ASTVผู้จัดการรายวัน- "ปึ้ง"จวกกปปส.ขัดขวางเลือกตั้ง อ้างสหรัฐฯไม่เห็นด้วย เผย"ปู"นำทีมหารือกกต.ที่สโมสรทบ.บ่ายวันนี้ ด้านกกต.ขอความเห็น 8 พรรคการเมืองก่อนถกนายกฯ กลุ่มแดงปทุมฯ -นศ.มธ.-พรรคเล็ก บุกประท้วงยันต้องการเลือกตั้ง 2 ก.พ."มาร์ค" เตือน "ยิ่งลักษณ์"ไม่เลื่อนเลือกตั้ง เข้าข่ายถูกถอดถอน พ่วงอาญา ม. 157 ชี้เพื่อไทยและอีก2พรรคเล็กไม่ต้องการเลื่่อนเลือกตั้ง
วานนี้ (27ม.ค.) นายสุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี แถลงถึงกรณีที่กลุ่ม กปปส. ทำการปิดหน่วยลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค.ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ10 จังหวัดภาคใต้ ว่า ถือเป็นวิธีการที่ล่วงละเมิดไม่เคารพสิทธิประชาชนไม่เป็นไปตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย
ล่าสุด นายเจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกแถลงการณ์ ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า สหรัฐอเมริกา รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อความพยายามคัดค้านการลงคะแนนเสียง และขัดขวางการเลือกตั้งในประเทศไทย รวมทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมือง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเสรี และสิทธิการประท้วงอย่างสันติ แต่การขัดขวางไม่ให้ประชาชนได้ลงคะแนนเสียงนั้น ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา ขอย้ำข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยับยั้งการใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้น และยึดมั่นในการเจจาอย่างจริงใจ เพื่อแก้ไขความแตกต่างทางการเมืองอย่างสันติและเป็นประชาธิปไตย
นายสุรพงศ์ กล่าวอีกว่า ความขัดแย้งของประเทศต่างๆเป็นการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และให้มีการเลือกตั้ง แต่วิกฤตการณ์ในประเทศไทยกลับตรงกันข้าม เพราะมีการยุยงประชาชน เพื่อขัดขวางการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตามในวันนี้ (28 ม.ค.) นายกฯ พร้อมด้วย ตน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน จะร่วมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่สโมสรกองทัพบก เวลา 14.00 น. ส่วนหลังการหารือจะมีการประกาศแนวทางได้เลยหรือไม่ ยังไม่สามารถตอบ เนื่องจากแนวทางการหารือ จะอยู่ที่ กกต.จะพิจารณา ส่วนแนวทางที่รัฐบาลจะนำไปเสนอต่อกกต.นั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลจัดการประชุม ครม. และการหารือร่วมกกต. ที่สโมสรกองทัพบกนั้น จะเป็นการท้าทายกลุ่มผู้ชุมนุม ให้มาปิดล้อมสถานที่หรือไม่ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ตั้งอยู่ใกล้ที่ชุมนุม นายสุรพงศ์ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการท้าทาย วันนี้เรามี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวมา เท่ากับว่าทำผิดกฎหมาย วันนี้สังคมเข้าใจแล้วว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากไปชุมนุมปกติ โดยสันติ เราจะไม่เข้าไปสลาย แต่ถ้าทำการบุกเข้ามาในพื้นที่ ถือว่าเป็นการละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราต้องทำตามกฎหมาย เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราต้องใช้
อุบข้อต่อรองรอฟังกกต.ก่อน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ เปิดเผยภายหลังหารือกับทีมกฎหมาย ถึงแนวทางข้อหารือกับ กกต.ว่า ในส่วนของรัฐบาลยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า มีการวางแนวทางข้อสรุปไว้แล้วอย่างไร เป็นเพียงการรับฟังรายละเอียดข้อกฎหมายในภาพรวมเท่านั้น ส่วนนายกฯไม่ได้มีข้อห่วงใย หรือกำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ โดยนายกฯ ให้รอฟังข้อเสนอของกกต. ก่อน
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลขอดูข้อเสนอข้อกฏหมาย ข้อเท็จจริง ของกกต.ก่อน ขณะที่ฝ่ายกฏหมายรัฐบาล ได้มีการศึกษาข้อกฏหมายต่างๆ เตรียมไว้แล้ว แต่ไม่ขอเปิดเผยเวลานี้ แต่ทั้งนี้ข้อสรุปต้องเป็นที่ยอมรับทุกฝ่ายด้วย
เมื่อถามว่า ที่ประชุมได้นำข้อถกเถียงที่ว่า หากมีการออก พ.ร.ฏ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่จริง การเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ถือเป็นโมฆะ มาหารือด้วยหรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า เป็นข้อหนึ่งที่หยิบยกมาหารือ
เมื่อเวลา 17.40 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ลงมาจากอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หลังจากปฏิบัติภารกิจ และประชุมอยู่ที่นี่ทั้งวันตั้งแต่ช่วงเช้า โดยทันทีที่ออกจากลิฟท์ ผู้สื่อข่าวสังเกตว่า นายกรัฐมนตรีมีสีหน้าเรียบเฉย และได้เดินเลี่ยงวงสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนที่รออยู่ด้านล่าง และกล่าวเพียงว่า "ไว้วันพรุ่งนี้ทีเดียวนะคะ" และจากนั้นนายกฯ ก็ขึ้นรถตู้ออกไปทันที
เปิด 5 ข้อนายกฯ ตั้งคำถาม กกต.
มีรายงานว่า ในการหารือร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี และประธาน กกต. ในวันนี้ นายกฯ จะขอความเห็น และคำยืนยันจาก กกต.ในประเด็นหลัก 5 ประเด็น หากต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปตามมติของ กกต. ที่เสนอต่อรัฐบาล คือ 1. ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในการจัดการเลือกตั้งเกือบ 2,000 ล้านบาท กกต.พร้อมจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ 2. สตง. พร้อมยอมรับกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปแล้วหรือไม่ 3. กลุ่ม กปปส. จะยุติการชุมนุมหรือไม่ 4. พรรคประชาธิปัตย์ จะกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ และ 5. กกต. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะให้คำยืนยันได้หรือไม่ว่า หากรัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่แล้ว จะไม่มีข้อกฎหมายใดเอาผิดย้อนหลังกับตัวนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลในเรื่องนี้อีกเหมือนกับหลายกรณีที่ผ่านมาหรือไม่
กกต.ชี้เดินหน้าเลือกตั้งจลาจลแน่
เมื่อเวลา 13.20 น. วานนี้ ที่ตึกโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)ศูนย์รังสิต นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมกกต. เวลาประมาณ 18.00 น. ที่ มธ.ศูนย์รังสิต กกต.ได้นัดหมายหัวหน้าพรรคการเมืองประมาณ 8 พรรค ที่มีเสียงในสภาฯ มาพูดคุย รวม ถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เท่าที่ได้รับการยืนยันขณะนี้ อย่างน้อย 6 พรรค ตอบรับแล้ว ซึ่งประเด็นในการพูดคุย กกต. คงปรึกษาหารือว่า พรรคการเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่มีความเห็นร่วมกันว่าอย่างไร โดยข้อมูลที่ได้ จะนำไปเป็นเหตุผลประกอบในการพูดคุยกับนายกฯ ในวันนี้ (28 ม.ค.)
เมื่อถามว่าย้ำว่า หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป พรรคการเมืองที่ลงสมัครในครั้งนี้เป็นผู้เสียสิทธิโดยตรง นายสมชัย กล่าวว่าทุกคนได้รับผลกระทบเท่าเทียมกัน ทุกฝ่ายต้องคิดถึงสิ่งที่เป็นผลดีของประเทศชาติเป็นหลัก แน่นอนว่าอาจจะทำให้บางเกิดความพอใจ บางคนเกิดความไม่พอใจ บางคนได้ประโยชน์ บางคนเสียผลประโยชน์
ทั้งนี้ หากการหารือระหว่าง กกต. และนายกฯ ในวันนี้มีความเห็นต่างกัน กกต. ก็จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.ต่อไป รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการตัดสินใจ เพราะคิดว่าเหตุการณ์น่าจะเป็นอีกแบบ จะเป็นภาพการจลาจลมากกว่า วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา
"แดงปทุม"บุกป่วนวงหารือกกต.
เมื่อเวลา 17.30 น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)ศูนย์รังสิต นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางมาร่วมประชุมกับ กกต. ตามคำเชิญของกกต. เพื่อมาหารือเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุมว่า วันนี้ถ้าต้องการแก้ไขปัญหา กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ต้องไปพิจารณาปัจจัย ที่จะทำให้การเลือกตั้งเรียบร้อย เมื่อถามว่า หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่มีหน้าที่มาต่อรอง เรามีหน้าที่มาหาคำตอบให้กับประเทศ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง สภาพบ้านเมืองเป็นอย่างนี้ อยู่ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไร ปัญหาไม่ได้อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์อยู่นั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบสติ๊กเกอร์ “เดินหน้าเลือกตั้ง 2 กุมภา 57” และผูกโบว์เป็นรูปธงชาติ ให้กับนายอภิสิทธิ์ด้วย ขณะเดียวกันได้มีประชาชนชาวปทุมธานี 5 คน ได้มาตะโกนด่านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แปลกใจที่ กกต.เชิญเฉพาะพรรคที่มีส.ส.ในสภาฯ มาหารือ ทั้งที่การเลือกตั้งครั้งนี้มีถึง 53 พรรค แต่กกต.กลับไม่เชิญพรรคเล็กเข้าร่วม แต่เชิญพรรคประชาธิปัตย์ที่บอยคอตเลือกตั้งมาหารือ
ส่วนพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่ไม่ได้รับคำเชิญและเดินทางมาสอบถามว่า ทำไมถึงเชิญแต่พรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภาฯนั้น กกต.ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมหารือ ทำให้ไม่พอใจและเปิดปราศรัยโจมตีกกต. ที่หน้าอาคารประชุม
ปชป.ขู่ถอดถอน"ปู" เอาผิดม.157
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค.57 ว่า เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายได้เตือนรัฐบาลไว้แล้ว โดยเฉพาะ กกต.เคยออกแถลงการณ์ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ว่า ขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง น่าจะมีปัญหา และจะไม่บรรลุความมุ่งหมายตามรัฐธรรมนูญได้ ทั้งในแง่ความสุจริต เที่ยงธรรม และการได้มาซึ่งสภาตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อรัฐบาลมีจุดยืนว่าไม่ขยับ ปัญหาก็จะสะสมไปมากขึ้นเรื่อยๆ และนายกฯจะต้องรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นเจตนาของรัฐบาลที่จะให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่า กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ไม่ได้ เพราะมีการเลือกตั้งล่วงหน้าไปแล้ว จะมีผู้เสียสิทธิหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อกฎหมายที่นายกฯ เคยอ้างว่าทำไม่ได้ ศาลก็บอกว่าทำได้แล้วตนไม่แน่ใจว่าเป้าหมายในขณะนี้ของรัฐบาล คืออะไร หากยังเดินหน้าเลือกตั้งต่อไปโดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางใดทางหนึ่งเลย ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเกิดความสูญเสียเพิ่มเติม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่
“กกต.รายงานชัดว่า การเลือกตั้งจะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ คนที่สามารถแก้ไขได้ คือรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่แก้ ผมก็มองว่ารัฐบาลจงใจฝ่าฝืน ทำให้เกิดเงื่อนไขที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญอยู่ในข่ายที่จะถอดถอน ซึ่งพรรคจะทำในนามของประชาชน เพราะมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการเลือกตั้งที่ กกต. เป็นผู้ตั้งข้อสังเกต และจะไปถึงการถอดถอนสำหรับคนที่จงใจจัดการเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นคดีอาญา ที่จะนำมาพิจารณาพ่วงไปด้วย จึงขอย้ำว่าถ้าไม่เลื่อนเลือกตั้ง จะถูกร้องด้วยข้อหาที่หนักแน่นกว่าด้วย”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การรักษาการนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่กำลังรักษาอยู่ ไม่ใช่ประชาธิปไตย เพราะถ้าเป็นประชาธิปไตยต้องเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม ซึ่งกกต. ก็บอกแล้วว่า ไม่ใช่ ตนจึงถามว่า นายกฯ อยู่เพื่ออะไร กลายเป็นอยู่เพื่อเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งหรือ เพราะไม่เห็นประโยชน์ที่ทำ
ส่วนการที่นายกฯ มอบให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนไปหารือกับ กกต.นั้น ก็เพื่อหลีกหนีปัญหา แต่ความรับผิดชอบอยู่ที่ตัวนายกฯ
พท.ไม่สนเลื่อนเลือกตั้ง
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต เปิดเผยภายหลังการประชุม ร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆในการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการจะจัดการเลือกตั้ง โดยระบุว่า การประชุมในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นร่วมกัน ว่าแต่ละพรรคการเมืองมีความเห็นอย่างไร ส่วนการหารือกับนายกรัฐมนตรีในวันอังคารนี้ ตนจะนำข้อหารือต่างๆ ที่ได้ไปประกอบการหารือด้วย
ส่วนการที่เชิญพรรคการเมืองมาเพียง บางพรรคในวันนี้ นั้น นายศุภชัยกล่าวว่า เป็นการเชิญพรรคที่เคยลงสมัครรับการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเพื่อมาฟังความเห็น โดยไม่ได้เป็นการลงมติ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่กกต.เชิญ 8 พรรคการเมืองมาก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของผลที่จะตามมา หากมีการเลือกตั้งแม้จะเลือกตั้งได้แต่ก็ไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.ได้แม้แต่คนเดียว ซึ่งจากการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมามีคนมาขอลงทะเบียนไว้กว่า2 ล้านคน แต่มาใช้สิทธิแค่ 1 แสนกว่าคน ซึ่งทุกพรรคก็รับฟังการชี้แจงของกกต. มีเพียงพรรคเพื่อไทย ประชาธิปไตยใหม่ และรักประเทศไทยที่อยากให้มีการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามกกต.จะยืนยันกับนายกฯว่าการเลื่อนการเลือกตั้งสามารถทำได้ไม่ขัดกฎหมาย
วานนี้ (27ม.ค.) นายสุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี แถลงถึงกรณีที่กลุ่ม กปปส. ทำการปิดหน่วยลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค.ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ10 จังหวัดภาคใต้ ว่า ถือเป็นวิธีการที่ล่วงละเมิดไม่เคารพสิทธิประชาชนไม่เป็นไปตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย
ล่าสุด นายเจน ซากี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกแถลงการณ์ ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า สหรัฐอเมริกา รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อความพยายามคัดค้านการลงคะแนนเสียง และขัดขวางการเลือกตั้งในประเทศไทย รวมทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ขณะที่สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้งทางการเมือง และสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเสรี และสิทธิการประท้วงอย่างสันติ แต่การขัดขวางไม่ให้ประชาชนได้ลงคะแนนเสียงนั้น ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกา ขอย้ำข้อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยับยั้งการใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้น และยึดมั่นในการเจจาอย่างจริงใจ เพื่อแก้ไขความแตกต่างทางการเมืองอย่างสันติและเป็นประชาธิปไตย
นายสุรพงศ์ กล่าวอีกว่า ความขัดแย้งของประเทศต่างๆเป็นการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และให้มีการเลือกตั้ง แต่วิกฤตการณ์ในประเทศไทยกลับตรงกันข้าม เพราะมีการยุยงประชาชน เพื่อขัดขวางการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตามในวันนี้ (28 ม.ค.) นายกฯ พร้อมด้วย ตน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน จะร่วมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่สโมสรกองทัพบก เวลา 14.00 น. ส่วนหลังการหารือจะมีการประกาศแนวทางได้เลยหรือไม่ ยังไม่สามารถตอบ เนื่องจากแนวทางการหารือ จะอยู่ที่ กกต.จะพิจารณา ส่วนแนวทางที่รัฐบาลจะนำไปเสนอต่อกกต.นั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลจัดการประชุม ครม. และการหารือร่วมกกต. ที่สโมสรกองทัพบกนั้น จะเป็นการท้าทายกลุ่มผู้ชุมนุม ให้มาปิดล้อมสถานที่หรือไม่ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ตั้งอยู่ใกล้ที่ชุมนุม นายสุรพงศ์ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการท้าทาย วันนี้เรามี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากผู้ชุมนุมเคลื่อนไหวมา เท่ากับว่าทำผิดกฎหมาย วันนี้สังคมเข้าใจแล้วว่า การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากไปชุมนุมปกติ โดยสันติ เราจะไม่เข้าไปสลาย แต่ถ้าทำการบุกเข้ามาในพื้นที่ ถือว่าเป็นการละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราต้องทำตามกฎหมาย เมื่อถึงจุดหนึ่ง เราต้องใช้
อุบข้อต่อรองรอฟังกกต.ก่อน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ เปิดเผยภายหลังหารือกับทีมกฎหมาย ถึงแนวทางข้อหารือกับ กกต.ว่า ในส่วนของรัฐบาลยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่า มีการวางแนวทางข้อสรุปไว้แล้วอย่างไร เป็นเพียงการรับฟังรายละเอียดข้อกฎหมายในภาพรวมเท่านั้น ส่วนนายกฯไม่ได้มีข้อห่วงใย หรือกำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ โดยนายกฯ ให้รอฟังข้อเสนอของกกต. ก่อน
ด้านนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลขอดูข้อเสนอข้อกฏหมาย ข้อเท็จจริง ของกกต.ก่อน ขณะที่ฝ่ายกฏหมายรัฐบาล ได้มีการศึกษาข้อกฏหมายต่างๆ เตรียมไว้แล้ว แต่ไม่ขอเปิดเผยเวลานี้ แต่ทั้งนี้ข้อสรุปต้องเป็นที่ยอมรับทุกฝ่ายด้วย
เมื่อถามว่า ที่ประชุมได้นำข้อถกเถียงที่ว่า หากมีการออก พ.ร.ฏ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่จริง การเลือกตั้ง ส.ส.ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค. ถือเป็นโมฆะ มาหารือด้วยหรือไม่ นายวราเทพ กล่าวว่า เป็นข้อหนึ่งที่หยิบยกมาหารือ
เมื่อเวลา 17.40 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ลงมาจากอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หลังจากปฏิบัติภารกิจ และประชุมอยู่ที่นี่ทั้งวันตั้งแต่ช่วงเช้า โดยทันทีที่ออกจากลิฟท์ ผู้สื่อข่าวสังเกตว่า นายกรัฐมนตรีมีสีหน้าเรียบเฉย และได้เดินเลี่ยงวงสัมภาษณ์ของสื่อมวลชนที่รออยู่ด้านล่าง และกล่าวเพียงว่า "ไว้วันพรุ่งนี้ทีเดียวนะคะ" และจากนั้นนายกฯ ก็ขึ้นรถตู้ออกไปทันที
เปิด 5 ข้อนายกฯ ตั้งคำถาม กกต.
มีรายงานว่า ในการหารือร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรี และประธาน กกต. ในวันนี้ นายกฯ จะขอความเห็น และคำยืนยันจาก กกต.ในประเด็นหลัก 5 ประเด็น หากต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปตามมติของ กกต. ที่เสนอต่อรัฐบาล คือ 1. ในส่วนของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วในการจัดการเลือกตั้งเกือบ 2,000 ล้านบาท กกต.พร้อมจะเป็นผู้รับผิดชอบหรือไม่ 2. สตง. พร้อมยอมรับกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปแล้วหรือไม่ 3. กลุ่ม กปปส. จะยุติการชุมนุมหรือไม่ 4. พรรคประชาธิปัตย์ จะกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ และ 5. กกต. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะให้คำยืนยันได้หรือไม่ว่า หากรัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่แล้ว จะไม่มีข้อกฎหมายใดเอาผิดย้อนหลังกับตัวนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลในเรื่องนี้อีกเหมือนกับหลายกรณีที่ผ่านมาหรือไม่
กกต.ชี้เดินหน้าเลือกตั้งจลาจลแน่
เมื่อเวลา 13.20 น. วานนี้ ที่ตึกโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)ศูนย์รังสิต นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมกกต. เวลาประมาณ 18.00 น. ที่ มธ.ศูนย์รังสิต กกต.ได้นัดหมายหัวหน้าพรรคการเมืองประมาณ 8 พรรค ที่มีเสียงในสภาฯ มาพูดคุย รวม ถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เท่าที่ได้รับการยืนยันขณะนี้ อย่างน้อย 6 พรรค ตอบรับแล้ว ซึ่งประเด็นในการพูดคุย กกต. คงปรึกษาหารือว่า พรรคการเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่มีความเห็นร่วมกันว่าอย่างไร โดยข้อมูลที่ได้ จะนำไปเป็นเหตุผลประกอบในการพูดคุยกับนายกฯ ในวันนี้ (28 ม.ค.)
เมื่อถามว่าย้ำว่า หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป พรรคการเมืองที่ลงสมัครในครั้งนี้เป็นผู้เสียสิทธิโดยตรง นายสมชัย กล่าวว่าทุกคนได้รับผลกระทบเท่าเทียมกัน ทุกฝ่ายต้องคิดถึงสิ่งที่เป็นผลดีของประเทศชาติเป็นหลัก แน่นอนว่าอาจจะทำให้บางเกิดความพอใจ บางคนเกิดความไม่พอใจ บางคนได้ประโยชน์ บางคนเสียผลประโยชน์
ทั้งนี้ หากการหารือระหว่าง กกต. และนายกฯ ในวันนี้มีความเห็นต่างกัน กกต. ก็จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.ต่อไป รัฐบาลต้องรับผิดชอบในการตัดสินใจ เพราะคิดว่าเหตุการณ์น่าจะเป็นอีกแบบ จะเป็นภาพการจลาจลมากกว่า วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา
"แดงปทุม"บุกป่วนวงหารือกกต.
เมื่อเวลา 17.30 น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)ศูนย์รังสิต นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางมาร่วมประชุมกับ กกต. ตามคำเชิญของกกต. เพื่อมาหารือเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมประชุมว่า วันนี้ถ้าต้องการแก้ไขปัญหา กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ต้องไปพิจารณาปัจจัย ที่จะทำให้การเลือกตั้งเรียบร้อย เมื่อถามว่า หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่มีหน้าที่มาต่อรอง เรามีหน้าที่มาหาคำตอบให้กับประเทศ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง สภาพบ้านเมืองเป็นอย่างนี้ อยู่ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไร ปัญหาไม่ได้อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่ นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์อยู่นั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบสติ๊กเกอร์ “เดินหน้าเลือกตั้ง 2 กุมภา 57” และผูกโบว์เป็นรูปธงชาติ ให้กับนายอภิสิทธิ์ด้วย ขณะเดียวกันได้มีประชาชนชาวปทุมธานี 5 คน ได้มาตะโกนด่านายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า แปลกใจที่ กกต.เชิญเฉพาะพรรคที่มีส.ส.ในสภาฯ มาหารือ ทั้งที่การเลือกตั้งครั้งนี้มีถึง 53 พรรค แต่กกต.กลับไม่เชิญพรรคเล็กเข้าร่วม แต่เชิญพรรคประชาธิปัตย์ที่บอยคอตเลือกตั้งมาหารือ
ส่วนพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่ไม่ได้รับคำเชิญและเดินทางมาสอบถามว่า ทำไมถึงเชิญแต่พรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในสภาฯนั้น กกต.ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมหารือ ทำให้ไม่พอใจและเปิดปราศรัยโจมตีกกต. ที่หน้าอาคารประชุม
ปชป.ขู่ถอดถอน"ปู" เอาผิดม.157
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 ม.ค.57 ว่า เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายได้เตือนรัฐบาลไว้แล้ว โดยเฉพาะ กกต.เคยออกแถลงการณ์ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ว่า ขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง น่าจะมีปัญหา และจะไม่บรรลุความมุ่งหมายตามรัฐธรรมนูญได้ ทั้งในแง่ความสุจริต เที่ยงธรรม และการได้มาซึ่งสภาตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อรัฐบาลมีจุดยืนว่าไม่ขยับ ปัญหาก็จะสะสมไปมากขึ้นเรื่อยๆ และนายกฯจะต้องรับผิดชอบกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นเจตนาของรัฐบาลที่จะให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่า กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ไม่ได้ เพราะมีการเลือกตั้งล่วงหน้าไปแล้ว จะมีผู้เสียสิทธิหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อกฎหมายที่นายกฯ เคยอ้างว่าทำไม่ได้ ศาลก็บอกว่าทำได้แล้วตนไม่แน่ใจว่าเป้าหมายในขณะนี้ของรัฐบาล คืออะไร หากยังเดินหน้าเลือกตั้งต่อไปโดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางใดทางหนึ่งเลย ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเกิดความสูญเสียเพิ่มเติม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะแก้ปัญหาหรือไม่
“กกต.รายงานชัดว่า การเลือกตั้งจะไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ คนที่สามารถแก้ไขได้ คือรัฐบาล แต่รัฐบาลไม่แก้ ผมก็มองว่ารัฐบาลจงใจฝ่าฝืน ทำให้เกิดเงื่อนไขที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญอยู่ในข่ายที่จะถอดถอน ซึ่งพรรคจะทำในนามของประชาชน เพราะมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการเลือกตั้งที่ กกต. เป็นผู้ตั้งข้อสังเกต และจะไปถึงการถอดถอนสำหรับคนที่จงใจจัดการเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นคดีอาญา ที่จะนำมาพิจารณาพ่วงไปด้วย จึงขอย้ำว่าถ้าไม่เลื่อนเลือกตั้ง จะถูกร้องด้วยข้อหาที่หนักแน่นกว่าด้วย”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การรักษาการนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่กำลังรักษาอยู่ ไม่ใช่ประชาธิปไตย เพราะถ้าเป็นประชาธิปไตยต้องเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม ซึ่งกกต. ก็บอกแล้วว่า ไม่ใช่ ตนจึงถามว่า นายกฯ อยู่เพื่ออะไร กลายเป็นอยู่เพื่อเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งหรือ เพราะไม่เห็นประโยชน์ที่ทำ
ส่วนการที่นายกฯ มอบให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนไปหารือกับ กกต.นั้น ก็เพื่อหลีกหนีปัญหา แต่ความรับผิดชอบอยู่ที่ตัวนายกฯ
พท.ไม่สนเลื่อนเลือกตั้ง
นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต เปิดเผยภายหลังการประชุม ร่วมกับพรรคการเมืองต่างๆในการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการจะจัดการเลือกตั้ง โดยระบุว่า การประชุมในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะเป็นเพียงการรับฟังความคิดเห็นร่วมกัน ว่าแต่ละพรรคการเมืองมีความเห็นอย่างไร ส่วนการหารือกับนายกรัฐมนตรีในวันอังคารนี้ ตนจะนำข้อหารือต่างๆ ที่ได้ไปประกอบการหารือด้วย
ส่วนการที่เชิญพรรคการเมืองมาเพียง บางพรรคในวันนี้ นั้น นายศุภชัยกล่าวว่า เป็นการเชิญพรรคที่เคยลงสมัครรับการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเพื่อมาฟังความเห็น โดยไม่ได้เป็นการลงมติ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ที่กกต.เชิญ 8 พรรคการเมืองมาก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของผลที่จะตามมา หากมีการเลือกตั้งแม้จะเลือกตั้งได้แต่ก็ไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้งส.ส.ได้แม้แต่คนเดียว ซึ่งจากการเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมามีคนมาขอลงทะเบียนไว้กว่า2 ล้านคน แต่มาใช้สิทธิแค่ 1 แสนกว่าคน ซึ่งทุกพรรคก็รับฟังการชี้แจงของกกต. มีเพียงพรรคเพื่อไทย ประชาธิปไตยใหม่ และรักประเทศไทยที่อยากให้มีการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามกกต.จะยืนยันกับนายกฯว่าการเลื่อนการเลือกตั้งสามารถทำได้ไม่ขัดกฎหมาย