วานนี้ (3 ก.พ.) นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต. ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวว่าในการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ไม่มีการร้องเรียนเรื่องการทุจริต การซื้อเสียง แต่ที่มีการร้องใน 8 จังหวัด เป็นการร้องว่าผู้สมัครของพรรคการเมืองหาเสียงเกินจริง ติดป้ายโฆษณาหาเสียงไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในคะแนนนิยม ใช้เจ้าหน้าที่ของรัฐในการช่วยเหลือผู้สมัครหาเสียง ซึ่งทางกกต.จังหวัด จะได้เร่งสืบสวนสอบสวน ส่วนกรณีการขัดขวางการเลือกตั้ง ทางกกต. กลาง ก็ได้ให้นโยบายลงไปในพื้นที่ว่า ขอให้กกต.เขต แจ้งความร้องทุกข์เอาผิด เพราะเชื่อว่า จะมีการเลือกตั้งอีกหลายครั้ง หากไม่ดำเนินการ ก็จะเป็นตัวอย่างให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้นอีก
นายบุญส่ง กล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้ง กกต.ได้มีการพิจารณาคำร้อง กรณีมีผู้ร้องนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางคน ที่ร่วมคณะกับนายกฯไปตรวจราชการในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน ว่า เป็นการกระทำที่เข้าข่ายใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อช่วยในการหาเสียงเลือกตั้งหรือไม่ โดยกรณีดังกล่าว มีการร้อง 3 สำนวน ซึ่งกกต. สั่งให้รวมเป็นสำนวนเดียว และตั้งคณะกรรมการไต่สวนชุดใหญ่ขึ้นตรวจสอบ โดยขณะนี้ได้มีการสอบผู้ร้องไปแล้ว 10 ราย ซึ่งตนก็พยายามที่จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการโดยเร็ว
นอกจากนี้ ยังมีการร้องนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกรัฐสภา กรณีการออก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มิชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการ้องหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การออกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่างคณะกรรมการไต่สวนสอบสวน หากพบว่ามีมูล กกต. ก็ต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. - ส.ว. และรัฐมนตรี สิ้นสุดลง
** ปชป.ร้องยุบพท.แจกใบแดง18รมต.
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า ในวันที่ 4 ก.พ. เวลา 14.00 น. ตนในฐานะผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะเดินทางไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นร้องให้ศาลพิจารณาว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ เนื่องจากจัดเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องจัดพร้อมกันทั่วประเทศ และบังคับให้บัตรเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตต้องมาถึงหน่วยเลือกตั้งก่อนการนับคะแนนในเวลา 15.00 น. ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า หลังวันเลือกตั้งจริง เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ จะมีคะแนนเป็นโมฆะถึง 2 ล้านเสียง และจะร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคเพื่อไทย ตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และให้แจกใบแดง 18 รัฐมนตรี ที่ร่วมมีมติประกาศให้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสกัดม็อบชาวนา อีกทั้งยังมีความพยายามสกัดกั้นสื่อ ไม่ให้เสนอข่าวการชุมนุมของกลุ่มกปปส. ด้วย ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ในการเลือกตั้ง
**จี้กกต.เอาผิด "สุเทพ"-ยุบปชป.
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. ให้พิจารณาดำเนินคดีกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. กับพวก 9 คน ที่ได้ร่วมกันกระทำการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในกรณีที่ขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง กีดกันไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิได้ ซึ่งถือเป็นการกระทำมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. รวมทั้งขอให้ดำเนินคดีทางแพ่ง ในกรณีที่กลุ่มกปปส.ได้เข้าไปบุกยึดโรงพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ทำให้บัตรเลือกตั้งเกิดความเสียหาย
ทั้งนี้ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยได้รวบรวมข้อเท็จจริงในการที่กลุ่มของนายสุเทพและพวก กระทำการที่เข้าข่ายการขัดขวางการเลือกตั้ง ตั้งแต่การเปิดให้มีการรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขต โดยเฉพาะในกทม.และจังหวัดภาคใต้ และล่าสุดที่ได้มีการขัดขวางการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยทำให้การเลือกตั้งมีปัญหา ทำให้มีผู้ไม่สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนได้ เนื่องจากมีการปิดหน่วยเลือกตั้งในบางพื้นที่ ดังนั้นจึงขอให้กกต.เร่งดำเนินคดีเอาผิดนายสุเทพกับพวกโดยเร็ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มของนายสุเทพ ไปขัดขวางการลงคะแนนของผู้ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ารอบ 2 ในวันที่ 23 ก.พ. นี้ รวมทั้งการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ของหน่วยที่ไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
"ขอให้กกต.เร่งดำเนินการ หากไม่ทำถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะเหตุกาณ์ที่มีการกระทำขัดขวางการเลือกตั้งได้ทำอย่างต่อเนื่องมาร่วมเดือน แต่กกต. ก็ยังไม่ยอมดำเนินการใดๆ ทั้งที่เห็นว่ากลุ่มของนายสุเทพ มีอาวุธปืน ดังนั้นหากกกต.ยังไม่ดำเนินการเอาผิด ก็จะยื่นร้องเอาผิด กกต.ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้กกต.เร่งดำเนินการกำหนดวันเลือกลงคะแนนใหม่ภายใน 7 วัน ให้กับผู้ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ในวันที่ 2 ก.พ. โดยเฉพาะ 9 จังหวัดที่ไม่สามารถลงคะแนนได้ทั้งจังหวัดและอีก 9 จังหวัดที่บางหน่วยไม่สามารรถลงคะแนนได้ อย่างไรก็ตาม กกต.มีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง อย่าโยนภาระให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น "
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 5 ก.พ. นี้ ตนและทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย จะยื่นเรื่องต่อประธานกกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ มีการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง และมีลักษณะเป็นการสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มกปปส. โดยมีการพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย
** ชี้คนส่วนใหญ่ไม่เอารัฐบาล
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องการใช้การเลือกตั้งประทับความชอบธรรม แต่จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา คือ การเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ รวมคะแนนไม่ได้แม้แต่เขตเดียว ไม่มีการประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และส.ส.แบบแบ่งเขต หน่วยเลือกตั้งหลายพื้นที่ลงคะแนนไม่ได้ ทำให้การเลือกตั้งหาจุดจบไม่ได้ ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ แม้แต่การเลือกตั้งล่วงหน้า ในวันที่ 23 ก.พ.57 กกต.ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่า จะจัดให้เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความผิดปกติของการเลือกตั้งในครั้งนี้ทั้งสิ้น เพราะจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และยังส่อว่าจะเป็นโมฆะ รวมทั้งไม่เป็นคำตอบให้กับประเทศ แต่เป็นปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพราะผลที่จะตามมาอีกหลายประการ อีกทั้งการเลือกตั้งใหม่่ไม่มีที่สิ้นสุด เปิดสภาไม่ได้ เป็นต้น เท่ากับน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะทำให้ประเทศอยู่ในภาวะสูญญากาศทางการเมือง และจะมีปัญหาการขัดรัฐธรรมนูญ เช่น การนับคะแนนทำไปแล้ว แต่มีการกำหนดเลือกตั้งล่วงหน้า 23 ก.พ. 57 จะทำให้การเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะ หรือไม่
"อยากเรียกร้องให้ กกต. ใช้ความกล้าหาญ วินิจฉัยทางออกที่ถูกต้อง ตัดสินใจบนผลประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ต้องเกรงใจรัฐบาล ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นทางออกที่เหมาะสมให้กับสังคมไทยมากที่สุด "
นอกจากนี้ รัฐบาลยังพยายามบิดเบือนตัวเลขประชาชนผู้มาใช้สิทธิ โดยนำตัวเลขของหน่วยเลือกตั้งที่สามารถเปิดหีบได้ มาอ้างว่า มีผู้ไปใช้สิทธิ 89 เปอร์เซนต์ ทั้งที่ความจริงมีผู้ใช้สิทธิเพียงแค่ 50.92 เปอร์เซนต์ ต่างจากปี 2554 คือ ลดลงกว่า 15 ล้านเสียง จากการโนโหวต หากเปรียบเทียบผู้มาใช้สิทธิประมาณ 20 ล้าน ถ้าผู้ไปใช้สิทธิกาโหวตโน เพียงสามล้านเสียง พรรคเพื่อไทยและทุกพรรคการเมืองที่ลงสมัครในครั้งนี้ จะเป็นเสียงส่วนน้อยในทันที ทำให้รัฐบาลไม่ได้รับฉันทามติแม้แต่กึ่งหนึ่งของประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนน
นอกจากกระบวนการเลือกตั้งไม่ชอบธรรมแล้ว ตัวเลขประชากรผู้มาใช้สิทธิก็สะท้อนว่า ประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ปฏิเสธการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยเฉพาะในกทม. ที่มีผู้ใช้สิทธิเพียง 26.18 เปอร์เซนต์ จึงขอให้รัฐบาลและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทบทวนว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ลงสมัคร เพราะไม่ชอบธรรม ไม่ใช่ทางออก แต่ทุกฝ่ายต้องมาหาทางออกร่วมกัน ไม่ใช่เอาเสียงข้างมากมาบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ฟังเสียงใคร เพราะประชาชนจะไม่ยอมอีกต่อไป เป็นสัญญาณอันตรายสำหรับรัฐบาล ต้องทำให้ประชาชนยอมรับกระบวนการเลือกตั้งก่อนที่จะสายเกินไป เพราะศรัทธาในตัวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่ในพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ เช่น พะเยา มีผู้ใช้สิทธิแค่ 50 เปอร์เซนต์ แพร่ (อ.วังชิ้น) ไปใช้สิทธิ 90 คน เพื่อไทยได้ 15 คะแนน นอกนั้นโหวตโน แม้แต่อุดรธานี มีผู้ใช้สิทธิเพียง 47 เปอร์เซนต์ มีสัดส่วนการกาโหวตโน สูงขึ้น จึงต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่า การเลือกตั้งจะไม่เป็นเพียงพิธีกรรมที่จะทำให้ได้เสียงข้างมากเข้าไปมีอำนาจ แต่ไม่ได้บริหารเพื่อประชาชนได้อีกต่อไป
นายบุญส่ง กล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้ง กกต.ได้มีการพิจารณาคำร้อง กรณีมีผู้ร้องนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บางคน ที่ร่วมคณะกับนายกฯไปตรวจราชการในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน ว่า เป็นการกระทำที่เข้าข่ายใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อช่วยในการหาเสียงเลือกตั้งหรือไม่ โดยกรณีดังกล่าว มีการร้อง 3 สำนวน ซึ่งกกต. สั่งให้รวมเป็นสำนวนเดียว และตั้งคณะกรรมการไต่สวนชุดใหญ่ขึ้นตรวจสอบ โดยขณะนี้ได้มีการสอบผู้ร้องไปแล้ว 10 ราย ซึ่งตนก็พยายามที่จะเร่งรัดให้มีการดำเนินการโดยเร็ว
นอกจากนี้ ยังมีการร้องนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกรัฐสภา กรณีการออก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มิชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นการ้องหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การออกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกรณีดังกล่าวอยู่ระหว่างคณะกรรมการไต่สวนสอบสวน หากพบว่ามีมูล กกต. ก็ต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. - ส.ว. และรัฐมนตรี สิ้นสุดลง
** ปชป.ร้องยุบพท.แจกใบแดง18รมต.
ด้านนายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า ในวันที่ 4 ก.พ. เวลา 14.00 น. ตนในฐานะผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จะเดินทางไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นร้องให้ศาลพิจารณาว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เป็นโมฆะ เนื่องจากจัดเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้การเลือกตั้งต้องจัดพร้อมกันทั่วประเทศ และบังคับให้บัตรเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตต้องมาถึงหน่วยเลือกตั้งก่อนการนับคะแนนในเวลา 15.00 น. ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า หลังวันเลือกตั้งจริง เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ จะมีคะแนนเป็นโมฆะถึง 2 ล้านเสียง และจะร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคเพื่อไทย ตัดสิทธิ์คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย และให้แจกใบแดง 18 รัฐมนตรี ที่ร่วมมีมติประกาศให้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสกัดม็อบชาวนา อีกทั้งยังมีความพยายามสกัดกั้นสื่อ ไม่ให้เสนอข่าวการชุมนุมของกลุ่มกปปส. ด้วย ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ในการเลือกตั้ง
**จี้กกต.เอาผิด "สุเทพ"-ยุบปชป.
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต. ให้พิจารณาดำเนินคดีกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. กับพวก 9 คน ที่ได้ร่วมกันกระทำการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในกรณีที่ขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง กีดกันไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปใช้สิทธิได้ ซึ่งถือเป็นการกระทำมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. รวมทั้งขอให้ดำเนินคดีทางแพ่ง ในกรณีที่กลุ่มกปปส.ได้เข้าไปบุกยึดโรงพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ทำให้บัตรเลือกตั้งเกิดความเสียหาย
ทั้งนี้ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยได้รวบรวมข้อเท็จจริงในการที่กลุ่มของนายสุเทพและพวก กระทำการที่เข้าข่ายการขัดขวางการเลือกตั้ง ตั้งแต่การเปิดให้มีการรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขต โดยเฉพาะในกทม.และจังหวัดภาคใต้ และล่าสุดที่ได้มีการขัดขวางการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยทำให้การเลือกตั้งมีปัญหา ทำให้มีผู้ไม่สามารถไปใช้สิทธิลงคะแนนได้ เนื่องจากมีการปิดหน่วยเลือกตั้งในบางพื้นที่ ดังนั้นจึงขอให้กกต.เร่งดำเนินคดีเอาผิดนายสุเทพกับพวกโดยเร็ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มของนายสุเทพ ไปขัดขวางการลงคะแนนของผู้ที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ารอบ 2 ในวันที่ 23 ก.พ. นี้ รวมทั้งการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ของหน่วยที่ไม่สามารถเปิดให้ลงคะแนนได้ในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
"ขอให้กกต.เร่งดำเนินการ หากไม่ทำถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะเหตุกาณ์ที่มีการกระทำขัดขวางการเลือกตั้งได้ทำอย่างต่อเนื่องมาร่วมเดือน แต่กกต. ก็ยังไม่ยอมดำเนินการใดๆ ทั้งที่เห็นว่ากลุ่มของนายสุเทพ มีอาวุธปืน ดังนั้นหากกกต.ยังไม่ดำเนินการเอาผิด ก็จะยื่นร้องเอาผิด กกต.ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ขอให้กกต.เร่งดำเนินการกำหนดวันเลือกลงคะแนนใหม่ภายใน 7 วัน ให้กับผู้ที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ในวันที่ 2 ก.พ. โดยเฉพาะ 9 จังหวัดที่ไม่สามารถลงคะแนนได้ทั้งจังหวัดและอีก 9 จังหวัดที่บางหน่วยไม่สามารรถลงคะแนนได้ อย่างไรก็ตาม กกต.มีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง อย่าโยนภาระให้รัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น "
นายพร้อมพงศ์ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 5 ก.พ. นี้ ตนและทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย จะยื่นเรื่องต่อประธานกกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ มีการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.พรรคการเมือง และมีลักษณะเป็นการสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่มกปปส. โดยมีการพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย
** ชี้คนส่วนใหญ่ไม่เอารัฐบาล
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องการใช้การเลือกตั้งประทับความชอบธรรม แต่จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา คือ การเลือกตั้งไม่ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ รวมคะแนนไม่ได้แม้แต่เขตเดียว ไม่มีการประกาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และส.ส.แบบแบ่งเขต หน่วยเลือกตั้งหลายพื้นที่ลงคะแนนไม่ได้ ทำให้การเลือกตั้งหาจุดจบไม่ได้ ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ แม้แต่การเลือกตั้งล่วงหน้า ในวันที่ 23 ก.พ.57 กกต.ก็ยังยืนยันไม่ได้ว่า จะจัดให้เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความผิดปกติของการเลือกตั้งในครั้งนี้ทั้งสิ้น เพราะจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และยังส่อว่าจะเป็นโมฆะ รวมทั้งไม่เป็นคำตอบให้กับประเทศ แต่เป็นปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้น เพราะผลที่จะตามมาอีกหลายประการ อีกทั้งการเลือกตั้งใหม่่ไม่มีที่สิ้นสุด เปิดสภาไม่ได้ เป็นต้น เท่ากับน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะทำให้ประเทศอยู่ในภาวะสูญญากาศทางการเมือง และจะมีปัญหาการขัดรัฐธรรมนูญ เช่น การนับคะแนนทำไปแล้ว แต่มีการกำหนดเลือกตั้งล่วงหน้า 23 ก.พ. 57 จะทำให้การเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นโมฆะ หรือไม่
"อยากเรียกร้องให้ กกต. ใช้ความกล้าหาญ วินิจฉัยทางออกที่ถูกต้อง ตัดสินใจบนผลประโยชน์ของประเทศอย่างแท้จริง ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ต้องเกรงใจรัฐบาล ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นทางออกที่เหมาะสมให้กับสังคมไทยมากที่สุด "
นอกจากนี้ รัฐบาลยังพยายามบิดเบือนตัวเลขประชาชนผู้มาใช้สิทธิ โดยนำตัวเลขของหน่วยเลือกตั้งที่สามารถเปิดหีบได้ มาอ้างว่า มีผู้ไปใช้สิทธิ 89 เปอร์เซนต์ ทั้งที่ความจริงมีผู้ใช้สิทธิเพียงแค่ 50.92 เปอร์เซนต์ ต่างจากปี 2554 คือ ลดลงกว่า 15 ล้านเสียง จากการโนโหวต หากเปรียบเทียบผู้มาใช้สิทธิประมาณ 20 ล้าน ถ้าผู้ไปใช้สิทธิกาโหวตโน เพียงสามล้านเสียง พรรคเพื่อไทยและทุกพรรคการเมืองที่ลงสมัครในครั้งนี้ จะเป็นเสียงส่วนน้อยในทันที ทำให้รัฐบาลไม่ได้รับฉันทามติแม้แต่กึ่งหนึ่งของประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนน
นอกจากกระบวนการเลือกตั้งไม่ชอบธรรมแล้ว ตัวเลขประชากรผู้มาใช้สิทธิก็สะท้อนว่า ประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ปฏิเสธการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยเฉพาะในกทม. ที่มีผู้ใช้สิทธิเพียง 26.18 เปอร์เซนต์ จึงขอให้รัฐบาลและน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทบทวนว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ลงสมัคร เพราะไม่ชอบธรรม ไม่ใช่ทางออก แต่ทุกฝ่ายต้องมาหาทางออกร่วมกัน ไม่ใช่เอาเสียงข้างมากมาบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ฟังเสียงใคร เพราะประชาชนจะไม่ยอมอีกต่อไป เป็นสัญญาณอันตรายสำหรับรัฐบาล ต้องทำให้ประชาชนยอมรับกระบวนการเลือกตั้งก่อนที่จะสายเกินไป เพราะศรัทธาในตัวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่ในพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ เช่น พะเยา มีผู้ใช้สิทธิแค่ 50 เปอร์เซนต์ แพร่ (อ.วังชิ้น) ไปใช้สิทธิ 90 คน เพื่อไทยได้ 15 คะแนน นอกนั้นโหวตโน แม้แต่อุดรธานี มีผู้ใช้สิทธิเพียง 47 เปอร์เซนต์ มีสัดส่วนการกาโหวตโน สูงขึ้น จึงต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่า การเลือกตั้งจะไม่เป็นเพียงพิธีกรรมที่จะทำให้ได้เสียงข้างมากเข้าไปมีอำนาจ แต่ไม่ได้บริหารเพื่อประชาชนได้อีกต่อไป