วานนี้ ( 20 ม.ค.) นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประชุมร่วมกับนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมดัวยตัวแทนเหล่าทัพ กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ว่าราชการจังหวัด 15 จังหวัดภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร เพื่อหารือเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ.57 โดยนายภุชงค์ กล่าวรายงานสถานการณ์ภาพรวมปัญหา และความพร้อมทั้งสถานที่ และบุคลลากร ในการจัดการเลือกตั้งในพื้นที่ 15 จังหวัด ที่ขณะนี้เป็นปัญหาว่า ล่าสุดจนถึงขณะนี้ สำนักงานกกต. 12 จังหวัดใน 15 จังหวัดภาคใต้ ถูกผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส ปิดล้อมจนไม่สามารถทำงานได้ แต่มีเพียง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ เช่นเดียวกับ กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่กกต. ต้องย้ายสถานที่ทำงานไปอยู่ในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง รวมถึงการจัดหาสถานที่การลงคะแนนเลือกตั้งกลาง ซึ่งจะเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 26 ม.ค. ที่ได้ย้ายจากศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหาคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง เป็นสนามกีฬาคลองจั่น บางกะปิ
ทั้งนี้ ในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด ในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ได้หารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้ง พร้อมกับแสดงความกังวลว่า ในพื้นที่ ที่ไม่มีผู้ลงสมัครส.ส. ประชาชน ก็จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งจริง นอกจากนี้ในหลายหน่วยเลือกตั้งยังไม่มีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) เพราะมีการขอลาออกไป หลังมีการกดดันจากกลุ่ม กปปส. ซึ่งทางผู้ว่าฯ ได้ขอประสานกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ดูแลความเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้ง 2 คน ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ สุราษฎร์ธานี ยอมรับต่อที่ประชุมว่า อาจจะไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ.นี้ได้ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองยังคงขัดแย้ง แตกแยก วันเลือกตั้งเชื่อว่าจะมีมวลชนไปขัดขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้ง เหมือนกับช่วงการเปิดรับสมัครส.ส.ที่ผ่านมา
ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันเลือกตั้ง จึงได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร จากกอ.รมน เข้าดูแลพื้นที่แล้ว และยังมีความกังวลว่า อาจมีมวลชน กปปส. เข้าปิดล้อมสถานที่เลือกตั้ง แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีการส่งสัญญาณ แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
ด้านนายบรรจง สุขดี รองปลัดกทม. รายงานว่า กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งของกทม. ยังขาดอีกหลายพันคน เนื่องจากไม่สามารถแต่งตั้งผู้มีสิทธิ์นอกเขตเลือกตั้ง เข้ามาเป็นกรรมการประจำหน่วยได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าว นายภุชงค์ ได้รับปากว่าจะนำประเด็นนี้ไปหารือในที่ประชุมกกต. เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งเรื่องการขอใช้สถานที่จากภาคเอกชนในการตั้งหน่วยเลือกตั้ง ที่มีการทำหนังสือขอปฏิเสธในการใช้สถานที่ เพราะเกรงว่าในวันเลือกตั้งจะถูกกลุ่มกปปส. ปิดล้อมและทำให้สถานที่เสียหาย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องค่าเช่าเต๊นท์ในหน่วยเลือกตั้งที่ภาคเอกชนขอเพิ่มราคาจาก 900 บาท เป็น 1,500 บาท เพราะเกรงว่าจะเกิดความเสียหายหากมีการปิดล้อมนั้น ก็จะนำไปหารือเพื่อขออนุมัติงบจาก กกต. ต่อไป
ส่วนตัวแทนจากกระทรวงกลาโหม และกองทัพบก ที่ได้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ กล่าวว่า พร้อมให้ความร่วมมือในการดูแลหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในส่วนการใช้พื้นที่อื่นๆ เป็นหน่วยลงคะแนนเลือกตั้ง กองทัพพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หากมีคำสั่งลงมาและยังยึดตามแนวทางของผู้บัญชาการทหารบกที่ให้นโยบายว่า จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เว้นกรณีมีคำสั่ง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า หากตั้งหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่เขตทหาร อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ โดยเฉพาะในสายตาของสื่อต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม นายภุชงค์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า จากที่ได้รับฟังปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งจากผู้ราชการจังหวัดใน 15 จังหวัดภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่าแม้ขณะนี้จะยังมีปัญหาในเรื่องของการหากรรมการประจำหน่วย ที่หาไม่ได้ 5 หมื่นคน และสถานที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งทั้งในการเลือกตั้ง 2 ก.พ. และการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ในและนอกเขตจังหวัด แต่ก็เชื่อว่าจะสามารถจัดหาและดำเนินการจัดการเลือกตั้งได้ ซึ่งตนก็ได้ขอให้ ทุกระทรวง ทบวง กรม และเหล่าทัพให้ความร่วมมือ โดยจะนำข้อเสนอที่ให้มีการแก้ไขระเบียบ กกต. ให้สามารถแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ไปเสนอให้กกต.พิจารณา หากกกต.เห็นชอบ ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนการปิดล้อมโรงพิมพ์คุรุสภา ของกลุ่ม กปปส. ซึ่งเป็นสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้งนั้น วันนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้งและคณะได้เดินทางไปตรวจสอบแล้ว และไม่พบว่ามีการทำลายบัตรเลือกตั้งอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวก่อนหน้านี้ มีเพียงการตัดน้ำ ตัดไฟ ของโรงพิมพ์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบบัตรเลือกตั้งว่า อยู่ครบตามจำนวนหรือไม่ และขอยืนยันว่า กกต.ไม่ได้มีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินถึง 10 ล้านใบ ตามที่เป็นกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
นายภุชงค์ ยังกล่าวด้วยว่า กรณี 28 เขตเลือกตั้งใน 8 จังหวัดภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ทางสำนักงาน กกต.ได้มีความเห็นเสนอต่อที่ประชุม กกต. แล้วว่า ว่าจะต้องออกเป็น พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ หลังการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ไปแล้ว โดยกระบวนการจะต้องนับหนึ่งใหม่ ด้วยการเปิดรับสมัครใหม่ และให้มีการจับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร เหมือนกับการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. หน่วยเลือกตั้งต่างๆ ก็ต้องจัดให้มีการลงคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้ง 54 พรรคการเมือง แม้ใน 28 เขต จะไม่มีผู้สมัครก็ตาม
** มท.สั่งนภอ.-ปลัดจว.หนุนเลือกตั้ง
ในวันเดียวกันนี้ ที่หอประชุมกองทัพเรือ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการประชุมปลัดจังหวัด นายอำเภอ เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้ง ส.ส. ตอนหนึ่งว่า ขอให้ทุกคนสนับสนุนให้การเลือกตั้ง เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพแม้ในหลายพื้นที่จะมีปัญหา สิ่งที่อยากจะกำชับคือ ขอให้จังหวัด และอำเภอ รักษาความสงบเรียบร้อย ให้จัดทำแผนเผชิญเหตุการณ์ที่สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง ให้ซักซ้อมและปฏิบัติ หากพบปัญหาการชุมนุมในวันลงคะแนนเลือกตั้ง
ส่วนการตรวจตรา ปราบปราม การทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง รวมถึงการเตรียมแก้ไขปัญหาการซื้อเสียง การข่มขู่คุกคามผู้สมัคร การสอดส่องซุ้มมือปืนในพื้นที่ และขอเร่งดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ในช่วง 10 วันก่อนการเลือกตั้ง ห้ามมิให้นายอำเภอ และปลัดจังหวัด มีการประชุมสัมมนาหรือเดินทางไปสัมมาต่างจังหวัดเพื่อการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้พร้อม
“ขอให้ทุกคนช่วยกันบริหารการปกครอง ดูแลประชาชนไปตามแต่ละสถานการณ์ให้ดีที่สุด ข้าราชการต้องทำงานหนักมากขึ้น ถ้าข้าราชการไม่ทำงานหนักตามอุดมการณ์ ประชาชนจะเดือดร้อน เราต้องเป็นหลักของแผ่นดิน ต้องไม่ย่อท้อ" นายวิบูลย์ กล่าว และว่า ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า 26 ม.ค. และวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ทำอย่างไร จะให้คนไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้ได้ การเลือกตั้งคงมีอุปสรรค ตนก็หนักใจ แต่เราต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ณ วันนี้ ยังคิดว่าการเลือกตั้งยังมีอยู่ แต่หลังจากนี้ ไม่มี ก็ไม่มี ทุกอย่างหมุนไปตามเวลา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิบูลย์ ยังได้มอบนโยบาย 8 ข้อ ให้กับปลัดจังหวัด และนายอำเภอ อาทิ ขอให้เน้นศึกษาทำความเข้าใจระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้ง การเตรียมความพร้อมการบริหารงานทะเบียน และ บัตร
**"ชายจืด"ให้ผู้สมัครพท.เร่งหาเสียง
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย เห็นว่า บรรยากาศการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.นี้ ไม่คึกคักเท่าที่ควร ดังนั้นในการประชุมพรรคเพื่อไทย วันที่ 21 ม.ค.นี้ จะมีการกำชับให้ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้สึกถึงความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะนอกจากเลือกพรรคการเมืองที่ชื่นชอบแล้ว ยังแสดงถึงการยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยด้วย และส่วนตัวมั่นใจว่า มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. และเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่ต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้ง หากใครมีพฤติกรรมขัดขวางการเลือกตั้ง ถือว่ามีความผิดทั้งสิ้น แต่ที่กังวลคือ มีผู้ที่ต้องการขัดขวางการเลือกตั้งเหตุใดเขาถึงคิดเช่นนั้น ทำไมมาคิดคัดค้านการใช้สิทธิ์ของประชาชน
ทั้งนี้ ในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด ในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ได้หารือถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการเลือกตั้ง พร้อมกับแสดงความกังวลว่า ในพื้นที่ ที่ไม่มีผู้ลงสมัครส.ส. ประชาชน ก็จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า และวันเลือกตั้งจริง นอกจากนี้ในหลายหน่วยเลือกตั้งยังไม่มีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) เพราะมีการขอลาออกไป หลังมีการกดดันจากกลุ่ม กปปส. ซึ่งทางผู้ว่าฯ ได้ขอประสานกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ดูแลความเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้ง 2 คน ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ สุราษฎร์ธานี ยอมรับต่อที่ประชุมว่า อาจจะไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ.นี้ได้ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองยังคงขัดแย้ง แตกแยก วันเลือกตั้งเชื่อว่าจะมีมวลชนไปขัดขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้ง เหมือนกับช่วงการเปิดรับสมัครส.ส.ที่ผ่านมา
ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในวันเลือกตั้ง จึงได้ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร จากกอ.รมน เข้าดูแลพื้นที่แล้ว และยังมีความกังวลว่า อาจมีมวลชน กปปส. เข้าปิดล้อมสถานที่เลือกตั้ง แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีการส่งสัญญาณ แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
ด้านนายบรรจง สุขดี รองปลัดกทม. รายงานว่า กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งของกทม. ยังขาดอีกหลายพันคน เนื่องจากไม่สามารถแต่งตั้งผู้มีสิทธิ์นอกเขตเลือกตั้ง เข้ามาเป็นกรรมการประจำหน่วยได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าว นายภุชงค์ ได้รับปากว่าจะนำประเด็นนี้ไปหารือในที่ประชุมกกต. เพื่อแก้ไขปัญหา รวมทั้งเรื่องการขอใช้สถานที่จากภาคเอกชนในการตั้งหน่วยเลือกตั้ง ที่มีการทำหนังสือขอปฏิเสธในการใช้สถานที่ เพราะเกรงว่าในวันเลือกตั้งจะถูกกลุ่มกปปส. ปิดล้อมและทำให้สถานที่เสียหาย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องค่าเช่าเต๊นท์ในหน่วยเลือกตั้งที่ภาคเอกชนขอเพิ่มราคาจาก 900 บาท เป็น 1,500 บาท เพราะเกรงว่าจะเกิดความเสียหายหากมีการปิดล้อมนั้น ก็จะนำไปหารือเพื่อขออนุมัติงบจาก กกต. ต่อไป
ส่วนตัวแทนจากกระทรวงกลาโหม และกองทัพบก ที่ได้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ กล่าวว่า พร้อมให้ความร่วมมือในการดูแลหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ในส่วนการใช้พื้นที่อื่นๆ เป็นหน่วยลงคะแนนเลือกตั้ง กองทัพพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หากมีคำสั่งลงมาและยังยึดตามแนวทางของผู้บัญชาการทหารบกที่ให้นโยบายว่า จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เว้นกรณีมีคำสั่ง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า หากตั้งหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่เขตทหาร อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ โดยเฉพาะในสายตาของสื่อต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม นายภุชงค์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า จากที่ได้รับฟังปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งจากผู้ราชการจังหวัดใน 15 จังหวัดภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่าแม้ขณะนี้จะยังมีปัญหาในเรื่องของการหากรรมการประจำหน่วย ที่หาไม่ได้ 5 หมื่นคน และสถานที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งทั้งในการเลือกตั้ง 2 ก.พ. และการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ในและนอกเขตจังหวัด แต่ก็เชื่อว่าจะสามารถจัดหาและดำเนินการจัดการเลือกตั้งได้ ซึ่งตนก็ได้ขอให้ ทุกระทรวง ทบวง กรม และเหล่าทัพให้ความร่วมมือ โดยจะนำข้อเสนอที่ให้มีการแก้ไขระเบียบ กกต. ให้สามารถแต่งตั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ไปเสนอให้กกต.พิจารณา หากกกต.เห็นชอบ ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนการปิดล้อมโรงพิมพ์คุรุสภา ของกลุ่ม กปปส. ซึ่งเป็นสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้งนั้น วันนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้งและคณะได้เดินทางไปตรวจสอบแล้ว และไม่พบว่ามีการทำลายบัตรเลือกตั้งอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวก่อนหน้านี้ มีเพียงการตัดน้ำ ตัดไฟ ของโรงพิมพ์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบบัตรเลือกตั้งว่า อยู่ครบตามจำนวนหรือไม่ และขอยืนยันว่า กกต.ไม่ได้มีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินถึง 10 ล้านใบ ตามที่เป็นกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์ก
นายภุชงค์ ยังกล่าวด้วยว่า กรณี 28 เขตเลือกตั้งใน 8 จังหวัดภาคใต้ ที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น ทางสำนักงาน กกต.ได้มีความเห็นเสนอต่อที่ประชุม กกต. แล้วว่า ว่าจะต้องออกเป็น พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ หลังการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ไปแล้ว โดยกระบวนการจะต้องนับหนึ่งใหม่ ด้วยการเปิดรับสมัครใหม่ และให้มีการจับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร เหมือนกับการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. หน่วยเลือกตั้งต่างๆ ก็ต้องจัดให้มีการลงคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้ง 54 พรรคการเมือง แม้ใน 28 เขต จะไม่มีผู้สมัครก็ตาม
** มท.สั่งนภอ.-ปลัดจว.หนุนเลือกตั้ง
ในวันเดียวกันนี้ ที่หอประชุมกองทัพเรือ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายการประชุมปลัดจังหวัด นายอำเภอ เตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้ง ส.ส. ตอนหนึ่งว่า ขอให้ทุกคนสนับสนุนให้การเลือกตั้ง เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพแม้ในหลายพื้นที่จะมีปัญหา สิ่งที่อยากจะกำชับคือ ขอให้จังหวัด และอำเภอ รักษาความสงบเรียบร้อย ให้จัดทำแผนเผชิญเหตุการณ์ที่สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง ให้ซักซ้อมและปฏิบัติ หากพบปัญหาการชุมนุมในวันลงคะแนนเลือกตั้ง
ส่วนการตรวจตรา ปราบปราม การทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง รวมถึงการเตรียมแก้ไขปัญหาการซื้อเสียง การข่มขู่คุกคามผู้สมัคร การสอดส่องซุ้มมือปืนในพื้นที่ และขอเร่งดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ในช่วง 10 วันก่อนการเลือกตั้ง ห้ามมิให้นายอำเภอ และปลัดจังหวัด มีการประชุมสัมมนาหรือเดินทางไปสัมมาต่างจังหวัดเพื่อการเตรียมความพร้อมและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้พร้อม
“ขอให้ทุกคนช่วยกันบริหารการปกครอง ดูแลประชาชนไปตามแต่ละสถานการณ์ให้ดีที่สุด ข้าราชการต้องทำงานหนักมากขึ้น ถ้าข้าราชการไม่ทำงานหนักตามอุดมการณ์ ประชาชนจะเดือดร้อน เราต้องเป็นหลักของแผ่นดิน ต้องไม่ย่อท้อ" นายวิบูลย์ กล่าว และว่า ในวันเลือกตั้งล่วงหน้า 26 ม.ค. และวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ทำอย่างไร จะให้คนไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้ได้ การเลือกตั้งคงมีอุปสรรค ตนก็หนักใจ แต่เราต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ณ วันนี้ ยังคิดว่าการเลือกตั้งยังมีอยู่ แต่หลังจากนี้ ไม่มี ก็ไม่มี ทุกอย่างหมุนไปตามเวลา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิบูลย์ ยังได้มอบนโยบาย 8 ข้อ ให้กับปลัดจังหวัด และนายอำเภอ อาทิ ขอให้เน้นศึกษาทำความเข้าใจระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การวางตัวเป็นกลางในการเลือกตั้ง การเตรียมความพร้อมการบริหารงานทะเบียน และ บัตร
**"ชายจืด"ให้ผู้สมัครพท.เร่งหาเสียง
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย เห็นว่า บรรยากาศการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.นี้ ไม่คึกคักเท่าที่ควร ดังนั้นในการประชุมพรรคเพื่อไทย วันที่ 21 ม.ค.นี้ จะมีการกำชับให้ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้สึกถึงความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะนอกจากเลือกพรรคการเมืองที่ชื่นชอบแล้ว ยังแสดงถึงการยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยด้วย และส่วนตัวมั่นใจว่า มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. และเป็นหน้าที่ของ กกต. ที่ต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้ง หากใครมีพฤติกรรมขัดขวางการเลือกตั้ง ถือว่ามีความผิดทั้งสิ้น แต่ที่กังวลคือ มีผู้ที่ต้องการขัดขวางการเลือกตั้งเหตุใดเขาถึงคิดเช่นนั้น ทำไมมาคิดคัดค้านการใช้สิทธิ์ของประชาชน