กกต.มึนตึ้บ แก้โจทย์เลือกตั้งส่วนที่เหลือไม่ได้ ต้องนัดหารือใหม่วันนี้ พร้อมเชิญ"เจ๊สด-พงศ์เทพ-วราเทพ-โภคิน" ช่วยตัดสินใจสัปดาห์หน้า ส่วนผลสรุปผู้มาใช้สิทธิ 2 ก.พ. มี 20.53 ล้านคน คิดเป็น 47.72 % บัตรเสีย-บัตรโหวตโน ถล่มทลายรวมกันเกือบ 6 ล้าน เชียงใหม่ ใช้สิทธิมากสุด ระยองแชมป์โหวตโน ขณะที่นักวิชาการทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง ตบหน้าพรรคเพื่อไทย ได้คะแนนน้อยกว่า "No Vote-Vote No-บัตรเสีย" เกือบ 6 ล้าน ส่วนคนรักพรรคเพื่อไทย เสียงหดกว่า 5 ล้าน
วานนี้ (6 ม.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุม กกต. มีมติได้เพียงเรื่องเดียวคือ กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค. และวันเลือกตั้งที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยกกต.จะเป็นผู้แจ้งเหตุไปยังอธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะผอ.ทะเบียนกลาง เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในวันดังกล่าว ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เนื่องจากประชาชนนับสิบล้าน ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ต้องไปแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิ เพื่อการรักษาสิทธิ
ส่วนปัญหาการเลือกตั้งทั้ง 28 เขตในจังหวัดภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัคร ปัญหาหน่วยเลือกตั้งกว่า 1.2 หมื่นหน่วย ที่ไม่สามารถเปิดการลงคะแนนได้ในการเลือกตั้งทั่วไป ปัญหาการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค. ที่ยังไม่รู้จะจัดการเลือกตั้งทดแทนวันใด ปัญหา 16 เขตเลือกตั้ง ที่มีผู้สมัครเพียงรายเดียว ซึ่ง กกต. ยังไม่มติ แต่จะประชุมนัดพิเศษในวันนี้ ( 7 ก.พ.) เวลา 10.00 น. โดยจะเชิญคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.ทั้งหมด มาหารือ เพราะยังมีปัญหาข้อกฎหมายอยู่ และเชื่อว่าจะมีคำตอบออกมา
"หากมีมติวันนี้ (6ก.พ.) จะทำให้ได้เรื่องเล็ก แต่เสียงเรื่องใหญ่ เพราะอาจถูกฟ้องให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ ดังนั้นกกต.ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ รวมถึงการพิจารณา ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ กรณี 28 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่มีผู้สมัครก็จะมีคำตอบในวันที่ 7 ก.พ. เช่นเดียวกัน”
นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 14 ก.พ. กกต.จะเชิญนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายโภคิน พลกุล กรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง มาพูดคุยถึงแนวทางที่จะจัดการเลือกตั้งให้เป็นผลสำเร็จ และอาจจะเชิญทูตประเทศต่างๆ องค์กรระหว่างประเทศ มาชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาการเลือกตั้งในประเทศที่ผิดปกติ และบอกถึงแนวทางที่กกต.จะดำเนินการต่อไปในอนาคต รวมถึงอาจเชิญอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และ ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 มาทำความเข้าใจแนวทางการประชาสัมพันธ์ ให้กับประชาชนเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง
** ที่ประชุมถกเครียด ทีมกม.เสียงแตก
รายงานข่าวแจ้งว่า เหตุที่กกต.ยังไม่สามารถมีมติ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังประสบอยู่นั้น เนื่องจากฝ่ายกฎหมายของกกต.เสียงแตก ไม่ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเพียงทางเดียว แต่มีการเสนอเป็น 2 ทาง โดยเฉพาะกรณี 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร มีการเสนอให้กกต.พิจารณา ทั้งเห็นว่า กกต. สามารถออกประกาศกำหนดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งส.ส.ใน 28 เขตได้ เพราะการเลือกตั้งตามพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 2 ก.พ. ยังได้ผลไม่สมบูรณ์ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ประกอบมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ให้อำนาจ กกต. ในการออกประกาศหรือระเบียบทั้งหลายอันจำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้อยู่แล้ว
ขณะที่อีกแนวทางหนึ่งเห็นว่า จำเป็นที่ กกต.จะต้องเสนอให้รัฐบาลทูลเกล้าฯ เพื่อตรา พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ เพราะ 28 เขตเลือกตั้ง ยังไม่มีผู้สมัคร ต้องมีการรับสมัครใหม่ ซึ่งการจะรับสมัครได้ มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. กำหนดให้กกต.ทำได้ เมื่อพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับ
ส่วนการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ทดแทนวันเลือกตั้งทั่วไป และวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านั้น ในที่ประชุมฝ่ายกฎหมายก็ได้เสนอเป็น 2 แนวทางเช่นกัน โดยทางหนึ่งเห็นว่า มาตรา 78 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งที่กำหนดให้มีการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งได้หลังกกต.ประจำเขตได้ประกาศงดการลงคะแนนในวันเลือกตั้งเนื่องจากเหตุสุดวิสัย เปิดช่องให้กกต.กำหนดวันทดแทนวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งทั่วไปได้
แต่อีกทางหนึ่งเห็นว่า มาตรา 78 ใช้ได้เฉพาะกับการกำหนดวันทดแทนวันเลือกตั้ง ที่มีการปิดหน่วยเลือกตั้งเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกับวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ เพราะหน่วยเลือกตั้งในวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นหน่วยเลือกตั้งกลาง ซึ่งหน่วยเลือกตั้งตามความหมายของ มาตรา 78 หมายถึง หน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น และการที่กฎหมายกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิที่ไม่สามารถใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่กำหนดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง หากมีการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทนขึ้น ก็จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งหลังวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ซึ่งถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า
อีกทั้ง มาตรา 102 ของพ.ร.บ.เลือกตั้ง ยังกำหนดให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ต้องมาถึงยังหน่วยเลือกตั้ง เพื่อนับคะแนนก่อนที่คะแนนเลือกตั้งแต่ละหน่วยเลือกตั้งจะมาถึง โดยมีการกำหนดไว้ว่า หากบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้ามาหลังจากนับคะแนนเลือกตั้งไปแล้ว ให้ถือว่าบัตรเลือกตั้งล่วงหน้านั้น เป็นบัตรเสีย แต่ในข้อเท็จจริงขณะนี้ มีการนับคะแนนเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไปแล้ว ดังนั้นหากมีการกำหนดวันทดแทนวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าขึ้นใหม่ ก็อาจจะทำให้ถูกฟ้องร้องให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะได้
นอกจากนี้ หากจะมีการกำหนดวันทดแทนวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งทั่วไปในช่วงนี้ ก็มีการประเมินพื้นที่ที่จะสามารถจัดให้มีการลงคะแนนได้ว่า ภาคใต้ จะมีแค่ 3 จังหวัดชายใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และใน จ.สตูล 2 เขตเลือกตั้ง รวมถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เท่านั้น ส่วนพื้นที่อื่นๆ รวมถึง กรุงเทพมหานคร จะเผชิญกับการปิดล้อมของกลุ่มกปปส. ซึ่งการกำหนดวัน ยังจะกระทบไปถึงการจัดการเลือกตั้งส.ว. ที่เป็นการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งต้องมีการเตรียมกำลังคน อุปกรณ์ เหมือนกับการเลือกตั้งส.ส.ทั่วไป ประเด็นต่างๆเหล่านี้ ทำให้ที่ประชุมกกต.ไม่สามารถตัดสินใจได้ จึงขอให้มีการนัดคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายที่ประกอบไปด้วย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอดีตรองประธานศาลฎีกา มาร่วมประชุมกับ กกต.ในวันที่ 7 ก.พ. เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจน ที่กกต. จะสามารถตัดสินใจได้
**โหวตโนบวกบัตรเสีย 6 ล้าน
ในวันเดียวกันนี้ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงข้อมูลการเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ. จาก 68 จังหวัด ไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ คือ กระบี่ ชุมพร ตรัง พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่สามารถเปิดการลงคะแนนได้ ว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี 43,024,786 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 20,530,359 คน คิดเป็น 47.72 % แบ่งเป็น บัตรดี 14,645,812 ใบ คิดเป็น 71.34 % บัตรเสีย 2,458,461 ใบ คิดเป็น 11.97 % ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ โหวตโน 3,426,080 ใบ คิดเป็น 16.69%
โดยภาคเหนือ 16 จังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 8,526,095 คน มาใช้สิทธิ 4,776,287 คน คิดเป็นร้อยละ 56.02 บัตรดี 2,997,639 บัตร คิดเป็นร้อยละ 62.76 บัตรเสีย 766,790 บัตร คิดเป็นร้อยละ 16.05 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,011,857 บัตร คิดเป็นร้อยละ 21.19
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 16,290,384 คน มาใช้สิทธิ 9,009,572 คน คิดเป็นร้อยละ 55.31 บัตรดี 7,300,756 บัตร คิดเป็นร้อยละ 81.03 บัตรเสีย 847,954 บัตร คิดเป็นร้อยละ 9.41 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 860,862 บัตร คิดเป็นร้อยละ 19.72
ภาคกลาง 25 จังหวัด (ยกเว้น กทม.) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 12,222,346 คน มาใช้สิทธิ 5,016,970 คน คิดเป็นร้อยละ 41.05 บัตรดี 3,192,765 บัตร คิดเป็นร้อยละ 63.64 บัตรเสีย 654,559 บัตร คิเป็นร้อยละ 13.05 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,169,641 บัตร คิดเป็นร้อยละ 23.31
ภาคใต้ 6 จังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,616,841 คน ผู้มาใช้สิทธิ 594,234 คน คิดเป็นร้อยละ 36.75 บัตรดี 378,831 บัตร คิดเป็นร้อยละ 63.75 บัตรเสีย 98,235 บัตร คิดเป็นร้อยละ 16.53 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 117,168 บัตร คิดเป็นร้อยละ 19.72
กรุงเทพมหานคร 6,671 หน่วย เปิดลงคะแนน 6,155 หน่วย ประกาศงดการละแนน 516 หน่วย ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,369,120 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,133,296 คน คิดเป็นร้อยละ 25.94 บัตรดี 775,821 บัตร คิดเป็นร้อยละ 68.46 บัตรเสีย 90,923 บัตร คิดเป็นร้อยละ 8.02 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 266,552 บัตร คิดเป็นร้อยละ 23.52
**เชียงใหม่ใช้สิทธิมากสุด ระยองแชมป์โหวตโน
สำหรับจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จ.เชียงใหม่ มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 827,808 คน คิดเป็นร้อยละ 75.05 รองลงมาคือ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในทุกครั้ง แต่ครั้งนี้กลับเสียแชมป์ให้กับเชียงใหม่ โดยลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 241,209 คน คิดเป็นร้อยละ 73.39 และจ.แม่ฮ่องสอน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 104,241คน คิดเป็นนร้อยละ 64.99
ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ นครศรีธรรมราช ที่เปิดลงคะแนนใน 24 หน่วย มีผู้มาใช้สิทธิ์ 1,302 คน คิดเป็นร้อยละ8.78 รองลงมา คือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีผู้มาใช้สิทธิ 55,818 คน คิดเป็นร้อยละ 20.05 สมุทรสงคราม มีผู้มาใช้สิทธิ 37,581คน คิดเป็นร้อยละ24.42 กรุงเทพมหานคร มีผู้มาใช้สิทธิ 1,133,296 คน คิดเป็นร้อยละ 25.94 และ จ.ระยอง มีผู้มาใช้สิทธิ 118,900 คน คิดเป็นร้อยละ26.07
สำหรับจังหวัดที่มีบัตรดีมากที่สุดคือ จ.นครพนม ร้อยละ 86.99 รองลงมา คือ ร้อยเอ็ด คิดเป็น ร้อยละ 86.54 ยโสธร ร้อยละ 85.88 ในขณะที่บัตรเสียมากที่สุด คือ จ.ตาก ร้อยละ 27.13 รองลงมาคือ ยะลา ร้อยละ 22.94 น่าน ร้อยละ 22.37
สำหรับจังหวัดที่มีบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ โหวตโน มากที่สุดคือ จ.ระยอง 40.58 % รองลงมาคือ สมุทรสงคราม 40.34 % และตราด 35.74 %
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการฉีกบัตรลงคะแนน 2 ใบ จ.เชียงราย บัตรหาย 1 ใบ และ จ.นนทบุรี บัตรหาย 3 ใบ
ทั้งนี้ตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์ บัตรดีและบัตรเสีย ได้นับรวมในส่วนของหน่วยเลือกตั้งที่สามารถเปิดลงคะแนนได้ครบตามเวลา และหน่วยที่เปิด แต่มีการประกาศปิดหน่วยก่อนเวลา แต่ยังไม่ได้นับรวมการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. และการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวมถึง 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอดการใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้จะเพียง 68 จังหวัด โดยยังไม่รวมบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และการลงคะแนนนอกราชอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับการยอดการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตครั้งที่แล้ว ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 ที่เป็นยอดการใช้สิทธิทั่วประเทศ 77 จังหวัด พบว่า ยอดของบัตรเสีย และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนใน 68 จังหวัดของการเลือกตั้งครั้งนี้ สูงกว่ายอดบัตรเสีย และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน ในการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตทั่วประเทศ เมื่อ 3 ก.ค. 54
โดยการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,939,549 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,220,377 คนคิดเป็นร้อยละ 75.03 บัตรเสีย 2,040,261 บัตรคิดเป็นร้อยละ5.79 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,148 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.03 ขณะที่การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 43,024,786 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 20,530,359 คนคิดเป็น ร้อยละ47.72 บัตรเสีย 2,458,461 บัตร คิดเป็นร้อยละ11.97 ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,426,080 บัตร คิดเป็นร้อยละ 16.69
** เชียงใหม่ เหนือ อีสาน โหวตโนพุ่ง
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายจังหวัดเปรียบเทียบสถิติการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค.54 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญและบ้านเกิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งลงคะแนนได้เป็นปกตินั้น มีผู้มาใช้สิทธิ ลดลงจาก 1,002,549 คน ในปี 54 เป็น 827,808 คนในครั้งนี้ และเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็ลดลงจาก 83.13 % เหลือ 75.05 % ขณะที่ผู้กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน กลับพุ่งขึ้นจาก 44,471ใบ หรือ 4.44 % ในปี 54 เป็น 167,398ใบ หรือ 20.22 % ในครั้งนี้ ทั้งที่จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน จ.เชียงใหม่ในครั้งนี้มีน้อยกว่าปี 54 ประมาณ 9 หมื่นคน
แต่สาเหตุที่ จ.เชียงใหม่กลับได้แชมป์ผู้มาใช้สิทธิ์ในครั้งนี้นั้น เนื่องจาก จ.ลำพูน ซึ่งเป็นแช็มป์เก่าเมื่อปี 54 สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิ์ลดฮวบลงจาก 88.61 % ลงมาเหลือ 73.39 % ในครั้งนี้
เช่นเดียวกับภาพรวมของทั้งภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งสามารถลงคะแนนได้ครบทุกหน่วย 100 % และเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทยนั้น พบว่าในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ภาคเหนือ มีผู้มาใช้สิทธิ์ 77.16 % กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 3.58 % และ ภาคอีสานมีผู้มาใช้สิทธิ์ 72.48 % กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 2.39 %
แต่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา ภาคเหนือกลับมีผู้มาใช้สิทธิ์ลดลงเหลือ 56.02 % เท่านั้น ขณะที่กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนพุ่งขึ้นเป็น 21.19 % ส่วนภาคอีสานก็มีผู้มาใช้สิทธิ์ลดลงเหลือ 55.31 % และกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 9.55 % ทั้งที่ทั้งสองภาคแทบไม่มีข่าวการขัดขวางการไปใช้สิทธิ์ หรือการชุมนุมหน้าหน่วยเลือกตั้งเลย
** ทีดีอาร์ไอชี้ ผลเลือกตั้งตบหน้า เพื่อไทย
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความเห็นส่วนตัว หลังกกต.เปิดผลเบื้องต้นของการเลือกตั้ง 2 ก.พ. พบว่า คะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทย ลดลงจากปี 54 จาก 15 ล้าน เหลือเพียง 10 ล้านเสียงเท่านั้น
นายสมชัย ยังเปรียบเทียบคะแนนของพรรคเพื่อไทย ที่อาจได้จัดตั้งรัฐบาลเพราะ"ชนะ"การเลือกตั้งนี้ มีความชอบธรรมเพียงใด
“ผลการประมาณการคร่าวๆ โดยใช้ข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ (อ้างว่ามาจาก กกต.อีกที) แล้วปรับใช้รูปแบบการลงคะแนน party list ในปี 2554 จากนั้นคำนวณคะแนน 'กปปส.' ว่าหมายถึง คะแนน No Vote, Vote No และบัตรเสีย ที่ "เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ (ใช้เกณฑ์ปี 54)" ผลคือ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนน้อยกว่า กปปส. เกือบ 60% นั่นหมายถึงมีประชาชน ที่ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทย บริหารประเทศมากกว่าคนที่ต้องการให้บริหาร...เป็นเพียงการประมาณการครับ.. ต้องรอคะแนนเป็นทางการ”
จากนั้นนายสมชัยโพสต์ ในวันที่ 6 ก.พ. ว่า “สืบเนื่องจาก post เมื่อวาน ที่ประมาณการคะแนนเลือกพรรคเพื่อไทยเทียบกับ 'กปปส.' (ที่หมายถึงคนไม่เอาระบอบทักษิณ แต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับแนวทางดำเนินการของ กปปส.) ลองทำตัวเลขอีกแง่มุมหนึ่ง แสดงถึง 'เจตนารมณ์' ทางการเมืองของการเลือกตั้งครั้งนี้ มุ่งไปที่ว่า (ก) ส.ส.ที่จะได้ไม่ว่าจากพรรคใดก็ตาม ได้รับความเห็นชอบให้บริหารประเทศหรือไม่ และ (ข) พอจะบอกถึงจุดยืน reform before electionได้เพียงใด
ตัวเลขที่พบแสดงว่า จำนวนคนที่ไม่ต้องการให้ผู้สมัครคนใด/พรรคใดเลย บริหารประเทศ มีจำนวนมากกว่าคนที่ 'ยอม' หรือ 'ไว้ใจ' ให้บริหารได้ อันนี้รวมทุกพรรคเลย ไม่ใช่เฉพาะพรรคเพื่อไทย คือต่อให้ตั้งรัฐบาลโดยไม่มีฝ่ายค้านเลย ก็ไม่ชอบธรรมอยู่ดี
วานนี้ (6 ม.ค.) นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังการประชุม กกต.ว่า ที่ประชุม กกต. มีมติได้เพียงเรื่องเดียวคือ กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค. และวันเลือกตั้งที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยกกต.จะเป็นผู้แจ้งเหตุไปยังอธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะผอ.ทะเบียนกลาง เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในวันดังกล่าว ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เนื่องจากประชาชนนับสิบล้าน ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ต้องไปแจ้งเหตุแห่งการไม่ไปใช้สิทธิ เพื่อการรักษาสิทธิ
ส่วนปัญหาการเลือกตั้งทั้ง 28 เขตในจังหวัดภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัคร ปัญหาหน่วยเลือกตั้งกว่า 1.2 หมื่นหน่วย ที่ไม่สามารถเปิดการลงคะแนนได้ในการเลือกตั้งทั่วไป ปัญหาการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค. ที่ยังไม่รู้จะจัดการเลือกตั้งทดแทนวันใด ปัญหา 16 เขตเลือกตั้ง ที่มีผู้สมัครเพียงรายเดียว ซึ่ง กกต. ยังไม่มติ แต่จะประชุมนัดพิเศษในวันนี้ ( 7 ก.พ.) เวลา 10.00 น. โดยจะเชิญคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.ทั้งหมด มาหารือ เพราะยังมีปัญหาข้อกฎหมายอยู่ และเชื่อว่าจะมีคำตอบออกมา
"หากมีมติวันนี้ (6ก.พ.) จะทำให้ได้เรื่องเล็ก แต่เสียงเรื่องใหญ่ เพราะอาจถูกฟ้องให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ ดังนั้นกกต.ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ รวมถึงการพิจารณา ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ กรณี 28 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่มีผู้สมัครก็จะมีคำตอบในวันที่ 7 ก.พ. เช่นเดียวกัน”
นอกจากนี้ ในวันศุกร์ที่ 14 ก.พ. กกต.จะเชิญนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายโภคิน พลกุล กรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย นางสดศรี สัตยธรรม อดีต กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง มาพูดคุยถึงแนวทางที่จะจัดการเลือกตั้งให้เป็นผลสำเร็จ และอาจจะเชิญทูตประเทศต่างๆ องค์กรระหว่างประเทศ มาชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาการเลือกตั้งในประเทศที่ผิดปกติ และบอกถึงแนวทางที่กกต.จะดำเนินการต่อไปในอนาคต รวมถึงอาจเชิญอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และ ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 มาทำความเข้าใจแนวทางการประชาสัมพันธ์ ให้กับประชาชนเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง
** ที่ประชุมถกเครียด ทีมกม.เสียงแตก
รายงานข่าวแจ้งว่า เหตุที่กกต.ยังไม่สามารถมีมติ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ที่กำลังประสบอยู่นั้น เนื่องจากฝ่ายกฎหมายของกกต.เสียงแตก ไม่ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเพียงทางเดียว แต่มีการเสนอเป็น 2 ทาง โดยเฉพาะกรณี 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัคร มีการเสนอให้กกต.พิจารณา ทั้งเห็นว่า กกต. สามารถออกประกาศกำหนดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งส.ส.ใน 28 เขตได้ เพราะการเลือกตั้งตามพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 2 ก.พ. ยังได้ผลไม่สมบูรณ์ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 ประกอบมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ให้อำนาจ กกต. ในการออกประกาศหรือระเบียบทั้งหลายอันจำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้อยู่แล้ว
ขณะที่อีกแนวทางหนึ่งเห็นว่า จำเป็นที่ กกต.จะต้องเสนอให้รัฐบาลทูลเกล้าฯ เพื่อตรา พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ เพราะ 28 เขตเลือกตั้ง ยังไม่มีผู้สมัคร ต้องมีการรับสมัครใหม่ ซึ่งการจะรับสมัครได้ มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส. กำหนดให้กกต.ทำได้ เมื่อพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับ
ส่วนการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ทดแทนวันเลือกตั้งทั่วไป และวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้านั้น ในที่ประชุมฝ่ายกฎหมายก็ได้เสนอเป็น 2 แนวทางเช่นกัน โดยทางหนึ่งเห็นว่า มาตรา 78 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งที่กำหนดให้มีการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งได้หลังกกต.ประจำเขตได้ประกาศงดการลงคะแนนในวันเลือกตั้งเนื่องจากเหตุสุดวิสัย เปิดช่องให้กกต.กำหนดวันทดแทนวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งทั่วไปได้
แต่อีกทางหนึ่งเห็นว่า มาตรา 78 ใช้ได้เฉพาะกับการกำหนดวันทดแทนวันเลือกตั้ง ที่มีการปิดหน่วยเลือกตั้งเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ทดแทนกับวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้ เพราะหน่วยเลือกตั้งในวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นหน่วยเลือกตั้งกลาง ซึ่งหน่วยเลือกตั้งตามความหมายของ มาตรา 78 หมายถึง หน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น และการที่กฎหมายกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ก็เพื่อให้ผู้มีสิทธิที่ไม่สามารถใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่กำหนดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง หากมีการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าทดแทนขึ้น ก็จะเป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งหลังวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ซึ่งถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของการกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า
อีกทั้ง มาตรา 102 ของพ.ร.บ.เลือกตั้ง ยังกำหนดให้คะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ต้องมาถึงยังหน่วยเลือกตั้ง เพื่อนับคะแนนก่อนที่คะแนนเลือกตั้งแต่ละหน่วยเลือกตั้งจะมาถึง โดยมีการกำหนดไว้ว่า หากบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้ามาหลังจากนับคะแนนเลือกตั้งไปแล้ว ให้ถือว่าบัตรเลือกตั้งล่วงหน้านั้น เป็นบัตรเสีย แต่ในข้อเท็จจริงขณะนี้ มีการนับคะแนนเลือกตั้ง 2 ก.พ.ไปแล้ว ดังนั้นหากมีการกำหนดวันทดแทนวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าขึ้นใหม่ ก็อาจจะทำให้ถูกฟ้องร้องให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะได้
นอกจากนี้ หากจะมีการกำหนดวันทดแทนวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งทั่วไปในช่วงนี้ ก็มีการประเมินพื้นที่ที่จะสามารถจัดให้มีการลงคะแนนได้ว่า ภาคใต้ จะมีแค่ 3 จังหวัดชายใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และใน จ.สตูล 2 เขตเลือกตั้ง รวมถึง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เท่านั้น ส่วนพื้นที่อื่นๆ รวมถึง กรุงเทพมหานคร จะเผชิญกับการปิดล้อมของกลุ่มกปปส. ซึ่งการกำหนดวัน ยังจะกระทบไปถึงการจัดการเลือกตั้งส.ว. ที่เป็นการเลือกตั้งทั่วประเทศ ซึ่งต้องมีการเตรียมกำลังคน อุปกรณ์ เหมือนกับการเลือกตั้งส.ส.ทั่วไป ประเด็นต่างๆเหล่านี้ ทำให้ที่ประชุมกกต.ไม่สามารถตัดสินใจได้ จึงขอให้มีการนัดคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายที่ประกอบไปด้วย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอดีตรองประธานศาลฎีกา มาร่วมประชุมกับ กกต.ในวันที่ 7 ก.พ. เพื่อให้ได้แนวทางที่ชัดเจน ที่กกต. จะสามารถตัดสินใจได้
**โหวตโนบวกบัตรเสีย 6 ล้าน
ในวันเดียวกันนี้ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงข้อมูลการเลือกตั้ง ส.ส.ในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ. จาก 68 จังหวัด ไม่รวม 9 จังหวัดภาคใต้ คือ กระบี่ ชุมพร ตรัง พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่สามารถเปิดการลงคะแนนได้ ว่า จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมี 43,024,786 คน มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 20,530,359 คน คิดเป็น 47.72 % แบ่งเป็น บัตรดี 14,645,812 ใบ คิดเป็น 71.34 % บัตรเสีย 2,458,461 ใบ คิดเป็น 11.97 % ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ โหวตโน 3,426,080 ใบ คิดเป็น 16.69%
โดยภาคเหนือ 16 จังหวัด มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 8,526,095 คน มาใช้สิทธิ 4,776,287 คน คิดเป็นร้อยละ 56.02 บัตรดี 2,997,639 บัตร คิดเป็นร้อยละ 62.76 บัตรเสีย 766,790 บัตร คิดเป็นร้อยละ 16.05 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,011,857 บัตร คิดเป็นร้อยละ 21.19
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 16,290,384 คน มาใช้สิทธิ 9,009,572 คน คิดเป็นร้อยละ 55.31 บัตรดี 7,300,756 บัตร คิดเป็นร้อยละ 81.03 บัตรเสีย 847,954 บัตร คิดเป็นร้อยละ 9.41 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 860,862 บัตร คิดเป็นร้อยละ 19.72
ภาคกลาง 25 จังหวัด (ยกเว้น กทม.) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 12,222,346 คน มาใช้สิทธิ 5,016,970 คน คิดเป็นร้อยละ 41.05 บัตรดี 3,192,765 บัตร คิดเป็นร้อยละ 63.64 บัตรเสีย 654,559 บัตร คิเป็นร้อยละ 13.05 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,169,641 บัตร คิดเป็นร้อยละ 23.31
ภาคใต้ 6 จังหวัด ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,616,841 คน ผู้มาใช้สิทธิ 594,234 คน คิดเป็นร้อยละ 36.75 บัตรดี 378,831 บัตร คิดเป็นร้อยละ 63.75 บัตรเสีย 98,235 บัตร คิดเป็นร้อยละ 16.53 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 117,168 บัตร คิดเป็นร้อยละ 19.72
กรุงเทพมหานคร 6,671 หน่วย เปิดลงคะแนน 6,155 หน่วย ประกาศงดการละแนน 516 หน่วย ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,369,120 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,133,296 คน คิดเป็นร้อยละ 25.94 บัตรดี 775,821 บัตร คิดเป็นร้อยละ 68.46 บัตรเสีย 90,923 บัตร คิดเป็นร้อยละ 8.02 และผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 266,552 บัตร คิดเป็นร้อยละ 23.52
**เชียงใหม่ใช้สิทธิมากสุด ระยองแชมป์โหวตโน
สำหรับจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จ.เชียงใหม่ มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 827,808 คน คิดเป็นร้อยละ 75.05 รองลงมาคือ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งในทุกครั้ง แต่ครั้งนี้กลับเสียแชมป์ให้กับเชียงใหม่ โดยลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 241,209 คน คิดเป็นร้อยละ 73.39 และจ.แม่ฮ่องสอน มีผู้มาใช้สิทธิ์ 104,241คน คิดเป็นนร้อยละ 64.99
ขณะที่จังหวัดที่มีผู้ใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ นครศรีธรรมราช ที่เปิดลงคะแนนใน 24 หน่วย มีผู้มาใช้สิทธิ์ 1,302 คน คิดเป็นร้อยละ8.78 รองลงมา คือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีผู้มาใช้สิทธิ 55,818 คน คิดเป็นร้อยละ 20.05 สมุทรสงคราม มีผู้มาใช้สิทธิ 37,581คน คิดเป็นร้อยละ24.42 กรุงเทพมหานคร มีผู้มาใช้สิทธิ 1,133,296 คน คิดเป็นร้อยละ 25.94 และ จ.ระยอง มีผู้มาใช้สิทธิ 118,900 คน คิดเป็นร้อยละ26.07
สำหรับจังหวัดที่มีบัตรดีมากที่สุดคือ จ.นครพนม ร้อยละ 86.99 รองลงมา คือ ร้อยเอ็ด คิดเป็น ร้อยละ 86.54 ยโสธร ร้อยละ 85.88 ในขณะที่บัตรเสียมากที่สุด คือ จ.ตาก ร้อยละ 27.13 รองลงมาคือ ยะลา ร้อยละ 22.94 น่าน ร้อยละ 22.37
สำหรับจังหวัดที่มีบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ โหวตโน มากที่สุดคือ จ.ระยอง 40.58 % รองลงมาคือ สมุทรสงคราม 40.34 % และตราด 35.74 %
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าที่ จ.ฉะเชิงเทรา มีการฉีกบัตรลงคะแนน 2 ใบ จ.เชียงราย บัตรหาย 1 ใบ และ จ.นนทบุรี บัตรหาย 3 ใบ
ทั้งนี้ตัวเลขผู้ใช้สิทธิ์ บัตรดีและบัตรเสีย ได้นับรวมในส่วนของหน่วยเลือกตั้งที่สามารถเปิดลงคะแนนได้ครบตามเวลา และหน่วยที่เปิด แต่มีการประกาศปิดหน่วยก่อนเวลา แต่ยังไม่ได้นับรวมการเลือกตั้งล่วงหน้า เมื่อวันที่ 26 ม.ค. และการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวมถึง 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอดการใช้สิทธิเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้จะเพียง 68 จังหวัด โดยยังไม่รวมบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และการลงคะแนนนอกราชอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับการยอดการใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตครั้งที่แล้ว ในการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 ที่เป็นยอดการใช้สิทธิทั่วประเทศ 77 จังหวัด พบว่า ยอดของบัตรเสีย และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนใน 68 จังหวัดของการเลือกตั้งครั้งนี้ สูงกว่ายอดบัตรเสีย และบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน ในการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตทั่วประเทศ เมื่อ 3 ก.ค. 54
โดยการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,939,549 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,220,377 คนคิดเป็นร้อยละ 75.03 บัตรเสีย 2,040,261 บัตรคิดเป็นร้อยละ5.79 บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,148 บัตร คิดเป็นร้อยละ 4.03 ขณะที่การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 43,024,786 คน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 20,530,359 คนคิดเป็น ร้อยละ47.72 บัตรเสีย 2,458,461 บัตร คิดเป็นร้อยละ11.97 ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 3,426,080 บัตร คิดเป็นร้อยละ 16.69
** เชียงใหม่ เหนือ อีสาน โหวตโนพุ่ง
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายจังหวัดเปรียบเทียบสถิติการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค.54 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญและบ้านเกิดของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งลงคะแนนได้เป็นปกตินั้น มีผู้มาใช้สิทธิ ลดลงจาก 1,002,549 คน ในปี 54 เป็น 827,808 คนในครั้งนี้ และเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ก็ลดลงจาก 83.13 % เหลือ 75.05 % ขณะที่ผู้กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน กลับพุ่งขึ้นจาก 44,471ใบ หรือ 4.44 % ในปี 54 เป็น 167,398ใบ หรือ 20.22 % ในครั้งนี้ ทั้งที่จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน จ.เชียงใหม่ในครั้งนี้มีน้อยกว่าปี 54 ประมาณ 9 หมื่นคน
แต่สาเหตุที่ จ.เชียงใหม่กลับได้แชมป์ผู้มาใช้สิทธิ์ในครั้งนี้นั้น เนื่องจาก จ.ลำพูน ซึ่งเป็นแช็มป์เก่าเมื่อปี 54 สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิ์ลดฮวบลงจาก 88.61 % ลงมาเหลือ 73.39 % ในครั้งนี้
เช่นเดียวกับภาพรวมของทั้งภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งสามารถลงคะแนนได้ครบทุกหน่วย 100 % และเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทยนั้น พบว่าในการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ภาคเหนือ มีผู้มาใช้สิทธิ์ 77.16 % กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 3.58 % และ ภาคอีสานมีผู้มาใช้สิทธิ์ 72.48 % กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 2.39 %
แต่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา ภาคเหนือกลับมีผู้มาใช้สิทธิ์ลดลงเหลือ 56.02 % เท่านั้น ขณะที่กาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนพุ่งขึ้นเป็น 21.19 % ส่วนภาคอีสานก็มีผู้มาใช้สิทธิ์ลดลงเหลือ 55.31 % และกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 9.55 % ทั้งที่ทั้งสองภาคแทบไม่มีข่าวการขัดขวางการไปใช้สิทธิ์ หรือการชุมนุมหน้าหน่วยเลือกตั้งเลย
** ทีดีอาร์ไอชี้ ผลเลือกตั้งตบหน้า เพื่อไทย
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)โพสต์เฟซบุ๊ก แสดงความเห็นส่วนตัว หลังกกต.เปิดผลเบื้องต้นของการเลือกตั้ง 2 ก.พ. พบว่า คะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทย ลดลงจากปี 54 จาก 15 ล้าน เหลือเพียง 10 ล้านเสียงเท่านั้น
นายสมชัย ยังเปรียบเทียบคะแนนของพรรคเพื่อไทย ที่อาจได้จัดตั้งรัฐบาลเพราะ"ชนะ"การเลือกตั้งนี้ มีความชอบธรรมเพียงใด
“ผลการประมาณการคร่าวๆ โดยใช้ข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ (อ้างว่ามาจาก กกต.อีกที) แล้วปรับใช้รูปแบบการลงคะแนน party list ในปี 2554 จากนั้นคำนวณคะแนน 'กปปส.' ว่าหมายถึง คะแนน No Vote, Vote No และบัตรเสีย ที่ "เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ (ใช้เกณฑ์ปี 54)" ผลคือ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนน้อยกว่า กปปส. เกือบ 60% นั่นหมายถึงมีประชาชน ที่ไม่อยากให้พรรคเพื่อไทย บริหารประเทศมากกว่าคนที่ต้องการให้บริหาร...เป็นเพียงการประมาณการครับ.. ต้องรอคะแนนเป็นทางการ”
จากนั้นนายสมชัยโพสต์ ในวันที่ 6 ก.พ. ว่า “สืบเนื่องจาก post เมื่อวาน ที่ประมาณการคะแนนเลือกพรรคเพื่อไทยเทียบกับ 'กปปส.' (ที่หมายถึงคนไม่เอาระบอบทักษิณ แต่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับแนวทางดำเนินการของ กปปส.) ลองทำตัวเลขอีกแง่มุมหนึ่ง แสดงถึง 'เจตนารมณ์' ทางการเมืองของการเลือกตั้งครั้งนี้ มุ่งไปที่ว่า (ก) ส.ส.ที่จะได้ไม่ว่าจากพรรคใดก็ตาม ได้รับความเห็นชอบให้บริหารประเทศหรือไม่ และ (ข) พอจะบอกถึงจุดยืน reform before electionได้เพียงใด
ตัวเลขที่พบแสดงว่า จำนวนคนที่ไม่ต้องการให้ผู้สมัครคนใด/พรรคใดเลย บริหารประเทศ มีจำนวนมากกว่าคนที่ 'ยอม' หรือ 'ไว้ใจ' ให้บริหารได้ อันนี้รวมทุกพรรคเลย ไม่ใช่เฉพาะพรรคเพื่อไทย คือต่อให้ตั้งรัฐบาลโดยไม่มีฝ่ายค้านเลย ก็ไม่ชอบธรรมอยู่ดี