ASTVผู้จัดการรายวัน - “ธีรยุทธ บุญมี” แถลงข่าวหัวข้อ “การปฏิวัตินกหวีดมองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย” เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ ชี้นิยามการโกงใต้ระบอบทักษิณเป็นระบบสมจร เปรียบสุนัขสมสู่ไม่เลือกที่ มองขบวนนกหวีดมีความหวัง สู่การประชาภิวัฒน์ แนะ กปปส.ใช้เวลาให้คนส่วนใหญ่ได้ครุ่นคิดสภาประชาชน
วานนี้ (10 ธ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวในหัวข้อ "การปฏิวัตินกหวีดมองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย" เนื่องในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยนายธีรยุทธ กล่าวในตอนหนึ่งว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ คนทุกกลุ่มเลิกสนใจคุณธรรมหน้าที่ต่อบ้านเมือง มีการสมคบร่วมกันแย่งทึ้งประเทศชาติ เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะได้เปรียบไม่เสียเปรียบคนอื่นในทุกวงการ อย่างที่โบราณว่าไว้ว่า “ฝูงแร้งสมจร ฝูงแร้งด้วยกัน” (สมจร หมายถึง การร่วมประเวณีเยี่ยงสุนัข ในที่นี้คือการสุมหัวโกงกินประเทศชาติไม่เลือกสถานที่ เวลา กาละเทศะ) ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาบ่งว่าเราอยู่ใต้ระบบสมจรของทักษิณ ใต้รัฐบาลสมจรหุ่นของทักษิณ และสภาก็คือขี้ข้าทักษิณมาสมจรกัน อีกทั้งการใช้อำนาจของนักการเมืองมีลักษณะเหิมเกริม ไร้ความละอายมากขึ้นเรื่อยๆ ข้าราชการสมคบสยบยอมนักการเมืองเปิดเผยชัดเจนเกือบทั้งหมด
ที่ผ่านมาประเทศไทยปฏิรูปไม่สำเร็จเพราะมีไทยเฉยเยอะ ที่เป็นไทยเฉยมี 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) ชาวบ้านในเมือง รากหญ้าในชนบท เฉย ไม่ใช่เพราะโง่เง่าหรือขาดการศึกษา แต่เพราะต้องดิ้นรนทำกิน 2) ชนชั้นกลางเฉยเพราะต้องตั้งเนื้อตั้งตัว แต่ก็ดีขึ้น 3) ผู้ดี ราชครูปุโรหิตทำหน้าที่สรรเสริญพระเจ้าอยู่หัวเฉยๆ แต่ไม่กล้าหาญพอจะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุ 4) ข้าราชการ เสนาอำมาตย์ เฉย ไม่นำพาต่อการโกงกินบ้านเมือง แม้คนเป็น 1-2 ล้านออกมาเรียกร้องก็ไม่นำพา 5) เจ้าสัวเฉย ไม่ยอมลงทุนเพื่อสร้างสรรค์การเมือง มีแต่ลงทุนเฉพาะทางธุรกิจเพื่อให้ครอบครัวร่ำรวย
ขบวนนกหวีดที่เริ่มขึ้นเล็กๆ จากกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) ที่อุรุพงษ์ กลุ่มกองทัพธรรมที่ผ่านฟ้า กลุ่มคัดค้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่สามเสนและราชดำเนิน จนเกิดเป็นคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ทำให้การปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้านมีโอกาสเป็นจริงขึ้นได้ เราสามารถอธิบายได้ว่าการแข็งขืนของ กปปส. หรือ “ขบวนนกหวีด” ครั้งนี้ โดยแก่นแท้ไม่ใช่ปัญหาว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ใช่เป็นการไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่หรือเป็นขบถ
แต่เป็นทั้งการใช้ “สิทธิและการปฏิบัติหน้าที่อันจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้” สิทธิและหน้าที่ที่ว่าก็คือ การต่อต้านล้มล้างรัฐบาลที่ฉ้อฉลหรือเป็นทรราช (tyrannicide) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีและปรัชญาการเมืองประชาธิปไตย งานของนักคิดสำคัญๆ จำนวนมาก เช่น Juan de Mariana (จวน เดอ มาเรียนา), Hugo Grotius (ฮิวโก โกรเทียส), John Locke (จอห์น ล็อก) ซึ่งเป็นบิดาของการปฏิวัติประชาธิปไตยของอังกฤษ ล้วนยืนยันสิทธิในการขับไล่ล้มล้างรัฐบาลฉ้อฉลทั้งสิ้น
ขณะที่ กปปส. ปฏิเสธการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทางเลือกของ กปปส. จึงเหลือเพียง 2 ทาง ทางแรกคือการกดดันให้เกิด “สุญญากาศ” ทางการเมือง เพื่อใช้มาตรา 3 มาตรา 7 แต่คาดว่าพรรคเพื่อไทยคงไม่ยินยอม และหนทางดังกล่าวจะทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจของฝ่ายต่างๆ ที่จะตีความรัฐธรรมนูญหรือปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว
อีกหนทางไม่เคยเกิดในประเทศไทย คือการปฏิวัติของประชาชน ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลง 2475 เป็นการปฏิวัติของทหารร่วมกับพลเรือน เพื่อล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประชาชนมีส่วนเฉพาะการโค่นล้มระบอบเผด็จการ
แต่ไม่มีส่วนในการออกแบบระบอบการเมืองที่ใช้กันต่อมา เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 การปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ประชาภิวัฒน์หรือ “การปฏิวัตินกหวีด” จึงอาจถือเป็นการ “ปฏิวัติประชาชน” ครั้งแรก เพราะเรียกร้องสภาที่ประชาชนมีอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
กปปส. ควรตระหนักว่า การประกาศทวงอำนาจสูงสุดคืออำนาจอธิปไตยคืนเป็นของประชาชน ซึ่งโดยนัยยะมี กปปส. เป็นตัวแทนถืออำนาจนั้น เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่สำคัญมาก ไม่เคยปรากฏมาก่อนในบ้านเรา เพราะมันหมายถึงการยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองอำนาจในการจัดการสิทธิเสรีภาพในชีวิต ทรัพย์สิน ของแต่ละคนรวมทั้งทิศทางทั้งหมดของประเทศได้ จึงมีความจำเป็นที่ กปปส. ต้องตระหนักดังนี้
ก. การเร่งรัดให้คนกลุ่มอาชีพต่างๆ ยอมรับการตัดสินใจของ กปปส. โดยไวเกินไป ยิ่งทำให้คนลังเล การใช้เวลาให้คนส่วนใหญ่ได้ครุ่นคิด ตริตรอง ทำความเข้าใจ และมีโอกาสได้ไต่ถามพูดคุยกับ กปปส. กระบวนการเกิดนโยบายหรือการจัดตั้งสภาประชาภิวัฒน์เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นการปรึกษาหารือเพื่อสร้างฉันทามติอย่างกว้างขวางจริงใจ จากนั้นอาจต้องผ่านประชามติและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจริงๆ โดยเร็วที่สุด
ข. กปปส. มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ แจกแจงเหตุผลให้กับมวลชนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งก็คือลักษณะของขบวนการต่อต้านคัดค้านรัฐบาล (protest movement) เป็นทุนหรือเป็นพลังทางการเมืองที่สำคัญ แต่แม้จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมอีกก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
การต่อสู้ครั้งนี้อาจไม่บรรลุชัยชนะ หรือเราอาจผิดหวังกับผลงานของผู้ที่จะทำงานให้กับประชาชนในอนาคต แต่ที่สำคัญที่สุดคือได้เกิดประสบการณ์การใช้สิทธิอำนาจของประชาชน พลังที่แท้จริงของภาคประชาชน อำนาจต่อรองกับอำนาจการเมืองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ซึ่งคุ้มค่าแก่ความเหนื่อยยากทั้งปวงอยู่แล้ว และถ้ารักษาพลังนี้ได้เราก็อาจได้แนวร่วมของขบวนการตรวจสอบภาคการเมืองต่อต้านคอร์รัปชั่นที่เข้มแข็งของประเทศในอนาคตได้
***จี้ตระกูลชินวัตรเว้นวรรคการเมือง
นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้พลังของประชาชนถือเป็นชัยชนะระดับหนึ่งแล้ว เพราะสามารถทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภาแล้ว และได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนตั้งแต่รัฐบาลผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง ว่าการชุมนุมครั้งนี้สามารถใช้พลังประชาชนเปลี่ยนแปลงประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ลาออกจากรักษาการณ์นายกรัฐมนตรี เพราะการยุบสภาและรักษาการต่อนั้นเป็นไปตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้รัฐบาลจำเป็นต้องรักษาการต่อ เพราะฉะนั้นไม่ควรเดินออกนอกระบบที่วางไว้
"หากผู้ชุมนุมคิดว่าการยุบสภายังไม่ใช่การรับผิดชอบที่ดีพอ ก็ควรเรียกร้องให้ตระกูลชินวัตร เว้นวรรคทางการเมืองมากกว่า"
ทั้งนี้ การชุมนุมที่เรียกร้องให้นำมาตรา 3 และมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นความคิดเห็นร่วมกันนั้น อาจสร้างปัญหาในอนาคต เพราะหากกลุ่มอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน ก็จะต้องใช้อำนาจเหล่านี้ไปไม่รู้จบ ซึ่งประชาชนควรได้รับโอกาสในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่า โดยหากจะตั้งสภาประชาชน ก็ควรอาศัยช่องทางที่มีตามระบบ
น่าเสียดายที่ครั้งนี้มีการเจรจากัน 2 ฝ่ายน้อยเกินไป ทำให้ไม่ได้มีการตกลงกันล่วงหน้าว่า พรรคที่ชนะเลือกตั้ง หรือได้เป็นรัฐบาลหลังจากนี้ จะต้องนำข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปประเทศ ไปปฏิบัติต่อ จึงดูเหมือนว่าการตัดสินใจของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นการชิงไหวชิงพริบทางการเมืองเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังรู้สึกว่าทิศทางการชุมนุมถูกกำหนดโดยคนกลุ่มเดียว ทั้งที่ความต้องการของผู้ชุมนุม มีหลากหลาย ตั้งแต่ยุบสภา ไปจนถึงกำจัดระบอบทักษิณ
วานนี้ (10 ธ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน นายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย แถลงข่าวในหัวข้อ "การปฏิวัตินกหวีดมองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย" เนื่องในวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยนายธีรยุทธ กล่าวในตอนหนึ่งว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ คนทุกกลุ่มเลิกสนใจคุณธรรมหน้าที่ต่อบ้านเมือง มีการสมคบร่วมกันแย่งทึ้งประเทศชาติ เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะได้เปรียบไม่เสียเปรียบคนอื่นในทุกวงการ อย่างที่โบราณว่าไว้ว่า “ฝูงแร้งสมจร ฝูงแร้งด้วยกัน” (สมจร หมายถึง การร่วมประเวณีเยี่ยงสุนัข ในที่นี้คือการสุมหัวโกงกินประเทศชาติไม่เลือกสถานที่ เวลา กาละเทศะ) ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาบ่งว่าเราอยู่ใต้ระบบสมจรของทักษิณ ใต้รัฐบาลสมจรหุ่นของทักษิณ และสภาก็คือขี้ข้าทักษิณมาสมจรกัน อีกทั้งการใช้อำนาจของนักการเมืองมีลักษณะเหิมเกริม ไร้ความละอายมากขึ้นเรื่อยๆ ข้าราชการสมคบสยบยอมนักการเมืองเปิดเผยชัดเจนเกือบทั้งหมด
ที่ผ่านมาประเทศไทยปฏิรูปไม่สำเร็จเพราะมีไทยเฉยเยอะ ที่เป็นไทยเฉยมี 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) ชาวบ้านในเมือง รากหญ้าในชนบท เฉย ไม่ใช่เพราะโง่เง่าหรือขาดการศึกษา แต่เพราะต้องดิ้นรนทำกิน 2) ชนชั้นกลางเฉยเพราะต้องตั้งเนื้อตั้งตัว แต่ก็ดีขึ้น 3) ผู้ดี ราชครูปุโรหิตทำหน้าที่สรรเสริญพระเจ้าอยู่หัวเฉยๆ แต่ไม่กล้าหาญพอจะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุ 4) ข้าราชการ เสนาอำมาตย์ เฉย ไม่นำพาต่อการโกงกินบ้านเมือง แม้คนเป็น 1-2 ล้านออกมาเรียกร้องก็ไม่นำพา 5) เจ้าสัวเฉย ไม่ยอมลงทุนเพื่อสร้างสรรค์การเมือง มีแต่ลงทุนเฉพาะทางธุรกิจเพื่อให้ครอบครัวร่ำรวย
ขบวนนกหวีดที่เริ่มขึ้นเล็กๆ จากกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) ที่อุรุพงษ์ กลุ่มกองทัพธรรมที่ผ่านฟ้า กลุ่มคัดค้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่สามเสนและราชดำเนิน จนเกิดเป็นคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ทำให้การปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้านมีโอกาสเป็นจริงขึ้นได้ เราสามารถอธิบายได้ว่าการแข็งขืนของ กปปส. หรือ “ขบวนนกหวีด” ครั้งนี้ โดยแก่นแท้ไม่ใช่ปัญหาว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ใช่เป็นการไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่หรือเป็นขบถ
แต่เป็นทั้งการใช้ “สิทธิและการปฏิบัติหน้าที่อันจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้” สิทธิและหน้าที่ที่ว่าก็คือ การต่อต้านล้มล้างรัฐบาลที่ฉ้อฉลหรือเป็นทรราช (tyrannicide) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีและปรัชญาการเมืองประชาธิปไตย งานของนักคิดสำคัญๆ จำนวนมาก เช่น Juan de Mariana (จวน เดอ มาเรียนา), Hugo Grotius (ฮิวโก โกรเทียส), John Locke (จอห์น ล็อก) ซึ่งเป็นบิดาของการปฏิวัติประชาธิปไตยของอังกฤษ ล้วนยืนยันสิทธิในการขับไล่ล้มล้างรัฐบาลฉ้อฉลทั้งสิ้น
ขณะที่ กปปส. ปฏิเสธการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทางเลือกของ กปปส. จึงเหลือเพียง 2 ทาง ทางแรกคือการกดดันให้เกิด “สุญญากาศ” ทางการเมือง เพื่อใช้มาตรา 3 มาตรา 7 แต่คาดว่าพรรคเพื่อไทยคงไม่ยินยอม และหนทางดังกล่าวจะทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจของฝ่ายต่างๆ ที่จะตีความรัฐธรรมนูญหรือปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว
อีกหนทางไม่เคยเกิดในประเทศไทย คือการปฏิวัติของประชาชน ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลง 2475 เป็นการปฏิวัติของทหารร่วมกับพลเรือน เพื่อล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประชาชนมีส่วนเฉพาะการโค่นล้มระบอบเผด็จการ
แต่ไม่มีส่วนในการออกแบบระบอบการเมืองที่ใช้กันต่อมา เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 การปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ประชาภิวัฒน์หรือ “การปฏิวัตินกหวีด” จึงอาจถือเป็นการ “ปฏิวัติประชาชน” ครั้งแรก เพราะเรียกร้องสภาที่ประชาชนมีอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย
กปปส. ควรตระหนักว่า การประกาศทวงอำนาจสูงสุดคืออำนาจอธิปไตยคืนเป็นของประชาชน ซึ่งโดยนัยยะมี กปปส. เป็นตัวแทนถืออำนาจนั้น เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่สำคัญมาก ไม่เคยปรากฏมาก่อนในบ้านเรา เพราะมันหมายถึงการยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองอำนาจในการจัดการสิทธิเสรีภาพในชีวิต ทรัพย์สิน ของแต่ละคนรวมทั้งทิศทางทั้งหมดของประเทศได้ จึงมีความจำเป็นที่ กปปส. ต้องตระหนักดังนี้
ก. การเร่งรัดให้คนกลุ่มอาชีพต่างๆ ยอมรับการตัดสินใจของ กปปส. โดยไวเกินไป ยิ่งทำให้คนลังเล การใช้เวลาให้คนส่วนใหญ่ได้ครุ่นคิด ตริตรอง ทำความเข้าใจ และมีโอกาสได้ไต่ถามพูดคุยกับ กปปส. กระบวนการเกิดนโยบายหรือการจัดตั้งสภาประชาภิวัฒน์เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นการปรึกษาหารือเพื่อสร้างฉันทามติอย่างกว้างขวางจริงใจ จากนั้นอาจต้องผ่านประชามติและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจริงๆ โดยเร็วที่สุด
ข. กปปส. มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ แจกแจงเหตุผลให้กับมวลชนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งก็คือลักษณะของขบวนการต่อต้านคัดค้านรัฐบาล (protest movement) เป็นทุนหรือเป็นพลังทางการเมืองที่สำคัญ แต่แม้จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมอีกก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
การต่อสู้ครั้งนี้อาจไม่บรรลุชัยชนะ หรือเราอาจผิดหวังกับผลงานของผู้ที่จะทำงานให้กับประชาชนในอนาคต แต่ที่สำคัญที่สุดคือได้เกิดประสบการณ์การใช้สิทธิอำนาจของประชาชน พลังที่แท้จริงของภาคประชาชน อำนาจต่อรองกับอำนาจการเมืองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ซึ่งคุ้มค่าแก่ความเหนื่อยยากทั้งปวงอยู่แล้ว และถ้ารักษาพลังนี้ได้เราก็อาจได้แนวร่วมของขบวนการตรวจสอบภาคการเมืองต่อต้านคอร์รัปชั่นที่เข้มแข็งของประเทศในอนาคตได้
***จี้ตระกูลชินวัตรเว้นวรรคการเมือง
นายเดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้พลังของประชาชนถือเป็นชัยชนะระดับหนึ่งแล้ว เพราะสามารถทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภาแล้ว และได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนตั้งแต่รัฐบาลผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง ว่าการชุมนุมครั้งนี้สามารถใช้พลังประชาชนเปลี่ยนแปลงประเทศได้
อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ลาออกจากรักษาการณ์นายกรัฐมนตรี เพราะการยุบสภาและรักษาการต่อนั้นเป็นไปตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้ ให้รัฐบาลจำเป็นต้องรักษาการต่อ เพราะฉะนั้นไม่ควรเดินออกนอกระบบที่วางไว้
"หากผู้ชุมนุมคิดว่าการยุบสภายังไม่ใช่การรับผิดชอบที่ดีพอ ก็ควรเรียกร้องให้ตระกูลชินวัตร เว้นวรรคทางการเมืองมากกว่า"
ทั้งนี้ การชุมนุมที่เรียกร้องให้นำมาตรา 3 และมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นความคิดเห็นร่วมกันนั้น อาจสร้างปัญหาในอนาคต เพราะหากกลุ่มอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน ก็จะต้องใช้อำนาจเหล่านี้ไปไม่รู้จบ ซึ่งประชาชนควรได้รับโอกาสในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่า โดยหากจะตั้งสภาประชาชน ก็ควรอาศัยช่องทางที่มีตามระบบ
น่าเสียดายที่ครั้งนี้มีการเจรจากัน 2 ฝ่ายน้อยเกินไป ทำให้ไม่ได้มีการตกลงกันล่วงหน้าว่า พรรคที่ชนะเลือกตั้ง หรือได้เป็นรัฐบาลหลังจากนี้ จะต้องนำข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปประเทศ ไปปฏิบัติต่อ จึงดูเหมือนว่าการตัดสินใจของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นการชิงไหวชิงพริบทางการเมืองเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังรู้สึกว่าทิศทางการชุมนุมถูกกำหนดโดยคนกลุ่มเดียว ทั้งที่ความต้องการของผู้ชุมนุม มีหลากหลาย ตั้งแต่ยุบสภา ไปจนถึงกำจัดระบอบทักษิณ