xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

มุมมอง “มูลนิธิเอเชีย” ต่อผู้ชุมนุม “ดูกันชัด ๆ ใครมวลมหาประชาชนตัวจริง”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ในที่นี้ มูลนิธิเอเชีย  กำหนด แท่งกราฟสีแดง เป็น นปช. และกำหนดแท่วกราฟสีดำ เป็น กปปส.
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์- สัปดาห์ที่ผ่านมา ดีเอสไอ เรียกแขก ด้วยการอายัดบัญชีธนาคารของแกนนำ กปปส. กว่า 30 คน ในข้อหาสนับสนุนการชุมนุม ขณะที่แกนนำกปปส.ให้สัมภาษณ์ ถึงขั้นจะไปกระทบคนชนบทจริงหรือไม่จริงไม่ทราบ

ขณะที่ภาคประชาสังคม ได้มีการเปิดผลสำรวจมูลนิธิเอเชีย เรื่อง “เบื้องหลังผู้สนับสนุนม็อบ "กปปส.-เสื้อแดง"” เผยแพร่ในเวปไซด์

http://asiafoundation.org/resources/pdfs/FinalSurveyReportDecember20.pdf มีการแปล เป็นภาษาไทย http://www.aecnews.co.th/politic/read/4084

เป็นข้อมูลของ“มูลนิธิเอเชีย” (The Asia Foundation) ที่สำรวจทัศนคติกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯ โดยสำรวจในวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา โดย การชุมนุมของกลุ่มประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง ตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา

ในที่นี้ มูลนิธิเอเชีย กำหนด แท่งกราฟสีแดง เป็น นปช. และกำหนดแท่งกราฟสีดำ เป็น กปปส.

“มูลนิธิเอเชีย”ระบุถึงการดำเนินการสำรวจว่า จากการสังเกตความตึงเครียดทางการเมือง โดยจับกรุงเทพฯในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม 2556 หรือ 2013 ด้วยความกังวล ความตึงเครียดที่ปะทุขึ้น ในบริบทของสองประเด็น ที่ริเริ่มแก้ไขกฎหมายตามที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำเนินการ

ครั้งแรก เริ่มเปิดกฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อปูทางให้อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยจากการเนรเทศตัวเองด้วย เช่นนี้ โทษของเขาจะลดลง เพราะหากมีกฎหมายนิรโทษฯ ที่ ได้รับอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

ครั้งที่สองความพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนองค์ประกอบของวุฒิสภาจากการผสมของการเลือกตั้งสมาชิกและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอย่างเต็มที่ในการเลือกตั้ง ข้อเสนอที่ถูกปฏิเสธโดยศาลรัฐธรรมนูญบนพื้นฐานของความผิดปกติทางเทคนิค”มูลนิธิเอเชียระบุไว้เช่นนี้

ขณะที่มีการจัดทำเป็นกราฟแท่งชัดเจน ระบุถึงการสนับสนุนและการเข้าถึงของคนเสื้อแดง และกปปส. เริ่มจากเป้าหมายการสำรวจเพื่อให้รู้ถึงองค์ประกอบด้านประชากรของกลุ่มคน จาก 315 กลุ่มตัวอย่าง มีผลการสำรวจดังนี้

ประชากร : สัดส่วนอายุของกลุ่มตัวอย่างคล้ายกัน คนเสื้อแดงอายุเฉลี่ย 46 ปี และกลุ่มกปปส.อายุเฉลี่ย 43 ปี กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 25 ปีหรือ น้อยกว่านั้นเพียง 12% ไม่ปรากฏว่าเป็นตัวแทนของคนหนุ่มสาวหรือการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ ในระดับการศึกษาสามารถเห็นได้ชัดระหว่างสองกลุ่ม กลุ่มกปปส. มีวุฒิปริญญาตรีหรือสูงกว่า 68% ขณะที่เปรียบเทียบกับกลึ่มเสื้อแดงมีเพียง 27% กลุ่มกปปส. 57% อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อเทียบกับกลุ่มเสื้อแดงที่อยู่ในกรุงเทพฯ 32% โดยกลุ่มเสื้อแดง 68% มาจากพื้นที่นอกกรุงเทพฯ เทียบกับกลุ่มกปปส. 44%

เมื่อจำแนกตามรายภาค กลุ่มคนเสื้อแดง 48% มาจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42% มาจากภาคกลาง ส่วนกลุ่มกปปส. ประมาณ 45% มากจากภาคใต้ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนภาคกลางสัดส่วนเท่ากัน 42%

รายได้ต่อครัวเรือน : ความแตกต่างด้านรายได้มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กลุ่มกปปส. เกือบ 1 ใน 3 หรือ ราว 32% มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 60,000 บาท ขณะที่กลุ่มเสื้อแดงที่มีรายได้ระดับเดียวกันมีเพียง 4% นอกจากนี้ คนเสื้อแดง 56% มีรายได้น้อยกว่าเดือนละ 30,000 บาท และ 42% มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาท เมื่อเทียบกับกลุ่มกปปส.ที่มีเพียง 10%

การรวมกลุ่มการชุมนุม กลุ่มกปปส.ให้ความสนใจกับการออกมาร่วมชุมนุมมากกว่ากลุ่มเสื้อแดง ขณะที่กลุ่มเสื้อแดงให้ความสนใจกับการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ตั้งขึ้นมามากกว่า ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสองกลุ่มสนใจการเดินขบวนร่วมกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆ
ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ สมาชิกของทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยจูงใจต่างกันในการร่วมการชุมนุม กลุ่มเสื้อแดงเกือบ 80% ได้รับแจงจูงใจจากความต้องการปกป้องระบอบประชาธิปไตยและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ขณะที่กลุ่มกปปส. 48% ต้องการให้ครอบครัวชินวัตรออกจากการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง รวมทั้งปัจจัยอื่น รวมถึงการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และหยุดยั้งกฎหมายนิรโทษกรรม มีเพียง 4% ของกลุ่มเสื้อแดงที่ตอบแบบสอบถามที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้รับจูงใจจากการสนับสนุนให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศและปกป้องครอบครัวชินวัตร

การเดินทางไปร่วมชุมนุม : คนเสื้อแดงมากกว่า 1 ใน 3 หรือราว 35% เดินทางมาร่วมชุมนุมโดยรถโดยสารที่มีการจัดหามาให้ ขณะที่กลุ่มกปปส. ส่วนใหญ่ หรือราว 96% เดินทางมาด้วยพาหนะของตนเองหรือเดินทางมาด้วยตนเอง

ด้านความพึงพอใจกับประชาธิปไตยในไทย : กลุ่มเสื้อแดงพอใจกับประชาธิปไตยในไทยมากกว่ากลุ่มกปปส. (เสื้อแดง43% เทียบกับกปปส. 18%) แต่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ของทั้งสองกลุ่มยังไม่พอใจการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 79% ของกลุ่มตัวอย่างสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางด้าน 70% ของกลุ่มเสื้อแดงที่ตอบแบบสอบถามต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือกลับไปใช้รัฐธรรมนูยปี 2540 ขณะที่ กลุ่มกปปส. 70% สนับสนุนรัฐธรรมนูญปี 2550

แหล่งข้อมูลข่าวสาร : กลุ่มตัวอย่างทั้งสองฝ่ายรับรู้ข้อมูลจากสื่อเหมือนกัน โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์มีสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาจากเพื่อนฝูง หนังสือพิมพ์ และวิทยุ

การติดตามข่าวสาร : กลุ่มกปปส. มีการใช้อินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อติดตามสถานการณ์การเมืองมากกว่ากลุ่มเสื้อแดง ขณะที่กลุ่มเสื้อแดงติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์ และกลุ่มกปปส.ติดตามข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มากกว่ากลุ่มเสื้อแดง
เทคโนโลยีการติดตามข่าวสาร : ทั้งสองกลุ่มพึ่งพาโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักสำหรับการรวมกลุ่มทางการเมือง แต่กลุ่มกปปส. มีการใช้สทาร์ทโฟนมากกว่าคนเสื้อแดง (42% เมื่อเทียบกับ 7%) นอกจากนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงพึ่งพาโทรทัศน์เป็นแหล่งข้อมูลในการเคลื่อนไหวทางการเมืองมากกว่า

การแก้ความตึงเครียดทางการเมือง : ไม่มีความเห็นที่สอดคล้องกัน และมีที่เหมือนกันบางด้านเท่านั้นจากทั้งสองกลุ่ม 55% ของกลุ่มเสื้อแดงรู้สึกว่าคนต่อต้านรัฐบาลควรจะยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในปัจจุบัน และเลิกการชุมนุม เมื่อเปรียบเทียบกับ 44% ของกลุ่มกปปส. เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรแทนที่ด้วย "สภาประชาชน"ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

ความอดกลั้นทางการเมือง : ไม่มีความแตกต่างระหว่างคนทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความอดกลั้นทางการเมืองมากที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจของมูลนิธิเอเซีย

แค่ผลสำรวจข้างต้น เห็นชัดๆ เลยว่า โดยเฉพาะการรวมกลุ่มการชุมนุม หรือการเดินทางไปร่วมชุมนุม ก็แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ใครจัดตั้ง ใครเป็นมวลมหาประชาชนตัวจริง



กำลังโหลดความคิดเห็น