xs
xsm
sm
md
lg

ระบอบทักษิณ : จุดเริ่มต้นและจุดจบ

เผยแพร่:

ความนำ



ไม่มียุคใดสมัยใดที่ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึกว่า บุคคลหนึ่งที่เกิดบนแผ่นดินไทยได้คิดร้ายต่อแผ่นดินเกิด ยุยงปลุกปั่นคนไทยจำนวนมากให้เกลียดชังคนไทยด้วยกัน จนถึงขั้นห้ำหั่นเข่นฆ่าทำร้ายคนไทยด้วยกันเองโดยที่ไม่มีเรื่องบาดหมางส่วนตัวกันมาก่อน ทักษิณ ชินวัตร นำจุดอ่อนของคนไทยที่ด้อยการศึกษามาใช้ปูทางสู่อำนาจ แล้วใช้อำนาจปล้นชาติ รู้ว่าจะชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลายต้องจ่ายเงินซื้อเสียงบวกกับมาตรการประชานิยม เพื่อทำให้คนรากหญ้าเสพติดและโหยหาอยู่เรื่อยๆ

เมื่อทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโกงกินบ้านเมือง ถูกศาลตัดสินลงโทษ ทักษิณหนีคุกไปอยู่ต่างประเทศ แต่อยากกลับมากอบโกยเหยื่อชิ้นโตที่หมายตาไว้นาน เหมือนเปรตที่ตะกุยตะกายกำลังจะคว้าส่วนบุญ จึงหว่านเงินซื้อ ส.ส., ผบ.เหล่าทัพ ตำรวจ ข้าราชการชั้นสูง กกต. อัยการสูงสุด ผู้พิพากษา นักวิชาการผีเปรต รวมทั้งจัดตั้งกลุ่ม นปช. คอยป่วนสร้างสถานการณ์ล้มรัฐบาลอีกฝ่าย ใช้อาวุธลอบทำร้ายผู้ชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณ

ไทยไม่มีสงครามแบ่งแยกผิวสี คนไทยทั้งหมดเป็นผิวเหลือง แต่ทักษิณยุยงให้แบ่งแยกด้วยสีเสื้อ ปั่นหัวคนเสื้อแดงเหมือนปั่นจิ้งหรีด เสี้ยมให้มองคนที่ใส่เสื้อสีอื่นว่าเป็นศัตรู ขัดขวางไม่ให้ตนกลับคืนสู่อำนาจ ฉะนั้นต้องใช้กำลังทำร้าย ความแตกแยกทำให้ประเทศชาติอ่อนแอ ผลเสียตกอยู่กับคนไทยทั้งหมด รวมทั้งคนเสื้อแดง

ในพุทธประวัติ เทวทัตยุยงให้คณะสงฆ์แตกแยก พระพุทธเจ้าตรัสว่าเทวทัตประกอบมหันตกรรม ถูกธรณีสูบแล้วยังต้องไปทนทุกข์ในนรกชั่วกัปชั่วกัลป์ สำหรับทักษิณยุยงให้คนไทยแตกแยกถึงขั้นเข่นฆ่าเอาชีวิต คงต้องเสวยกรรมไม่ด้อยกว่าเทวทัตเป็นแน่

ระบอบทักษิณ-เป็นอย่างไร

มีนักสังเกตการณ์จำนวนหนึ่งที่จับตาติดตามดูพฤติกรรมการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่ก้าวเข้าสู่วงการเมืองในปี 2537 คนแรกๆ ได้แก่ ธีรยุทธ บุญมี, เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ตามมาด้วย แก้วสรร อติโพธิ, พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร, สุวินัย ภรณวลัย, ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช, หริรักษ์ สูตะบุตร ฯลฯ รวมทั้ง คณิน บุญสุวรรณ (ในหนังสือ “รัฐธรรมนูญตายแล้ว” ปี 2547 โดย คณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร.ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ต่อมาถูกทักษิณซื้อเป็น 1 ใน 125 ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย)

นักวิชาการเรียกสิ่งที่ทักษิณทำลงไปหลายชื่อ เช่น ทักษิณานุวัตร ทักษิณาธิปไตย ทรราชจากการเลือกตั้งเสียงข้างมาก ทักษิโณมิกส์ สุดท้ายลงเอยที่คำว่า “ระบอบทักษิณ”

คำนิยามระบอบทักษิณ (Thaksin Regime) เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวการสำคัญในการทุจริตคอร์รัปชัน มุ่งกอบโกยทรัพยากรส่วนรวมของชาติเป็นสำคัญ ด้วยการสร้างและใช้อำนาจการเมืองเผด็จการเบ็ดเสร็จในคราบประชาธิปไตย ทำลายล้างระบบการถ่วงดุลของรัฐสภา การตรวจสอบขององค์กรอิสระ และการพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม

ไม่น่าเชื่อว่าคนเพียงคนเดียวจะทำลายล้างสังคมประเทศได้อุกฤตถึงขนาดนี้ภายในเวลาเพียง 10 ปี แต่ก็นั่นแหละ คำพระท่านว่าความชั่วร้ายย่อมแพร่ไปได้รวดเร็วยิ่งกว่าความดี เพราะอาศัยกิเลสความโลภที่มีอยู่ในทุกตัวคนเป็นพาหะ ระบอบทักษิณมีวิธีการ เป้าหมาย และผลที่ตกอยู่กับสังคมประเทศ โดยสรุปดังนี้

1. วิธีการ

(1) มองการเมืองเป็นธุรกิจ มองประเทศเป็นบริษัท ทักษิณเป็น CEO ขายภาพลักษณ์ คิดเร็ว ทำเร็ว โกงเร็ว ขายความนิยมสู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยตรง ตัดอำนาจ ส.ส.ลูกพรรคให้เป็นเพียงลูกจ้างหรือขี้ข้า ตัดบทบาทตัวกลางทั้งหลายในระบบเดิม อันได้แก่ เทคโนแครต (ข้าราชการนักวิชาการ) นักวิชาการ เอ็นจีโอ เครือข่ายสังคม

(2) แบ่งประชาชนเป็นสองพวก เอาพวกรากหญ้าเป็นบันไดก้าวขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ชูการเลือกตั้งเป็นสรณะ อีกพวกหนึ่งที่รู้เท่าทัน มีหน้าที่จ่ายภาษี แต่ไม่ต้องฟังเสียง

(3) มุ่งซื้อเสียงพวกรากหญ้าคนด้อยการศึกษาให้มากที่สุด ด้วยการจ่ายเงินซื้อโดยตรง ควบคู่กับใช้เงินภาษีจ่ายซื้อเสียงผ่านมาตรการประชานิยมต่างๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าจะทำให้พวกรากหญ้ามีความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างจริงจังยั่งยืนหรือไม่ ทำลายเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการบริโภคครัวเรือน

(4) ทำลายระบบสื่อมวลชนด้วยการซื้อสื่อ แทรกแซงสื่อ กดดัน คุกคามสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น สั่งให้ อสมท ถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของสนธิ ลิ้มทองกุล และรายการของเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง หรือสั่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบภาษี หรือสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐตรวจสอบธุรกรรมการเงินของสถานีวิทยุบางแห่งที่เห็นตรงข้ามกับตน

สยบสื่อมวลชนผ่านงบโฆษณาภาครัฐ สื่อที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณจะถูกตัดรายได้จากงานโฆษณาของภาครัฐ ส่วนสื่อที่เชลียร์หรือละเว้นการเสนอข่าวด้านลบของรัฐบาลทักษิณจะได้รับงานโฆษณาภาครัฐเต็มที่ ทำให้สื่อที่ชาวบ้านนิยมอ่านหมดสภาพ “หมาเฝ้าบ้าน” เพื่อปิดหูปิดตาประชาชนทั่วไป สื่อเหล่านี้ได้แก่ มติชน ข่าวสด ไทยรัฐ ส่วนฟรีทีวีก็ไม่มีการเสนอข่าวด้านลบของระบอบทักษิณเช่นกัน

ใช้วิทยุชุมชนราว 5,000 แห่งทั่วประเทศโฆษณาชวนเชื่อเผยแพร่คำโกหกหลอกลวงคนรากหญ้าให้หลงเชื่อ ตัวอย่างเช่น โกหกว่าเงินกองทุนหมู่บ้านเป็นเงินของทักษิณส่งมาช่วยเหลือ มองทักษิณเป็นที่พึ่งพิง รอคอยการแจกทานจากทักษิณ

(5) ใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือเข้ายึดครองอำนาจเบ็ดเสร็จ เอา ส.ส.มาเป็นลูกจ้างของเจ้าของพรรคคือทักษิณ ได้รับเงินเดือนประจำพิเศษจากทักษิณคนละ 50,000-100,000 บาทต่อเดือน ออกกฎหมายในรัฐสภาตามคำสั่งของทักษิณ ตัดตอนการตรวจสอบถ่วงดุล ใช้ครอบครัวและวงศ์วานว่านเครือเป็นศูนย์กลางการบริหารอำนาจและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการใช้อำนาจ

(6) ยึดอำนาจรัฐทุกรูปแบบ ครอบงำกลไกการตรวจสอบทั้งวุฒิสภาและองค์กรอิสระรวมทั้งซื้อคนระดับบนของภาครัฐที่ซื้อได้ ถ้าซื้อไม่ได้และปลดได้ก็ปลด (ยกตัวอย่าง ปลดนายถวิล เปลี่ยนศรี ถูกปลดออกจากเลขาธิการ สมช.แล้วตั้ง ภราดร พัฒนถาบุตร แทน) เพื่อให้ค้ำจุนอำนาจการเมือง อันได้แก่ ส.ส., ส.ว., ประธานสภาฯ ทั้งสอง, ผบ.เหล่าทัพ, ผบ.ตำรวจ, กกต., อัยการสูงสุด, ตุลาการบางส่วน, ข้าราชการระดับสูง, นักวิชาการลิ่วล้อ

(7) ใช้หน่วยงานรัฐบางแห่ง กรมสรรพากร ตำรวจ เป็นเครื่องมือสร้างความกลัวให้กับผู้ที่ออกมาคัดค้าน ทักท้วง วิจารณ์รัฐบาล เพื่อให้หยุดส่งเสียงวิพากษ์รัฐบาล

(8) เมื่อทักษิณหนีคดีอาญาไปอยู่ต่างประเทศ ก็ตั้งนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดทำการแทน โดยรับคำสั่งจากทักษิณโดยตรง ข้าราชการระดับบน ลูกพรรค และประธานรัฐสภาต้องไปพบทักษิณที่ต่างประเทศเพื่อรับคำสั่งพิเศษ

(9) ทำลายคุณธรรม จริยธรรม อันดีของสังคมไทย ทักษิณเชื่อมั่นว่าเงินซื้อได้ทุกคน ดังตัวอย่าง ซื้อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ที่ทำรัฐประหารล้มอำนาจของทักษิณให้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนการเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง

2. เป้าหมาย

(1) ทำลายบทบาทของรัฐสภาในการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ครอบงำวุฒิสภา รัฐสภาและรัฐบาลเป็นเนื้อเดียวกันแทนที่จะเป็นอิสระแยกกันตามหลักประชาธิปไตย (ตัวอย่างเช่น รัฐสภาโหวตลดอำนาจการตรวจสอบรัฐบาลโดยแก้ รธน.มาตรา 190) ใช้เสียงข้างมากปิดปากเสียงข้างน้อย อ้างว่าตนเป็นประชาธิปไตยเพราะมาจากการเลือกตั้ง แต่การกระทำตรงกันข้าม ทั้งทักษิณและยิ่งลักษณ์ ไม่เข้าประชุมสภาฯ ไม่ตอบกระทู้ของฝ่ายค้าน ทำให้ชาวบ้านไม่รู้ข้อเท็จจริงการทำงานของรัฐบาลผ่านการอภิปรายในสภาฯ

(2) สร้างระบอบเผด็จการทางรัฐสภาเพื่อออกกฎหมายต่างๆ ตามความต้องการของทักษิณ (ตัวอย่างเช่น ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อทักษิณโดยเฉพาะ)

(3) แก้รัฐธรรมนูญเพื่อล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนข้าราชการเป็นพนักงานของรัฐ มุ่งหน้าสู่การเลือกตั้งประธานาธิบดี ทักษิณฝันอยากมีอำนาจสูงสุดของประเทศเพียงผู้เดียวและลดความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นเพียงสัญลักษณ์

(4) ทำลายองค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ถูกแทรกแซงครอบงำโดยตลอด ผ่านการสรรหา การแต่งตั้ง การวินิจฉัยชี้ขาด ตัดลดงบประมาณ ทำให้องค์กรเหล่านี้อ่อนแอ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

(5) ทั้งหมดข้างต้นเพื่อเปิดทางสะดวกในการตักตวงโกงกินผลประโยชน์จากทรัพย์แผ่นดินให้มากที่สุด มีทั้งวงโคจรดาวเทียม น้ำมันและก๊าซบนแผ่นดินและใต้ทะเล การขายหุ้น ปตท. การรับจำนำข้าว การกู้เงินทำโครงการยักษ์มูลค่าหลายแสนล้านบาท และเป็นล้านล้านบาท ใช้วิธีแบ่งกันโกงกินอย่างทั่วถึงให้ข้าราชการลิ่วล้อและบริวาร เพื่อช่วยกันปกปิดความผิดและปกป้องให้พ้นผิด โดยทักษิณไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายโดยตรง

(6) เอาเงินที่โกงกินส่วนหนึ่งไปขยายอาณาจักรทางธุรกิจของครอบครัวและพวกพ้องของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจพลังงานโดยขอมีเอี่ยวกับทุนต่างประเทศ อีกส่วนหนึ่งเพื่อใช้ซื้อคนค้ำจุนให้กุมอำนาจตลอดไปอีกหลายสิบปี ทั้งทักษิณและฮุนเซนต่างยึดเป็นตัวแบบซึ่งกันและกัน

3. ผลต่อสังคมประเทศ



(1) มีรัฐบาลเผด็จการ สืบทอดอำนาจภายในวงศ์วานว่านเครือ มีตำรวจและอันธพาลเป็นเครื่องมือคอยกดหัวคนไทยที่รู้ทัน ประชาชนอยู่ด้วยความกลัวเหมือนอย่างเกาหลีเหนือ

(2) เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก แต่เนื้อแท้เป็นระบอบเผด็จการ รัฐสภาและรัฐบาลเป็นเนื้อเดียวกัน รัฐสภามีหน้าที่ทำตามความต้องการของทักษิณ ฝ่ายค้านเป็นเพียงไม้ประดับ

(3) ทำลายอำนาจตุลาการและศาลยุติธรรม ด้วยการแจก “กล่องขนม” แทรกแซงการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ก่อกวน ข่มขู่ ไร้หลักนิติธรรม นิติรัฐ

(4) ทำลายระบบคุณธรรมในระบบราชการ แต่งตั้งตำแหน่งสำคัญๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ยึดแต่ความจงรักภักดีต่อจอมเผด็จการเป็นพอ ทำให้ภาครัฐอ่อนแอไม่สามารถเป็นกลไกการพัฒนาประเทศ

(5) เมื่อโกงกินจนเงินหมดคลัง ก็ยังกู้หนี้มหาศาลมาโกงกินต่อ ถึงแม้จะรีดภาษีเพิ่ม ก็ยังไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้รัฐได้ สุดท้ายจะเกิดวิกฤตการคลังแบบเดียวกับบางประเทศ เช่น กรีซ เป็นต้น ภาคธุรกิจเอกชนถูกรีดภาษีหนัก เศรษฐกิจทรุด

(6) ในไม่ช้าต้องยุติมาตรการประชานิยมเพราะเงินคลังหมด คนรากหญ้าจะเดือดร้อนยิ่งกว่าก่อนใช้มาตรการพวกนี้ เพราะใช้จ่ายเพลิน ปรับตัวไม่ทัน หนี้สินมากขึ้นกว่าเดิม คนรากหญ้าถูกผู้นำเผด็จการทิ้งให้อยู่ตามยถากรรม มีเพียงทักษิณและบริวารรวมทั้งคนร่ำรวยที่อยู่สุขสบาย นอกนั้นลำบาก การลงทุนตกต่ำ นักลงทุนหายหน้า เศรษฐกิจทรุด บ้านเมืองไทยมาถึงจุดเสื่อมโทรมและกลายเป็น “คนป่วยแห่งอาเซียน”

กล่าวโดยสรุป ระบอบทักษิณ มีเป้าหมายคือการมุ่งสู่อำนาจสูงสุดและร่ำรวยที่สุดทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. เสียงข้างมากผ่านการเลือกตั้งเพื่อลวงโลก เพื่อใช้ประโยชน์จากเผด็จการทางรัฐสภา นำเงินภาษีและเงินทุนของภาครัฐมาทำมาตรการประชานิยมต่างๆ มอมเมาดึงดูดให้คนรากหญ้าเทคะแนนเสียงให้พรรคของตน คุมอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการอย่างเบ็ดเสร็จ ใช้สื่อเป็นเครื่องมือโกหกหลอกลวงล้างสมองคนรากหญ้าให้หลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ ยุยงปลุกปั่นคนในชาติให้แตกแยกอย่างหนัก ใช้รัฐตำรวจข่มขู่ขัดขวางการต่อต้านจากประชาชนฝ่ายที่รู้ทันความชั่วของตน

ใช้อำนาจการเมืองโกงกินผลประโยชน์แผ่นดินอย่างเมามัน มีทั้งกอบโกยเข้ากระเป๋าตนเองและวงศ์วานว่านเครือ พร้อมทั้งเปิดช่องให้ข้าราชการตัวใหญ่และผู้เกี่ยวข้องได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์กันทั่วหน้า ทำให้ทักษิณประหยัดเงินตนเองไปได้มาก ใช้อำนาจและความร่ำรวยไปยึดกุมอำนาจ ใช้อำนาจตักตวงผลประโยชน์ หมุนเวียนหนุนเนื่องวงจรอุบาทว์นี้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าทักษิณจะตาย

ชาติกำเนิดของทักษิณ



ทักษิณ ชินวัตร เกิดวันที่26 กรกฎาคมพ.ศ. 2492ที่อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 10 คนของนายเลิศและนางยินดี ชินวัตร ธิดาในเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์ ทักษิณ สำเร็จมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยและระดับอุดมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2512) และโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 (พ.ศ. 2516) ในปี 2518 ศึกษาต่อปริญญาโท ด้วยทุนของ ก.พ. ใน สาขากระบวนการยุติธรรมที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกีและจบปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวตันสเตตเมื่อพ.ศ. 2521 ทักษิณ มีชื่อเล่นว่าแม้ว ตั้งโดยเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10

ทักษิณ สมรสกับ พจมาน ดามาพงศ์ในปีพ.ศ. 2523 และมีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่ พานทองแท้ ชินวัตร(โอ๊ค) พินทองทา ชินวัตร(เอม) สมรสกับณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ แพทองธาร ชินวัตร(อิ๊ง)

นายเลิศ ชินวัตร เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เพียงภาคเรียนเดียว ต้องลาออกมาช่วยกิจการของครอบครัว คือ โรงงานทอผ้าไหมชินวัตรพาณิชย์ และธุรกิจตลาดสดสันกำแพง ต่อมาทำกิจการหลายอย่าง เช่น รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามต่างจังหวัด เปิดร้านกาแฟที่ห้องแถวไม้หน้าตลาดสันกำแพง ทดลองทำสวนส้มเขียวหวานสวนฝรั่งและผลไม้เมืองหนาว จากนั้นทำงานที่ธนาคารนครหลวงไทยสาขาเชียงใหม่ ในตำแหน่งหัวหน้าสินเชื่อ ต่อมาร่วมหุ้นทำโรงภาพยนตร์ศรีวิศาล และได้ซื้อหุ้นไว้ทั้งหมด หลังจากนั้นได้สร้างโรงภาพยนตร์ชินทัศนีย์ ที่ถนนเจริญเมือง และซื้อกิจการรถเมล์วิ่งในตัวเมืองเชียงใหม่

นายเลิศ เข้าสู่การเมืองท้องถิ่นเมื่อปี2510 เป็นสมาชิกสภาจังหวัด เขตอำเภอสันกำแพง ในปีพ.ศ. 2512ต่อมาได้เป็น ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ในสังกัดพรรคพลังใหม่ แต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518ไม่ได้รับเลือกจึงวางมือไปหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519

รับราชการและทำธุรกิจ

ทักษิณ เริ่มทำงานเป็นหัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน และรองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ

ในปี 2518 ทักษิณเป็นเลขานุการของนายปรีดา พัฒนถาบุตรรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลคึกฤทธิ์ ปราโมช โดยนายเลิศเป็นผู้ฝากฝังเพราะเป็นคนเชียงใหม่ด้วยกัน

ทักษิณ เริ่มทำธุรกิจหลายอย่างในขณะรับราชการตำรวจเช่น ขายผ้าไหมโรงภาพยนตร์สร้างภาพยนตร์ ธุรกิจคอนโดมิเนียมแต่ประสบความล้มเหลวหมด เป็นหนี้สินกว่า 50 ล้านบาท จึงลาออกจากราชการแล้วหันมาทำธุรกิจเต็มตัว เริ่มจากเป็นนายหน้า บ.ไอบีเอ็ม ติดตั้งระบบและเช่าบริการคอมพิวเตอร์ให้กับกรมตำรวจ มีเรื่องทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ ทักษิณรอดตัว ขณะเรียนอยู่สหรัฐอเมริกา เขามองเห็นอนาคตของโทรคมนาคมและระบบสารสนเทศ จึงลาออกจากงานตำรวจเพื่อทำธุรกิจด้านนี้

ในปี 2526ทักษิณเปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น บ.ชินวัตร คอมพิวเตอร์ และอาศัยบารมีของนายสุรพันธ์ ชินวัตร ผู้เป็นญาติ และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม(2529-2531) ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้สัมปทานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM900 เป็นรายแรกและให้บริการวิทยุติดตามตัวในปี2533 จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในชื่อบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชันส์ จำกัดต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ( AIS)

ในช่วงรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุนหะวัณ (ส.ค. 2531-ก.พ. 2534) ทักษิณเข้าหา เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล อสมท เพื่อวิ่งเต้นขอสิทธิการทำธุรกิจเคเบิลทีวีจาก อสมท โดยจะร่วมลงทุนกับบริษัทต่างประเทศ แล้วโกงหุ้นจนถูกฟ้องร้อง

ภายหลังรัฐบาลพลเอกชาติชายถูก รสช.ยึดอำนาจ มีรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ขัดตาทัพ ทักษิณให้เฉลิมพาเข้าวิ่งเต้นกับพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้า รสช.ได้สัมปทานจากกระทรวงคมนาคม ทำกิจการดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของไทยชื่อไทยคม 1 เป็นธุรกิจผูกขาด สร้างกำไรเป็นหมื่นล้านบาทภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี จึงได้ก่อตั้ง บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นบริษัทต่างๆ ในเครือ ที่สำคัญได้แก่ เอไอเอส ไทยคม ไอพีสตาร์ เทเลอินโฟมีเดีย (ธุรกิจสมุดหน้าเหลือง)

ส่วนเฉลิม อยู่บำรุง ได้รับสมญาจากสื่อมวลชนว่า “เหลิม ดาวเทียม” ทักษิณตอบแทนโดยให้ตำแหน่งการเมืองแก่เฉลิมแต่นั้นเป็นต้นมา

จะเห็นว่าธุรกิจดาวเทียมที่สร้างความร่ำรวยให้ทักษิณมาจากการวิ่งเต้นกับทหารที่ทำรัฐประหาร แต่ภายหลังทักษิณและและนักวิชาการลิ่วล้อกลับชูประเด็นต่อต้านรัฐประหารเพื่อโกหกชาวเสื้อแดง โดยไม่บอกความจริงว่าทักษิณต่อต้านรัฐประหารเฉพาะที่ทำให้ตนหมดอำนาจ ส่วนการรัฐประหารที่ทำให้ทักษิณร่ำรวยหรือได้อำนาจคืนมา กลับชื่นชอบเป็นพิเศษ ถึงขั้นก้มกราบเท้าผู้ทำรัฐประหารก็เคยทำมาแล้ว

เปิดโปงการโกงกินเมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง

หลังจากได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่จากการจ่ายสินบนใต้โต๊ะแล้ว ทักษิณเรียนรู้ว่าอำนาจการเมืองแบบไทยสามารถแปลงเป็นผลประโยชน์ส่วนตนได้ จึงโดดมาเล่นการเมืองเสียเอง เพราะมีอำนาจเองย่อมดีกว่าคอยพึ่งพาผู้มีอำนาจคนอื่น ไม่ว่านักการเมืองหรือข้าราชการที่ต้องจ่ายใต้โต๊ะ

ในปี 2537 พลตรีจำลอง ศรีเมือง และ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แห่งพรรคพลังธรรมซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้รับทักษิณเข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในโควตาของพรรคพลังธรรม ต่อมาทักษิณได้เป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนพลตรีจำลองที่ลาออก เป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

ในช่วงที่ทักษิณดำรงตำแหน่งทางการเมือง ปี 2537-2540 ไม่มีผลงานแต่อย่างใด ทักษิณเคยประกาศว่าจะแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 6 เดือน แต่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เขาสนใจอยู่อย่างเดียวคือมองหาช่องทางสร้างความร่ำรวยแบบก้าวกระโดด เริ่มจากตัดลดงบประมาณขององค์การโทรศัพท์ ทำให้ขยายงานไม่ได้ การขอติดตั้งโทรศัพท์เป็นเรื่องแสนยาก นักธุรกิจไม่มีทางเลือกต้องหันมาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทักษิณ ซึ่งฉวยโอกาสโก่งราคาค่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการแบบมหาโหด

ในปี 2540 เศรษฐกิจไทยประสบปัญหาฟองสบู่แตกเป็น “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ทักษิณรู้ข้อมูลภายในว่ารัฐบาลจะประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อไร รีบให้บริษัทของตนทำประกันค่าเงินสำหรับเงินที่กู้จากต่างประเทศ นักลงทุนอื่นที่กู้เงินตราต่างประเทศต่างล้มระเนนระนาด แต่ทักษิณรอด ยิ่งกว่านั้นยังให้ผู้ใกล้ชิดระดมกู้เงินบาทจากธนาคารให้ได้มากที่สุด นำไปซื้อดอลลาร์สหรัฐในราคา 25 บาทก่อนที่รัฐบาลจะประกาศลอยตัวค่าเงินบาท แล้วขายดอลลาร์ในราคา 45-58 บาทภายหลังรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ปรากฏว่าค่าเงินบาทในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว สร้างกำไรมหาศาลให้กับทักษิณ คราวนี้ทักษิณก็มีทุน กระสุนดินดำ ไว้ใช้เล่นการเมืองเต็มที่

ในวันที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กำลังประชุมหารือที่ทำเนียบรัฐบาลร่วมกับ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเตรียมจะประกาศลอยตัวค่าเงินบาท มีเสียงครหาว่า โภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ป้วนเปี้ยนใกล้โต๊ะประชุม และนำเรื่องนี้ไปบอกทักษิณ ทักษิณจึงตอบแทนโดยอุปถัมภ์นายโภคินมาโดยตลอด

จะเห็นได้ว่าคนที่ทักษิณอุปถัมภ์ ไม่ทอดทิ้ง ล้วนเป็นคนที่ทำชั่วเพื่อทักษิณมาแล้ว!

ในปี 2541 ทักษิณได้ทิ้ง พรรคพลังธรรม แล้วตั้ง พรรคไทยรักไทยลงเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรีสองสมัยติดต่อกัน ระหว่างปีพ.ศ. 2544-2548และ พ.ศ. 2548 -2549 ด้วยนโยบายประชานิยมต่างๆ อันเป็นการติดสินบนประชาชนเพื่อแลกกับคะแนนเสียง

เมื่อเริ่มเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองในปี 2548 ทักษิณจึงถูกคนที่รู้ทันออกมาวิจารณ์อยู่เนืองๆ มีทั้ง ธีรยุทธ บุญมี นักหนังสือพิมพ์น้ำดี นักวิชาการน้ำดี นักวิจัยของ TDRI ฯลฯ ในบรรดาผู้ที่ออกมาวิพากษ์ทักษิณ สนธิ ลิ้มทองกุล แห่งเครือหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ นับเป็นคนแรกๆ ที่ออกมาต่อต้านทักษิณอย่างเปิดเผย จากเดิมที่เคยเชียร์ทักษิณ เคยทำธุรกิจบางอย่างร่วมกับทักษิณ เช่น ชักชวนกันถือหุ้นบริษัท ไออีซี (โทรศัพท์มือถือโนเกีย) บริษัท ไอบีซี (เคเบิลทีวี) เป็นต้น

ทันทีที่มีการขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น แบบหลีกเลี่ยงภาษี ให้แก่กลุ่มเทมาเส็กของสิงคโปร์ สนธิ ลิ้มทองกุล, พลตรีจำลอง ศรีเมือง, พิภพ ธงไชย, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และ สมศักดิ์ โกศัยสุข รวม 5 แกนนำได้จัดชุมนุมขับไล่ทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ทักษิณประกาศยุบสภา และกำหนดการเลือกตั้งใหม่วันที่2 เมษายนพ.ศ. 2549

พรรคฝ่ายค้าน 3 พรรค ประกาศไม่ส่งผู้สมัครลงสมัครรับการเลือกตั้ง และมีการฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าพรรคไทยรักไทย จ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อมิให้ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ต่อมาศาลมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งวันที่2 เมษายนเป็นโมฆะ และให้จัดการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้ประกาศยุติการชุมนุมลงชั่วคราวและนัดชุมนุมใหม่หลังการเลือกตั้ง ในวันที่9 กันยายนพ.ศ. 2549ทักษิณ เดินทางไปนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ

ทักษิณหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

วันที่19 กันยายนพ.ศ. 2549 เวลาประมาณ 21.00 น.คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลินผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณ ทักษิณแก้เกมโดยใช้สื่อโทรคมนาคมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเวลา 22.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ แต่ในขณะที่กำลังประกาศอยู่ พลเอกสนธิ สั่งตัดสัญญาณและเข้าสู่ประกาศคณะปฏิรูปฯ เป็นอันยึดอำนาจได้สำเร็จ ในเวลา 23.00 น.

สาเหตุสำคัญที่ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำรัฐประหาร เพราะได้ระแคะระคายว่าทักษิณ กำลังจะปลดตนออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จึงชิงทำรัฐประหารก่อน

คปค.ได้แต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลายฝ่ายเห็นว่าเป็นการเลือกตัวบุคคลที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง ทำให้การรัฐประหารครั้งนี้ “เสียของ” เพราะหลังจากที่ฝ่ายทักษิณเผยแพร่เรื่องบ้านพักของพลเอกสุรยุทธ์ บนเขายายเที่ยงซึ่งเป็นป่าสงวน ทำให้รัฐบาลสุรยุทธ์ “ไม่กล้า” เผยแพร่การโกงกินของทักษิณให้คนรากหญ้ารับรู้รับฟังผ่านสื่อของรัฐและฟรีทีวี ช่วงเวลานาทีทองที่ควรให้ข้อมูลแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ จึงผ่านไปอย่างน่าเสียดาย ปล่อยให้ทักษิณลอยนวล เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยจระเข้ลงน้ำ

เมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้ง คนรากหญ้าจึงท่องตามที่ถูกเป่าหูว่า “โกงกินทุกพรรค เลือกพรรคที่ให้เงิน บ้างยังดีกว่า” ทักษิณจึงได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นเหมือนเดิม

แต่ที่ไม่ถึงกับ “เสียของ” โดยสิ้นเชิง ก็คือการแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ทำหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตภายใต้รัฐบาลทักษิณ คตส.ใช้เวลาเพียง 1 ปี 9 เดือน ตรวจสอบกรณีโกงกินของรัฐบาลทักษิณรวม 22 คดี โดยไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่างที่ควรจะเป็น ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำ ไม่มีงบประมาณก้อนโต ไม่มีสถานที่ทำงานของตนเอง แต่กลับมีผลงานทรงคุณค่ายิ่งต่อประเทศชาติ

และเมื่อศาลฎีกาตัดสินได้เพียงคดีเดียว... ทักษิณก็ไม่มีแผ่นดินอยู่!

กุมภาพันธ์พ.ศ. 2551ทักษิณเดินทางกลับประเทศไทยพร้อมกับแสดงละครน้ำเน่าก้มกราบพื้นดินที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อลวงโลกว่าตนนั้นรู้คุณแผ่นดิน ระหว่างที่มีการดำเนินคดีที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก ทักษิณและภริยาขออนุญาตออกนอกประเทศต่อศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมือง อ้างว่าไปร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008ที่กรุงปักกิ่งจากนั้นศาลอ่านคำวินิจฉัยว่า ทักษิณมีความผิดในคดีดังกล่าว พิพากษาจำคุก 2 ปี ทักษิณจึงไม่เดินทางกลับประเทศไทย กลายเป็นนักโทษหนีคุก ปีต่อมาทักษิณจดทะเบียนหย่ากับพจมาน ด้วยเหตุผลทางการเมือง นับแต่นั้นเป็นต้นมา ทักษิณมีการเคลื่อนไหวสั่งการทางการเมืองอย่างต่อเนื่องโดยใช้มัลติมีเดียต่างๆ

คตส. กับพันธกิจตรวจสอบการโกงกิน

กรณีการทุจริตที่ คตส.ยกขึ้นตรวจสอบแบ่งเป็น 22 คดี มีดังต่อไปนี้ (ข้อมูลจากหนังสือ ปัจฉิมบท คตส.ฝากไว้ในแผ่นดิน จัดพิมพ์โดย คตส., 2551)

(ก) คตส.ฟ้องศาลแล้ว จำนวน 5 คดี

1. ที่ดินถนนรัชดาภิเษก พจมาน ชินวัตร ใช้อิทธิพลของสามี (ทักษิณ) ซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน อันเป็นหน่วยงานของรัฐ จำนวน 35 ไร่ ในราคาเพียง 772 ล้านบาทจากราคาที่ตั้งไว้ 2,140 ล้านบาท ผู้ซื้อเป็นภรรยาของนายกรัฐมนตรี การซื้อขายนี้ต้องได้รับลายเซ็นแสดงการยินยอมจากคู่สมรส ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี การซื้อขายนี้จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ซึ่งห้ามคู่สมรสและเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ

ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาจำคุกทักษิณ เป็นเวลา 2 ปีในเรื่องการมีผลประโยชน์ทับซ้อน หลังจากทักษิณและคุณหญิงพจมานไม่เดินทางมารายงานตัวต่อศาล ศาลฎีกาฯ จึงออกหมายจับบุคคลทั้งสอง คดีของ ทักษิณ มีอายุความ 15 ปี ถึงวันที่12 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ส่วนคดีของพจมาน มีอายุความ 10 ปี ถึงวันที่ 12 สิงหาคมพ.ศ. 2561

คนรากหญ้าถูกเป่าหูบิดเบือนว่า “เมียซื้อ ผัวเซ็น” มันผิดตรงไหน?...ทักษิณถูกกลั่นแกล้ง!

2. การออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวกรวม 49 คน ในฐานะ ครม.ได้อนุมัติการออกสลากดังกล่าว ซ้ำยังนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 14,862 ล้านบาท ไปใช้จ่ายในกิจการต่างๆ โดยขัดต่อกฎหมาย

3. หลีกเลี่ยงภาษี เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและคู่สมรสไม่อาจถือหุ้นในบริษัทเกิน 5% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัทนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา จึงใช้วิธีซุกหุ้นโดยกระจายให้ลูก ญาติ และคนใกล้ชิดถือหุ้นแทน วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 คุณหญิงพจมาน สั่งให้นางกาญจนาภา หงษ์เหิร (เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน) โอนหุ้นของตนในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งอำพรางให้นางสาวดวงตา วงศ์ภักดี คนรับใช้เป็นผู้ถือแทน ให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ (พี่บุญธรรมของคุณหญิงพจมาน) จำนวน 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท ผ่านตลาดหุ้น ซึ่งเสียค่าธรรมเนียมเพียง 7.38 ล้านบาท ทั้งที่ความจริงเป็นการย้ายผู้ถือหุ้นจาก น.ส.ดวงตา มาให้นายบรรณพจน์ ถือแทน ซึ่งนายบรรณพจน์ ควรจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2540 คิดเป็นเงิน 273 ล้านบาท แต่กลับอำพรางว่าเป็นการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหุ้นเพื่อจงใจหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั่นเอง

วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 ศาลอาญาชั้นต้นพิพากษาจำคุกโดยไม่รอลงอาญา นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ 3 ปี คุณหญิงพจมาน ชินวัตร 3 ปี นางกาญจนาภา หงษ์เหิร 2 ปี

4. กล้ายาง ทักษิณ ชินวัตร เปิดไฟเขียวให้บริวารได้โกงกินชาติพร้อมๆ ไปกับตนเพื่อซื้อความจงรักภักดีในวงกว้าง กรณีนี้มีผู้ถูกกล่าวหาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักการเมืองที่รับผิดชอบกระทรวงเกษตรฯ ข้าราชการผู้รับผิดชอบโครงการ และบริษัทเอกชนที่ประมูลรับงาน มีการใช้เงินของกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กองทุนส่งเสริมการทำสวนยาง และเงินค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง ซื้อพันธุ์ยางที่ขาดคุณภาพแจกจ่ายให้เกษตรกรนำไปปลูกทดแทนต้นยางเก่า คิดเป็นความเสียหายมูลค่า 1,200 ล้านบาท

5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) เมื่อปลายปี 2546 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตกลงเป็นการส่วนตัวกับนายกรัฐมนตรีพม่า และพลจัตวา เต็ง ซอ รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวและกระทรวงคมนาคมของพม่า โดยสั่งการให้ EXIM Bank ของไทยปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า 4,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ซึ่งต่ำกว่าต้นทุน อายุเงินกู้ 12 ปี โดยนำเงินกู้ดังกล่าวจำนวนราว 600 ล้านบาทมาซื้ออุปก
กำลังโหลดความคิดเห็น