ธปท.เผยธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลมีเอ็นพีแอลพุ่งสวนทางการบริโภคแผ่ว แบ่งเป็นบัตรเครดิตมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 31% สินเชื่อ ส่วนบุคคล 42% ขณะที่การใช้จ่ายบัตรเครดิตเพิ่มแค่ 6.4 พันล้านบาท คิดเป็น 4.41% การใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มเล็กน้อย ใช้จ่าย เมืองนอกยอดเริ่มไม่ขยับ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของ ธปท.ล่าสุดสิ้นเดือนธ.ค.56 พบว่า การบริโภคชะลอตัวลงส่งผลให้กำลังซื้อของครัวเรือนมีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)บัตรเครดิตและ สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นน้อยมาก สอดคล้องกับมุมมองผู้บริหารธนาคารพาณิชย์และ มุมมองภาคธุรกิจเห็นว่ายอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นการใช้จ่ายตามความจำเป็น ขณะที่บัตรเครดิตเริ่มชะลอตามการบริโภค
โดยยอดคงค้างเอ็นพีแอลของบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 6.64 พันล้านบาท (ยอดคงค้างของธนาคารพาณิชย์ 4.63 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.01 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 31.34% หรือเพิ่มขึ้น 1.58 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ 1.53 พันล้านบาท และนอนแบงก์ 56 ล้านบาท
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างเอ็นพีแอลทั้งสิน 1.09 หมื่นล้านบาท (ยอดคงค้างธนาคารพาณิชย์ 5.48 พันล้านบาท นอนแบงก์ 4.91 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 529 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 3.26 พันล้านบาท คิดเป็น 42.47% เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์และ นอนแบงก์ในปริมาณใกล้เคียงกัน 1.59 พันล้านบาท และ1.54 พันล้านบาท ตามลำดับ
สาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น 126 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายรวมบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 1.51 แสนล้านบาทในเดือนธ.ค.56 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนแค่ 4.41% หรือเพิ่มขึ้น 6.40 พันล้าน บาท เกิดจากการใช้จ่ายในประเทศ 5.37 พันล้านบาท คิดเป็น 4.38% ใช้จ่ายต่างประเทศ 605 ล้านบาท และเบิกเงินสดล่วงหน้า 423 ล้านบาท เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า การใช้จ่ายบัตรเครดิตเกิดจากภายในประเทศเป็นหลัก ยอดเบิกเงินล่วงหน้าในส่วนนอนแบงก์ลดลง 65
ล้านบาท และการใช้จ่ายในต่างประเทศ บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)เพิ่มขึ้น 36 ล้านบาท ฝั่งธนาคารพาณิชย์กลับลดลง 35 ล้านบาท
ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 2.90 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.55 เพิ่มขึ้น 11.04% หรือเพิ่มขึ้น 2.89 หมื่นล้านบาท ธนาคารพาณิชย์มี ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 1.92 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 9.64 พันล้านบาท ซึ่งยอดสินเชื่อบัตรเครดิตเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนกับเดือนก่อนหน้ามีปริมาณใกล้ เคียงกัน
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 18.55 ล้านใบ หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณ 1.68 ล้านใบ นอนแบงก์มีปริมาณบัตรเพิ่มขึ้น มากกว่าธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 9.24 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์ 7.53 แสนใบ
สำหรับธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล พบว่า ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.99 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 16.34% หรือเพิ่มขึ้น 4.20 หมื่นล้านบาทจากธนาคารพาณิชย์ 2.07 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับนอนแบงก์มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 2.03 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.07 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ยอดสินเชื่อในส่วนของธนาคารพาณิชย์ลดลง 17 ล้านบาท ส่วนนอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.26 พันล้านบาท และ 182 ล้านบาท ตามลำดับ
จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในระบบมีทั้งสิ้น 11.47 ล้านบัญชี เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.27 ล้านบัญชี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนอนแบงก์มากที่สุด ประมาณ 1 ล้านบัญชี ตามมาด้วยธนาคารพาณิชย์ 2.96 แสนบัญชี แต่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมีบัญชีลดลง 2.55 หมื่นบัญชี.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ประกาศตัวเลขสำคัญของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับดูแลของ ธปท.ล่าสุดสิ้นเดือนธ.ค.56 พบว่า การบริโภคชะลอตัวลงส่งผลให้กำลังซื้อของครัวเรือนมีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)บัตรเครดิตและ สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นน้อยมาก สอดคล้องกับมุมมองผู้บริหารธนาคารพาณิชย์และ มุมมองภาคธุรกิจเห็นว่ายอดสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นการใช้จ่ายตามความจำเป็น ขณะที่บัตรเครดิตเริ่มชะลอตามการบริโภค
โดยยอดคงค้างเอ็นพีแอลของบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 6.64 พันล้านบาท (ยอดคงค้างของธนาคารพาณิชย์ 4.63 พันล้านบาท นอนแบงก์ 2.01 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 31.34% หรือเพิ่มขึ้น 1.58 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์ 1.53 พันล้านบาท และนอนแบงก์ 56 ล้านบาท
ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลมียอดคงค้างเอ็นพีแอลทั้งสิน 1.09 หมื่นล้านบาท (ยอดคงค้างธนาคารพาณิชย์ 5.48 พันล้านบาท นอนแบงก์ 4.91 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 529 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ยอดเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น 3.26 พันล้านบาท คิดเป็น 42.47% เพิ่มขึ้นจากธนาคารพาณิชย์และ นอนแบงก์ในปริมาณใกล้เคียงกัน 1.59 พันล้านบาท และ1.54 พันล้านบาท ตามลำดับ
สาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้น 126 ล้านบาท
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายรวมบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 1.51 แสนล้านบาทในเดือนธ.ค.56 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนแค่ 4.41% หรือเพิ่มขึ้น 6.40 พันล้าน บาท เกิดจากการใช้จ่ายในประเทศ 5.37 พันล้านบาท คิดเป็น 4.38% ใช้จ่ายต่างประเทศ 605 ล้านบาท และเบิกเงินสดล่วงหน้า 423 ล้านบาท เมื่อเทียบเดือนก่อนหน้า การใช้จ่ายบัตรเครดิตเกิดจากภายในประเทศเป็นหลัก ยอดเบิกเงินล่วงหน้าในส่วนนอนแบงก์ลดลง 65
ล้านบาท และการใช้จ่ายในต่างประเทศ บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)เพิ่มขึ้น 36 ล้านบาท ฝั่งธนาคารพาณิชย์กลับลดลง 35 ล้านบาท
ยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 2.90 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.55 เพิ่มขึ้น 11.04% หรือเพิ่มขึ้น 2.89 หมื่นล้านบาท ธนาคารพาณิชย์มี ยอดสินเชื่อบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 1.92 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 9.64 พันล้านบาท ซึ่งยอดสินเชื่อบัตรเครดิตเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนกับเดือนก่อนหน้ามีปริมาณใกล้ เคียงกัน
ส่วนปริมาณบัตรเครดิตในระบบมีทั้งสิ้น 18.55 ล้านใบ หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนประมาณ 1.68 ล้านใบ นอนแบงก์มีปริมาณบัตรเพิ่มขึ้น มากกว่าธนาคารพาณิชย์ นอนแบงก์เพิ่มขึ้น 9.24 แสนใบ ธนาคารพาณิชย์ 7.53 แสนใบ
สำหรับธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล พบว่า ในระบบมียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งสิ้น 2.99 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 16.34% หรือเพิ่มขึ้น 4.20 หมื่นล้านบาทจากธนาคารพาณิชย์ 2.07 หมื่นล้านบาท ใกล้เคียงกับนอนแบงก์มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 2.03 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.07 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ยอดสินเชื่อในส่วนของธนาคารพาณิชย์ลดลง 17 ล้านบาท ส่วนนอนแบงก์และสาขาธนาคารต่างชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.26 พันล้านบาท และ 182 ล้านบาท ตามลำดับ
จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในระบบมีทั้งสิ้น 11.47 ล้านบัญชี เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 1.27 ล้านบัญชี เป็นการเพิ่มขึ้นจากนอนแบงก์มากที่สุด ประมาณ 1 ล้านบัญชี ตามมาด้วยธนาคารพาณิชย์ 2.96 แสนบัญชี แต่สาขาธนาคารต่างชาติกลับมีบัญชีลดลง 2.55 หมื่นบัญชี.