ASTVผู้จัดการรายวัน - บสย.งัดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เล็งลดค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ขาดสภาพคล่อง และฟรีค่าธรรมเนียม 3 ปีให้ผู้ได้รับผลกระทบหนัก พร้อม ชงครม.ขอเพิ่มวงเงินค้ำประกันและชดเชยดอกเบี้ย
นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.อยู่ระหว่างเตรียมมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 27 จังหวัดอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ทันทีหลังน้ำลด โดยเบื้องต้นจะเป็นการขยายระยะเวลาค่าธรรมเนียมรายปีที่จะครบกำหนดออกไป 6 เดือน สำหรับรายที่มีปัญหาสภาพคล่อง ส่วนมาตรการอื่นๆ จะเป็นจะใช้แบบเดียวกับที่เคยประกาศในช่วงปี 2554 ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมใน 3 ปีแรก ซึ่งจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะต้องให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยและตั้งวงเงินรวม เพื่อค้ำประกันสินเชื่อผู้ประสบภัยด้วย
“เราคงต้องรอหลังน้ำลดว่า มีผู้ประสบภัยที่เป็นลูกหนี้ที่บสย.ค้ำประกันเท่าไหร่ อย่างในปี 2554 ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่นั้น มูลค่าที่บสย.ค้ำประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ประมาณ 2 พันราย แต่เป็นความเสียหายทางตรงเพียง 5% และเสียหายทางอ้อมอีก 15% กรณีที่มีการทำธุรกิจกับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้ตั้งวงเงินเพื่อค้ำประกันทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท แต่มีการใช้จริงเพียง 2.8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นปีนี้ก็ต้องประเมินความเสียหายและต้องดูมาตรการที่เหมาะสมอีกครั้ง” นายวิเชฐกล่าว
สำหรับความคืบหน้ามาตรการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดย่อย ประเภทพ่อค้า แม่ค้าว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้นำเสนอไปที่สำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียบร้อยแล้ว คาดว่า น่าจะเสนอในที่ประชุมครม.ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ รวมถึงการปรับเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในโครงการ “กองทุนตั้งตัวได้” วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท และการค้ำประกันผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ด้วย ซึ่งหากครม.อนุมัติและสามารถดำเนินการได้ เชื่อว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อีกหลายหมื่นราย
นายวิเชฐกล่าวว่า เงื่อนไขการค้ำประกันผู้ประกอบการรากหญ้า ประเภทพ่อค้าแม่ค้าบสย.จะเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อไม่เกินรายละ 2 แสนบาทคิดค่าธรรมเนียม 1-3% อายุค้ำประกันนาน 5-10 ปี โดยตั้งวงเงินไว้ทั้งสิ้น 5 พันล้านบาทและคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ประมาณ 5 หมื่นราย ส่วนการค้ำประกันโอทอป บสย.จะค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย จากวงเงินรวมของโครงการ 1 หมื่นล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 1.5% อายุค้ำประกัน 7 ปี ซึ่งจากการสำรวจมีประมาณ 3-4 หมื่นรายและวิสาหกิจชุมชน ที่มีประมาณ 7-8 หมื่นราย และการปรับเกณฑ์การค้ำประกันลูกหนี้ในกองทุนตั้งตัวได้นั้น จะบสย.จะรับภาระเสี่ยงลูกหนี้จากเดิม 80% เป็น 100% ของสินเชื่อต่อราย เพื่อให้โครงการมีความคืบหน้ามากขึ้น หลังจากที่ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถปล่อยกู้ได้เพียง 200 ล้านบาท จากวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพราะเงื่อนไขการกู้ไม่สอดคล้องกับธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่สามารถรับความเสี่ยงได้.
นายวิเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.อยู่ระหว่างเตรียมมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ 27 จังหวัดอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ทันทีหลังน้ำลด โดยเบื้องต้นจะเป็นการขยายระยะเวลาค่าธรรมเนียมรายปีที่จะครบกำหนดออกไป 6 เดือน สำหรับรายที่มีปัญหาสภาพคล่อง ส่วนมาตรการอื่นๆ จะเป็นจะใช้แบบเดียวกับที่เคยประกาศในช่วงปี 2554 ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมใน 3 ปีแรก ซึ่งจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะต้องให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยและตั้งวงเงินรวม เพื่อค้ำประกันสินเชื่อผู้ประสบภัยด้วย
“เราคงต้องรอหลังน้ำลดว่า มีผู้ประสบภัยที่เป็นลูกหนี้ที่บสย.ค้ำประกันเท่าไหร่ อย่างในปี 2554 ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่นั้น มูลค่าที่บสย.ค้ำประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ประมาณ 2 พันราย แต่เป็นความเสียหายทางตรงเพียง 5% และเสียหายทางอ้อมอีก 15% กรณีที่มีการทำธุรกิจกับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้ตั้งวงเงินเพื่อค้ำประกันทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท แต่มีการใช้จริงเพียง 2.8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นปีนี้ก็ต้องประเมินความเสียหายและต้องดูมาตรการที่เหมาะสมอีกครั้ง” นายวิเชฐกล่าว
สำหรับความคืบหน้ามาตรการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดย่อย ประเภทพ่อค้า แม่ค้าว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้นำเสนอไปที่สำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียบร้อยแล้ว คาดว่า น่าจะเสนอในที่ประชุมครม.ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ รวมถึงการปรับเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในโครงการ “กองทุนตั้งตัวได้” วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท และการค้ำประกันผู้ประกอบการสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ด้วย ซึ่งหากครม.อนุมัติและสามารถดำเนินการได้ เชื่อว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อีกหลายหมื่นราย
นายวิเชฐกล่าวว่า เงื่อนไขการค้ำประกันผู้ประกอบการรากหญ้า ประเภทพ่อค้าแม่ค้าบสย.จะเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อไม่เกินรายละ 2 แสนบาทคิดค่าธรรมเนียม 1-3% อายุค้ำประกันนาน 5-10 ปี โดยตั้งวงเงินไว้ทั้งสิ้น 5 พันล้านบาทและคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ประมาณ 5 หมื่นราย ส่วนการค้ำประกันโอทอป บสย.จะค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย จากวงเงินรวมของโครงการ 1 หมื่นล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 1.5% อายุค้ำประกัน 7 ปี ซึ่งจากการสำรวจมีประมาณ 3-4 หมื่นรายและวิสาหกิจชุมชน ที่มีประมาณ 7-8 หมื่นราย และการปรับเกณฑ์การค้ำประกันลูกหนี้ในกองทุนตั้งตัวได้นั้น จะบสย.จะรับภาระเสี่ยงลูกหนี้จากเดิม 80% เป็น 100% ของสินเชื่อต่อราย เพื่อให้โครงการมีความคืบหน้ามากขึ้น หลังจากที่ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถปล่อยกู้ได้เพียง 200 ล้านบาท จากวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพราะเงื่อนไขการกู้ไม่สอดคล้องกับธนาคารพาณิชย์ที่ยังไม่สามารถรับความเสี่ยงได้.