ASTVผู้จัดการรายวัน - ม็อบชาวนาเคลื่อนพลบุกสำนักปลัดกลาโหม จี้ “ยิ่งลักษณ์” จะจ่ายเงินจำนำข้าวเมื่อไร "ชวนนท์ " บี้ "ปู-นิวัฒน์ธำรง" แจงที่มาเงิน 4 พันล้าน เชื่อปั้นตัวเลขแหกตาชาวนาอีกรอบ แฉหนี้ 1.3 แสนล้าน ต้องระบายข้าวทั้งปีถึงจะพอจ่าย “โต้ง” ถูกชาวนาโห่ไล่ไม่พอใจคำตอบ ส่วนม็อบชาวนาถอนทัพกลับก่อนยกระดับมาใหม่ 19 นี้ ด้านพนักงาน ทอท. แต่งดำต้าน “ปู” จ้องฉกเงิน 40,000 ล้านบาทจ่ายจำนำข้าว แฉรัฐบาลเบี้ยวชาวนาทั่วประเทศกินแห้วอีก
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (17ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สป.กห.) เมืองทองธานี ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด โดยไม่เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนบันทึกภาพ ขณะที่รักษาการรัฐมนตรี ต่างทยอยเดินทางมาร่วมประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มกปปส. และกลุ่มชาวนา โดยเฉพาะแนวทางการแก้ไขปัญหาชาวนา ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าว
ต่อมาเวลา 11.30 น. กลุ่มเกษตรกรชาวนา จำนวนกว่า 300-400 คน จาก จ.สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อุทัยธานี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา และ จ.อ่างทอง นำโดย นายระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนภาคตะวันตก นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ประธานเครือข่ายชาวนาภาคเหนือ เป็นแกนนำ เคลื่อนขบวนจากกระทรวงพาณิชย์ มาชุมนุมที่ถนนด้านหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี เพื่อมาทวงถามเงินโครงการรับจำนำข้าว และเรียกร้องขอพบนายกรัฐมนตรี
ทันทีที่กลุ่มผู้ชุมนุมชาวนาเดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่ทหารได้นำรั้วลวดหนามมาปิดทางเข้าออกทันที โดยเป็นกองกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร จากศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี จำนวน 1 กองร้อย และเจ้าหน้าที่ทหารจากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และกรมการทหารอากาศโยธิน1 กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาอากาศโยธิน จำนวน 1 กองร้อย ดูแลความปลอดภัยภาย
การชุมนุมของชาวนา ผ่านไปได้ 20 นาที ก็ยังไม่มีตัวแทนรัฐบาลคนใดลงมาเจรจา ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจ และประกาศว่า จะให้เวลากับรัฐบาลอีก 15 นาที ขอให้นายกฯ ลงมาพูดคุยกับชาวนา ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 5 นาที ปรากฏว่า กลุ่มผู้ชุมชาวนาบางส่วนก็เริ่มนำรั้วเหล็กมาผลักดันรั้วลวดหนาม จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมก็นำรถอีแต๊ก พังรั้วลวดหนามบุกเข้าไปทันที ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจากศูนย์การบินทหารปืนใหญ่ จำนวน 20 นาย ได้ใช้โล่เข้าผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ไม่เป็นผล เจ้าหน้าที่ทหารต้องยอมถอย จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้ามาพื้นที่ประชิดตัวอาคาร
จากนั้น พ.อ.ยุทธ พรหมพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการเรือน สป.กห.ได้เข้าเจรจาต่อรอง ขอเปลี่ยนจากนายกฯ เป็นรัฐมนตรีคนอื่นเข้าเจรจา แต่แกนนำผู้ชุมนุมปฏิเสธ ยืนยันพบนายกฯ เพียงคนเดียว และประกาศปักหลักชุมนุมที่ สป.กห.จนกว่าจะได้พบนายกฯ จากนั้นผู้ชุมนุมพยายามที่จะปิดล้อมรอบสำนักงานปิดทุกประตูเข้าออก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามสกัดกั้น ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องยอมถอยกลับไปชุมนุมถนนหน้า สป.กห.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ชาวนามาชุมนุมนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังคงนั่งทำงานอยู่ที่ชั้น 10 ของ สป.กห. ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในโครงการรับจำนำข้าว โดยคนใกล้ชิดนายกฯ ยืนยันนายกฯ จะไม่ลงมาพบชาวนาอย่างแน่นอน เนื่องจากทีมรักษาความปลอดภัยเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ขณะที่ก่อนหน้านี้ กำหนดการเดิม เวลา 14.00 น. นายกิตติรัตน์ และนายนิวัฒน์ธำรง จะแถลงข่าว ถึงการจ่ายเงินและการระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าว แต่ได้มีการเลื่อนการพบชาวนา และเลื่อนการแถลงข่าวออกไปในเวลา 15.20 น.
นายระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนภาคตะวันตก กล่าวว่า วันนี้ต้องการคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มาคุย ก็จะยังไม่กลับ จะปักหลักพักค้างที่บริเวณหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จนกว่านายกรัฐมนตรี จะลงมาพูดคุย และมีข้อตกลงจนเป็นที่น่าพอใจ ส่วนกรณีที่รัฐบาลออกข่าวว่า ชาวนาจะได้เงินคืนทั่วประเทศนั้น ตนได้โทรศัพท์ไปตรวจสอบยัง ธ.ก.ส. ที่ต่างจังหวัดแล้ว พบว่าไม่มีเงินเข้ามาจริง จึงอยากขอความเห็นใจของประชาชน ในการสนับสนุนอาหาร และน้ำ ให้พี่น้องเกษตรกรชาวนา ที่ปักหลักพักค้างอยู่ด้วย
จี้"ปู"แจงที่มาของเงินและจ่ายให้ใครบ้าง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะจ่ายเงินจำนำข้าวที่ค้างชำระให้กับชาวนาในวันที่ 17 ก.พ.ว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ระบุว่า จะจ่ายวันละ 4 พันล้านบาท ซึ่งจะใช้เวลาราว 45-46 วัน จึงจะจ่ายหนี้ 1.3 แสนล้านบาทได้ครบ หากทำได้จริงนับเป็นข่าวดี แต่ที่น่ากังวลคือไม่มีการอ้างแหล่งที่มาของเงิน ว่านำมาจากไหน นายนิวัฒน์ธำรง พูดลอยๆ ว่ามาจากการกู้เงิน และการระบายข้าว แต่ระบุแหล่งที่มาของเงินกู้ และยอดเงินที่ระบายข้าวไม่ได้ จึงไม่เชื่อว่าจะมีเงิน 4 พันล้านบาทจ่ายไปถึงมือชาวนา
ดังนั้นสิ่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายนิวัฒน์ธำรง ต้องตอบว่าเงิน 4 พันล้านส่งไป ธ.ก.ส. สาขาใด พื้นที่ใด และใบประทวน มีมูลค่าเท่าไรหากไม่สามารถชี้แจงได้ ก็จะเป็นแค่การอ้างลอยๆ เพราะน่าสงสัยว่า อยู่ดีๆ รัฐบาลมีเงินวันละ 4 พันล้านบาท ไปจ่ายชาวนาได้อย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เพราะหนี้ที่ติดค้างชาวนานั้น เป็นจำนวนมหาศาล คือ 1.3 แสนล้านบาท เท่ากับการขายข้าวทั้งปีของปี 55 และ 56 จึงต้องถามว่า เป็นแค่การสร้างความหวังให้ชาวนาหรือไม่ ทั้งนี้ ยืนยันพรรคสนับสนุนให้รัฐจ่ายเงินให้ชาวนา แต่ต้องจ่ายจริง ไม่ใช่พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง สร้างตัวเลขหลอกชาวนา
"ภายในเย็นวันนี้ หลังจากเวลา 15.30 น. ที่ ธ.ก.ส.จะปิดทำการ จะต้องมีการแจกแจงรายละเอียดว่า มีเม็ดเงินจ่ายให้ชาวนา ที่ไหน อย่างไร และขอให้รัฐบาลเลิกสร้างประเด็นการเมือง กลบเกลื่อนความเดือดร้อนของชาวนา โดยเฉพาะนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ ที่ทราบดีอยู่แล้วว่า โครงการจำนำข้าวสร้างความเสียหายมากมาย แต่นายยรรยง กลับกล่าวหาว่า ชาวนาที่มาประท้วงเป็นชาวนาปลอม ถือเป็นทัศนคติที่ดูถูกประชาชน ทั้งที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลก่อขึ้น รวมทั้งเชื่อด้วยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ไฟเขียวให้นายยรรยงพูด ไม่เช่นนั้นคงไม่กล้าทำเช่นนี้" นายชวนนท์ กล่าว
“โต้ง” อ้างการเมืองอีก
เมื่อเวลา 15.25 น. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการ รมช.คลัง ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงการจ่ายเงินให้กับชาวนา
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า โครงการจำนำข้าว เริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการทยอยจ่ายเงินให้ชาวนามาต่อเนื่อง แต่โครงการรับจำนำข้าวปี 2556 และ 2557 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เกิดการยุบสภา ทำให้รัฐบาลต้องปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มียอดรับจำนำทั้งสิ้น 175,000 ล้านบาท มีการเบิกจ่าย 65,000 ล้านบาท และค้างชำระ 111,000 ซึ่งจะเริ่มจ่ายเงินให้กับชาวนาได้ในวันนี้ และจะจ่ายให้ตามลำดับที่ลงทะเบียนได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าธ.ก.ส.มีศักยภาพและมีสภาพคล่องในการดำเนินการจ่ายเงิน ถึง 4 พันล้านบาทต่อวัน หากไม่มีการขัดขวาง และไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง
ขณะที่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ย้ำว่า ปัจจุบันได้มีการระบายข้าว ทั้ง 5 แนวทาง โดยในเดือนตุลาคม 2556 ถึงมกราคม 2557 ได้มีการส่งเงินจากการระบายข้าวคืนให้ ธ.ก.ส. ประมาณ 35,000 ล้านบาท และในเดือนมกราคม 2557 สามารถขายข้าวได้เพิ่มเติมอีก ประมาณ 1 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท จากนั้นเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมนี้ จะมีการประกาศขายข้าว เพิ่มขึ้นอีก เดือนละ 1 ล้านตัน ทั้งนี้จากสถิติปริมาณส่งออกข้าวของไทยตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา เฉลี่ยปีละประมาณ 8 ล้านตัน ขณะที่สถิติการซื้อขายข้าวในตลาดโลก 2-3 ปีที่ผ่านมา ประมาณปีละ 30-35 ล้านตัน
“ทนุศักดิ์” ทำเป็นฉุนโวยวาย
ด้านนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการ รมช.คลัง กล่าวด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวและน้ำเสียงสั่นเครือว่า เรื่องนี้ ธกส.ได้เงินมาจากรัฐบาลแล้วก็ส่งไปให้ชาวนา แค่นี้ขัดขวางทำไม ก็รัฐบาลค้ำประกันทุกอย่างและโครงการนี้ก็เดินมาตลอดและไม่เคยมีปัญหา ปัญหามันอยู่ที่บางอย่างไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการ มีการส่งเงินจากธนาคารไปที่ชาวบ้านแล้วพวกคุณขัดขวางกันทำไม แบงก์ไหนก็แล้วแต่ที่ปล่อยกู้ ให้ชาวนาได้เงินไม่ใช่ไปถอนมันต้องไปฝาก มันกลับกันหมดมนุษย์เดี๋ยวนี้ แล้วมันจะอยู่กันยังไง ขอบคุณครับ”นายทนุศักดิ์ กล่าว พร้อมกับลุกขึ้นยืนยกมือไหว้และเดินออกจากโต๊ะแถลงข่าวทันที โดยไม่สนใจคำถามที่สื่อพยายามถามหลายคำถาม
ชาวนาโห่ไล่ “โต้ง”
เมื่อเวลาประมาณ 17.45 น.นายกิตติรัตน์ ได้เดินทางออกมาเจรจากับกลุ่มชาวนาที่ชุมนุมหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยยืนยันว่า ชาวนาจะได้รับเงินตามใบประทวนที่ถืออยู่ แต่เหตุที่จ่ายเงินล่าช้า เพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ารัฐบาลค่อนข้างตกใจในส่วนของเงินที่จะต้องจ่ายค่าจำนำข้าวตามใบประทวนของเดือน ต.ค.56 ยังไม่ถึงมือชาวนา ซึ่งรัฐบาลจะทำการตรวจสอบกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ก่อน หากการตรวจสอบแล้วเสร็จก็พร้อมจะจ่ายเงินให้ในเวลาอันรวดเร็ว
แต่กลุ่มชาวนาไม่พอใจกับการชี้แจงของนายกิตติรัตน์ เนื่องจากต้องการให้ระบุวันเวลาที่ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินให้ได้เมื่อใด ทำให้มีเสียงโห่จากกลุ่มชาวนาเป็นระยะ แม้ว่านายกิตติรัตน์จะพยายามอธิบายว่าจะมีการจ่ายเงินวันละ 4 พันล้านบาท และคาดว่าจะจ่ายเงินแล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 6-8 สัปดาห์ แต่ไม่ได้ระบุความชัดเจนมากกว่านั้น ทำให้ชาวนายังคงไม่พอใจ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ทหารได้พาตัวนายกิตติรัตน์ออกจากสถานที่เจรจา ขณะที่กลุ่มชาวนาได้ขว้างปาขวดน้ำพลาสติกและหัวเสาธงทองเหลืองไล่หลัง แต่ไม่โดนนายกิตติรัตน์
หลังจากนั้นนายระวี รุ่งเรือง แกนนำกลุ่มชาวนา ประกาศกับผู้ชุมนุมว่า การพูดคุยในวันนี้ชาวนาจะไม่รับข้อเสนอของรัฐบาล ชาวนาบางส่วนยืนยันว่าจะปักหลักชุมนุมอยู่หน้าสำนักงานปลักกระทรวงกลาโหม แต่เนื่องจากการเดินทางมาชุมนุมวันนี้มีความไม่พร้อมหลายอย่าง และอยู่ในช่วงเย็น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของชาวนาจึงประกาศให้เดินทางกลับไปยังกระทรวงพาณิชย์เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวต่อไป โดยคาดว่าจะยกระดับการชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศในวันที่ 19 ก.พ.เพื่อขับไล่รัฐบาล
'ปู' จ้องฉก'ทอท'4หมื่นล.-พนง.ต้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เคลื่อนไหวเรียกร้องให้พนักงานทุกคนแต่งกายชุดดำเพื่อแสดงพลังต่อต้าน และไม่เห็นด้วยที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะเอาเงินของ ทอท ไปใช้ในทางอื่นที่ไม่ใช่ในกิจการของบริษัท โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้มารวมตัวกันที่สำนักงานใหญ่ ทอท ซึ่งจะมีการประชุมสหกรณ์อยู่แล้ว ขอให้เพื่อนพนักงานมารวมตัวกันมากๆ
รายงานระบุว่า มีกระแสข่าวจากฝ่ายบริหารว่า รัฐบาลกำลังจะมาเอาเงินของบริษัท ทอท จำนวน 40,000 ล้านบาท ไปจ่ายให้แก่เกษตรกรชาวนาเพื่อชำระหนี้ค่าข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลประโยชน์ของ ทอท โดยคณะกรรมการบริษัทจะมีการประชุมพิจารณากรณีนี้ในวันที่ 18 ก.พ.นี้
ชาวนาแห้ว-เงินไม่มาตามลมปาก"ปู"
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นวันแรกที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการระทรวงกลาโหม รับปากจะทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนา ปรากฏว่าที่ภาคเหนือมีรายงานข่าวแจ้งว่า เดิมมีการแจ้งกับธ.ก.ส. 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ว่าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ จะได้รับการจัดสรรเงิน 100 ล้านบาท แต่ในช่วงเช้ามีการแจ้งยกเลิก ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินให้กับชาวนาได้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีปัญหาลักษณะเดียวกันทุกภาค และยังไม่สามารถยินยันได้ว่า วันที่ 18 กุมภาพันธ์ จะมีเงินโอนมาหรือไม่ด้วย
แจงมีมาตรการบรรเทาทุกข์เบื้องต้น
นายศักดิ์ชัย คำเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เชียงใหม่ กล่าวว่า ไม่ได้จ่ายเงินให้ชาวนามาประมาณ 2 สัปดาห์แล้ว จากเดิมที่จะจ่ายให้ทุกสัปดาห์ตามจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร ซึ่งรัฐบาลแจ้งว่าจะจัดสรรมาให้สัปดาห์ละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท กระจายไปทั่วประเทศในสาขาที่ชาวยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว โดยจังหวัดเชียงใหม่มีชาวนาร่วมโครงการประมาณ 27,000 ราย จ่ายเงินแล้ว 16,267 ราย 1,333 ล้านบาท ค้างจ่าย 10,058 ราย 758 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.มีมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่เป็นลูกค้าและยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว โดยเลื่อนการชำระหนี้ที่ครบกำหนดชำระในวันที่ 31 มีนาคมนี้ออกไปอีก 6 เดือน โดยไม่คิดดอกเบี้ย และสนับสนุนเงินกู้อัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าเงินในใบประทวน ดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี รายละไม่เกิน 1 แสนบาทเพื่อการลงทุน เชื่อว่าน่าบรรเทาความเดือดร้อนได้ระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากจ.เชียงใหม่แล้ว ยังมีชาวนาอีกหลายจังหวัดที่ต้องผิดหวัง เมื่อไปรอรับเงินแล้ว ได้รับแจ้งว่ายังไม่ได้รับการจัดสรรเงิน อาทิ จ.เชียงราย จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สุรินทร์ จ.มหาสารคาม จ.หนองคาย จ.กาฬสินธุ์ จ.ศรีสะเกษ
เผยเงินปริศนาโผล่3จังหวัด884ล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเงินโอนให้กับธ.ก.ส.อ่างทอง หน่วยอำเภอเมือง 2 ล้านบาท ธ.ก.ส. อุบลราชธานี 474 ล้านบาท และธ.ก.ส.บุรีรัมย์ 108 ล้านบาท โดยที่จ.อ่างทอง ธ.ก.ส.หน่วยอำเภอเมือง แยกจัดสรรเงินให้อ.เมือง 800,000 บาท อ.ไชโย 800,000 บาท และอ.ป่าโมก 400,000 บาท ซึ่งในอ.เมือง จะจ่ายให้ชางนาได้ 8 รายเท่านั้น
จ.อุบลราชธานี แม้ได้รับเงิน 474 ล้านบาท แต่มีวงเงินค้างจ่ายกว่า 6,500 ล้านบาท โดยสาขาอำเภอเมือง ได้รับจัดสรร 2.9 ล้านบาท จ่ายให้ได้ประมาณ 50 ราย ส่วนจ.บุรีรัมย์ ที่ได้รับกว่า 108 ล้านบาทได้กระจายเงินไปทั้ง 22 สาขา ที่ค้างจ่ายกว่า 4,000 ล้านบาท
ด้านสหภาพแรงงานธ.ก.ส.ภาคใต้ตอนบน ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการกู้เงิน พร้อมนัดพนักงานแต่งชุดดำ เพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วย และหากเป็นเรื่องจริง และส่งผลกระทบต่อองค์กร ทางสหภาพแรงงานจะยกระดับการคัดค้านทันที
เมื่อเวลา 10.00 น.วานนี้ (17ก.พ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สป.กห.) เมืองทองธานี ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด โดยไม่เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนบันทึกภาพ ขณะที่รักษาการรัฐมนตรี ต่างทยอยเดินทางมาร่วมประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มกปปส. และกลุ่มชาวนา โดยเฉพาะแนวทางการแก้ไขปัญหาชาวนา ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรับจำนำข้าว
ต่อมาเวลา 11.30 น. กลุ่มเกษตรกรชาวนา จำนวนกว่า 300-400 คน จาก จ.สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อุทัยธานี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา และ จ.อ่างทอง นำโดย นายระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนภาคตะวันตก นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ประธานเครือข่ายชาวนาภาคเหนือ เป็นแกนนำ เคลื่อนขบวนจากกระทรวงพาณิชย์ มาชุมนุมที่ถนนด้านหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี เพื่อมาทวงถามเงินโครงการรับจำนำข้าว และเรียกร้องขอพบนายกรัฐมนตรี
ทันทีที่กลุ่มผู้ชุมนุมชาวนาเดินทางมาถึง เจ้าหน้าที่ทหารได้นำรั้วลวดหนามมาปิดทางเข้าออกทันที โดยเป็นกองกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร จากศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี จำนวน 1 กองร้อย และเจ้าหน้าที่ทหารจากกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และกรมการทหารอากาศโยธิน1 กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์ หน่วยบัญชาอากาศโยธิน จำนวน 1 กองร้อย ดูแลความปลอดภัยภาย
การชุมนุมของชาวนา ผ่านไปได้ 20 นาที ก็ยังไม่มีตัวแทนรัฐบาลคนใดลงมาเจรจา ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจ และประกาศว่า จะให้เวลากับรัฐบาลอีก 15 นาที ขอให้นายกฯ ลงมาพูดคุยกับชาวนา ทั้งนี้เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 5 นาที ปรากฏว่า กลุ่มผู้ชุมชาวนาบางส่วนก็เริ่มนำรั้วเหล็กมาผลักดันรั้วลวดหนาม จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมก็นำรถอีแต๊ก พังรั้วลวดหนามบุกเข้าไปทันที ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารจากศูนย์การบินทหารปืนใหญ่ จำนวน 20 นาย ได้ใช้โล่เข้าผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ไม่เป็นผล เจ้าหน้าที่ทหารต้องยอมถอย จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมบุกเข้ามาพื้นที่ประชิดตัวอาคาร
จากนั้น พ.อ.ยุทธ พรหมพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการเรือน สป.กห.ได้เข้าเจรจาต่อรอง ขอเปลี่ยนจากนายกฯ เป็นรัฐมนตรีคนอื่นเข้าเจรจา แต่แกนนำผู้ชุมนุมปฏิเสธ ยืนยันพบนายกฯ เพียงคนเดียว และประกาศปักหลักชุมนุมที่ สป.กห.จนกว่าจะได้พบนายกฯ จากนั้นผู้ชุมนุมพยายามที่จะปิดล้อมรอบสำนักงานปิดทุกประตูเข้าออก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามสกัดกั้น ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องยอมถอยกลับไปชุมนุมถนนหน้า สป.กห.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ชาวนามาชุมนุมนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังคงนั่งทำงานอยู่ที่ชั้น 10 ของ สป.กห. ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในโครงการรับจำนำข้าว โดยคนใกล้ชิดนายกฯ ยืนยันนายกฯ จะไม่ลงมาพบชาวนาอย่างแน่นอน เนื่องจากทีมรักษาความปลอดภัยเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ขณะที่ก่อนหน้านี้ กำหนดการเดิม เวลา 14.00 น. นายกิตติรัตน์ และนายนิวัฒน์ธำรง จะแถลงข่าว ถึงการจ่ายเงินและการระบายข้าวในโครงการรับจำนำข้าว แต่ได้มีการเลื่อนการพบชาวนา และเลื่อนการแถลงข่าวออกไปในเวลา 15.20 น.
นายระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนภาคตะวันตก กล่าวว่า วันนี้ต้องการคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพียงคนเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มาคุย ก็จะยังไม่กลับ จะปักหลักพักค้างที่บริเวณหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จนกว่านายกรัฐมนตรี จะลงมาพูดคุย และมีข้อตกลงจนเป็นที่น่าพอใจ ส่วนกรณีที่รัฐบาลออกข่าวว่า ชาวนาจะได้เงินคืนทั่วประเทศนั้น ตนได้โทรศัพท์ไปตรวจสอบยัง ธ.ก.ส. ที่ต่างจังหวัดแล้ว พบว่าไม่มีเงินเข้ามาจริง จึงอยากขอความเห็นใจของประชาชน ในการสนับสนุนอาหาร และน้ำ ให้พี่น้องเกษตรกรชาวนา ที่ปักหลักพักค้างอยู่ด้วย
จี้"ปู"แจงที่มาของเงินและจ่ายให้ใครบ้าง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะจ่ายเงินจำนำข้าวที่ค้างชำระให้กับชาวนาในวันที่ 17 ก.พ.ว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ระบุว่า จะจ่ายวันละ 4 พันล้านบาท ซึ่งจะใช้เวลาราว 45-46 วัน จึงจะจ่ายหนี้ 1.3 แสนล้านบาทได้ครบ หากทำได้จริงนับเป็นข่าวดี แต่ที่น่ากังวลคือไม่มีการอ้างแหล่งที่มาของเงิน ว่านำมาจากไหน นายนิวัฒน์ธำรง พูดลอยๆ ว่ามาจากการกู้เงิน และการระบายข้าว แต่ระบุแหล่งที่มาของเงินกู้ และยอดเงินที่ระบายข้าวไม่ได้ จึงไม่เชื่อว่าจะมีเงิน 4 พันล้านบาทจ่ายไปถึงมือชาวนา
ดังนั้นสิ่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายนิวัฒน์ธำรง ต้องตอบว่าเงิน 4 พันล้านส่งไป ธ.ก.ส. สาขาใด พื้นที่ใด และใบประทวน มีมูลค่าเท่าไรหากไม่สามารถชี้แจงได้ ก็จะเป็นแค่การอ้างลอยๆ เพราะน่าสงสัยว่า อยู่ดีๆ รัฐบาลมีเงินวันละ 4 พันล้านบาท ไปจ่ายชาวนาได้อย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เพราะหนี้ที่ติดค้างชาวนานั้น เป็นจำนวนมหาศาล คือ 1.3 แสนล้านบาท เท่ากับการขายข้าวทั้งปีของปี 55 และ 56 จึงต้องถามว่า เป็นแค่การสร้างความหวังให้ชาวนาหรือไม่ ทั้งนี้ ยืนยันพรรคสนับสนุนให้รัฐจ่ายเงินให้ชาวนา แต่ต้องจ่ายจริง ไม่ใช่พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง สร้างตัวเลขหลอกชาวนา
"ภายในเย็นวันนี้ หลังจากเวลา 15.30 น. ที่ ธ.ก.ส.จะปิดทำการ จะต้องมีการแจกแจงรายละเอียดว่า มีเม็ดเงินจ่ายให้ชาวนา ที่ไหน อย่างไร และขอให้รัฐบาลเลิกสร้างประเด็นการเมือง กลบเกลื่อนความเดือดร้อนของชาวนา โดยเฉพาะนายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ ที่ทราบดีอยู่แล้วว่า โครงการจำนำข้าวสร้างความเสียหายมากมาย แต่นายยรรยง กลับกล่าวหาว่า ชาวนาที่มาประท้วงเป็นชาวนาปลอม ถือเป็นทัศนคติที่ดูถูกประชาชน ทั้งที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลก่อขึ้น รวมทั้งเชื่อด้วยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ไฟเขียวให้นายยรรยงพูด ไม่เช่นนั้นคงไม่กล้าทำเช่นนี้" นายชวนนท์ กล่าว
“โต้ง” อ้างการเมืองอีก
เมื่อเวลา 15.25 น. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการ รมช.คลัง ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงการจ่ายเงินให้กับชาวนา
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า โครงการจำนำข้าว เริ่มมาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการทยอยจ่ายเงินให้ชาวนามาต่อเนื่อง แต่โครงการรับจำนำข้าวปี 2556 และ 2557 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เกิดการยุบสภา ทำให้รัฐบาลต้องปฎิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มียอดรับจำนำทั้งสิ้น 175,000 ล้านบาท มีการเบิกจ่าย 65,000 ล้านบาท และค้างชำระ 111,000 ซึ่งจะเริ่มจ่ายเงินให้กับชาวนาได้ในวันนี้ และจะจ่ายให้ตามลำดับที่ลงทะเบียนได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าธ.ก.ส.มีศักยภาพและมีสภาพคล่องในการดำเนินการจ่ายเงิน ถึง 4 พันล้านบาทต่อวัน หากไม่มีการขัดขวาง และไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง
ขณะที่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ย้ำว่า ปัจจุบันได้มีการระบายข้าว ทั้ง 5 แนวทาง โดยในเดือนตุลาคม 2556 ถึงมกราคม 2557 ได้มีการส่งเงินจากการระบายข้าวคืนให้ ธ.ก.ส. ประมาณ 35,000 ล้านบาท และในเดือนมกราคม 2557 สามารถขายข้าวได้เพิ่มเติมอีก ประมาณ 1 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท จากนั้นเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคมนี้ จะมีการประกาศขายข้าว เพิ่มขึ้นอีก เดือนละ 1 ล้านตัน ทั้งนี้จากสถิติปริมาณส่งออกข้าวของไทยตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา เฉลี่ยปีละประมาณ 8 ล้านตัน ขณะที่สถิติการซื้อขายข้าวในตลาดโลก 2-3 ปีที่ผ่านมา ประมาณปีละ 30-35 ล้านตัน
“ทนุศักดิ์” ทำเป็นฉุนโวยวาย
ด้านนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการ รมช.คลัง กล่าวด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวและน้ำเสียงสั่นเครือว่า เรื่องนี้ ธกส.ได้เงินมาจากรัฐบาลแล้วก็ส่งไปให้ชาวนา แค่นี้ขัดขวางทำไม ก็รัฐบาลค้ำประกันทุกอย่างและโครงการนี้ก็เดินมาตลอดและไม่เคยมีปัญหา ปัญหามันอยู่ที่บางอย่างไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการ มีการส่งเงินจากธนาคารไปที่ชาวบ้านแล้วพวกคุณขัดขวางกันทำไม แบงก์ไหนก็แล้วแต่ที่ปล่อยกู้ ให้ชาวนาได้เงินไม่ใช่ไปถอนมันต้องไปฝาก มันกลับกันหมดมนุษย์เดี๋ยวนี้ แล้วมันจะอยู่กันยังไง ขอบคุณครับ”นายทนุศักดิ์ กล่าว พร้อมกับลุกขึ้นยืนยกมือไหว้และเดินออกจากโต๊ะแถลงข่าวทันที โดยไม่สนใจคำถามที่สื่อพยายามถามหลายคำถาม
ชาวนาโห่ไล่ “โต้ง”
เมื่อเวลาประมาณ 17.45 น.นายกิตติรัตน์ ได้เดินทางออกมาเจรจากับกลุ่มชาวนาที่ชุมนุมหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยยืนยันว่า ชาวนาจะได้รับเงินตามใบประทวนที่ถืออยู่ แต่เหตุที่จ่ายเงินล่าช้า เพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ารัฐบาลค่อนข้างตกใจในส่วนของเงินที่จะต้องจ่ายค่าจำนำข้าวตามใบประทวนของเดือน ต.ค.56 ยังไม่ถึงมือชาวนา ซึ่งรัฐบาลจะทำการตรวจสอบกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ก่อน หากการตรวจสอบแล้วเสร็จก็พร้อมจะจ่ายเงินให้ในเวลาอันรวดเร็ว
แต่กลุ่มชาวนาไม่พอใจกับการชี้แจงของนายกิตติรัตน์ เนื่องจากต้องการให้ระบุวันเวลาที่ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินให้ได้เมื่อใด ทำให้มีเสียงโห่จากกลุ่มชาวนาเป็นระยะ แม้ว่านายกิตติรัตน์จะพยายามอธิบายว่าจะมีการจ่ายเงินวันละ 4 พันล้านบาท และคาดว่าจะจ่ายเงินแล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 6-8 สัปดาห์ แต่ไม่ได้ระบุความชัดเจนมากกว่านั้น ทำให้ชาวนายังคงไม่พอใจ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ทหารได้พาตัวนายกิตติรัตน์ออกจากสถานที่เจรจา ขณะที่กลุ่มชาวนาได้ขว้างปาขวดน้ำพลาสติกและหัวเสาธงทองเหลืองไล่หลัง แต่ไม่โดนนายกิตติรัตน์
หลังจากนั้นนายระวี รุ่งเรือง แกนนำกลุ่มชาวนา ประกาศกับผู้ชุมนุมว่า การพูดคุยในวันนี้ชาวนาจะไม่รับข้อเสนอของรัฐบาล ชาวนาบางส่วนยืนยันว่าจะปักหลักชุมนุมอยู่หน้าสำนักงานปลักกระทรวงกลาโหม แต่เนื่องจากการเดินทางมาชุมนุมวันนี้มีความไม่พร้อมหลายอย่าง และอยู่ในช่วงเย็น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของชาวนาจึงประกาศให้เดินทางกลับไปยังกระทรวงพาณิชย์เพื่อกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวต่อไป โดยคาดว่าจะยกระดับการชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศในวันที่ 19 ก.พ.เพื่อขับไล่รัฐบาล
'ปู' จ้องฉก'ทอท'4หมื่นล.-พนง.ต้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เคลื่อนไหวเรียกร้องให้พนักงานทุกคนแต่งกายชุดดำเพื่อแสดงพลังต่อต้าน และไม่เห็นด้วยที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม จะเอาเงินของ ทอท ไปใช้ในทางอื่นที่ไม่ใช่ในกิจการของบริษัท โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ให้มารวมตัวกันที่สำนักงานใหญ่ ทอท ซึ่งจะมีการประชุมสหกรณ์อยู่แล้ว ขอให้เพื่อนพนักงานมารวมตัวกันมากๆ
รายงานระบุว่า มีกระแสข่าวจากฝ่ายบริหารว่า รัฐบาลกำลังจะมาเอาเงินของบริษัท ทอท จำนวน 40,000 ล้านบาท ไปจ่ายให้แก่เกษตรกรชาวนาเพื่อชำระหนี้ค่าข้าวในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลประโยชน์ของ ทอท โดยคณะกรรมการบริษัทจะมีการประชุมพิจารณากรณีนี้ในวันที่ 18 ก.พ.นี้
ชาวนาแห้ว-เงินไม่มาตามลมปาก"ปู"
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นวันแรกที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการระทรวงกลาโหม รับปากจะทยอยจ่ายเงินจำนำข้าวให้กับชาวนา ปรากฏว่าที่ภาคเหนือมีรายงานข่าวแจ้งว่า เดิมมีการแจ้งกับธ.ก.ส. 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ว่าวันที่ 17 กุมภาพันธ์ จะได้รับการจัดสรรเงิน 100 ล้านบาท แต่ในช่วงเช้ามีการแจ้งยกเลิก ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินให้กับชาวนาได้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่ามีปัญหาลักษณะเดียวกันทุกภาค และยังไม่สามารถยินยันได้ว่า วันที่ 18 กุมภาพันธ์ จะมีเงินโอนมาหรือไม่ด้วย
แจงมีมาตรการบรรเทาทุกข์เบื้องต้น
นายศักดิ์ชัย คำเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เชียงใหม่ กล่าวว่า ไม่ได้จ่ายเงินให้ชาวนามาประมาณ 2 สัปดาห์แล้ว จากเดิมที่จะจ่ายให้ทุกสัปดาห์ตามจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร ซึ่งรัฐบาลแจ้งว่าจะจัดสรรมาให้สัปดาห์ละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท กระจายไปทั่วประเทศในสาขาที่ชาวยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว โดยจังหวัดเชียงใหม่มีชาวนาร่วมโครงการประมาณ 27,000 ราย จ่ายเงินแล้ว 16,267 ราย 1,333 ล้านบาท ค้างจ่าย 10,058 ราย 758 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.มีมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่เป็นลูกค้าและยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าว โดยเลื่อนการชำระหนี้ที่ครบกำหนดชำระในวันที่ 31 มีนาคมนี้ออกไปอีก 6 เดือน โดยไม่คิดดอกเบี้ย และสนับสนุนเงินกู้อัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าเงินในใบประทวน ดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี รายละไม่เกิน 1 แสนบาทเพื่อการลงทุน เชื่อว่าน่าบรรเทาความเดือดร้อนได้ระดับหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากจ.เชียงใหม่แล้ว ยังมีชาวนาอีกหลายจังหวัดที่ต้องผิดหวัง เมื่อไปรอรับเงินแล้ว ได้รับแจ้งว่ายังไม่ได้รับการจัดสรรเงิน อาทิ จ.เชียงราย จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.กำแพงเพชร จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.สุรินทร์ จ.มหาสารคาม จ.หนองคาย จ.กาฬสินธุ์ จ.ศรีสะเกษ
เผยเงินปริศนาโผล่3จังหวัด884ล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเงินโอนให้กับธ.ก.ส.อ่างทอง หน่วยอำเภอเมือง 2 ล้านบาท ธ.ก.ส. อุบลราชธานี 474 ล้านบาท และธ.ก.ส.บุรีรัมย์ 108 ล้านบาท โดยที่จ.อ่างทอง ธ.ก.ส.หน่วยอำเภอเมือง แยกจัดสรรเงินให้อ.เมือง 800,000 บาท อ.ไชโย 800,000 บาท และอ.ป่าโมก 400,000 บาท ซึ่งในอ.เมือง จะจ่ายให้ชางนาได้ 8 รายเท่านั้น
จ.อุบลราชธานี แม้ได้รับเงิน 474 ล้านบาท แต่มีวงเงินค้างจ่ายกว่า 6,500 ล้านบาท โดยสาขาอำเภอเมือง ได้รับจัดสรร 2.9 ล้านบาท จ่ายให้ได้ประมาณ 50 ราย ส่วนจ.บุรีรัมย์ ที่ได้รับกว่า 108 ล้านบาทได้กระจายเงินไปทั้ง 22 สาขา ที่ค้างจ่ายกว่า 4,000 ล้านบาท
ด้านสหภาพแรงงานธ.ก.ส.ภาคใต้ตอนบน ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการกู้เงิน พร้อมนัดพนักงานแต่งชุดดำ เพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วย และหากเป็นเรื่องจริง และส่งผลกระทบต่อองค์กร ทางสหภาพแรงงานจะยกระดับการคัดค้านทันที