ASTVผู้จัดการรายวัน - สำนักวิจัยซีไอเอ็มบีไทยระบุภาคส่งออกไทยไปสหรัฐฯอาจไม่สดใสแม้เศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัว เหตุประเภทสินค้าไม่ตรงกับความต้องการ แนะเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิต ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าไม่ช่วยหนุน เพราะเป็นทั้งภูมิภาค
นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดการเงิน สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาคการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯในปีนี้ไม่น่าจะเติบโตได้ดี แม้ว่าสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้ดีและอาจโตได้ราว 3% เพราะสหรัฐฯฟื้นตัวจากภาคการผลิตมากกว่าภาคการบริโภค ในขณะที่ไทยเราส่งออกสินค้าเพื่อการบริโภคเป็นหลัก เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิสไดร์ฟ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งความต้องการของตลาดโลกลดลง เนื่องจากผู้บริโภคหันไปใช้สินค้าที่เทคโนโลยีสูงขึ้น แต่ไทยไม่มีความสามารถในการแข่งขัน หรือพูดง่ายๆ คือผลิตได้ไม่ดี เช่นสมาร์ทโฟน หรือแทปเลต
นอกจากนี้ ประเทศไทยไม่เด่นพอที่จะผลิตสินค้าทุนเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคการผลิตของสหรัฐฯ แม้แต่แผงวงจรไฟฟ้าของเราก็ไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า เช่นมาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ดังนั้น การส่งออกในปีนี้ แม้จะดีกว่าปีที่แล้ว แต่ก็จะไม่สดใสมากนักหากเรายังไม่สามารถปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการส่งออกได้
ด้านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะช่วยการส่งออกได้ไม่มากนัก เพราะการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค กล่าวคือ เราไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขันมากกว่าประเทศคู่แข่งมากนัก ซึ่งการถอนมาตรการ QE น่าจะกระทบประเทศในภูมิภาคนี้พอๆ กัน ที่น่ากังวลคือ ปัจจัยในประเทศที่อาจกดดันให้เกิดเงินไหลออกได้ เช่น ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ หรืออันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงก็อาจส่งผลให้เกิดเงินไหลออก และทำให้บาทอ่อนค่าได้มากกว่าประเทศอื่น ซึ่งแม้จะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ แต่ก็จะมีนักลงทุนบางกลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินที่อ่อน
อย่างไรก็ดี สำนักวิจัยไม่ได้มองว่าบาทจะอ่อนค่ามากนัก เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลงไม่ได้เป็นผลดีต่อความต้องการสินค้านำเข้าประเภทสินค้าทุน เพื่อใช้ในภาคการผลิต ดังนั้นความต้องการเงินเหรียญสหรัฐฯ อาจมีไม่มากนัก และน่าจะส่งผลให้บาทไม่อ่อนค่าแรงเกินไป โดยคาดว่าค่าเงินบาทน่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐฯปลายไตรมาสที่ 1 นี้
"เศรษฐกิจไทยไม่อาจหลีกพ้นจากปัญหาวิกฤติเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ได้ โดยเมื่อเทียบเงินสำรองระหว่างประเทศในช่วงกลางเดือนมกราคมปี 2556 จะพบว่า เงินสำรองระหว่างประเทศเราลดลงราว 7% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าราว 10% เทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เราต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความผันผวนของค่าเงินอีก ไม่ใช่เพียงจากการลดมาตรการ QE แต่จากการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนต่างชาติ โดยอาจไม่ได้มองพื้นฐานเศรษฐกิจไทย แต่อาจเหมารวมทั้งตลาดเกิดใหม่ก็เป็นได้"
นายอมรเทพ จาวะลา หัวหน้าส่วนวิจัยเศรษฐกิจและตลาดการเงิน สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาคการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯในปีนี้ไม่น่าจะเติบโตได้ดี แม้ว่าสหรัฐฯจะฟื้นตัวได้ดีและอาจโตได้ราว 3% เพราะสหรัฐฯฟื้นตัวจากภาคการผลิตมากกว่าภาคการบริโภค ในขณะที่ไทยเราส่งออกสินค้าเพื่อการบริโภคเป็นหลัก เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ฮาร์ดดิสไดร์ฟ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งความต้องการของตลาดโลกลดลง เนื่องจากผู้บริโภคหันไปใช้สินค้าที่เทคโนโลยีสูงขึ้น แต่ไทยไม่มีความสามารถในการแข่งขัน หรือพูดง่ายๆ คือผลิตได้ไม่ดี เช่นสมาร์ทโฟน หรือแทปเลต
นอกจากนี้ ประเทศไทยไม่เด่นพอที่จะผลิตสินค้าทุนเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคการผลิตของสหรัฐฯ แม้แต่แผงวงจรไฟฟ้าของเราก็ไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า เช่นมาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ดังนั้น การส่งออกในปีนี้ แม้จะดีกว่าปีที่แล้ว แต่ก็จะไม่สดใสมากนักหากเรายังไม่สามารถปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการส่งออกได้
ด้านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะช่วยการส่งออกได้ไม่มากนัก เพราะการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค กล่าวคือ เราไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขันมากกว่าประเทศคู่แข่งมากนัก ซึ่งการถอนมาตรการ QE น่าจะกระทบประเทศในภูมิภาคนี้พอๆ กัน ที่น่ากังวลคือ ปัจจัยในประเทศที่อาจกดดันให้เกิดเงินไหลออกได้ เช่น ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ หรืออันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงก็อาจส่งผลให้เกิดเงินไหลออก และทำให้บาทอ่อนค่าได้มากกว่าประเทศอื่น ซึ่งแม้จะเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ แต่ก็จะมีนักลงทุนบางกลุ่มได้ประโยชน์จากค่าเงินที่อ่อน
อย่างไรก็ดี สำนักวิจัยไม่ได้มองว่าบาทจะอ่อนค่ามากนัก เนื่องจากความเชื่อมั่นที่ลดลงไม่ได้เป็นผลดีต่อความต้องการสินค้านำเข้าประเภทสินค้าทุน เพื่อใช้ในภาคการผลิต ดังนั้นความต้องการเงินเหรียญสหรัฐฯ อาจมีไม่มากนัก และน่าจะส่งผลให้บาทไม่อ่อนค่าแรงเกินไป โดยคาดว่าค่าเงินบาทน่าจะอยู่ที่ระดับ 33.50 บาท/เหรียญสหรัฐฯปลายไตรมาสที่ 1 นี้
"เศรษฐกิจไทยไม่อาจหลีกพ้นจากปัญหาวิกฤติเงินไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ได้ โดยเมื่อเทียบเงินสำรองระหว่างประเทศในช่วงกลางเดือนมกราคมปี 2556 จะพบว่า เงินสำรองระหว่างประเทศเราลดลงราว 7% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าราว 10% เทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า เราต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความผันผวนของค่าเงินอีก ไม่ใช่เพียงจากการลดมาตรการ QE แต่จากการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุนต่างชาติ โดยอาจไม่ได้มองพื้นฐานเศรษฐกิจไทย แต่อาจเหมารวมทั้งตลาดเกิดใหม่ก็เป็นได้"