ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ รับคำร้องกกต.ไว้พิจารณา เตรียมชี้วันนี้ว่าองค์กรใดมีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ขณะที่ กกต.รอฟังคำวินิจฉัย เพื่อดำเนินการอย่างไรต่อไป ด้าน พท.พล่าน ยกเหตุผล 9 ข้อ อ้างกกต.ไม่มีอำนาจร้องศาลรธน. และศาลรธน.ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัย กรณีเลื่อนวันเลือกตั้ง
เวลา 13.30 น. วานนี้ (23 ม.ค.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมนัดพิเศษ เพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ใน 2 ประเด็น คือ หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และ อำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง เป็นอำนาจขององค์กรใด ระหว่างผู้ร้อง กกต. กับ ครม.โดยนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกกต. มีความเห็นว่านายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการกราบบังคมทูลฯ เสนอเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และเป็นผู้ที่จะต้องลงนามสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว
ต่อมาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกกต.ในการกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 214ไว้พิจารณาวินิจฉัยและกำหนดให้มีการอภิปรายและแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติในวันพรุ่งนี้เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
ทั้งนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าตามที่กกต.อ้างว่า หลัง มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 2 ก.พ. โดยกกต.ได้กำหนดการรับสมัครส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าในการรับสมัครมีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมสถานที่รับสมัคร ทำให้เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันของเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมจนมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตหลายราย ซึ่งกกต.ได้ออกแถลงการณ์แจ้งไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณาเลื่อนการเลือกตั้องอกไป และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งกลับมายังเลขาธิการสำนักงานกกต. ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ม.ค. รับทราบแถลงการณ์สำคัญดังกล่าวแล้วและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นต่อแถลงการณ์ดังกล่าวว่า กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งในวันเลือกตั้งตามที่ได้กำหนด หากมีบุคคลใดมาขัดขวางการดำเนินการ กกต.ย่อมสามารถพิจารณาบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมได้ และการเปลี่ยนแปลงวันลงคะแนนเลือกตั้งจะกระทำได้เฉพาะกรณีตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.มาตรา 78 เท่านั้น และโดยอำนาจวินิจฉัยของกกต. หลังจากนั้นภายหลังการเปิดรับสมัคร กกต.ได้รับแจ้งจากกกต.ประจำจังหวัดหลายแห่งว่าได้มีการขัดขวางการรับสมัครส่งผลให้หลายเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครคนเดียว ขณะที่อีกหลายเขตเลือกตั้งไม่มีผู้สมัครรับเลอืกตั้ง จึงมีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเสนอความเห็นว่ารัฐบาลควรเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้โอกาสทุกพรรคการเมืองได้หารือร่วมกันและได้ข้อยุติในการเลือกตั้งที่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย แต่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ดำเนินการนำความขึ้นกราบบังคบทูล กลับแสดงความเห็นผ่านสื่อสาธารณะยืนยันว่าการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ไม่สามารถกระทำได้ นายกรัฐมนตรีรวมทั้งกกต. ก็ไม่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีตามคำร้องมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะรัฐมนตรี และกกต. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงมีมติรับคำดังกล่าวไว้พิจารณา
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในวันนี้เสร็จสิ้นก่อน เพราะถ้าหากพูดออกไปก่อน จะเป็นการพูดนำศาลรัฐธรรมนูญได้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะพูดออกไปตอนนี้
ด้านนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานกกต. ได้รับทราบมติของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องดังกล่าวแล้ว ซึ่งในวันที่ 24 ม.ค. กกต.ก็จะต้องรอคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาในแนวทางใด กกต.จะต้องปฏิบัติตาม เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 ม.ค.ทาง กกต. จะมีการประชุม กกต.นัดพิเศษอยู่แล้ว ก็จะถือโอกาสนี้รอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้นำมาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
**พท.พล่าน กกต.ไม่มีอำนาจร้องศาลรธน.
เวลา 17.00 น. วานนี้ (23 ม.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายโภคิน พลกุล คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย แถลงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้อง กกต. ที่ให้วินิจฉัยกรณีความขัดแย้งระหว่าง ครม.กับ กกต.ในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย และศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์ร่วมกันเห็นว่า กกต.ไม่มีอำนาจร้องศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวด้วยเหตุผล 9 ข้อ คือ
1. รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้องค์กรใดมีอำนาจเลื่อนการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งกรณีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในการตราพระราชกฤษฎีกา
2. เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง ที่การเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นยังไม่เกิดขึ้น กลับจะไปทูลเกล้าฯ ให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งทั่วไป
3. มาตรา 78 พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้ซึ่งมาส.ว. ให้อำนาจ กกต.กำหนดวันลงคะแนนใหม่ ในกรณีการลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใดไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น ซึ่งหมายถึงเฉพาะหน่วยเลือกตั้งที่มีปัญหา ไม่ใช่การเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไป
4. กกต.ไม่มีสิทธิเสนอเรื่องการเลื่อนเลือกตั้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ให้ทำได้เฉพาะกรณีความขัดแย้งเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา ครม. หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างครม.กับ กกต. เพราะเป็นเรื่องของพระราชอำนาจ ไม่ใช่อำนาจของครม.โดยตรง
5. เรื่องการเลื่อนเลือกตั้ง เป็นความคิดเห็นของกกต. ที่ต้องการเลื่อนการเลือกตั้ง ขณะที่หลายฝ่ายเห็นว่า ต้องมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 จึงมิใช่ประเด็นความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
6. ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.53 ว่า ต้องเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไป ถ้าเป็นเพียงความเห็นต่างกัน เกี่ยวกับการตีความกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง 2 องค์กร
7. ดูเหมือนเป็นขบวนการร่วมมือกันหลายฝ่าย ทั้งการกระทำที่ผิดกฎหมาย และองค์กรต่างๆ ที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ซึ่งฝ่ายที่ไม่ให้เกิดการเลือกตั้ง ต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้น
8. มีบุคคลหลายกลุ่มยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และพวกว่า กระทำการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 แต่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง โดยไม่ไต่สวน
9. ถ้ามีการเลื่อนการเลือกตั้ง ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งค่าพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ค่าเตรียมการต่างๆ รวมถึง ค่าใช้จ่ายของผู้สมัครที่ใช้จ่ายไปแล้ว
ทางด้านนายพนัส ทัศนียานนท์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 แน่นอน เพราะที่ผ่านมา กกต.ไม่ได้อ้างว่า ตัวเองมีอำนาจ แต่ยืนยันมาเสมอว่า อยากให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งออกไป การที่ กกต.มีท่าทีเช่นนี้ เพราะได้คำปรึกษาจากที่ปรึกษากฎหมายคนใหม่ ที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 มากับมือ ได้ให้ความเห็นมาใช่หรือไม่ เพราะเห็นว่ารัฐบาลไม่ยอมเลื่อนการเลือกตั้ง จึงเอาอำนาจมาเป็นของกกต. เสียเลย มองว่าหากวันที่ 24 ม.ค. ศาลวินิจฉัยให้อำนาจ กกต.เลื่อนเลือกตั้งออกไป ก็อาจจะเป็นวันที่ 2 พ.ค. แต่หากถึงตอนนั้นก็อาจมีการสร้างเหตุการณ์อะไรขึ้นมา ให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก สุดท้ายก็จะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่มีผลกระทบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะต้องทำหน้าที่รักษาการนายกฯ จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 24 ม.ค. เวลา 14.00 น. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทยได้เรียกประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการรับมือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วย
เวลา 13.30 น. วานนี้ (23 ม.ค.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมนัดพิเศษ เพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ใน 2 ประเด็น คือ หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และ อำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง เป็นอำนาจขององค์กรใด ระหว่างผู้ร้อง กกต. กับ ครม.โดยนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกกต. มีความเห็นว่านายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการกราบบังคมทูลฯ เสนอเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และเป็นผู้ที่จะต้องลงนามสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว
ต่อมาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกกต.ในการกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 214ไว้พิจารณาวินิจฉัยและกำหนดให้มีการอภิปรายและแถลงด้วยวาจาพร้อมลงมติในวันพรุ่งนี้เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
ทั้งนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าตามที่กกต.อ้างว่า หลัง มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 2 ก.พ. โดยกกต.ได้กำหนดการรับสมัครส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าในการรับสมัครมีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมสถานที่รับสมัคร ทำให้เกิดเหตุกระทบกระทั่งกันของเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมจนมีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตหลายราย ซึ่งกกต.ได้ออกแถลงการณ์แจ้งไปยังเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณาเลื่อนการเลือกตั้องอกไป และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือแจ้งกลับมายังเลขาธิการสำนักงานกกต. ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ม.ค. รับทราบแถลงการณ์สำคัญดังกล่าวแล้วและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นต่อแถลงการณ์ดังกล่าวว่า กกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งในวันเลือกตั้งตามที่ได้กำหนด หากมีบุคคลใดมาขัดขวางการดำเนินการ กกต.ย่อมสามารถพิจารณาบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมได้ และการเปลี่ยนแปลงวันลงคะแนนเลือกตั้งจะกระทำได้เฉพาะกรณีตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.มาตรา 78 เท่านั้น และโดยอำนาจวินิจฉัยของกกต. หลังจากนั้นภายหลังการเปิดรับสมัคร กกต.ได้รับแจ้งจากกกต.ประจำจังหวัดหลายแห่งว่าได้มีการขัดขวางการรับสมัครส่งผลให้หลายเขตเลือกตั้งมีผู้สมัครคนเดียว ขณะที่อีกหลายเขตเลือกตั้งไม่มีผู้สมัครรับเลอืกตั้ง จึงมีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเสนอความเห็นว่ารัฐบาลควรเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้โอกาสทุกพรรคการเมืองได้หารือร่วมกันและได้ข้อยุติในการเลือกตั้งที่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย แต่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ดำเนินการนำความขึ้นกราบบังคบทูล กลับแสดงความเห็นผ่านสื่อสาธารณะยืนยันว่าการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ไม่สามารถกระทำได้ นายกรัฐมนตรีรวมทั้งกกต. ก็ไม่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีตามคำร้องมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะรัฐมนตรี และกกต. ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงมีมติรับคำดังกล่าวไว้พิจารณา
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า คงต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาในวันนี้เสร็จสิ้นก่อน เพราะถ้าหากพูดออกไปก่อน จะเป็นการพูดนำศาลรัฐธรรมนูญได้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมที่จะพูดออกไปตอนนี้
ด้านนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักงานกกต. ได้รับทราบมติของศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องดังกล่าวแล้ว ซึ่งในวันที่ 24 ม.ค. กกต.ก็จะต้องรอคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าคำวินิจฉัยจะออกมาในแนวทางใด กกต.จะต้องปฏิบัติตาม เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 ม.ค.ทาง กกต. จะมีการประชุม กกต.นัดพิเศษอยู่แล้ว ก็จะถือโอกาสนี้รอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้นำมาพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
**พท.พล่าน กกต.ไม่มีอำนาจร้องศาลรธน.
เวลา 17.00 น. วานนี้ (23 ม.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายโภคิน พลกุล คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย แถลงกรณีศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้อง กกต. ที่ให้วินิจฉัยกรณีความขัดแย้งระหว่าง ครม.กับ กกต.ในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ว่า คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย และศูนย์อำนวยการเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์ร่วมกันเห็นว่า กกต.ไม่มีอำนาจร้องศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวด้วยเหตุผล 9 ข้อ คือ
1. รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้องค์กรใดมีอำนาจเลื่อนการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งกรณีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในการตราพระราชกฤษฎีกา
2. เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง ที่การเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นยังไม่เกิดขึ้น กลับจะไปทูลเกล้าฯ ให้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งทั่วไป
3. มาตรา 78 พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. และการได้ซึ่งมาส.ว. ให้อำนาจ กกต.กำหนดวันลงคะแนนใหม่ ในกรณีการลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใดไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่น ซึ่งหมายถึงเฉพาะหน่วยเลือกตั้งที่มีปัญหา ไม่ใช่การเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไป
4. กกต.ไม่มีสิทธิเสนอเรื่องการเลื่อนเลือกตั้งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ให้ทำได้เฉพาะกรณีความขัดแย้งเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา ครม. หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่กรณีนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างครม.กับ กกต. เพราะเป็นเรื่องของพระราชอำนาจ ไม่ใช่อำนาจของครม.โดยตรง
5. เรื่องการเลื่อนเลือกตั้ง เป็นความคิดเห็นของกกต. ที่ต้องการเลื่อนการเลือกตั้ง ขณะที่หลายฝ่ายเห็นว่า ต้องมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 จึงมิใช่ประเด็นความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
6. ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.53 ว่า ต้องเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรตั้งแต่ 2 องค์กรขึ้นไป ถ้าเป็นเพียงความเห็นต่างกัน เกี่ยวกับการตีความกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่าง 2 องค์กร
7. ดูเหมือนเป็นขบวนการร่วมมือกันหลายฝ่าย ทั้งการกระทำที่ผิดกฎหมาย และองค์กรต่างๆ ที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ซึ่งฝ่ายที่ไม่ให้เกิดการเลือกตั้ง ต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้น
8. มีบุคคลหลายกลุ่มยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และพวกว่า กระทำการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 แต่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง โดยไม่ไต่สวน
9. ถ้ามีการเลื่อนการเลือกตั้ง ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งค่าพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ค่าเตรียมการต่างๆ รวมถึง ค่าใช้จ่ายของผู้สมัครที่ใช้จ่ายไปแล้ว
ทางด้านนายพนัส ทัศนียานนท์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีดังกล่าวไม่เข้าข่ายรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 แน่นอน เพราะที่ผ่านมา กกต.ไม่ได้อ้างว่า ตัวเองมีอำนาจ แต่ยืนยันมาเสมอว่า อยากให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งออกไป การที่ กกต.มีท่าทีเช่นนี้ เพราะได้คำปรึกษาจากที่ปรึกษากฎหมายคนใหม่ ที่เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 50 มากับมือ ได้ให้ความเห็นมาใช่หรือไม่ เพราะเห็นว่ารัฐบาลไม่ยอมเลื่อนการเลือกตั้ง จึงเอาอำนาจมาเป็นของกกต. เสียเลย มองว่าหากวันที่ 24 ม.ค. ศาลวินิจฉัยให้อำนาจ กกต.เลื่อนเลือกตั้งออกไป ก็อาจจะเป็นวันที่ 2 พ.ค. แต่หากถึงตอนนั้นก็อาจมีการสร้างเหตุการณ์อะไรขึ้นมา ให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีก สุดท้ายก็จะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่มีผลกระทบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะต้องทำหน้าที่รักษาการนายกฯ จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 24 ม.ค. เวลา 14.00 น. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทยได้เรียกประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการรับมือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วย