นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความในเฟชบุ๊กส่วนตัว มีใจความว่า
พรุ่งนี้ (20 ม.ค.) มีข่าวว่านายกรัฐมนตรี จะเชิญพรรคการเมืองรวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ไปประชุมเวทีปฏิรูปต่อเนื่องจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการปฏิรูปประเทศ โดยได้เดินหน้าพูดคุยกับภาคส่วนต่างๆ จัดทำข้อเสนอเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชันและปัญหาการจัดการการเลือกตั้งเสร็จแล้ว อยู่ในระหว่างจัดทำข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับหลายองค์กร มีความเห็นพ้องว่า งานปฏิรูปจะสำเร็จได้ผู้ดำเนินการต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และมีความจริงใจ แต่ข้อเท็จจริงปัจจุบันรัฐบาลไม่อยู่ในฐานะดังกล่าว โดยจะเห็นได้ว่ามี 7 องค์กรธุรกิจและพันธมิตร สภาพัฒนาการเมือง หรือแม้แต่ปลัดกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า รัฐบาลอยู่ในฐานะของผู้ขัดแย้ง ไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้
พรรคเห็นด้วยกับองค์กรเหล่านี้ว่า งานปฏิรูปเดินไม่ได้ถ้าไม่ปลดล็อกปัญหาการเลือกตั้ง ที่กกต.ยอมรับว่าไม่สามารถจัดให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือมีความสุจริตเที่ยงธรรมได้ และไม่ปลดล็อกเรื่องการรักษาการของนายกรัฐมนตรี ซึ่งการปลดล็อกทั้ง 2 เรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้ปฏิเสธ และยังปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม และผู้อยู่ตรงข้ามรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีไม่เคยแสดงท่าทีต่อความรุนแรงดังกล่าวเลย
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะทำงานการปฏิรูปกับภาคส่วนอื่นๆ ต่อไป แต่จะไม่เข้าร่วมในการประชุมวันจันทร์ ที่เป็นเพียงความพยายามใช้การประชุม ลดกระแสเพื่อรักษาอำนาจและเดินหน้าเลือกตั้ง 2 ก.พ.
ผมอยากเตือนความจำนายกรัฐมนตรีว่า ครั้งที่แล้วที่นายกรัฐมนตรีเชิญผมไปร่วม สภาปฏิรูป ผมเตือนให้ปลดล็อกกฎหมายนิรโทษกรรม นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธ จึงทำให้บ้านเมืองมาถึงจุดนี้
อย่าเชื่อพี่ชาย และทำผิดซ้ำซากเลยครับ
**ชี้ 5 เงื่อนไข ทำเลือกตั้งโมฆะ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. เป็นการเลือกตั้งที่ก่อให้เกิดปัญหา คือ
1 .ในกรณี 28 เขตในจังหวัดภาคใต้ไม่มีผู้สมัคร มีปัญหาตามมาว่า จะเปิดรับสมัครใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร
2 . การเลือกตั้งในเขตที่ไม่มีผู้สมัครส.ส.เขต โดยเฉพาะใน 28 เขตดังกล่าว จะเลือกตั้งเฉพาะระบบบัญชีรายชื่อได้หรือไม่
3. ไม่สามารถหากรรมการไปประจำหน่วยเลือกตั้งได้นับพันหน่วยทั่วประเทศไทย
4.ไม่สามารถที่จะใช้สิทธิลงคะแนนเสียงตามหน่วยเลือกตั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือเลือกตั้งในวันที่ 2ก.พ.
5. แม้ว่าจะเลือกตั้งได้ แต่จะเปิดประชุมสภาไม่ได้เพราะมีส.ส.ไม่ครบ 95 % ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ดังนั้นปัญหาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องกระบวนการเลือกตั้งที่จะทำให้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ประชาชนคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูป ทำให้ไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้ง หลายพื้นที่การต่อต้านนำไปสู่การปะทะ ก่อให้เกิดความรุนแรงจนบาดเจ็บ และมีผู้เสียชีวิต จึงไม่มีหลักประกันว่าการเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง จะไม่มีการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจนเกิดการบาดเจ็บล้มตายอีก
ทั้งนี้ กกต.ได้พยายามเสนอให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งต่อไป และหาทางให้มีการพบปะพูดคุยของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย และทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
"นับตั้งแต่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ มีการกระทำผิดกฎหมายในหลายกรณี และจะมีปมปัญหาที่เกิดในอนาคตอีกหลายเงื่อนไขที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จึงขอเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หารือกับ กกต. เพื่อแสวงหาข้อยุติร่วมกันให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของประเทศ และบ้านเมือง เพราะหากไม่ทำการเลือกตั้งจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น " นายองอาจ กล่าว
**รัฐบาลเดินหน้าเลือกตั้งหวังรักษาการต่อ
นายจุฤทธิ ลักษณวิศิษฏ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้กำลังใจ กกต. ทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง บริสุทธิ์ยุติธรรม หลังจากที่ถูกพรรคเพื่อไทย ใส่ร้ายว่าถูกครอบงำ ได้รับใบสั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งที่คนทั้งโลกรู้ว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. จะนำไปสู่ปัญหา ก่อวิกฤตใหม่ให้ประเทศ ทำให้กกต.กับประชาธิปัตย์เห็นตรงกันว่าต้องปฏิรูปประเทศ มีการจัดกติกาให้เรียบร้อยก่อนค่อยนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งหลายฝ่ายก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน มีแต่รัฐบาลที่พยายามผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ และมองว่าการกระทำทุกอย่างของ กกต. ผิดไปหมด แม้กระทั่งการนัดพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือในการร่วมกันหาทางออก
ทั้งนี้ตนเห็นว่า มีความจำเป็นที่กกต.จะต้องพบกับนายกรัฐมนตรี เป็นการเฉพาะไม่ใช่เป็นการชุมนุมวงใหญ่ ที่คนส่วนมากเป็นผู้ที่สนับสนุนรัฐบาล เนื่องจากในขณะนี้ มีปัญหาว่าอาจนับคะแนนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อไม่ได้ รวมถึงการลงคะแนนนอกประเทศด้วย
สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น คือ ต้นเหตุวิกฤตการเมืองในประเทศไทยเกิดจากการหาทางเข้าประเทศไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี จนพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายนิรโทษกรรม จนนำไปสู่การชุมนุมการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังมีการรักษาผลประโยชน์ของเครือข่ายวงศ์ตระกูลชินวัตร ให้อยู่ในมือยาวนานที่สุด
รัฐบาลจึงพยายามทำทุกวิถีทางตั้ง ศอ.รส.โจมตีฝ่ายตรงข้าม ไม่สนประชาชนบาดเจ็บล้มตาย บิดเบือนข้อเท็จจริงใส่ร้ายประชาชน ทำให้ความวุ่นวายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับจากนี้ไปจะเป็น 13 วันอันตราย ก่อนการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เพราะรัฐบาลและ พ.ต.ท.ทักษิณ กับสมุน จะพยายามให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นให้ได้ โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะเสียชีวิตหรือไม่ และจะทำทุกวิถีทางทั้งบนดิน และใต้ดิน เพราะรัฐบาลไม่สนใจว่าจะเกิดปัญหาประชุมสภาไม่ได้ ทำให้ไม่มีรัฐบาลใหม่เพราะรัฐบาลนี้จะรักษาการต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ เป็นขบวนการพยายามรักษาและสืบทอดอำนาจ
**ขู่ยื่นผู้ตรวจฯ"สมชัย"ถ่ายรูปคู่ม็อบ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนจะไปยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบจริยธรรมของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 22 ม.ค. กรณีไปถ่ายรูปร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. มีความไม่เหมาะสม เพราะน่าจะเข้าข่ายสมคบคิดในการขัดขวางการเลือกตั้ง
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึง กรณีนายสมชัย ระบุให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขต ที่มีปัญหาการรับสมัคร ว่า กกต.กำลังโยนภาระหน้าที่ให้รัฐบาล ทั้งที่รัฐบาลไม่มีอำนาจ เมื่อยุบสภาแล้ว มีการออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ซึ่งกกต.มีอำนาจหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่เหตุใดไม่ดำเนินการ ซึ่งปัญหาใน 28 เขตเลือกตั้ง กกต. มีอำนาจในการตรวจสอบ และรับรองคุณสมบัติผู้สมัครได้ แต่เหตุใดไม่ทำ หากมีปัญหาเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง 28 เขต กกต.ต้องรับผิดชอบ และขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ ต่อกกต.ในวันที่ 23 ม.ค. มีหลักฐานเป็นภาพ คลิป และเอกสารต่างๆ ที่อดีต ส.ส. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมชุมนุม และขึ้นเวทีของกลุ่มกปปส. ทั้งที่นายสุเทพ ถูกข้อหากบฏ และการชุมนุมดังกล่าว ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ
** "พงศ์เทพ"ยันกกต.ต้องเดินหน้าเลือกตั้ง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชัดเจนในการจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ว่า กกต.ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า ต้องจัดการเลือกตั้งไปตามหน้าที่ต่อไป จะเป็นประเด็นเพียงแต่การเลือกตั้งบางเขต ที่ผู้สมัครไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะมีข่าวว่า จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาสำหรับเขตเลือกตั้งที่มีปัญหา
ทั้งนี้ขอเรียนว่าตั้งแต่มี กกต.ในปี 40 กรณีที่มีการเลือกตั้ง และยังไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตใดแล้วต้องมีการเลือกตั้งอีก ที่ผ่านมา ไม่เคยมีการต้องออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ แต่เป็นเรื่องของกกต.ต้องดำเนินการเอง
ส่วนกรณีที่ผู้ชุมนุมเดินไปปิดคุรุสภา ลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้ง เชื่อว่า กกต.ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง คงดำเนินการได้ เพราะเป็นแค่เรื่องของการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจนถึงขณะนี้รัฐบาลได้รับหนังสือขอเข้าพบนายกฯ จากกกต.หรือยัง นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ยืนยันได้ว่า กกต.ยังไม่มีหนังสือขอเข้าพบนายกฯ หรือเชิญรัฐบาลไปหารือแต่อย่างใด จะมีแค่หนังสือขอให้นายกฯ พิจารณาออกพ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งส่งมาเมื่อวันที่ 12 ม.ค. และกรณีดังกล่าวรัฐบาลได้เชิญพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมาหารือ จนนำไปสู่ข้อสรุป โดยทางเลขาฯ นายกฯ ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยังกกต.แล้ว
เมื่อถามว่า ยังมีโอกาสที่รัฐบาล และกกต. จะหารือกันหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ยังไม่มีหนังสือ ดังนั้น เมื่อกกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง และรัฐบาลมีหน้าที่สนับสนุนการเลือกตั้ง ก็ต้องดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่า หากกกต.และรัฐบาลไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ จะสามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ได้หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกันเลย เมื่อยุบสภาแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้ง จากนั้นเป็นหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้ง ไม่ได้มีอะไรที่ขัดแย้งในเรื่องของอำนาจหน้าของกกต. และรัฐบาล ซึ่งกกต.เองสามารถทำหนังสือขอให้หน่วยงานราชการให้การสนับสนุนในการจัดการเลือกตั้ง และมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถ้าตั้งใจทำเชื่อว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรง
นายพงศ์เทพ ยังกล่าวถึงข้อเสนอในเวทีปฏิรูป ที่ให้มีการทำประชามติถามประชาชนว่า ควรจะปฏิรูปก่อน หรือหลังการเลือกตั้งว่า ในการทำประชามติ ตามรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 90 วันขึ้นไป ในการดำเนินการ ขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เมื่อมีการยุบสภาแล้วจะต้องจัดการเลือกตั้งภายในเวลาไม่เกิน 60 วัน จะเห็นได้ว่าไม่สามารถทำประชามติได้ทัน และการทำประชามติ รัฐธรรมนูญบอกไว้แล้วว่า จะทำในสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชน ที่อยากให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อนนั้น รัฐบาลได้นำไปพิจารณา ทั้งในเรื่องของกฎหมาย จะเห็นว่า ประเทศไทยของเราปกครองโดยนิติรัฐ และรัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่ปฏิบัติตามอำเภอใจ ขณะนี้เรื่องของกรอบเวลาการเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามกฎหมาย รัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนั้น ไม่สามารถทำเป็นอย่างอื่นได้ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะเอาเรื่องข้อกฎหมายมาสู้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามตรงนั้นคนถึงจะมาโต้แย้งหรือกล่าว หารัฐบาลได้ คุณต้องการหรือรัฐบาลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือ ซึ่งไม่ต้องการแน่นอน และเป็นกติกาของรัฐบาลทั่วโลกว่าเป็นรัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสิ้น ในการเสนออะไรที่ให้รัฐบาลปฏิบัตินอกกฎหมายคงไม่มีรัฐบาลไหนที่จะทำตามได้
เมื่อถามว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เมื่อประชาชนมาใช้สิทธิ์ ก็จะส่งสัญญาณให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นอะไร ทุกประเทศเมื่อมีปัญหากันจริงๆ สุดท้ายแล้วคนที่เป็นเจ้าของอำนาจ ควรเป็นคนที่ต้องตัดสินใจ โดยในวันเลือกตั้ง จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ต้องการอะไร ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในขณะนี้
เมื่อถามว่า หากวันที่ 2 ก.พ. ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ หรือเกิดความวุ่นวาย ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า หากจัดการเลือกตั้งอย่างดี ก็มีการเลือกตั้งแน่นอน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ก็ต้องช่วยกัน เมื่อถามว่ารัฐบาลสามารถดูแลชีวิตของผู้ที่ต้องทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งได้ใช่ หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่สนับสนุนการเลือกตั้ง เมื่อมีการขอกำลังมาก็มีทหารอยู่ 4 แสนคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ที่ ดูแลความปลอดภัยต้องทำอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน หากมีคนไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ใครควรเป็นคนที่ถูกประณามมากที่สุด คนที่รักษาความปลอดภัยหรือคนที่ก่อเรื่อง
พรุ่งนี้ (20 ม.ค.) มีข่าวว่านายกรัฐมนตรี จะเชิญพรรคการเมืองรวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ไปประชุมเวทีปฏิรูปต่อเนื่องจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการปฏิรูปประเทศ โดยได้เดินหน้าพูดคุยกับภาคส่วนต่างๆ จัดทำข้อเสนอเรื่องการแก้ปัญหาคอร์รัปชันและปัญหาการจัดการการเลือกตั้งเสร็จแล้ว อยู่ในระหว่างจัดทำข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับหลายองค์กร มีความเห็นพ้องว่า งานปฏิรูปจะสำเร็จได้ผู้ดำเนินการต้องเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และมีความจริงใจ แต่ข้อเท็จจริงปัจจุบันรัฐบาลไม่อยู่ในฐานะดังกล่าว โดยจะเห็นได้ว่ามี 7 องค์กรธุรกิจและพันธมิตร สภาพัฒนาการเมือง หรือแม้แต่ปลัดกระทรวงยุติธรรม ระบุว่า รัฐบาลอยู่ในฐานะของผู้ขัดแย้ง ไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้
พรรคเห็นด้วยกับองค์กรเหล่านี้ว่า งานปฏิรูปเดินไม่ได้ถ้าไม่ปลดล็อกปัญหาการเลือกตั้ง ที่กกต.ยอมรับว่าไม่สามารถจัดให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือมีความสุจริตเที่ยงธรรมได้ และไม่ปลดล็อกเรื่องการรักษาการของนายกรัฐมนตรี ซึ่งการปลดล็อกทั้ง 2 เรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้ปฏิเสธ และยังปล่อยให้มีการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม และผู้อยู่ตรงข้ามรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรีไม่เคยแสดงท่าทีต่อความรุนแรงดังกล่าวเลย
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะทำงานการปฏิรูปกับภาคส่วนอื่นๆ ต่อไป แต่จะไม่เข้าร่วมในการประชุมวันจันทร์ ที่เป็นเพียงความพยายามใช้การประชุม ลดกระแสเพื่อรักษาอำนาจและเดินหน้าเลือกตั้ง 2 ก.พ.
ผมอยากเตือนความจำนายกรัฐมนตรีว่า ครั้งที่แล้วที่นายกรัฐมนตรีเชิญผมไปร่วม สภาปฏิรูป ผมเตือนให้ปลดล็อกกฎหมายนิรโทษกรรม นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธ จึงทำให้บ้านเมืองมาถึงจุดนี้
อย่าเชื่อพี่ชาย และทำผิดซ้ำซากเลยครับ
**ชี้ 5 เงื่อนไข ทำเลือกตั้งโมฆะ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. เป็นการเลือกตั้งที่ก่อให้เกิดปัญหา คือ
1 .ในกรณี 28 เขตในจังหวัดภาคใต้ไม่มีผู้สมัคร มีปัญหาตามมาว่า จะเปิดรับสมัครใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร
2 . การเลือกตั้งในเขตที่ไม่มีผู้สมัครส.ส.เขต โดยเฉพาะใน 28 เขตดังกล่าว จะเลือกตั้งเฉพาะระบบบัญชีรายชื่อได้หรือไม่
3. ไม่สามารถหากรรมการไปประจำหน่วยเลือกตั้งได้นับพันหน่วยทั่วประเทศไทย
4.ไม่สามารถที่จะใช้สิทธิลงคะแนนเสียงตามหน่วยเลือกตั้งได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งล่วงหน้า หรือเลือกตั้งในวันที่ 2ก.พ.
5. แม้ว่าจะเลือกตั้งได้ แต่จะเปิดประชุมสภาไม่ได้เพราะมีส.ส.ไม่ครบ 95 % ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ดังนั้นปัญหาทั้งหมดไม่ใช่เรื่องกระบวนการเลือกตั้งที่จะทำให้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ประชาชนคัดค้านการเลือกตั้งก่อนการปฏิรูป ทำให้ไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้ง หลายพื้นที่การต่อต้านนำไปสู่การปะทะ ก่อให้เกิดความรุนแรงจนบาดเจ็บ และมีผู้เสียชีวิต จึงไม่มีหลักประกันว่าการเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง จะไม่มีการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ หรือกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลจนเกิดการบาดเจ็บล้มตายอีก
ทั้งนี้ กกต.ได้พยายามเสนอให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้งต่อไป และหาทางให้มีการพบปะพูดคุยของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย และทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
"นับตั้งแต่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ มีการกระทำผิดกฎหมายในหลายกรณี และจะมีปมปัญหาที่เกิดในอนาคตอีกหลายเงื่อนไขที่จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จึงขอเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ หารือกับ กกต. เพื่อแสวงหาข้อยุติร่วมกันให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของประเทศ และบ้านเมือง เพราะหากไม่ทำการเลือกตั้งจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น " นายองอาจ กล่าว
**รัฐบาลเดินหน้าเลือกตั้งหวังรักษาการต่อ
นายจุฤทธิ ลักษณวิศิษฏ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้กำลังใจ กกต. ทำหน้าที่อย่างเที่ยงตรง บริสุทธิ์ยุติธรรม หลังจากที่ถูกพรรคเพื่อไทย ใส่ร้ายว่าถูกครอบงำ ได้รับใบสั่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งที่คนทั้งโลกรู้ว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. จะนำไปสู่ปัญหา ก่อวิกฤตใหม่ให้ประเทศ ทำให้กกต.กับประชาธิปัตย์เห็นตรงกันว่าต้องปฏิรูปประเทศ มีการจัดกติกาให้เรียบร้อยก่อนค่อยนำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งหลายฝ่ายก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน มีแต่รัฐบาลที่พยายามผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ และมองว่าการกระทำทุกอย่างของ กกต. ผิดไปหมด แม้กระทั่งการนัดพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือในการร่วมกันหาทางออก
ทั้งนี้ตนเห็นว่า มีความจำเป็นที่กกต.จะต้องพบกับนายกรัฐมนตรี เป็นการเฉพาะไม่ใช่เป็นการชุมนุมวงใหญ่ ที่คนส่วนมากเป็นผู้ที่สนับสนุนรัฐบาล เนื่องจากในขณะนี้ มีปัญหาว่าอาจนับคะแนนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อไม่ได้ รวมถึงการลงคะแนนนอกประเทศด้วย
สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น คือ ต้นเหตุวิกฤตการเมืองในประเทศไทยเกิดจากการหาทางเข้าประเทศไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดี จนพยายามแก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายนิรโทษกรรม จนนำไปสู่การชุมนุมการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังมีการรักษาผลประโยชน์ของเครือข่ายวงศ์ตระกูลชินวัตร ให้อยู่ในมือยาวนานที่สุด
รัฐบาลจึงพยายามทำทุกวิถีทางตั้ง ศอ.รส.โจมตีฝ่ายตรงข้าม ไม่สนประชาชนบาดเจ็บล้มตาย บิดเบือนข้อเท็จจริงใส่ร้ายประชาชน ทำให้ความวุ่นวายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับจากนี้ไปจะเป็น 13 วันอันตราย ก่อนการเลือกตั้ง 2 ก.พ. เพราะรัฐบาลและ พ.ต.ท.ทักษิณ กับสมุน จะพยายามให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นให้ได้ โดยไม่สนใจว่าประชาชนจะเสียชีวิตหรือไม่ และจะทำทุกวิถีทางทั้งบนดิน และใต้ดิน เพราะรัฐบาลไม่สนใจว่าจะเกิดปัญหาประชุมสภาไม่ได้ ทำให้ไม่มีรัฐบาลใหม่เพราะรัฐบาลนี้จะรักษาการต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ เป็นขบวนการพยายามรักษาและสืบทอดอำนาจ
**ขู่ยื่นผู้ตรวจฯ"สมชัย"ถ่ายรูปคู่ม็อบ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนจะไปยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบจริยธรรมของ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 22 ม.ค. กรณีไปถ่ายรูปร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. มีความไม่เหมาะสม เพราะน่าจะเข้าข่ายสมคบคิดในการขัดขวางการเลือกตั้ง
นายพร้อมพงศ์ ยังกล่าวถึง กรณีนายสมชัย ระบุให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขต ที่มีปัญหาการรับสมัคร ว่า กกต.กำลังโยนภาระหน้าที่ให้รัฐบาล ทั้งที่รัฐบาลไม่มีอำนาจ เมื่อยุบสภาแล้ว มีการออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ซึ่งกกต.มีอำนาจหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่เหตุใดไม่ดำเนินการ ซึ่งปัญหาใน 28 เขตเลือกตั้ง กกต. มีอำนาจในการตรวจสอบ และรับรองคุณสมบัติผู้สมัครได้ แต่เหตุใดไม่ทำ หากมีปัญหาเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง 28 เขต กกต.ต้องรับผิดชอบ และขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ ต่อกกต.ในวันที่ 23 ม.ค. มีหลักฐานเป็นภาพ คลิป และเอกสารต่างๆ ที่อดีต ส.ส. สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ไปร่วมชุมนุม และขึ้นเวทีของกลุ่มกปปส. ทั้งที่นายสุเทพ ถูกข้อหากบฏ และการชุมนุมดังกล่าว ไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบ
** "พงศ์เทพ"ยันกกต.ต้องเดินหน้าเลือกตั้ง
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความชัดเจนในการจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ว่า กกต.ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า ต้องจัดการเลือกตั้งไปตามหน้าที่ต่อไป จะเป็นประเด็นเพียงแต่การเลือกตั้งบางเขต ที่ผู้สมัครไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะมีข่าวว่า จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาสำหรับเขตเลือกตั้งที่มีปัญหา
ทั้งนี้ขอเรียนว่าตั้งแต่มี กกต.ในปี 40 กรณีที่มีการเลือกตั้ง และยังไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส.ในเขตใดแล้วต้องมีการเลือกตั้งอีก ที่ผ่านมา ไม่เคยมีการต้องออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ แต่เป็นเรื่องของกกต.ต้องดำเนินการเอง
ส่วนกรณีที่ผู้ชุมนุมเดินไปปิดคุรุสภา ลาดพร้าว ซึ่งเป็นสถานที่พิมพ์บัตรเลือกตั้ง เชื่อว่า กกต.ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง คงดำเนินการได้ เพราะเป็นแค่เรื่องของการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่าจนถึงขณะนี้รัฐบาลได้รับหนังสือขอเข้าพบนายกฯ จากกกต.หรือยัง นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ยืนยันได้ว่า กกต.ยังไม่มีหนังสือขอเข้าพบนายกฯ หรือเชิญรัฐบาลไปหารือแต่อย่างใด จะมีแค่หนังสือขอให้นายกฯ พิจารณาออกพ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งส่งมาเมื่อวันที่ 12 ม.ค. และกรณีดังกล่าวรัฐบาลได้เชิญพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งมาหารือ จนนำไปสู่ข้อสรุป โดยทางเลขาฯ นายกฯ ได้ทำหนังสือตอบกลับไปยังกกต.แล้ว
เมื่อถามว่า ยังมีโอกาสที่รัฐบาล และกกต. จะหารือกันหรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า ยังไม่มีหนังสือ ดังนั้น เมื่อกกต.มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง และรัฐบาลมีหน้าที่สนับสนุนการเลือกตั้ง ก็ต้องดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่า หากกกต.และรัฐบาลไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ จะสามารถยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ได้หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกันเลย เมื่อยุบสภาแล้ว รัฐบาลมีหน้าที่ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้ง จากนั้นเป็นหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้ง ไม่ได้มีอะไรที่ขัดแย้งในเรื่องของอำนาจหน้าของกกต. และรัฐบาล ซึ่งกกต.เองสามารถทำหนังสือขอให้หน่วยงานราชการให้การสนับสนุนในการจัดการเลือกตั้ง และมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถ้าตั้งใจทำเชื่อว่าไม่เหนือบ่ากว่าแรง
นายพงศ์เทพ ยังกล่าวถึงข้อเสนอในเวทีปฏิรูป ที่ให้มีการทำประชามติถามประชาชนว่า ควรจะปฏิรูปก่อน หรือหลังการเลือกตั้งว่า ในการทำประชามติ ตามรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 90 วันขึ้นไป ในการดำเนินการ ขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เมื่อมีการยุบสภาแล้วจะต้องจัดการเลือกตั้งภายในเวลาไม่เกิน 60 วัน จะเห็นได้ว่าไม่สามารถทำประชามติได้ทัน และการทำประชามติ รัฐธรรมนูญบอกไว้แล้วว่า จะทำในสิ่งที่ขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้
ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชน ที่อยากให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อนนั้น รัฐบาลได้นำไปพิจารณา ทั้งในเรื่องของกฎหมาย จะเห็นว่า ประเทศไทยของเราปกครองโดยนิติรัฐ และรัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ใช่ปฏิบัติตามอำเภอใจ ขณะนี้เรื่องของกรอบเวลาการเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามกฎหมาย รัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนั้น ไม่สามารถทำเป็นอย่างอื่นได้ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะเอาเรื่องข้อกฎหมายมาสู้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามตรงนั้นคนถึงจะมาโต้แย้งหรือกล่าว หารัฐบาลได้ คุณต้องการหรือรัฐบาลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือ ซึ่งไม่ต้องการแน่นอน และเป็นกติกาของรัฐบาลทั่วโลกว่าเป็นรัฐบาลต้องปฏิบัติตามกฎหมายทั้งสิ้น ในการเสนออะไรที่ให้รัฐบาลปฏิบัตินอกกฎหมายคงไม่มีรัฐบาลไหนที่จะทำตามได้
เมื่อถามว่า การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า เมื่อประชาชนมาใช้สิทธิ์ ก็จะส่งสัญญาณให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยากเห็นอะไร ทุกประเทศเมื่อมีปัญหากันจริงๆ สุดท้ายแล้วคนที่เป็นเจ้าของอำนาจ ควรเป็นคนที่ต้องตัดสินใจ โดยในวันเลือกตั้ง จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ต้องการอะไร ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ในขณะนี้
เมื่อถามว่า หากวันที่ 2 ก.พ. ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ หรือเกิดความวุ่นวาย ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า หากจัดการเลือกตั้งอย่างดี ก็มีการเลือกตั้งแน่นอน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ก็ต้องช่วยกัน เมื่อถามว่ารัฐบาลสามารถดูแลชีวิตของผู้ที่ต้องทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งได้ใช่ หรือไม่ นายพงศ์เทพ กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่สนับสนุนการเลือกตั้ง เมื่อมีการขอกำลังมาก็มีทหารอยู่ 4 แสนคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ที่ ดูแลความปลอดภัยต้องทำอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน หากมีคนไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ใครควรเป็นคนที่ถูกประณามมากที่สุด คนที่รักษาความปลอดภัยหรือคนที่ก่อเรื่อง