ASTVผู้จัดการรายวัน – “เถ้าแก่น้อย” เลื่อนเข้าตลาดหุ้นไปก่อน เหตุปัญหาการเมือง ล่าสุด ส่ง “ต๊อบคอร์น” ลุยตลาดป๊อปคอร์นหวังโค่นแชมป์ใน 5 ปี เล็งตั้งโรงงานต่างประเทศ สานฝันโกลบอลแบรนด์ใน 10 ปี เร็วขึ้น
นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯตัดสินใจเลื่อนการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกกไปก่อน จากเดิมที่ต้องเข้าตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่พร้อมรวมทั้งปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อด้วย
อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็ยังเดินหน้าขยายนุธุรกิจต่อเนื่อง ล่าสุดขยายตลาดสแน็คในกลุ่มข้าวโพดคั่วสดพรีเมียมแบรนด์”ต๊อบคอร์น” ด้วยการลงทุน 50 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรในส่วนของไลน์การผลิตป๊อบคอร์นที่จะจำหน่ายผ่านทางร้านสะดวกซื้อ ที่โรงงานจังหวัดปทุมธานี ซึ่งล่าสุดก็ยังได้ลงทุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 50% ที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การรุกตลาดป๊อปคอร์นเพราะเป็นตลาดที่เติบโตดีมากกว่า 30-40% ต่อปี แม้ว่ามูลค่าตลาดรวมจะยังไม่มาแค่ 300-400 ล้านบาทต่อปี ซึ่งไม่รวมป๊อปคอร์นในช่องทางโรงภาพยนตร์ แต่เติบโตมากกว่าสแน็คกลุ่มอื่นที่เฉลี่ยเติบโต 3-4% เท่านั้น จากมูลค่าตลาดรวมสแน็คในไทยที่มีประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วเติบโตเพียง 3-4% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 10 ปี
กลยุทธ์การตลาดของต๊อปคอร์น จะมีสินค้าที่มาจาก 1. แบบคั่วสดหน้าร้าน 2. จำหน่ายเป็นแพ็คสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งจะเปิดร้านไปพร้อมกับร้านเถ้าแก่น้อยแลนด์และรูปแบบร้านค้าเดี่ยว ลงทุน 4 ล้านบาท พื้นที่30-50 ตารางเมตร ปีนี้จะเปิด 6 สาขา สัดส่วนที่ 50:50 และอีก 5 ปีจะเปิดให้ได้ 100 สาขา ทั้งในประเทศและในประเทศแถบกลุ่มอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา มาเลเซีย
ในปีแรกตั้งเป้ารายได้ของ “ต๊อบคอร์น” ไว้ 100 ล้านบาท คาดหวังส่วนแบ่งทางการตลาดปีนี้ไว้ 15% และคาดว่าอีก 5 ปี “ต๊อบคอร์น”จะมีรายได้ 1,000 ล้านบาท พร้อมขึ้นเป็นผู้นำตลาดป๊อบคอร์น ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 50% ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันแบรนด์โตโรเป็นผู้นำตลาดอยู่
นอกจากนั้นบริษัทฯยังมีความสนใจที่จะไปเปิดโรงงานในต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่มีโอกาสและความเป็นไปได้ คือ อินโดนีเซีย จีน พม่า ซึ่งในแต่ละประเทศต้องมียอดขายตั้งแต่ 300-500 ล้าน ถึงจะมีการลงทุนเข้าไปเปิดโรงงานได้ โดยนับจากนี้ไม่เกิน 3 ปี มีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นการสร้างโรงงานในต่างประเทศ
การขายยธุรกิจใหม่ๆจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้เถ้าแก่น้อยไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ว่าภายใน 10 ปีจะก้าวขึ้นเป็นโกลบอลแบรนด์ให้ได้ ด้วยยอดขายเกิน 10,000 ล้านบาทจากทั่วโลกซึ่งปัจจุบันเถ้าแก่น้อยมีรายได้รวม 3,000 กว่าล้านบาท จากการจำหน่ายกว่า 27 ประเทศ ซึ่งปีนี้ ตั้งเป้ารายได้รวมไว้ 3,250 ล้านบาท
นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯตัดสินใจเลื่อนการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกกไปก่อน จากเดิมที่ต้องเข้าตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่พร้อมรวมทั้งปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อด้วย
อย่างไรก็ตามบริษัทฯก็ยังเดินหน้าขยายนุธุรกิจต่อเนื่อง ล่าสุดขยายตลาดสแน็คในกลุ่มข้าวโพดคั่วสดพรีเมียมแบรนด์”ต๊อบคอร์น” ด้วยการลงทุน 50 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักรในส่วนของไลน์การผลิตป๊อบคอร์นที่จะจำหน่ายผ่านทางร้านสะดวกซื้อ ที่โรงงานจังหวัดปทุมธานี ซึ่งล่าสุดก็ยังได้ลงทุนอีก 100 ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 50% ที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การรุกตลาดป๊อปคอร์นเพราะเป็นตลาดที่เติบโตดีมากกว่า 30-40% ต่อปี แม้ว่ามูลค่าตลาดรวมจะยังไม่มาแค่ 300-400 ล้านบาทต่อปี ซึ่งไม่รวมป๊อปคอร์นในช่องทางโรงภาพยนตร์ แต่เติบโตมากกว่าสแน็คกลุ่มอื่นที่เฉลี่ยเติบโต 3-4% เท่านั้น จากมูลค่าตลาดรวมสแน็คในไทยที่มีประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งปีที่แล้วเติบโตเพียง 3-4% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 10 ปี
กลยุทธ์การตลาดของต๊อปคอร์น จะมีสินค้าที่มาจาก 1. แบบคั่วสดหน้าร้าน 2. จำหน่ายเป็นแพ็คสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อ ซึ่งจะเปิดร้านไปพร้อมกับร้านเถ้าแก่น้อยแลนด์และรูปแบบร้านค้าเดี่ยว ลงทุน 4 ล้านบาท พื้นที่30-50 ตารางเมตร ปีนี้จะเปิด 6 สาขา สัดส่วนที่ 50:50 และอีก 5 ปีจะเปิดให้ได้ 100 สาขา ทั้งในประเทศและในประเทศแถบกลุ่มอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา มาเลเซีย
ในปีแรกตั้งเป้ารายได้ของ “ต๊อบคอร์น” ไว้ 100 ล้านบาท คาดหวังส่วนแบ่งทางการตลาดปีนี้ไว้ 15% และคาดว่าอีก 5 ปี “ต๊อบคอร์น”จะมีรายได้ 1,000 ล้านบาท พร้อมขึ้นเป็นผู้นำตลาดป๊อบคอร์น ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 50% ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันแบรนด์โตโรเป็นผู้นำตลาดอยู่
นอกจากนั้นบริษัทฯยังมีความสนใจที่จะไปเปิดโรงงานในต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่มีโอกาสและความเป็นไปได้ คือ อินโดนีเซีย จีน พม่า ซึ่งในแต่ละประเทศต้องมียอดขายตั้งแต่ 300-500 ล้าน ถึงจะมีการลงทุนเข้าไปเปิดโรงงานได้ โดยนับจากนี้ไม่เกิน 3 ปี มีความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นการสร้างโรงงานในต่างประเทศ
การขายยธุรกิจใหม่ๆจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้เถ้าแก่น้อยไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ว่าภายใน 10 ปีจะก้าวขึ้นเป็นโกลบอลแบรนด์ให้ได้ ด้วยยอดขายเกิน 10,000 ล้านบาทจากทั่วโลกซึ่งปัจจุบันเถ้าแก่น้อยมีรายได้รวม 3,000 กว่าล้านบาท จากการจำหน่ายกว่า 27 ประเทศ ซึ่งปีนี้ ตั้งเป้ารายได้รวมไว้ 3,250 ล้านบาท