วานนี้ (18ก.พ.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา มีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน ได้จัดเสวนาหาทางออกการเลือกตั้งไทย 2557 โดยนายวรภัทร วงศ์ปราโมทย์ ผู้ตรวจสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต. ) กล่าวว่า ปัญหาการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น เพราะมีกลุ่มการเมืองที่ต้องการให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ขัดขวางการเลือกตั้ง ด้วยการชุมนุมกดดันปิดกั้นหน้าเขตเลือกตั้ง การข่มขู่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) โดยกลุ่ม กปปส. และผู้มีผู้อิทธิพลในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่ กปน.ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่มีแนวคิดทางการเมืองเดียวกับพรรคการเมืองที่มีอิทธิพลในพื้นที่ แต่กกต.พยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ อาทิ การออกคำสั่งให้ทหารเข้าไปดูแล และป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมขัดขวาง หรือ การปะทะ โดยอาศัยกฎหมายและรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง แทนการขอความร่วมมืออย่างที่ผ่านมา แต่ปัญหาการจัดการเลือกตั้งล่าสุด ที่กำหนดให้ลงคะแนนใหม่ ช่วงเดือนเม.ย. ยังติดปัญหาในด้านกฎหมาย และด้านการปฏิบัติ
**แนะให้ทหารช่วยจัดเลือกตั้ง
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. กล่าวว่า เชื่อว่าสิ่งที่ กกต.กังวลที่สุด คือ การปิดล้อมสถานที่เลือกตั้ง จนไม่สามารถลงคะแนนเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 มีเจตนารมณ์ต้องการให้มีสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว ไม่อยากให้รัฐบาลอยู่รักษาการนานเกินไป กกต.ชุดที่ผ่านมา ยึดกรอบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด คือ ประกาศผลเลือกตั้งไปก่อนแล้วสอยทีหลัง ทำให้ไม่มีปัญหาในการเปิดสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนปัญหาของ กกต.ชุดนี้ คือ ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สมบูรณ์ โดยไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง กกต.ต้องมองหน้าที่โดยจัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ เพราะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าดด้วยกรรมการการเลือกตั้ง สามารถออกคำสั่ง หรือระเบียบ ให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยดำเนินการจัดเลือกตั้งให้สำเร็จได้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นการเมือง เป็นการแย่งอำนาจรัฐ แต่การจัดการเลือกตั้งของกกต. เพื่อนำไปสู่การมีอำนาจรัฐ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172
นางสดศรี กล่าวว่า กกต.ควรมอบอำนาจให้บุคคลที่มีศักยภาพ ตนไม่ได้ดูถูก แต่ทุกฝ่ายยอมรับว่า ศักยภาพและอิทธิพลของทหาร มีจริง ไม่ต้องกลัวการปฏิวัติ กกต.สามารถออกเป็นระเบียบ และออกเป็นประกาศของกกต. เพื่อแก้ปัญหานี้ ตามที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. แสดงความวิตกกังวลไว้ โดยกกต. คอยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เพราะทหารมีโรงพิมพ์ การจัดส่งหีบบัตร หรือบัตรเลือกตั้ง การควบคุมการเลือกตั้ง เขามีกองกำลังดำเนินการ ไม่ต้องกลัวว่าเสียศักดิ์ศรี เพราะเป็นภาวะวิกฤตที่ไม่ปกติ กกต.ควรยอมรับว่า ขณะนี้ศักยภาพไม่ถึงขั้นดำเนินการได้ หาก กกต.มองดูปัญหาที่ตั้งเอาไว้ 7-8 ข้อ ที่เป็นข้อกังวลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 หรือ 93 จะจบได้ง่ายกว่าการแก้ปัญหาทีละข้อ การจะโยนภาระไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหมด คงไม่สามารถทำได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดจากการเมืองที่จ้องขัดขวางการเลือกตั้ง ดังนั้นต้องตีปัญหาให้แตกว่า จะทำอย่างไร โดยไม่ต้องไปมัวเรียกร้องให้ฝ่ายใดมาเจรจา
** ใช้อำนาจตามกม.อย่างเคร่งครัด
ด้านพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า เราคงโยนภาระไปให้ กกต. ทั้งหมดคงไม่ได้ เพราะเชื่อว่า ภาวะไม่ปกติแบบนี้ 180 วัน ก็จัดเลือกตั้งไม่สำเร็จ เพราะมีความตั้งใจจัดตั้ง ที่จะไม่ให้การเลือกตั้งเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เห็นการพูดจาของ กกต. บางคน ผ่านสื่อก็ไม่มั่นใจว่า จะจัดการเลือกตั้งหรือไม่ แต่พอการเลือกตั้งผ่านมา ก็คิดว่าอะไรที่อยากจะทำ ก็คงไม่ทำอีกแล้ว การเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 , 27 เม.ย. ตนไม่ แน่ใจว่า มีอะไรอยู่ในใจหรือไม่ จะเป็นความตั้งใจอะไรหรือเปล่า จะผิดอะไรหรือไม่ แต่เชื่อว่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะมีคนยื่นฟ้องต่อ กกต. ไม่ต่ำกว่า 10 คดีแล้ว
วันนี้เชื่อว่า กกต.ทั้ง 5 คน เริ่มไม่มีความสุข อย่างไรก็ตาม ขอให้ยืนตามหลักการตามหน้าที่ของท่านตามกฎหมาย อำนาจหน้าทั้งหมดของประเทศตอนนี้อยู่ที่ กกต. แต่เวลาจะทำอะไร ก็ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับตัดต่อพันธุกรรมที่จะฆ่าคนไทยตายหมด
พล.อ.เอกชัย กล่าวว่า ตนฝากประเด็นไปถึง กกต.ว่า กรณีที่ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) ลาออก หรือการยกเลิกไม่ให้ใช้สถานที่เลือกตั้ง มีข้อผูกมัดตามกฎหมายหรือไม่ การยกเลิกเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากเป็นการที่ กกต.ไปขอใช้ที่ฟรี ก็ต้องมานั่งคุยกันใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะกลัวอันตราย หรือตั้งใจจะหายตัวไป ทำให้การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยล้มเหลว เรากำลังจะเป็นรัฐล้ม เหลว ตามที่สหประชาชาตินิยามไว้ แต่ตนยังคิดว่าประเทศของเรายังไม่น่าเลวร้ายถึงขนาดไปเลือกตั้งกันในค่ายทหาร เพียงแต่ขอให้กำลังทหารเข้ามาดูแล ก็น่าจะเพียงพอ และฝาก กกต. อย่าทำอะไรที่ไปเข้าทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องการจัดเลือกตั้ง ส.ว. ในวันที่ 30 มี.ค. แล้วเลื่อนการเลือกตั้ง ส.ส. ไปเป็นปลายเดือน เม.ย. เพื่อจะเปิดให้พรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัคร ส.ส.ได้ ซึ่งกลายเป็นข้อสงสัยของหลายคนว่า กกต. ทำอย่างนี้ มีอะไรหรือไม่
** ใครขวางเลือกตั้ง ขัดมาตรา68
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่า ขอตั้งคำถามว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง หากการเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเราไม่รู้ว่า วันดีคืนดี กปปส. อาจประกาศไม่เอาการเลือกตั้งส.ว. แล้วจะเกิดอะไรขึ้น อาจมีการเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อให้เหลือแต่ ส.ว.สรรหา เพื่อเปิดทางให้มีนายกฯคนกลาง แต่ถามว่า เอามาจากไหน ก็จะพยายามสร้างทฤษฎี ม. 7 ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะผู้มีสิทธิทั่วประเทศ ก็จะรู้สึกว่า ถูกตบหน้า
ดังนั้นปัญหาการเลือกตั้งวันนี้ ไม่ใช่แต่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แต่มันคือการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศชาติเกิดอันตรายอย่างยิ่ง จึงขอเน้นย้ำให้กกต. ได้ยื่นคำร้องไปยัง อสส. เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กระบวนการขัดขวางการเลือกตั้งเป็นการล้มล้างการปกครองตาม มาตรา 68 นอกจากนี้ เพราะกรณีนี้มันชัดเจนว่า เป็นการแย่งชิงอำนาจไปจากประชาชน เป็นการสกัดกั้นประชาชน เพื่อจะเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครอง ซึ่งตนได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่สำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ด ก็จะพูดเรื่องนี้
นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า ยอมรับว่าการเลือกตั้งในขณะนี้ไม่ปกติ การตีความ จะทำแบบทื่อๆไม่ได้ ต้องมีการตีความโดยให้มีความสอดคล้องกัน ตนเสนอว่า หากตีความตาม มาตรา 93 วรรคหก ประกอบกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ เพื่อที่จะสามารถ คำนวณคะแนน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จากหน่วยที่ได้มีการเลือกตั้งไปแล้วได้ โดย กกต. สามารถจะออกประกาศ กกต. เพื่อกำหนดการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ โดยอาศัยจากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ซึ่งจะไม่มีความผิด ทางอาญา หากจะให้แน่ใจก็สามารถให้คนไปร้องขออำนาจศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินได้ ซึ่งถ้าหากศาลระบุว่า ไม่ได้ เราก็จะกลับมาที่ปัญหาเดิม แต่ถ้าได้ก็เดินหน้าต่อไป ไม่จำเป็นต้องไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนข้อห่วงกังวลว่า หากคำนวณตามวิธีดังกล่าวแล้ว เกิดสามารถลงคะแนนในอีก 10,000 หน่วยเลือกตั้ง ที่ค้างอยู่ได้ จะทำให้มีผลต่อจำนวน ส.ส.ที่จะจัดตั้งรัฐบาลต่อไปนั้น ตนมองว่า คงไม่น่าจะมีผลอะไร เนื่องจากพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ได้บอยคอตการเลือกตั้งไปแล้ว แต่เพื่อความแน่ใจ ก็ให้ กกต.เชิญทุกพรรคการเมือง มาลงสัตยาบันร่วมกันว่า จะใช้วิธีการนับคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แบบดังกล่าวไปก่อน เพื่อให้บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไปได้
**แนะให้ทหารช่วยจัดเลือกตั้ง
นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. กล่าวว่า เชื่อว่าสิ่งที่ กกต.กังวลที่สุด คือ การปิดล้อมสถานที่เลือกตั้ง จนไม่สามารถลงคะแนนเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 มีเจตนารมณ์ต้องการให้มีสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว ไม่อยากให้รัฐบาลอยู่รักษาการนานเกินไป กกต.ชุดที่ผ่านมา ยึดกรอบดังกล่าวอย่างเคร่งครัด คือ ประกาศผลเลือกตั้งไปก่อนแล้วสอยทีหลัง ทำให้ไม่มีปัญหาในการเปิดสภาผู้แทนราษฎร
ส่วนปัญหาของ กกต.ชุดนี้ คือ ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้สมบูรณ์ โดยไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง กกต.ต้องมองหน้าที่โดยจัดเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ เพราะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าดด้วยกรรมการการเลือกตั้ง สามารถออกคำสั่ง หรือระเบียบ ให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยดำเนินการจัดเลือกตั้งให้สำเร็จได้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นการเมือง เป็นการแย่งอำนาจรัฐ แต่การจัดการเลือกตั้งของกกต. เพื่อนำไปสู่การมีอำนาจรัฐ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172
นางสดศรี กล่าวว่า กกต.ควรมอบอำนาจให้บุคคลที่มีศักยภาพ ตนไม่ได้ดูถูก แต่ทุกฝ่ายยอมรับว่า ศักยภาพและอิทธิพลของทหาร มีจริง ไม่ต้องกลัวการปฏิวัติ กกต.สามารถออกเป็นระเบียบ และออกเป็นประกาศของกกต. เพื่อแก้ปัญหานี้ ตามที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. แสดงความวิตกกังวลไว้ โดยกกต. คอยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เพราะทหารมีโรงพิมพ์ การจัดส่งหีบบัตร หรือบัตรเลือกตั้ง การควบคุมการเลือกตั้ง เขามีกองกำลังดำเนินการ ไม่ต้องกลัวว่าเสียศักดิ์ศรี เพราะเป็นภาวะวิกฤตที่ไม่ปกติ กกต.ควรยอมรับว่า ขณะนี้ศักยภาพไม่ถึงขั้นดำเนินการได้ หาก กกต.มองดูปัญหาที่ตั้งเอาไว้ 7-8 ข้อ ที่เป็นข้อกังวลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 หรือ 93 จะจบได้ง่ายกว่าการแก้ปัญหาทีละข้อ การจะโยนภาระไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหมด คงไม่สามารถทำได้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดจากการเมืองที่จ้องขัดขวางการเลือกตั้ง ดังนั้นต้องตีปัญหาให้แตกว่า จะทำอย่างไร โดยไม่ต้องไปมัวเรียกร้องให้ฝ่ายใดมาเจรจา
** ใช้อำนาจตามกม.อย่างเคร่งครัด
ด้านพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผอ.สำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า เราคงโยนภาระไปให้ กกต. ทั้งหมดคงไม่ได้ เพราะเชื่อว่า ภาวะไม่ปกติแบบนี้ 180 วัน ก็จัดเลือกตั้งไม่สำเร็จ เพราะมีความตั้งใจจัดตั้ง ที่จะไม่ให้การเลือกตั้งเกิดขึ้น เพราะก่อนหน้านี้เห็นการพูดจาของ กกต. บางคน ผ่านสื่อก็ไม่มั่นใจว่า จะจัดการเลือกตั้งหรือไม่ แต่พอการเลือกตั้งผ่านมา ก็คิดว่าอะไรที่อยากจะทำ ก็คงไม่ทำอีกแล้ว การเลื่อนวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 , 27 เม.ย. ตนไม่ แน่ใจว่า มีอะไรอยู่ในใจหรือไม่ จะเป็นความตั้งใจอะไรหรือเปล่า จะผิดอะไรหรือไม่ แต่เชื่อว่าจะมีปัญหาอย่างแน่นอน เพราะมีคนยื่นฟ้องต่อ กกต. ไม่ต่ำกว่า 10 คดีแล้ว
วันนี้เชื่อว่า กกต.ทั้ง 5 คน เริ่มไม่มีความสุข อย่างไรก็ตาม ขอให้ยืนตามหลักการตามหน้าที่ของท่านตามกฎหมาย อำนาจหน้าทั้งหมดของประเทศตอนนี้อยู่ที่ กกต. แต่เวลาจะทำอะไร ก็ต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เป็นฉบับตัดต่อพันธุกรรมที่จะฆ่าคนไทยตายหมด
พล.อ.เอกชัย กล่าวว่า ตนฝากประเด็นไปถึง กกต.ว่า กรณีที่ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) ลาออก หรือการยกเลิกไม่ให้ใช้สถานที่เลือกตั้ง มีข้อผูกมัดตามกฎหมายหรือไม่ การยกเลิกเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากเป็นการที่ กกต.ไปขอใช้ที่ฟรี ก็ต้องมานั่งคุยกันใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก เพราะเราก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะกลัวอันตราย หรือตั้งใจจะหายตัวไป ทำให้การบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยล้มเหลว เรากำลังจะเป็นรัฐล้ม เหลว ตามที่สหประชาชาตินิยามไว้ แต่ตนยังคิดว่าประเทศของเรายังไม่น่าเลวร้ายถึงขนาดไปเลือกตั้งกันในค่ายทหาร เพียงแต่ขอให้กำลังทหารเข้ามาดูแล ก็น่าจะเพียงพอ และฝาก กกต. อย่าทำอะไรที่ไปเข้าทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องการจัดเลือกตั้ง ส.ว. ในวันที่ 30 มี.ค. แล้วเลื่อนการเลือกตั้ง ส.ส. ไปเป็นปลายเดือน เม.ย. เพื่อจะเปิดให้พรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัคร ส.ส.ได้ ซึ่งกลายเป็นข้อสงสัยของหลายคนว่า กกต. ทำอย่างนี้ มีอะไรหรือไม่
** ใครขวางเลือกตั้ง ขัดมาตรา68
นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ กล่าวว่า ขอตั้งคำถามว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมือง หากการเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเราไม่รู้ว่า วันดีคืนดี กปปส. อาจประกาศไม่เอาการเลือกตั้งส.ว. แล้วจะเกิดอะไรขึ้น อาจมีการเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อให้เหลือแต่ ส.ว.สรรหา เพื่อเปิดทางให้มีนายกฯคนกลาง แต่ถามว่า เอามาจากไหน ก็จะพยายามสร้างทฤษฎี ม. 7 ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะผู้มีสิทธิทั่วประเทศ ก็จะรู้สึกว่า ถูกตบหน้า
ดังนั้นปัญหาการเลือกตั้งวันนี้ ไม่ใช่แต่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แต่มันคือการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศชาติเกิดอันตรายอย่างยิ่ง จึงขอเน้นย้ำให้กกต. ได้ยื่นคำร้องไปยัง อสส. เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กระบวนการขัดขวางการเลือกตั้งเป็นการล้มล้างการปกครองตาม มาตรา 68 นอกจากนี้ เพราะกรณีนี้มันชัดเจนว่า เป็นการแย่งชิงอำนาจไปจากประชาชน เป็นการสกัดกั้นประชาชน เพื่อจะเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครอง ซึ่งตนได้รับเชิญให้ไปบรรยายที่สำนักกฎหมาย มหาวิทยาลัย ฮาร์เวิร์ด ก็จะพูดเรื่องนี้
นายวีรพัฒน์ กล่าวว่า ยอมรับว่าการเลือกตั้งในขณะนี้ไม่ปกติ การตีความ จะทำแบบทื่อๆไม่ได้ ต้องมีการตีความโดยให้มีความสอดคล้องกัน ตนเสนอว่า หากตีความตาม มาตรา 93 วรรคหก ประกอบกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ เพื่อที่จะสามารถ คำนวณคะแนน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จากหน่วยที่ได้มีการเลือกตั้งไปแล้วได้ โดย กกต. สามารถจะออกประกาศ กกต. เพื่อกำหนดการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ โดยอาศัยจากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ซึ่งจะไม่มีความผิด ทางอาญา หากจะให้แน่ใจก็สามารถให้คนไปร้องขออำนาจศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินได้ ซึ่งถ้าหากศาลระบุว่า ไม่ได้ เราก็จะกลับมาที่ปัญหาเดิม แต่ถ้าได้ก็เดินหน้าต่อไป ไม่จำเป็นต้องไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนข้อห่วงกังวลว่า หากคำนวณตามวิธีดังกล่าวแล้ว เกิดสามารถลงคะแนนในอีก 10,000 หน่วยเลือกตั้ง ที่ค้างอยู่ได้ จะทำให้มีผลต่อจำนวน ส.ส.ที่จะจัดตั้งรัฐบาลต่อไปนั้น ตนมองว่า คงไม่น่าจะมีผลอะไร เนื่องจากพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่ง ได้บอยคอตการเลือกตั้งไปแล้ว แต่เพื่อความแน่ใจ ก็ให้ กกต.เชิญทุกพรรคการเมือง มาลงสัตยาบันร่วมกันว่า จะใช้วิธีการนับคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แบบดังกล่าวไปก่อน เพื่อให้บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไปได้