ASTVผู้จัดการรายวัน-คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โตแค่ 3% หลังการเมืองป่วน ทำเสียหาย 3-7 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 57 คาดจะโตตั้งแต่แย่สุด 3% ถึงดีสุด 5% ตามจังหวะการเมือง เผยไตรมาสแรกปี 57 ได้เม็ดเงินหาเสียงช่วยพยุงเศรษฐกิจ 1-4 หมื่นล้านบาท
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบทางการเมืองที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไทย ว่า ในปี 2556 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวได้เพียง 3% จากที่คาดไว้ 3.5% เพราะตั้งแต่เริ่มชุมนุมเมื่อเดือนต.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เศรษฐกิจเสียหายแล้ว 3-7 หมื่นล้านบาท หรือทำให้จีดีพีลดลง 0.3-0.5% จากภาคการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยวในประเทศที่ลดลง และการส่งออกที่ขยายตัวต่ำเพียง 0.5% รวมทั้งยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าว ยางพารา อ้อย กุ้ง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็มีการขยายตัวไม่มาก
“เดิมคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโต 3.5% แต่ตอนนี้ได้ปรับลดประมาณการณ์ลงเหลือ 3% และไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่านี้ เพราะยังไม่มีสัญญาณที่เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง เนื่องจากการเมืองยังนิ่งๆ รัฐบาลได้ยุบสภาไปแล้ว และไม่มีสัญญาณรุนแรง จึงทำให้การใช้จ่าย การลงทุน ยังคงนิ่งๆ ตาม” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 หากมีการเลือกตั้ง แล้วการเมืองนิ่ง เศรษฐกิจหลังเลือกตั้งก็พร้อมจะโต แต่ถ้าการเมืองไม่นิ่ง เศรษฐกิจไทยก็พร้อมทรุดตัวลงต่อ และจะฟื้นตัวยาก เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยเปราะบางมาก และปีนี้เป็นครั้งแรกที่เศรษฐกิจไทยทรุดตัวลงเพราะปัญหาภายใน จากก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น
ปัญหาเศรษฐกิจโลกในปี 2540 ปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2550 และปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปในปี 2554
ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2557 หากการเมืองและรัฐบาลมีเสถียรภาพ การลงทุนภาครัฐทำได้ตามแผน ประชาชน นักธุรกิจ นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่น เศรษฐกิจจะโตได้ 4-4.5% แต่การเมืองถ้าไม่มีเสถียรภาพ การลงทุนไม่เป็นไปตามแผน ประชาชน นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว เชื่อมั่นเล็กน้อย เศรษฐกิจจะโตได้ 3-4% แต่ถ้าการเมืองแย่ การลงทุนต่ำกว่าแผน ประชาชน นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว
ไม่เชื่อมั่น เศรษฐกิจจะเสียหาย 2-3 แสนล้านบาท และโตต่ำกว่า 3% หรือถ้าดีสุด การเมืองมีเสถียรภาพ การลงทุนทำได้ตามแผน ประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นมาก เศรษฐกิจจะโตได้สูงถึง 4.5-5%
อย่างไรก็ตาม ไตรมาสแรก ปี 2557 เม็ดเงินจากการเลือกตั้งจะเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่า หากทุกพรรคการเมืองลงเลือกตั้งหมด จะมีเม็ดเงินสะพัด 3-4 หมื่นล้านบาท แต่หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง การแข่งขันในการหาเสียงจะลงลง และน่าจะมีเงินสะพัด 1-2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
สำหรับปัจจัยบวกที่สนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ได้แก่ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป, เศรษฐกิจเอเชียยังขยายตัวระดับสูง, คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 2.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ, นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น งบประมาณปี 57 ขาดดุล 250,000 ล้านบาท รวมถึงงบบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และรัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพประชาชนต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ
ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีสูง, ความขัดแย้งทางการเมือง และการชุมนุมขับไล่รัฐบาลมีคงมีอยู่, ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน, การขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม, ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพสูงขึ้น และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วมในหลายจังหวัด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบทางการเมืองที่มีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไทย ว่า ในปี 2556 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวได้เพียง 3% จากที่คาดไว้ 3.5% เพราะตั้งแต่เริ่มชุมนุมเมื่อเดือนต.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน ทำให้เศรษฐกิจเสียหายแล้ว 3-7 หมื่นล้านบาท หรือทำให้จีดีพีลดลง 0.3-0.5% จากภาคการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยวในประเทศที่ลดลง และการส่งออกที่ขยายตัวต่ำเพียง 0.5% รวมทั้งยังมีปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งข้าว ยางพารา อ้อย กุ้ง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็มีการขยายตัวไม่มาก
“เดิมคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโต 3.5% แต่ตอนนี้ได้ปรับลดประมาณการณ์ลงเหลือ 3% และไม่น่าจะเลวร้ายไปกว่านี้ เพราะยังไม่มีสัญญาณที่เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง เนื่องจากการเมืองยังนิ่งๆ รัฐบาลได้ยุบสภาไปแล้ว และไม่มีสัญญาณรุนแรง จึงทำให้การใช้จ่าย การลงทุน ยังคงนิ่งๆ ตาม” นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 หากมีการเลือกตั้ง แล้วการเมืองนิ่ง เศรษฐกิจหลังเลือกตั้งก็พร้อมจะโต แต่ถ้าการเมืองไม่นิ่ง เศรษฐกิจไทยก็พร้อมทรุดตัวลงต่อ และจะฟื้นตัวยาก เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยเปราะบางมาก และปีนี้เป็นครั้งแรกที่เศรษฐกิจไทยทรุดตัวลงเพราะปัญหาภายใน จากก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น
ปัญหาเศรษฐกิจโลกในปี 2540 ปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี 2550 และปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปในปี 2554
ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2557 หากการเมืองและรัฐบาลมีเสถียรภาพ การลงทุนภาครัฐทำได้ตามแผน ประชาชน นักธุรกิจ นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่น เศรษฐกิจจะโตได้ 4-4.5% แต่การเมืองถ้าไม่มีเสถียรภาพ การลงทุนไม่เป็นไปตามแผน ประชาชน นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว เชื่อมั่นเล็กน้อย เศรษฐกิจจะโตได้ 3-4% แต่ถ้าการเมืองแย่ การลงทุนต่ำกว่าแผน ประชาชน นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว
ไม่เชื่อมั่น เศรษฐกิจจะเสียหาย 2-3 แสนล้านบาท และโตต่ำกว่า 3% หรือถ้าดีสุด การเมืองมีเสถียรภาพ การลงทุนทำได้ตามแผน ประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นมาก เศรษฐกิจจะโตได้สูงถึง 4.5-5%
อย่างไรก็ตาม ไตรมาสแรก ปี 2557 เม็ดเงินจากการเลือกตั้งจะเข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่า หากทุกพรรคการเมืองลงเลือกตั้งหมด จะมีเม็ดเงินสะพัด 3-4 หมื่นล้านบาท แต่หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง การแข่งขันในการหาเสียงจะลงลง และน่าจะมีเงินสะพัด 1-2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
สำหรับปัจจัยบวกที่สนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ได้แก่ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป, เศรษฐกิจเอเชียยังขยายตัวระดับสูง, คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 2.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ, นโยบายการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น งบประมาณปี 57 ขาดดุล 250,000 ล้านบาท รวมถึงงบบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และรัฐบาลมุ่งเน้นนโยบายเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพประชาชนต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ
ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีสูง, ความขัดแย้งทางการเมือง และการชุมนุมขับไล่รัฐบาลมีคงมีอยู่, ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน, การขาดแคลนแรงงานในบางอุตสาหกรรม, ต้นทุนการผลิตและค่าครองชีพสูงขึ้น และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วมในหลายจังหวัด