เมื่อเวลา 13.30 น.วานนี้ (3ก.พ.) ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดแถลงข่าวเรื่อง " นิด้า ผ่าทางตันวิกฤตประเทศไทยหลังเลือกตั้ง " โดยนายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้กล่าวสรุปผลการเลือกตั้งว่า การเลือกตั้งปี 49 ตนเป็นคนไปยื่นเรื่องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เพราะเรื่องการหันคูหาเลือกตั้งไม่ถูกต้อง เป็นแค่ประเด็นเดียวเท่านั้น แต่การเลือกตั้งครั้งนี้มีปัญหามาก อาทิ วันเลือกตั้งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ แต่ปรากฏว่ามี 28 เขต ที่ไม่มีการลงคะแนนเสียงครั้งแรก อีกทั้งการเลือกตั้งล่วงหน้า ก็ต้องทำล่วงหน้าไม่ใช่มาทำทีหลังการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเมื่อถึงตอนนั้นก็จะรู้แล้วว่า พรรคใดได้คะแนนมากน้อยแค่ไหน ถือเป็นการชี้นำ เป็นต้น
"การเลือกตั้ง ถ้ากลัดกระดุมผิดเม็ดแรกก็จะผิดไปเรื่อยๆ ดังนั้นหากการเลือกตั้งถ้าเป็นสะพาน ก็ไม่สามารถทอดปลายสะพานไปได้ อีกทั้งภายใน 6 เดือน ก็มีแนวโน้มไม่สามารถเปิดสภาได้ รวมถึงรัฐบาลรักษาการ ก็ไม่สามารถกระทำการใดๆ ภายใต้ข้อจำกัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 อย่างไรก็ตาม วันนี้อยากเรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลและ กปปส. ถอยคนละก้าว เพราะถ้ายังตรึงกันแบบนี้ ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการจลาจล" นายบรรเจิดกล่าว
นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตคณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทย กรณีปัญหาการเมืองยังดำเนินการต่อเนื่องในปี 2557 จากที่ประเมินว่า จีดีพี (GDP)จะขยายตัว ร้อยละ 4.5 ก็จะมาอยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 1 จากเดิมอยู่ที่ ร้อยละ 0.7-0.8 โดยกลุ่มที่จะได้รับกระทบมากที่สุดคือ แรงงานใหม่ ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะปริญญาตรี ที่มีปัญหาการว่างงานสะสมทุกปี ส่วนด้านการ ท่องเที่ยวในปี 2557 จากที่คาดว่าจะมีชาวต่างชาติมา 29 ล้านคน จะมีรายได้ 1,400 ล้านบาท แต่เมื่อมีสถานการณ์ทางการเมืองในไตรมาสที่ 1 ปรากฏว่า นักท่องเที่ยวจะลดลง 5 แสนคน รายได้ลดลง 2 หมื่นล้านบาท แต่ถ้ายังยืดเยื้อถึงกลางปี 57 นักท่องเที่ยวจะหายไป 1 ล้านคนรายได้ก็จะหายไปถึง 5 หมื่นล้านบาท
จากนั้นเวลา 14.30 น. นายบรรเจิด ได้อ่านแถลงการณ์ข้อเสนอนิด้า " ทางออกจากวิกฤตของประเทศ ”ว่า จากสภาพปัญหาที่เป็นวิกฤตทางการเมืองของประเทศ ถือเป็นวิกฤตการณ์ที่อาจนำประเทศไปสู่ความเสียหายหรือความสูญเสียที่ไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น ข้อเสนอของนิด้า วางอยู่บนหลักพื้นฐาน 4 ประการ คือ เคารพการเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งที่จะปรากฏผลออกมาในอนาคต หลีกเลี่ยงความขัดแย้งรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น สร้างกระบวนการในการปฏิรูปประเทศ และแก้วิกฤตปัญหาของชาวนา
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เห็นว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่จะมีข้อเสนอเพื่อออกจากวิกฤตของประเทศ 4 ข้อ ดังนี้
1. เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 ก.พ.57 ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว แม้จะยังไม่สำเร็จผลเรียบร้อย แต่เพื่อให้กระบวนการการปฏิรูปประเทศได้เริ่มต้น โดยไม่ต้องผูกพันกับผลของการเลือกตั้ง เห็นควรให้มี “รัฐบาลเพื่อการปฏิรูปประเทศ”เป็นรัฐบาลคนกลาง เข้ามาทำหน้าที่ในการปฏิรูปประเทศ
2. รัฐบาลเพื่อการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี ที่สังคมยอมรับ และให้ปลัดกระทรวงแต่ละกระทรวง หรือบุคคลอื่นที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี โดยมีภาระหน้าที่หลักสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปประเทศ โดยมีกระบวนการในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1 ให้รองประธานวุฒิสภา (เนื่องจากประธานวุฒิสภาถูกกล่าวหาจากใช้อำนาจของประธานรัฐสภามิชอบ) เป็นผู้กราบบังคมทูล เสนอชื่อบุคคลสมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์
2.2 เมื่อพระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี เสนอรายชื่อปลัดกระทรวงหรือบุคคลที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงนั้นๆ เพื่อรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อการปฏิรูปประเทศต่อไป
3.แก้ไขปัญหาชาวนาเป็นการเร่งด่วน
4.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปประเทศ โดยกำหนดให้มีองค์กรในการปฏิรูปประเทศและกระบวนการในการปฏิรูปประเทศต่อไป โดยมีหลักการสำคัญดังนี้
4.1 องค์กรในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ แย่งออกเป็น สมัชชาประชาชนปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการกำกับการปฏิรูปประเทศไทย และคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ
4.2 โดยระยะเวลาในการปฏิรูปประเทศ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี
"การเลือกตั้ง ถ้ากลัดกระดุมผิดเม็ดแรกก็จะผิดไปเรื่อยๆ ดังนั้นหากการเลือกตั้งถ้าเป็นสะพาน ก็ไม่สามารถทอดปลายสะพานไปได้ อีกทั้งภายใน 6 เดือน ก็มีแนวโน้มไม่สามารถเปิดสภาได้ รวมถึงรัฐบาลรักษาการ ก็ไม่สามารถกระทำการใดๆ ภายใต้ข้อจำกัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 อย่างไรก็ตาม วันนี้อยากเรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลและ กปปส. ถอยคนละก้าว เพราะถ้ายังตรึงกันแบบนี้ ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการจลาจล" นายบรรเจิดกล่าว
นายอดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตคณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทย กรณีปัญหาการเมืองยังดำเนินการต่อเนื่องในปี 2557 จากที่ประเมินว่า จีดีพี (GDP)จะขยายตัว ร้อยละ 4.5 ก็จะมาอยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 1 จากเดิมอยู่ที่ ร้อยละ 0.7-0.8 โดยกลุ่มที่จะได้รับกระทบมากที่สุดคือ แรงงานใหม่ ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะปริญญาตรี ที่มีปัญหาการว่างงานสะสมทุกปี ส่วนด้านการ ท่องเที่ยวในปี 2557 จากที่คาดว่าจะมีชาวต่างชาติมา 29 ล้านคน จะมีรายได้ 1,400 ล้านบาท แต่เมื่อมีสถานการณ์ทางการเมืองในไตรมาสที่ 1 ปรากฏว่า นักท่องเที่ยวจะลดลง 5 แสนคน รายได้ลดลง 2 หมื่นล้านบาท แต่ถ้ายังยืดเยื้อถึงกลางปี 57 นักท่องเที่ยวจะหายไป 1 ล้านคนรายได้ก็จะหายไปถึง 5 หมื่นล้านบาท
จากนั้นเวลา 14.30 น. นายบรรเจิด ได้อ่านแถลงการณ์ข้อเสนอนิด้า " ทางออกจากวิกฤตของประเทศ ”ว่า จากสภาพปัญหาที่เป็นวิกฤตทางการเมืองของประเทศ ถือเป็นวิกฤตการณ์ที่อาจนำประเทศไปสู่ความเสียหายหรือความสูญเสียที่ไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้ เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น ข้อเสนอของนิด้า วางอยู่บนหลักพื้นฐาน 4 ประการ คือ เคารพการเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งที่จะปรากฏผลออกมาในอนาคต หลีกเลี่ยงความขัดแย้งรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น สร้างกระบวนการในการปฏิรูปประเทศ และแก้วิกฤตปัญหาของชาวนา
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เห็นว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดที่จะมีข้อเสนอเพื่อออกจากวิกฤตของประเทศ 4 ข้อ ดังนี้
1. เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 ก.พ.57 ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว แม้จะยังไม่สำเร็จผลเรียบร้อย แต่เพื่อให้กระบวนการการปฏิรูปประเทศได้เริ่มต้น โดยไม่ต้องผูกพันกับผลของการเลือกตั้ง เห็นควรให้มี “รัฐบาลเพื่อการปฏิรูปประเทศ”เป็นรัฐบาลคนกลาง เข้ามาทำหน้าที่ในการปฏิรูปประเทศ
2. รัฐบาลเพื่อการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี ที่สังคมยอมรับ และให้ปลัดกระทรวงแต่ละกระทรวง หรือบุคคลอื่นที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรี โดยมีภาระหน้าที่หลักสนับสนุนกระบวนการปฏิรูปประเทศ โดยมีกระบวนการในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1 ให้รองประธานวุฒิสภา (เนื่องจากประธานวุฒิสภาถูกกล่าวหาจากใช้อำนาจของประธานรัฐสภามิชอบ) เป็นผู้กราบบังคมทูล เสนอชื่อบุคคลสมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์
2.2 เมื่อพระมหากษัตริย์มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี เสนอรายชื่อปลัดกระทรวงหรือบุคคลที่เหมาะสมเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงนั้นๆ เพื่อรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อการปฏิรูปประเทศต่อไป
3.แก้ไขปัญหาชาวนาเป็นการเร่งด่วน
4.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปประเทศ โดยกำหนดให้มีองค์กรในการปฏิรูปประเทศและกระบวนการในการปฏิรูปประเทศต่อไป โดยมีหลักการสำคัญดังนี้
4.1 องค์กรในการดำเนินการปฏิรูปประเทศ แย่งออกเป็น สมัชชาประชาชนปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการกำกับการปฏิรูปประเทศไทย และคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่างๆ
4.2 โดยระยะเวลาในการปฏิรูปประเทศ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี