ม.หอการค้าไทย เผยสถานการณ์คอร์รัปชันไทยรุนแรงมากขึ้น เผยล่าสุดเอกชนต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ 26% ถึงมากกว่า 35% ของรายจ่าย หรือ 2.35-3.29 แสนล้านบาท คิดเป็น 9.82-13.75% ของงบรายจ่ายปี 56 ที่ 2.4 ล้านล้านบาท หรือ 1.88-2.63% ของจีดีพี ยันโครงการรัฐที่เสี่ยงทุจริตมากสุด มีทั้งโครงการ 2 ล้านล้าน บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน จำนำข้าว ส่วนปี 57 เชื่อคอร์รัปชันมากขึ้น
หากรัฐบาลใหม่ไม่เร่งแก้ปัญหา
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) ที่สำรวจจากประชาชน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และข้าราชการ ภาครัฐ ทั่วประเทศ 2,400 ตัวอย่างเมื่อเดือนธ.ค.2556 ที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยโดยรวมอยู่ที่ 39 คะแนน จากเต็ม 100 คะแนน (0-40 คะแนน รุนแรงมากที่สุดถึงรุนแรง และ 41-100 คะแนน รุนแรงปานกลางถึงไม่มีคอร์รัปชันเลย) ลดลงจาก 41 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนมิ.ย.2556 ส่วนดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 38 คะแนน ลดลงจาก 40 คะแนน และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชันไทยอยู่ที่ 40 คะแนน ลดลงจาก 42 คะแนน
ทั้งนี้ พบว่า 42% ของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ ต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้แก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต เพื่อให้ได้สัญญา ตั้งแต่ 26% ถึงมากกว่า 35% ของรายรับ รายรับ ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนที่ 51.8% และอีก 58% ต้องจ่ายเพิ่ม 1-25%
โดยเมื่อประเมินวงเงินคอร์รัปชันจากค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ในปี 2556 ที่มีมูลค่ารวม 942,608 ล้านบาทแล้ว หากมีคอร์รัปชัน 25% เท่ากับสูญเสียเม็ดเงินไปกับการคอร์รัปชันถึง 235,652 ล้านบาท คิดเป็น 9.82% ของงบประมาณรายจ่ายปี 2556 ที่ 2.4 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 1.88% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2556 ที่มีมูลค่า 12.54 ล้านล้านบาท
หากมีการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 30% เท่ากับมีเม็ดเงินที่สูญเสียไปการคอร์รัปชันถึง 282,782.4 ล้านบาท คิดเป็น 11.78% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็น 2.25% ของจีดีพี และหากมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเพิ่มเป็น 35% จะสูญเสียเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 329,912.8 ล้านบาท คิดเป็น 13.75% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็น 2.63% ของจีดีพี จากปี 2555 ที่หากมีการคอรัปชัน 25-35% ความเสียหายจะอยู่ที่ 210,035.8-294,050.1 ล้านบาท คิดเป็น 8.83-12.36% ของงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ที่ 2.38 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 1.81-2.54% ของจีดีพี ที่มีมูลค่า 11.57 ล้านล้านบาท
ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล หากสามารถเดินหน้าได้ ทั้งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ คาดจะมีการคอร์รัปชันมากถึง 10-20% ของมูลค่า หรือ 200,000-400,000 ล้านบาท และยังมีโอกาสที่จะเกิดคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ อีก เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการอื่นๆ ภายในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
”สถานการณ์คอร์รัปชันไทยยังมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะการสำรวจเมื่อเดือนธ.ค.2556 เป็นช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ซึ่งสังคมต้องการการปฏิรูป และแก้ปัญหาคอร์รัปชัน จึงทำให้เห็นว่า การคอร์รัปชันยังรุนแรง ที่สำคัญ ผู้ประกอบการยังต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเพื่อให้ได้สัญญามากขึ้นอีก ซึ่งจากการสำรวจของศูนย์ฯ ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา
พบว่าเม็ดเงินที่เสียหายจากคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นจาก 194,395.1-272,153.1 ล้านบาทในปี 2554 เป็น 210,035-294,050 ล้านบาทในปี 2555 และเป็น 235,652-329,912 ล้านบาทในปี 2556 หรือเสียหายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท ถ้าดึงเงินจากคอร์รัปชันเข้าระบบได้ จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประมาณ 1%”นายธนวรรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในปี 2557 คาดว่า สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ถ้าปัจจัยต่างๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยเฉพาะรัฐบาลที่ไม่สามารถแก้ปัญหา และทำให้สังคม และพรรคการเมือง ปฏิเสธการคอร์รัปชัน จึงเป็นที่มาทำให้ประชาชนกดดันให้มีการปฏิรูป และแก้ปัญหา แต่หากรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง ยังไม่เร่งแก้ไข ประชาชนก็จะกดดันมากขึ้น ถ้ารัฐบาลใหม่เดินหน้าแก้ปัญหาจริงจัง เชื่อว่า ปัญหาจะแก้ไขได้โดยเร็ว
หากรัฐบาลใหม่ไม่เร่งแก้ปัญหา
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทย (CSI) ที่สำรวจจากประชาชน ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และข้าราชการ ภาครัฐ ทั่วประเทศ 2,400 ตัวอย่างเมื่อเดือนธ.ค.2556 ที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยโดยรวมอยู่ที่ 39 คะแนน จากเต็ม 100 คะแนน (0-40 คะแนน รุนแรงมากที่สุดถึงรุนแรง และ 41-100 คะแนน รุนแรงปานกลางถึงไม่มีคอร์รัปชันเลย) ลดลงจาก 41 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนมิ.ย.2556 ส่วนดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 38 คะแนน ลดลงจาก 40 คะแนน และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชันไทยอยู่ที่ 40 คะแนน ลดลงจาก 42 คะแนน
ทั้งนี้ พบว่า 42% ของผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ ต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้แก่ข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต เพื่อให้ได้สัญญา ตั้งแต่ 26% ถึงมากกว่า 35% ของรายรับ รายรับ ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนที่ 51.8% และอีก 58% ต้องจ่ายเพิ่ม 1-25%
โดยเมื่อประเมินวงเงินคอร์รัปชันจากค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ในปี 2556 ที่มีมูลค่ารวม 942,608 ล้านบาทแล้ว หากมีคอร์รัปชัน 25% เท่ากับสูญเสียเม็ดเงินไปกับการคอร์รัปชันถึง 235,652 ล้านบาท คิดเป็น 9.82% ของงบประมาณรายจ่ายปี 2556 ที่ 2.4 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 1.88% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 2556 ที่มีมูลค่า 12.54 ล้านล้านบาท
หากมีการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเป็น 30% เท่ากับมีเม็ดเงินที่สูญเสียไปการคอร์รัปชันถึง 282,782.4 ล้านบาท คิดเป็น 11.78% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็น 2.25% ของจีดีพี และหากมีการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเพิ่มเป็น 35% จะสูญเสียเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเป็น 329,912.8 ล้านบาท คิดเป็น 13.75% ของงบประมาณรายจ่าย และคิดเป็น 2.63% ของจีดีพี จากปี 2555 ที่หากมีการคอรัปชัน 25-35% ความเสียหายจะอยู่ที่ 210,035.8-294,050.1 ล้านบาท คิดเป็น 8.83-12.36% ของงบประมาณรายจ่ายปี 2555 ที่ 2.38 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 1.81-2.54% ของจีดีพี ที่มีมูลค่า 11.57 ล้านล้านบาท
ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล หากสามารถเดินหน้าได้ ทั้งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ 2 ล้านล้านบาท โครงการบริหารจัดการน้ำ คาดจะมีการคอร์รัปชันมากถึง 10-20% ของมูลค่า หรือ 200,000-400,000 ล้านบาท และยังมีโอกาสที่จะเกิดคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ อีก เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการอื่นๆ ภายในองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
”สถานการณ์คอร์รัปชันไทยยังมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะการสำรวจเมื่อเดือนธ.ค.2556 เป็นช่วงที่มีการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ซึ่งสังคมต้องการการปฏิรูป และแก้ปัญหาคอร์รัปชัน จึงทำให้เห็นว่า การคอร์รัปชันยังรุนแรง ที่สำคัญ ผู้ประกอบการยังต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเพื่อให้ได้สัญญามากขึ้นอีก ซึ่งจากการสำรวจของศูนย์ฯ ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา
พบว่าเม็ดเงินที่เสียหายจากคอร์รัปชันเพิ่มขึ้นจาก 194,395.1-272,153.1 ล้านบาทในปี 2554 เป็น 210,035-294,050 ล้านบาทในปี 2555 และเป็น 235,652-329,912 ล้านบาทในปี 2556 หรือเสียหายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท ถ้าดึงเงินจากคอร์รัปชันเข้าระบบได้ จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประมาณ 1%”นายธนวรรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า สถานการณ์การคอร์รัปชั่นในปี 2557 คาดว่า สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ถ้าปัจจัยต่างๆ ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยเฉพาะรัฐบาลที่ไม่สามารถแก้ปัญหา และทำให้สังคม และพรรคการเมือง ปฏิเสธการคอร์รัปชัน จึงเป็นที่มาทำให้ประชาชนกดดันให้มีการปฏิรูป และแก้ปัญหา แต่หากรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง ยังไม่เร่งแก้ไข ประชาชนก็จะกดดันมากขึ้น ถ้ารัฐบาลใหม่เดินหน้าแก้ปัญหาจริงจัง เชื่อว่า ปัญหาจะแก้ไขได้โดยเร็ว