ASTVผู้จัดการรายวัน - ไทยออยล์พร้อมรุกตปท.แล้ว ล่าสุดจับมือกลุ่มปตท.ยื่นข้อเสนอปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน Thanlyin จำนวน 2 โรงที่เมียนมาร์ คาดได้ข้อสรุปปีนี้ พร้อมทั้งเร่งศึกษาการร่วมลงทุนโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์Wax ที่อินโดนีเซีย ลั่นการแข็งแกร่ง มีเงินในมือ 4 หมื่นล้านบาท เพียงพอที่จะลงทุนโครงการต่างๆ มั่นใจปีนี้ธุรกิจการกลั่นดีขึ้นหลังราคาน้ำมันอ่อนตัวลง ส่วนความต้องการใช้น้ำมันในประเทศต้นปีนี้ลดลงเล็กน้อยคาดเป็นแค่ช่วงสั้น
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า บริษัทฯยื่นข้อเสนอ (Propasal) ร่วมกับกลุ่มปตท. เพื่อปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันThanlyin ในประเทศเมียนมาร์ หลังจากรัฐบาลเมียนมาร์เปิดรับนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาร่วมทุนในการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันในเมียนมาร์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้
ทั้งนี้ ไทยออยล์ เป็นFlagship ด้านธุรกิจการกลั่นน้ำมันของกลุ่มปตท. ซึ่งอยู่ในธุรกิจการนี้มานาน มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งไทยออยล์ได้รับโอกาสในการเสนอเงื่อนไขการปรับปรุงโรงกลั่นThanllyin ซึ่งมีโรงกลั่นขนาด 2 หมื่นบาร์เรล/วัน จำนวน 2 โรงกลั่น แม้ว่าปัจจุบันจะใช้กำลังการกลั่นไม่เต็มที่ โดยบริษัทฯได้ยื่นเสนอปรับปรุงโรงกลั่น หากบริษัทฯได้มีโอกาสทำโครงการจะขยายกำลังการกลั่นไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาร์เรล/วัน นับเป็นโครงการระยะยาว ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในเมียนมาร์ที่กำลังเปิดประเทศ
" หากไทยออยล์ได้ทำโครงการนี้ก็จะลงรายละเอียด และใช้เงินในการศึกษาเยอะ ซึ่งปัจจุบันเมียนมาร์มีประชากรอยู่ที่ 60 กว่าล้านคน และเป็นประเทศที่มีศักยภาพเติบโตอีกมาก ซึ่งปัจจุบันเมียนมาร์ใช้น้ำมันคิดเป็น 1 ใน 10 ของไทย หรือคิดเป็น 7 หมื่นบาร์เรล/วันเท่านั้น"
นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้ร่วมลงนามสัญญา Head of Agreement (HOA) กับเปอร์ตามิน่า ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อทำการศึกษารายละเอียดในการอัพเกรด Feedstock พบว่า โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์Wax เป็นโครงการที่ดีและมีตลาดกว้าง เนื่องจากผลิตภัณฑ์Wax ใช้ทำผ้าบาติก ยางรถยนต์ ปาร์ติเกิล บอร์ด เฟอร์นิเจอร์ และเทียนไข ซึ่งโครงการนี้อยู่ระหว่างการหารือและศึกษารายละเอียดเชิงลึก คาดว่าจะตัดสินใจในการลงทุนภายในปลายปี 2557 หากตัดสินใจลงทุนจะใช้เวลาก่อสร้างอีก 2ปี
โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ Wax จะเป็นโครงการต่อเนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งอินโดนีเซียมีกำลังการกลั่นรวม 1.2 ล้านบาร์เรล/วันใกล้เคียงไทย นอกจากนี้บริษัทฯยังศึกษาอีกหลายโครงการ ยังไม่มีข้อสรุปในเร็วๆนี้
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตสาร LAB ในไทย ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนปรับปรุงที่ดินและสร้างกำแพง เพื่อเตรียมการก่อสร้างโรงงาน คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2558 รวมทั้งเตรียมแผนการขายและลงนามเอ็มโอยูกับลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตผงซักฟอกในไทยและภูมิภาคอาเซียนเช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เนื่องจากอาเซียนยังไม่มีโรงงานผลิตLAB ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
โครงการผลิตสารLAB ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและสารชักล้าง ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะเป็นโรงงานแห่งแรกในอาเซียน เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไทยพาราไซลีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยไทยออยล์ ถือหุ้น 75% กับบริษัท มิตซุย ของญี่ปุ่น 25% ตั้งบริษัทร่วมทุนในนาม บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด นับเป็นโครงการต่อยอดการใช้สารเบนซีนและน้ำมันก๊าด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในเครือไทยออยล์เอง
นอกจากนี้ ไทยออยล์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 ( CDU-3) ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานของหน่วยกลั่นน้ำมัน โดยติดตั้งอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนเพิ่มเติม ทำให้สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 15% หรือคิดเป็น 596 ล้านบาท/ปี และยังสามารถเปลี่ยนแนฟธาเป็นน้ำมันอากาศยานที่มีมูลค่าสูงกว่าได้อีกด้วย คิดเป็นมูลค่า 530 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปลายเดือนพ.ค.นี้
โครงการปรับปรุงหน่วยกลั่นสุญญากาศที่ 2 (HVU-2) ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตWaxy โดยไม่ต้องเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ โดครงการนี้ให้ผลตอบแทน 1,333 ล้านบาท คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้เม.ย. 2557
ทั้งนี้ บริษัทฯตั้งงบลงทุน 3 ปีนี้ (2557-2559) เฉลี่ยปีละ 300-500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการต่อเนื่องในการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่น โรงไฟฟ้าSPP 2 โรง กำลังผลิตรวม 230 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการร่วมทุน LAB โดยไม่รวมการลงทุนในต่างประเทศ ส่วนแหล่งเงินทุนนั้นจะมาจากกระแสเงินสดและเงินกู้ที่ยังไม่ได้ใช้อยู่ 4 หมื่นกว่าล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยยังไม่สรุปว่าปีนี้จะออกหุ้นกู้เพิ่มเติมอีกหรือไม่ คงต้องดูภาวะตลาดการเงิน และความต้องการใช้เงินในอนาคต
สำหรับทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 102 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากปีก่อนที่เฉลี่ย 105 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ภาพรวมการกลั่นน้ำมันในปีนี้ดีขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากกำลังการกลั่นใหม่เข้ามาในปีนี้น้อยกว่าความต้องการใช้น้ำมันที่โตขึ้น โดยปีนี้ค่าการกลั่นน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.5-4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงกว่าปีที่แล้วค่าการกลั่นที่สิงคโปร์เฉลี่ยอยู่ที่ 3.35 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไทยโตขึ้นเพียง 0.8% หลังจากช่วง 1-2 เดือนนี้ ความต้องการใช้น้ำมันช่วงม.ค.นี้ พบว่าดีเซลลดลง 3% และเบนซินหดไป 7% เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง แต่เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
ส่วนธุรกิจอะโรเมติกส์ในปีนี้ ราคาพาราไซลีนคาดว่าจะอ่อนตัวลงจากกำลังการผลิตใหม่ที่เข้ามามาก ส่วนสารเบนซีนราคาปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯมีความต้องการใช้สารเบนซีน ทำให้สินค้าเคลื่อนย้ายไปสหรัฐฯแทน ดันราคาให้สูงขึ้น ดังนั้นในส่วนไทยออยล์คาด่าปีนี้ไม่น่าจะต่างจากปีที่แล้ว แม้ว่าปีนี้มีการใช้อัตราการผลิตอยู่ที่ 95%จากปีก่อนที่ใช้อัตราการผลิต 102 % เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางหน่วยเป็นเวลา 55 วัน
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP เปิดเผยว่า บริษัทฯยื่นข้อเสนอ (Propasal) ร่วมกับกลุ่มปตท. เพื่อปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันThanlyin ในประเทศเมียนมาร์ หลังจากรัฐบาลเมียนมาร์เปิดรับนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาร่วมทุนในการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันในเมียนมาร์ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้
ทั้งนี้ ไทยออยล์ เป็นFlagship ด้านธุรกิจการกลั่นน้ำมันของกลุ่มปตท. ซึ่งอยู่ในธุรกิจการนี้มานาน มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งไทยออยล์ได้รับโอกาสในการเสนอเงื่อนไขการปรับปรุงโรงกลั่นThanllyin ซึ่งมีโรงกลั่นขนาด 2 หมื่นบาร์เรล/วัน จำนวน 2 โรงกลั่น แม้ว่าปัจจุบันจะใช้กำลังการกลั่นไม่เต็มที่ โดยบริษัทฯได้ยื่นเสนอปรับปรุงโรงกลั่น หากบริษัทฯได้มีโอกาสทำโครงการจะขยายกำลังการกลั่นไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาร์เรล/วัน นับเป็นโครงการระยะยาว ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในเมียนมาร์ที่กำลังเปิดประเทศ
" หากไทยออยล์ได้ทำโครงการนี้ก็จะลงรายละเอียด และใช้เงินในการศึกษาเยอะ ซึ่งปัจจุบันเมียนมาร์มีประชากรอยู่ที่ 60 กว่าล้านคน และเป็นประเทศที่มีศักยภาพเติบโตอีกมาก ซึ่งปัจจุบันเมียนมาร์ใช้น้ำมันคิดเป็น 1 ใน 10 ของไทย หรือคิดเป็น 7 หมื่นบาร์เรล/วันเท่านั้น"
นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้ร่วมลงนามสัญญา Head of Agreement (HOA) กับเปอร์ตามิน่า ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อทำการศึกษารายละเอียดในการอัพเกรด Feedstock พบว่า โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์Wax เป็นโครงการที่ดีและมีตลาดกว้าง เนื่องจากผลิตภัณฑ์Wax ใช้ทำผ้าบาติก ยางรถยนต์ ปาร์ติเกิล บอร์ด เฟอร์นิเจอร์ และเทียนไข ซึ่งโครงการนี้อยู่ระหว่างการหารือและศึกษารายละเอียดเชิงลึก คาดว่าจะตัดสินใจในการลงทุนภายในปลายปี 2557 หากตัดสินใจลงทุนจะใช้เวลาก่อสร้างอีก 2ปี
โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ Wax จะเป็นโครงการต่อเนื่องจากโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งอินโดนีเซียมีกำลังการกลั่นรวม 1.2 ล้านบาร์เรล/วันใกล้เคียงไทย นอกจากนี้บริษัทฯยังศึกษาอีกหลายโครงการ ยังไม่มีข้อสรุปในเร็วๆนี้
นายวีรศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการผลิตสาร LAB ในไทย ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนปรับปรุงที่ดินและสร้างกำแพง เพื่อเตรียมการก่อสร้างโรงงาน คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2558 รวมทั้งเตรียมแผนการขายและลงนามเอ็มโอยูกับลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตผงซักฟอกในไทยและภูมิภาคอาเซียนเช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เนื่องจากอาเซียนยังไม่มีโรงงานผลิตLAB ทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
โครงการผลิตสารLAB ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและสารชักล้าง ซึ่งโรงงานดังกล่าวจะเป็นโรงงานแห่งแรกในอาเซียน เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไทยพาราไซลีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยไทยออยล์ ถือหุ้น 75% กับบริษัท มิตซุย ของญี่ปุ่น 25% ตั้งบริษัทร่วมทุนในนาม บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด นับเป็นโครงการต่อยอดการใช้สารเบนซีนและน้ำมันก๊าด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในเครือไทยออยล์เอง
นอกจากนี้ ไทยออยล์โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 ( CDU-3) ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานของหน่วยกลั่นน้ำมัน โดยติดตั้งอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อนเพิ่มเติม ทำให้สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 15% หรือคิดเป็น 596 ล้านบาท/ปี และยังสามารถเปลี่ยนแนฟธาเป็นน้ำมันอากาศยานที่มีมูลค่าสูงกว่าได้อีกด้วย คิดเป็นมูลค่า 530 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปลายเดือนพ.ค.นี้
โครงการปรับปรุงหน่วยกลั่นสุญญากาศที่ 2 (HVU-2) ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตWaxy โดยไม่ต้องเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ โดครงการนี้ให้ผลตอบแทน 1,333 ล้านบาท คาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้เม.ย. 2557
ทั้งนี้ บริษัทฯตั้งงบลงทุน 3 ปีนี้ (2557-2559) เฉลี่ยปีละ 300-500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงการต่อเนื่องในการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่น โรงไฟฟ้าSPP 2 โรง กำลังผลิตรวม 230 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการร่วมทุน LAB โดยไม่รวมการลงทุนในต่างประเทศ ส่วนแหล่งเงินทุนนั้นจะมาจากกระแสเงินสดและเงินกู้ที่ยังไม่ได้ใช้อยู่ 4 หมื่นกว่าล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีวงเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยยังไม่สรุปว่าปีนี้จะออกหุ้นกู้เพิ่มเติมอีกหรือไม่ คงต้องดูภาวะตลาดการเงิน และความต้องการใช้เงินในอนาคต
สำหรับทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 102 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลงจากปีก่อนที่เฉลี่ย 105 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ภาพรวมการกลั่นน้ำมันในปีนี้ดีขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากกำลังการกลั่นใหม่เข้ามาในปีนี้น้อยกว่าความต้องการใช้น้ำมันที่โตขึ้น โดยปีนี้ค่าการกลั่นน่าจะอยู่ที่ระดับ 3.5-4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงกว่าปีที่แล้วค่าการกลั่นที่สิงคโปร์เฉลี่ยอยู่ที่ 3.35 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศไทยโตขึ้นเพียง 0.8% หลังจากช่วง 1-2 เดือนนี้ ความต้องการใช้น้ำมันช่วงม.ค.นี้ พบว่าดีเซลลดลง 3% และเบนซินหดไป 7% เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง แต่เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาสั้นๆ
ส่วนธุรกิจอะโรเมติกส์ในปีนี้ ราคาพาราไซลีนคาดว่าจะอ่อนตัวลงจากกำลังการผลิตใหม่ที่เข้ามามาก ส่วนสารเบนซีนราคาปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯมีความต้องการใช้สารเบนซีน ทำให้สินค้าเคลื่อนย้ายไปสหรัฐฯแทน ดันราคาให้สูงขึ้น ดังนั้นในส่วนไทยออยล์คาด่าปีนี้ไม่น่าจะต่างจากปีที่แล้ว แม้ว่าปีนี้มีการใช้อัตราการผลิตอยู่ที่ 95%จากปีก่อนที่ใช้อัตราการผลิต 102 % เนื่องจากมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นบางหน่วยเป็นเวลา 55 วัน