ASTVผู้จัดการรายวัน - บสย.หวั่นภาวะเศรษฐกิจสถานการณ์การเมืองฉุดยอดค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีปีนี้ต่ำกว่าแสนล้าน เร่งหารือแบงก์พาณิชย์แนะช่วยเหลือยีดหนี้ 3-6 เดือนให้ลูกค้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลที่เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว
นายนายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กำลังหารือกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นพันธมิตรในโครงการการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่าสถานการณ์การเมืองและภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เริ่มมีสัญญาณของการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าหรือไม่ รวมถึงการขยายตัวของสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้เพื่อนำมาปรับแผนการดำเนินงานของบสย.ใหม่ โดยยอมรับว่าเป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อปีนี้วงเงิน 1 แสนล้านบาทนั้นอาจได้รับผลกระทบไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้น่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งหากธนาคารยังคงเป้าสินเชื่อไว้ขยายตัว 10-15% บสย.ก็ยังยืนเป้าหมายเดิม
ทั้งนี้ เนื่องจากเป้าหมายค้ำประกันสินเชื่อปีนี้ 1 แสนล้านบาทนั้นได้ประเมินจากการการขยายตัวทางเรษฐกิจปีนี้ที่ระดับ 4.5% ซึ่งขณะนี้ก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่านั้น และในช่วงนั้นก็ยังไม่มีปัจจัยการชุมนุมทางการเมืองเข้ามากระทบ รวมทั้ง 2 โครงการใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้ก็ต้องชะลอออกไปก่อนหลังจากรัฐบาลยุบสภา ทั้งโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการโอทอปและวิสาหกิจชุมชนและโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่ง 2 โครงการนี้ตั้งวงเงินไว้ 10,000 ล้านบาท รวมทั้งยังมีโครงการ PLI ระยะที่ 2 ที่ดำเนินงานร่วมกับเอสเอ็มอีแบงก์อีก 10,000 ล้านบาทที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่นกัน
“การค้ำประกันสินเชื่อปีนี้หายไปแล้ว 2 ส่วน 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้รับการผลักดันต่อเมื่อใด ทำให้เป้าหมายแสนล้านบาทค่อนข้างเหนื่อย โดยเครึ่งเดือนแรกนี้ก็แทบจะไม่มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาหรือมีน้อยมาก ดังนั้นไตรมาสแรกที่ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อไว้19,750 บาท จำนวนเอสเอ็มอี 6,498 ราย คงได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน”นายวิเชษฐ กล่าวและว่า นายแบงก์หลายรายเองก็เป็นห่วงว่าปัญหาเอ็นพีเอลจะมีมากขึ้น จึงอาจมีการลดเป้าหมายการขยายสินเชื่อลง
อย่างไรก็ตามลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผกระทบในเบื้องต้นจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกรุงเทพฯละปริมณฑล ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 45% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่ต่างจังหวัดที่มีสัดส่วน 55%น่าจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป โดยไตรมาสแรกปีนี้ต่อเนื่องไปน่าจะกระทบในส่วนของเอสเอ็มอีภาคกาคการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้พบว่านักท่องเที่ยวหายไปแล้ว 20% และมีแนวโน้มจะลดลงอีก รวมถึงเอสเอ็มอีภาคก่อสร้าง ส่วนเอสเอ็มอีที่ไปได้ดีน่าจะเป็นกลุ่มส่งออกที่ได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทที่อ่อนลง
นายวิเชษฐ กล่าวว่า หากลูกค้าแบงก์เริ่มได้รับความเดือดร้อน ขายสินค้าไม่ได้ มีรายจ่ายมากกว่ารายได้และมีสัญญาณของการชำระหนี้เชื่อว่าแบงก์พาณิชย์น่าจะให้การช่วยเหลือทันทีทั้งการผ่อนผันและการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป โดยสถานการณ์เช่นนี้มองว่าควรยืดหนี้ออกไป 3-6 เดือนเพื่อให้เอสเอ็มอีอยู่รอดได้ ขณะที่บสย.เองก็จะผ่อนผันการยืดระยะเวลาการคิดค่าค้ำประกันสินเชื่อออกไปให้สอดคล้องกัน.
นายนายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กำลังหารือกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นพันธมิตรในโครงการการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีว่าสถานการณ์การเมืองและภาวะเศรษฐกิจขณะนี้เริ่มมีสัญญาณของการผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าหรือไม่ รวมถึงการขยายตัวของสินเชื่อเอสเอ็มอีในปีนี้เพื่อนำมาปรับแผนการดำเนินงานของบสย.ใหม่ โดยยอมรับว่าเป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อปีนี้วงเงิน 1 แสนล้านบาทนั้นอาจได้รับผลกระทบไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้น่าจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งหากธนาคารยังคงเป้าสินเชื่อไว้ขยายตัว 10-15% บสย.ก็ยังยืนเป้าหมายเดิม
ทั้งนี้ เนื่องจากเป้าหมายค้ำประกันสินเชื่อปีนี้ 1 แสนล้านบาทนั้นได้ประเมินจากการการขยายตัวทางเรษฐกิจปีนี้ที่ระดับ 4.5% ซึ่งขณะนี้ก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่านั้น และในช่วงนั้นก็ยังไม่มีปัจจัยการชุมนุมทางการเมืองเข้ามากระทบ รวมทั้ง 2 โครงการใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มได้ในปีนี้ก็ต้องชะลอออกไปก่อนหลังจากรัฐบาลยุบสภา ทั้งโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการโอทอปและวิสาหกิจชุมชนและโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่ง 2 โครงการนี้ตั้งวงเงินไว้ 10,000 ล้านบาท รวมทั้งยังมีโครงการ PLI ระยะที่ 2 ที่ดำเนินงานร่วมกับเอสเอ็มอีแบงก์อีก 10,000 ล้านบาทที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่นกัน
“การค้ำประกันสินเชื่อปีนี้หายไปแล้ว 2 ส่วน 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะได้รับการผลักดันต่อเมื่อใด ทำให้เป้าหมายแสนล้านบาทค่อนข้างเหนื่อย โดยเครึ่งเดือนแรกนี้ก็แทบจะไม่มีลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาหรือมีน้อยมาก ดังนั้นไตรมาสแรกที่ตั้งเป้าค้ำประกันสินเชื่อไว้19,750 บาท จำนวนเอสเอ็มอี 6,498 ราย คงได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน”นายวิเชษฐ กล่าวและว่า นายแบงก์หลายรายเองก็เป็นห่วงว่าปัญหาเอ็นพีเอลจะมีมากขึ้น จึงอาจมีการลดเป้าหมายการขยายสินเชื่อลง
อย่างไรก็ตามลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผกระทบในเบื้องต้นจะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกรุงเทพฯละปริมณฑล ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 45% ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่ต่างจังหวัดที่มีสัดส่วน 55%น่าจะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป โดยไตรมาสแรกปีนี้ต่อเนื่องไปน่าจะกระทบในส่วนของเอสเอ็มอีภาคกาคการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้พบว่านักท่องเที่ยวหายไปแล้ว 20% และมีแนวโน้มจะลดลงอีก รวมถึงเอสเอ็มอีภาคก่อสร้าง ส่วนเอสเอ็มอีที่ไปได้ดีน่าจะเป็นกลุ่มส่งออกที่ได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทที่อ่อนลง
นายวิเชษฐ กล่าวว่า หากลูกค้าแบงก์เริ่มได้รับความเดือดร้อน ขายสินค้าไม่ได้ มีรายจ่ายมากกว่ารายได้และมีสัญญาณของการชำระหนี้เชื่อว่าแบงก์พาณิชย์น่าจะให้การช่วยเหลือทันทีทั้งการผ่อนผันและการยืดเวลาการชำระหนี้ออกไป โดยสถานการณ์เช่นนี้มองว่าควรยืดหนี้ออกไป 3-6 เดือนเพื่อให้เอสเอ็มอีอยู่รอดได้ ขณะที่บสย.เองก็จะผ่อนผันการยืดระยะเวลาการคิดค่าค้ำประกันสินเชื่อออกไปให้สอดคล้องกัน.