"โต้ง" อ้างชุมนุมทางการเมืองยืดเยื้อส่งผลกระทบฉุดจีดีพีปีนี้เหลือ 3.1% หวั่นหากวันที่ 2 ก.พ.ไม่สามารถเลือกตั้งได้ตามกำหนดจีดีพีอาจต่ำกว่า 2%
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจได้หารือผลกระทบจากการปิดหลายหน่วยงานภาครัฐจากกลุ่ม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ยอมรับกระทบความเชื่อมั่นการบริโภคในประเทศและปริมาณการท่องเที่ยวเริ่มส่งผลกระจายไปหลายแห่งนอกจากกรุงเทพฯ รวมทั้งกระทบต่อการขยายตัวจีดีพีปนี้เหลือ 3.1% หากการชุมนุมมีปัญหายืดเยื้อ ขณะที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจของภาคเอกชนยอมรับว่าจีดีพีปีนี้อาจโตน้อยกว่า 3%
ขณะที่งบประมาณรายจ่ายด้านการลงทุนของปี 2557 กว่า 4 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนกว่า 90% ยังสามารถจัดซื้อจัดจ้างและเดินไปตามขั้นตอนได้ แต่มีสัดส่วนถึง 10% ที่ต้องนำเสนอ ครม.ชุดใหม่ เพื่อพิจารณาอนุมัติอาจได้รับผลกระทบ เพื่อชะลอการพิจารณาของ ครม.ชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หมดอายุลงจะไม่สามารถสามารถพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาทได้ เพราะขณะนี้ภาคเอกชนยื่นเสนอขอส่งเสริมการลงทุนมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท เพื่อรออนุมัติจากบอร์ดบีโอไอ จึงได้ทำหนังสือหารือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หากทางออกพิจารณาแผนส่งเสริมการลงทุน
ขณะที่นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานที่ประชุมว่า เมื่อแผนโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทไม่เกิดขึ้นปีนี้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและงบประมาณด้านการลงทุนปี 2557 สัดส่วน 10% หรือเป็นเงิน 4 หมื่นล้านบาท ไม่สามารถเดินหน้าได้จะทำให้จีดีพีปี 2557 ปรับลดลงจาก 3.5-4% เหลือ 3.1% จากปัญหาการยืดเยื้อทางการเมือง และหากการชุมนุมยืดเยื้อจนไม่สามารถมีการเลือกตั้งจะกระทบต่อความเชื่อมั่น การซื้อขายสินค้า การบริโภค กำลังซื้อ และการชำระหนี้ ภาคธุรกิจที่แท้จริงอาจทำให้จีดีพีขยายตัวเพียง 2% เท่านั้น.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจได้หารือผลกระทบจากการปิดหลายหน่วยงานภาครัฐจากกลุ่ม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ยอมรับกระทบความเชื่อมั่นการบริโภคในประเทศและปริมาณการท่องเที่ยวเริ่มส่งผลกระจายไปหลายแห่งนอกจากกรุงเทพฯ รวมทั้งกระทบต่อการขยายตัวจีดีพีปนี้เหลือ 3.1% หากการชุมนุมมีปัญหายืดเยื้อ ขณะที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจของภาคเอกชนยอมรับว่าจีดีพีปีนี้อาจโตน้อยกว่า 3%
ขณะที่งบประมาณรายจ่ายด้านการลงทุนของปี 2557 กว่า 4 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนกว่า 90% ยังสามารถจัดซื้อจัดจ้างและเดินไปตามขั้นตอนได้ แต่มีสัดส่วนถึง 10% ที่ต้องนำเสนอ ครม.ชุดใหม่ เพื่อพิจารณาอนุมัติอาจได้รับผลกระทบ เพื่อชะลอการพิจารณาของ ครม.ชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) หมดอายุลงจะไม่สามารถสามารถพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการมูลค่ามากกว่า 200 ล้านบาทได้ เพราะขณะนี้ภาคเอกชนยื่นเสนอขอส่งเสริมการลงทุนมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท เพื่อรออนุมัติจากบอร์ดบีโอไอ จึงได้ทำหนังสือหารือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หากทางออกพิจารณาแผนส่งเสริมการลงทุน
ขณะที่นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานที่ประชุมว่า เมื่อแผนโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทไม่เกิดขึ้นปีนี้ เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและงบประมาณด้านการลงทุนปี 2557 สัดส่วน 10% หรือเป็นเงิน 4 หมื่นล้านบาท ไม่สามารถเดินหน้าได้จะทำให้จีดีพีปี 2557 ปรับลดลงจาก 3.5-4% เหลือ 3.1% จากปัญหาการยืดเยื้อทางการเมือง และหากการชุมนุมยืดเยื้อจนไม่สามารถมีการเลือกตั้งจะกระทบต่อความเชื่อมั่น การซื้อขายสินค้า การบริโภค กำลังซื้อ และการชำระหนี้ ภาคธุรกิจที่แท้จริงอาจทำให้จีดีพีขยายตัวเพียง 2% เท่านั้น.