการเมืองกดดัน โดยเฉพาะแรงกดดันของกลุ่มผู้ชุมนุมต่อหุ้นในกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น และที่เกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศต่างปรับตัวลงกัน เหตุตัวเลขเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก เช่น ตัวเลข PMI ของจีนออกมาไม่ดี ทำให้นักลงทุนไม่มั่นเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
โดย พบว่า สถาบัน , นักลงทุนต่างประเทศ และ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ขายสุทธิ 1,877.16 ล้านบาท , 1,754.42 ล้านบาท และ 1,223.78 ล้านบาท มีเพียงนักลงทุนทั่วไปที่ซือสุทธิ 4,855.35 ล้านบาท
ขณะที่การซื้อขายหุ้นในกลุ่มชินคอร์ป และของตระกูลชินวัตร พบว่าตั้งแต่เปิดตลาดปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มกปปส. ออกมาเรียกร้องให้ขายหุ้นกลุ่มดังกล่าวออกมา โดย INTUCH ปิดที่ 72.25 บาท ลดลง1.50 บาท หรือ 2.03% มูลค่าซื้อขาย 1,704.60 ล้านบาท, ADVANC ปิดที่ 211.00 บาท ลดลง 6.00 บาท หรือ 2.76% มูลค่าซื้อขาย 2,458.18 ล้านบาท
THCOM ปิดที่ 39.50 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 1.25% มูลค่าซื้อขาย 95.96 ล้านบาท ,CSL ปิดที่ 10.10 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือ 3.81% มูลค่าซื้อขาย 19.13 ล้านบาท , MLINK ปิดที่ 3.10 บาท ลดลง0.270 บาท หรือ 6.63% มูลค่าซื้อขาย 57.26 ล้านบาท และ SC ปิดที่ 3.14 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 3.09% มูลค่าซื้อขาย 38.01 ล้านบาท
นายธีรวุฒิ กานต์นิภากุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ยังคงถูกปัจจัยการเมืองกดดันเป็นหลัก ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศก็ไม่เอื้อด้วย โดยตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ต่างก็ปรับตัวลง เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของต่างประเทศไม่ค่อยดี อย่างตัวเลข PMI ของจีน ออกมาไม่ดี ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจเศรษฐกิจโลกฟื้น อย่างไรก็ดีคงจะต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของต่างประเทศต่อไป
สำหรับการเมืองในประเทศ นักลงทุนเลือกที่จะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูท่าทีทางการเมืองก่อน เนื่องจากเท่าที่ดูสถานการณ์ได้มีความเข้มข้นขึ้น อีกทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวดไตรมาส 4/56 ที่ออกมาไม่ดีเท่าไร และเชื่อว่าไตรมาส 1/57 ยังต่ำอยู่ ดังนั้นหลังจากเสร็จสิ้นการประกาศผลประกอบการแล้ว เชื่อว่านักวิเคราะห์ฯคงจะมีการปรับประมาณการปีนี้ลดลงจึงทำให้ตลาดฯอ่อนตัวลงในช่วงนี้
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(21 ก.พ.) คาดว่าดัชนีคงจะยังผันผวนอยู่ แต่ก็มีโอกาสที่จะรีบาวน์ขึ้นได้บ้าง ภายหลังจากที่ดัชนีฯไม่หลุดแนว 1,305 จุด เพราะสัญญาณการขายไม่ชัดเจนในทางเทคนิค พร้อมให้แนวรับ 1,288 จุด แนวต้าน 1,320 จุด
**ตลท.เตือนศึกษาข้อมูลกลุ่มชินฯ
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ตามกระแสข่าวลือที่ให้ขายหุ้นจากกลุ่มดังกล่าว เพราะมองว่ายังเป็นหุ้นของกลุ่มชินวัตร ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว หุ้นในกลุ่มชินฯ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่มเทมาเส็กของประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการขายหุ้นอาจจะทำให้เสียโอกาสทางการลงทุนได้ เนื่องจากหุ้นในกลุ่มชินฯ มีมาร์เก็ตแคปถึง 9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 8% ของมาร์เก็ตแคปรวมในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยในปีที่ผ่านมา กำไรสุทธิของทั้งกลุ่มมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยังเป็นหุ้นที่มีอัตราปันผลในระดับสูง อาทิ INTUCH เคยจ่ายปันผลคิดเป็นอัตราถึง 15% โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราปันผล 5-6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดที่อยู่ราว 3% ขณะที่หุ้น ADVANC ก็จ่ายปันผลในอัตราสูงถึง 13% ในปีที่ผ่านมา
"หุ้นในกลุ่มชินฯ เป็นหุ้นพื้นฐานดี ถ้าแห่ขายตามข่าวลือต่างๆ โดยไม่ศึกษาข้อมูลอาจจะเสียโอกาสในการลงทุนได้ ขณะเดียวกันเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีการกำกับดูแลถึงธุรกรรมต่างๆ อย่างละเอียด โดยตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงาน ก.ล.ต." นายชนิตร กล่าวสรุป
***"กลุ่มชินฯ" ชี้แจง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง
ล่าสุด กลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ที่ประกอบด้วย บริษัท อินทัช, เอไอเอส และไทยคม ชี้แจงกรณีเลขาธิการ กปปส. ประกาศจะยกระดับการชุมนุมพุ่งเป้าโจมตีธุรกิจของกลุ่ม โดยเตือนให้นักลงทุนรีบขายหุ้นบริษัทเหล่านี้ออกให้หมดนั้นนางวิไล เคียงประดู่ โฆษกกลุ่มอินทัช ชี้แจงว่า กลุ่มชินคอร์ปไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง อีกทั้งปัจจุบันผู้ก่อตั้งไม่ได้ถือหุ้นในกลุ่มบริษัท จึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทแต่อย่างใด โดยเชื่อว่านักลงทุนและผู้ถือหุ้นจะลงทุนในบริษัทใด ย่อมทำการตรวจสอบการดำเนินงาน ความโปร่งใส ความแข็งแกร่งของบริษัทก่อนที่จะทำการลงทุน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปิดที่ระดับ 1,303.98 จุด ลดลง 17.02 จุด หรือ 1.29% มูลค่าการซื้อขาย 33,673.89 ล้านบาท ภาพรวมตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในแดนลบต่อเนื่อง เพราะยังถูกปัจจัยการเมืองกดดัน โดยเฉพาะแรงกดดันของกลุ่มผู้ชุมนุมต่อหุ้นในกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น และที่เกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศต่างปรับตัวลงกัน เหตุตัวเลขเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก เช่น ตัวเลข PMI ของจีนออกมาไม่ดี ทำให้นักลงทุนไม่มั่นเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
โดย พบว่า สถาบัน , นักลงทุนต่างประเทศ และ บัญชีบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ขายสุทธิ 1,877.16 ล้านบาท , 1,754.42 ล้านบาท และ 1,223.78 ล้านบาท มีเพียงนักลงทุนทั่วไปที่ซือสุทธิ 4,855.35 ล้านบาท
ขณะที่การซื้อขายหุ้นในกลุ่มชินคอร์ป และของตระกูลชินวัตร พบว่าตั้งแต่เปิดตลาดปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มกปปส. ออกมาเรียกร้องให้ขายหุ้นกลุ่มดังกล่าวออกมา โดย INTUCH ปิดที่ 72.25 บาท ลดลง1.50 บาท หรือ 2.03% มูลค่าซื้อขาย 1,704.60 ล้านบาท, ADVANC ปิดที่ 211.00 บาท ลดลง 6.00 บาท หรือ 2.76% มูลค่าซื้อขาย 2,458.18 ล้านบาท
THCOM ปิดที่ 39.50 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 1.25% มูลค่าซื้อขาย 95.96 ล้านบาท ,CSL ปิดที่ 10.10 บาท ลดลง 0.40 บาท หรือ 3.81% มูลค่าซื้อขาย 19.13 ล้านบาท , MLINK ปิดที่ 3.10 บาท ลดลง0.270 บาท หรือ 6.63% มูลค่าซื้อขาย 57.26 ล้านบาท และ SC ปิดที่ 3.14 บาท ลดลง 0.10 บาท หรือ 3.09% มูลค่าซื้อขาย 38.01 ล้านบาท
นายธีรวุฒิ กานต์นิภากุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ยังคงถูกปัจจัยการเมืองกดดันเป็นหลัก ขณะเดียวกันตลาดต่างประเทศก็ไม่เอื้อด้วย โดยตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียวันนี้ต่างก็ปรับตัวลง เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของต่างประเทศไม่ค่อยดี อย่างตัวเลข PMI ของจีน ออกมาไม่ดี ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจเศรษฐกิจโลกฟื้น อย่างไรก็ดีคงจะต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของต่างประเทศต่อไป
สำหรับการเมืองในประเทศ นักลงทุนเลือกที่จะชะลอการลงทุนเพื่อรอดูท่าทีทางการเมืองก่อน เนื่องจากเท่าที่ดูสถานการณ์ได้มีความเข้มข้นขึ้น อีกทั้งผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนงวดไตรมาส 4/56 ที่ออกมาไม่ดีเท่าไร และเชื่อว่าไตรมาส 1/57 ยังต่ำอยู่ ดังนั้นหลังจากเสร็จสิ้นการประกาศผลประกอบการแล้ว เชื่อว่านักวิเคราะห์ฯคงจะมีการปรับประมาณการปีนี้ลดลงจึงทำให้ตลาดฯอ่อนตัวลงในช่วงนี้
ส่วนแนวโน้มการลงทุนในวันนี้(21 ก.พ.) คาดว่าดัชนีคงจะยังผันผวนอยู่ แต่ก็มีโอกาสที่จะรีบาวน์ขึ้นได้บ้าง ภายหลังจากที่ดัชนีฯไม่หลุดแนว 1,305 จุด เพราะสัญญาณการขายไม่ชัดเจนในทางเทคนิค พร้อมให้แนวรับ 1,288 จุด แนวต้าน 1,320 จุด
**ตลท.เตือนศึกษาข้อมูลกลุ่มชินฯ
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจขายหุ้นกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ตามกระแสข่าวลือที่ให้ขายหุ้นจากกลุ่มดังกล่าว เพราะมองว่ายังเป็นหุ้นของกลุ่มชินวัตร ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว หุ้นในกลุ่มชินฯ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่มเทมาเส็กของประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการขายหุ้นอาจจะทำให้เสียโอกาสทางการลงทุนได้ เนื่องจากหุ้นในกลุ่มชินฯ มีมาร์เก็ตแคปถึง 9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 8% ของมาร์เก็ตแคปรวมในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยในปีที่ผ่านมา กำไรสุทธิของทั้งกลุ่มมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ยังเป็นหุ้นที่มีอัตราปันผลในระดับสูง อาทิ INTUCH เคยจ่ายปันผลคิดเป็นอัตราถึง 15% โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราปันผล 5-6% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดที่อยู่ราว 3% ขณะที่หุ้น ADVANC ก็จ่ายปันผลในอัตราสูงถึง 13% ในปีที่ผ่านมา
"หุ้นในกลุ่มชินฯ เป็นหุ้นพื้นฐานดี ถ้าแห่ขายตามข่าวลือต่างๆ โดยไม่ศึกษาข้อมูลอาจจะเสียโอกาสในการลงทุนได้ ขณะเดียวกันเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีการกำกับดูแลถึงธุรกรรมต่างๆ อย่างละเอียด โดยตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงาน ก.ล.ต." นายชนิตร กล่าวสรุป
***"กลุ่มชินฯ" ชี้แจง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง
ล่าสุด กลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น ที่ประกอบด้วย บริษัท อินทัช, เอไอเอส และไทยคม ชี้แจงกรณีเลขาธิการ กปปส. ประกาศจะยกระดับการชุมนุมพุ่งเป้าโจมตีธุรกิจของกลุ่ม โดยเตือนให้นักลงทุนรีบขายหุ้นบริษัทเหล่านี้ออกให้หมดนั้นนางวิไล เคียงประดู่ โฆษกกลุ่มอินทัช ชี้แจงว่า กลุ่มชินคอร์ปไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง อีกทั้งปัจจุบันผู้ก่อตั้งไม่ได้ถือหุ้นในกลุ่มบริษัท จึงไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัทแต่อย่างใด โดยเชื่อว่านักลงทุนและผู้ถือหุ้นจะลงทุนในบริษัทใด ย่อมทำการตรวจสอบการดำเนินงาน ความโปร่งใส ความแข็งแกร่งของบริษัทก่อนที่จะทำการลงทุน