ASTVผู้จัดการรายวัน - ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯไฟเขียวบริษัทย่อย“ราชบุรีแก๊ส”ซื้อหุ้น50%ในไตร เอนเนอจี้ที่เชฟรอนฯถือทั้งหมด ในราคา 21.32 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 700 ล้านบาท คนวงในพลังงานงง! หาเหตุผลการซื้อหุ้นดังกล่าว เนื่องจากเหลือสัญญาขายไฟอีกไม่กี่ปีและการรับรู้กำไรจากโรงไฟฟ้านี้นับวันจะน้อยลงมากตามสัญญาPPA และโอกาสน้อยที่จะใช้พื้นที่นี้ประมูลไอพีพีรอบใหม่เหตุปตท.ไม่มีก๊าซฯป้อนให้
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) จำนวน 17,119,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 50%ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 21,323,495 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 700 ล้านบาทจากผู้ถือหุ้นเดิม คือ บริษัท เชฟรอน ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.นี้ ส่งผลให้บริษัท ราชบุรีแก๊ส ถือหุ้นทั้งหมด 99.99%ในไตร เอนเนอจี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯในการประชุมครั้งที่ 13/2556 เมื่อวันที่ 18 พ.ย. และคณะกรรมการบริษัท ราชบุรีแก๊ส ในการประชุมครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ได้ให้ความเห็นชอบการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว และรายการนี้ไม่ใช่รายการเกี่ยวโยงกัน และขนาดของรายการไม่เข้าข่ายที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามหลักเกณฑ์การได้มาหรือจำหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน
โดยเป็นรายการเข้าร่วมทุนที่มีสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ10 ของทุนชำระแล้วของบริษัทที่เข้าร่วมทุน ปัจจุบัน ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ถือหุ้นในบริษัท ราชบุรีแก๊ส คิดเป็นสัดส่วน 99% ของทุนจดทะเบียน โรงไฟฟ้าไตร เอนเนอจี้ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 700 เมกะวัตต์ โดยจ่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)มาตั้งแต่ปี 2543
แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าราชบุรีฯตัดสินใจซื้อหุ้นไตร เอนเนอจี้จากเชฟรอนครั้งนี้จะเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากโรงไฟฟ้าไตร เอนเนอจี้ ผลิตไฟฟ้ามานานถึง 14 ปี คงเหลือเวลาเดินเครื่องอีกไม่กี่ปีก็หมดสัญญา และยังมีความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่รับรู้กำไรจากในการเดินโรงไฟฟ้าก็น้อยลงมากนับจากนี้ไปซึ่งสอดคล้องตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่ปีแรกๆจะมีกำไรมากสุดและปีท้ายๆแทบจะขาดทุน
แต่หากจะมองโอกาสในการใช้พื้นที่โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพีรอบใหม่นั้น ก็ยังติดปัญหาเรื่องปริมาณก๊าซฯที่จะป้อนเข้าระบบ เนื่องจากที่ผ่าน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯต้องเลิกการเข้าร่วมประมูลไอพีพีรอบที่แล้ว เนี่องจากปตท.ไม่มีก๊าซฯป้อนให้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบริษัทคงต้องมีเหตุผลที่ดีในการซื้อธุรกิจนี้
ทั้งนี้ ไตร เอนเนอจี้ ก่อตั้งเมื่อปี 2537 โดยมีบมจ. บ้านปู กับเท็กซาโก ถือหุ้นฝ่ายละ 50 % ทำโรงไฟฟ้าไอพีพีดังกล่าวในจังหวัดราชบุรี เริ่มจ่ายไฟฟ้าเมื่อเดือนกรกฏาคม 2543 โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. 20 ปี ต่อมาภายหลังบ้านปูทยอยขายหุ้นที่ถืออยู่ให้กับราชบุรีแก๊สทั้งหมด เนื่องจากนโยบายบริษัทต้องการรุกธุรกิจเหมืองถ่านหินในต่างประเทศและลดบทบาทธุรกิจโรงไฟฟ้าในประเทศไทยลง
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) จำนวน 17,119,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 50%ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 21,323,495 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 700 ล้านบาทจากผู้ถือหุ้นเดิม คือ บริษัท เชฟรอน ไทยแลนด์ เอนเนอจี้ เมื่อวันที่ 28 ม.ค.นี้ ส่งผลให้บริษัท ราชบุรีแก๊ส ถือหุ้นทั้งหมด 99.99%ในไตร เอนเนอจี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯในการประชุมครั้งที่ 13/2556 เมื่อวันที่ 18 พ.ย. และคณะกรรมการบริษัท ราชบุรีแก๊ส ในการประชุมครั้งที่ 6/2556 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ได้ให้ความเห็นชอบการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว และรายการนี้ไม่ใช่รายการเกี่ยวโยงกัน และขนาดของรายการไม่เข้าข่ายที่จะต้องรายงานสารสนเทศตามหลักเกณฑ์การได้มาหรือจำหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน
โดยเป็นรายการเข้าร่วมทุนที่มีสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ10 ของทุนชำระแล้วของบริษัทที่เข้าร่วมทุน ปัจจุบัน ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯ ถือหุ้นในบริษัท ราชบุรีแก๊ส คิดเป็นสัดส่วน 99% ของทุนจดทะเบียน โรงไฟฟ้าไตร เอนเนอจี้ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 700 เมกะวัตต์ โดยจ่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)มาตั้งแต่ปี 2543
แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าราชบุรีฯตัดสินใจซื้อหุ้นไตร เอนเนอจี้จากเชฟรอนครั้งนี้จะเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากโรงไฟฟ้าไตร เอนเนอจี้ ผลิตไฟฟ้ามานานถึง 14 ปี คงเหลือเวลาเดินเครื่องอีกไม่กี่ปีก็หมดสัญญา และยังมีความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่รับรู้กำไรจากในการเดินโรงไฟฟ้าก็น้อยลงมากนับจากนี้ไปซึ่งสอดคล้องตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่ปีแรกๆจะมีกำไรมากสุดและปีท้ายๆแทบจะขาดทุน
แต่หากจะมองโอกาสในการใช้พื้นที่โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าไอพีพีรอบใหม่นั้น ก็ยังติดปัญหาเรื่องปริมาณก๊าซฯที่จะป้อนเข้าระบบ เนื่องจากที่ผ่าน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯต้องเลิกการเข้าร่วมประมูลไอพีพีรอบที่แล้ว เนี่องจากปตท.ไม่มีก๊าซฯป้อนให้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบริษัทคงต้องมีเหตุผลที่ดีในการซื้อธุรกิจนี้
ทั้งนี้ ไตร เอนเนอจี้ ก่อตั้งเมื่อปี 2537 โดยมีบมจ. บ้านปู กับเท็กซาโก ถือหุ้นฝ่ายละ 50 % ทำโรงไฟฟ้าไอพีพีดังกล่าวในจังหวัดราชบุรี เริ่มจ่ายไฟฟ้าเมื่อเดือนกรกฏาคม 2543 โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. 20 ปี ต่อมาภายหลังบ้านปูทยอยขายหุ้นที่ถืออยู่ให้กับราชบุรีแก๊สทั้งหมด เนื่องจากนโยบายบริษัทต้องการรุกธุรกิจเหมืองถ่านหินในต่างประเทศและลดบทบาทธุรกิจโรงไฟฟ้าในประเทศไทยลง