โอกาสนองเลือดมองข้ามหรือประมาทไม่ได้ ขณะนี้โอกาสนองเลือดมีมากกว่าไม่นองเลือด ทุกฝ่ายอย่าประมาท ตั้งแต่ 6 ธันวาคม นี้เป็นต้นไป
ฝ่ายรัฐบาลจะก่อเหตุให้นองเลือด โอกาสนองเลือดจะเกิดเพราะรัฐบาลมากกว่าผู้ชุมนุม ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องการรักษาอำนาจ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ตกอยู่ใต้อิทธิพลของคนนอกที่มีอำนาจเหนือพรรค เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น
1. รัฐบาลอาจใช้กำลังตำรวจโดยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดขวางและไม่ฟังพระราชดำรัสที่พระเจ้าอยู่หัวทรงวางไว้เป็นหลัก “ขอให้ทางรัฐบาลอย่าได้ทำร้ายแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน เป็นอันขาด ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะโดนยั่วโทสะอย่างไร และถึงแม้การทำร้ายตำรวจ ทหารก่อนด้วยมีด ไม้หรือแม้ระเบิดขวด ก็ขออย่าได้ทำร้ายตอบ” และนายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ได้ยินพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2556 ถึง “ความเป็นปึกแผ่นในชาติ” และการ “ต่างบำเพ็ญกรณีกิจตามหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์ของชาติ”
2. โดยการอ้างเหตุผลแวดล้อม ข้อมูล และสถานการณ์ใหม่ รัฐบาลอาจใช้กำลังทหารที่ขณะนี้วางเฉยไม่ยอมทำร้ายประชาชน ให้เข้ามาช่วยตำรวจที่ระดมมาปราบ แต่แท้ที่จริงมาก่อจลาจลทำร้ายประชาชนที่ชุมนุมโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ สอดคล้องกับหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3. รัฐบาลให้ท้ายมวลชนสีแดง และกองกำลังติดอาวุธไม่เปิดเผยสังกัด ที่พรรครัฐบาลอ้างว่าเป็นแก้วดวงที่ 3 ของตน เช่น คนใส่เชิ้ตดำที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต 4 คนและบาดเจ็บกว่าสองร้อยที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือกรณีสี่แยกคอกวัวที่สังหาร พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เป็นต้น
4. นอกจากนั้นรัฐบาลอาจให้ท้ายหรือหลับหูหลับตาปล่อยให้มือที่ 3 เข้ามาปั่นป่วนทำร้ายเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมเพื่อเป็นเหตุให้ปะทะกันจนเกิดอนาธิปไตยและการนองเลือด
ขบวนการประท้วงฝ่ายประชาชนอาจติดกับจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุ เปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงและปราบปรามจนนองเลือดได้
ถึงแม้ทั่วโลกจะเห็นแล้วว่าไม่มีการลุกฮือขึ้นมาของประชาชนที่ไหนในประวัติศาสตร์จะยิ่งใหญ่ สวยงาม สงบ สันติ และบันเทิงทัดเทียมกับสิ่งที่เกิดในประเทศไทยหลายปีมานี้ และการยกระดับสูงขึ้นไปอีกในการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในเดือนพฤศจิกายนจนกระทั่งการขับไล่รัฐบาลมาถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2556 แต่รัฐบาลยังดื้อแพ่งไร้ยางอายไม่ยอมรับความผิดใดๆ ของตนแม้กระทั่งการประกาศล้มล้างศาลอย่างเป็นทางการ ตั้งหน้าตั้งตาจะรักษาอำนาจ ทั้งๆ ที่การไร้ความชอบธรรมของตนเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลกแล้ว
เป็นไปได้ว่าความยาวนานและยากลำบากของการชุมนุมอาจสร้างความเหนื่อยล้าท้อถอยและเครียดขึ้น ทั้งในบรรดาแกนนำและผู้ชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาจากต่างจังหวัด ความผิดพลาดและกระทบกระทั่งกันอาจเกิดขึ้นได้ง่ายเปิดโอกาสให้มีการยั่วยุ แทรกแซงและสวมรอยโดยมือปืนรับจ้างและอันธพาลของฝ่ายรัฐบาลเข้ามาก่อเหตุแล้วป้ายผิดให้ประชาชน จนมาตรฐานแห่งอารยะขัดขืนแบบอหิงสาที่กระทำได้อย่างสวยงามโดยตลอดอาจรักษาไว้ไม่ตลอด ณ จุดใดจุดหนึ่ง การตัดสินใจผิด ดาวกระจายเข้าไปในจุดที่รัฐบาลวางกับตั้งไว้ก็ดี สงครามจิตวิทยาและสงครามข่าวจากทางรัฐบาลก็ดี อาจทำให้ฝ่ายชุมนุมกำลังตกจนกลายเป็นเหยื่อไปได้ง่ายๆ
ต้องยอมรับว่า ภาวะผู้นำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้นเยี่ยมยอดทำให้ “สานต่อ” และระดมสรรพกำลังฝ่ายชุมนุมต่อต้านรัฐบาลให้ใหญ่โตได้อย่างน่ามหัศจรรย์ แต่ธรรมชาติของการลุกฮือแบบนี้ ย่อมจะหลีกเลี่ยงการคัดค้านบ่อนทำลายแก่งแย่งหรือแย่งชิงการนำกันระหว่างกลุ่มต่างๆ มิได้หรือได้ยาก การรักษาสมดุลและสัดส่วนระหว่างมวลชนรักในหลวง มวลชนเกลียดทักษิณ มวลชนต้องการปฏิรูป ย่อมมิใช่เรื่องหมูๆ เลย
นายสุเทพจะต้องยกระดับทางจิตวิญญาณในการปฏิบัติหน้าที่ผู้นำ “มวลมหาประชาชน” ให้ข้ามพ้นความสงสัยที่ติดมากับคราบพรรคและนักการเมือง เครือข่ายความสัมพันธ์และอิทธิพลของธุรกิจอภิสิทธิ์รวมทั้งกลุ่มทหารการเมืองที่ใกล้ชิดกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และผบ.ทบ.คนปัจจุบัน ถึงเรื่องจะไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนมากพากันเชื่อว่ามีสัญญาต่างตอบแทนกันซุกซ่อนอยู่ พลังของการปฏิวัติประชาชนก็จะสะดุดหยุดลงในทันที และเมื่อนั้นการชุมนุมก็จะถูกบดขยี้โดยรัฐบาลซึ่งปิดปากและมัดมือกองทัพไว้ได้
กล่าวเช่นนี้แล้ว ผมขอให้ทุกฝ่ายยืนหยัดในความเป็นเอกภาพ สนับสนุนการนำของนายสุเทพ ยกระดับปริมาณและคุณภาพของการต่อสู้ขึ้นไปอีกจนประสบชัยชนะ เพราะโอกาสของประชาชนกับบ้านเมืองอย่างนี้จะไม่มีอีกแล้ว
สาเหตุใหญ่อีกอย่างของการนองเลือดอาจเกิดจากศาลต่างๆ รวมทั้งศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่กึ่งศาล เช่น ป.ป.ช. กกต. ล่าช้าล้มเหลว จนตกเป็นข่าวร่ำลือว่าหวาดกลัวหรือตกอยู่ใต้อามิสทางการเมือง จนไม่ “ตระหนัก” และ “ตั้งใจประพฤติตัว ปฏิบัติงานให้สมฐานะและหน้าที่เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวม คือ ความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมือง”
ถ้าหากตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไป บรรดาองค์กรที่กล่าวมานี้ยังอ้าง due process และเทคนิคทางกฎหมายต่างๆ วางเฉยและยื้อยุดฉุดความยุติธรรม ฟังพระราชดำรัสไม่ได้ยินเช่นเดียวกับรัฐบาล ผมในฐานะอดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ (2518-2519) และนักเรียนวิชาการเมืองไทย (2495-ปัจจุบัน) จำต้องยกสรุปของดร.อมร จันทรสมบูรณ์ มาเป็นข้อสังเกตว่ามาตรฐานความรู้และความรับผิดชอบทางกฎหมายของท่านยังต่ำ และเพิ่มของผมเองเข้าไปว่าจริยธรรมความกล้าหาญและความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ยังบกพร่อง นอกจากจะไม่สามารถระงับภัยพิบัติชัดแจ้งในปัจจุบันและการกระทำอันป่าเถื่อนนอกกฎหมายในขณะนี้ของผู้ใช้อำนาจรัฐ จนกระทั่งความมั่นคงปลอดภัยของชาติสั่นคลอนได้แล้ว ท่านจะต้องร่วมรับผิดชอบหากเกิดการนองเลือด การปฏิวัติรัฐประหาร และวงจรอุบาทว์ขึ้นมาอีก
จบตอนที่ 1
ฝ่ายรัฐบาลจะก่อเหตุให้นองเลือด โอกาสนองเลือดจะเกิดเพราะรัฐบาลมากกว่าผู้ชุมนุม ทั้งนี้เพราะรัฐบาลต้องการรักษาอำนาจ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ตกอยู่ใต้อิทธิพลของคนนอกที่มีอำนาจเหนือพรรค เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น
1. รัฐบาลอาจใช้กำลังตำรวจโดยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดขวางและไม่ฟังพระราชดำรัสที่พระเจ้าอยู่หัวทรงวางไว้เป็นหลัก “ขอให้ทางรัฐบาลอย่าได้ทำร้ายแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน เป็นอันขาด ไม่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะโดนยั่วโทสะอย่างไร และถึงแม้การทำร้ายตำรวจ ทหารก่อนด้วยมีด ไม้หรือแม้ระเบิดขวด ก็ขออย่าได้ทำร้ายตอบ” และนายกรัฐมนตรีอาจจะไม่ได้ยินพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2556 ถึง “ความเป็นปึกแผ่นในชาติ” และการ “ต่างบำเพ็ญกรณีกิจตามหน้าที่ให้สอดคล้องเกื้อกูลกันเพื่อประโยชน์ของชาติ”
2. โดยการอ้างเหตุผลแวดล้อม ข้อมูล และสถานการณ์ใหม่ รัฐบาลอาจใช้กำลังทหารที่ขณะนี้วางเฉยไม่ยอมทำร้ายประชาชน ให้เข้ามาช่วยตำรวจที่ระดมมาปราบ แต่แท้ที่จริงมาก่อจลาจลทำร้ายประชาชนที่ชุมนุมโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ สอดคล้องกับหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3. รัฐบาลให้ท้ายมวลชนสีแดง และกองกำลังติดอาวุธไม่เปิดเผยสังกัด ที่พรรครัฐบาลอ้างว่าเป็นแก้วดวงที่ 3 ของตน เช่น คนใส่เชิ้ตดำที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิต 4 คนและบาดเจ็บกว่าสองร้อยที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือกรณีสี่แยกคอกวัวที่สังหาร พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม เป็นต้น
4. นอกจากนั้นรัฐบาลอาจให้ท้ายหรือหลับหูหลับตาปล่อยให้มือที่ 3 เข้ามาปั่นป่วนทำร้ายเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมเพื่อเป็นเหตุให้ปะทะกันจนเกิดอนาธิปไตยและการนองเลือด
ขบวนการประท้วงฝ่ายประชาชนอาจติดกับจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุ เปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงและปราบปรามจนนองเลือดได้
ถึงแม้ทั่วโลกจะเห็นแล้วว่าไม่มีการลุกฮือขึ้นมาของประชาชนที่ไหนในประวัติศาสตร์จะยิ่งใหญ่ สวยงาม สงบ สันติ และบันเทิงทัดเทียมกับสิ่งที่เกิดในประเทศไทยหลายปีมานี้ และการยกระดับสูงขึ้นไปอีกในการคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในเดือนพฤศจิกายนจนกระทั่งการขับไล่รัฐบาลมาถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2556 แต่รัฐบาลยังดื้อแพ่งไร้ยางอายไม่ยอมรับความผิดใดๆ ของตนแม้กระทั่งการประกาศล้มล้างศาลอย่างเป็นทางการ ตั้งหน้าตั้งตาจะรักษาอำนาจ ทั้งๆ ที่การไร้ความชอบธรรมของตนเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลกแล้ว
เป็นไปได้ว่าความยาวนานและยากลำบากของการชุมนุมอาจสร้างความเหนื่อยล้าท้อถอยและเครียดขึ้น ทั้งในบรรดาแกนนำและผู้ชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาจากต่างจังหวัด ความผิดพลาดและกระทบกระทั่งกันอาจเกิดขึ้นได้ง่ายเปิดโอกาสให้มีการยั่วยุ แทรกแซงและสวมรอยโดยมือปืนรับจ้างและอันธพาลของฝ่ายรัฐบาลเข้ามาก่อเหตุแล้วป้ายผิดให้ประชาชน จนมาตรฐานแห่งอารยะขัดขืนแบบอหิงสาที่กระทำได้อย่างสวยงามโดยตลอดอาจรักษาไว้ไม่ตลอด ณ จุดใดจุดหนึ่ง การตัดสินใจผิด ดาวกระจายเข้าไปในจุดที่รัฐบาลวางกับตั้งไว้ก็ดี สงครามจิตวิทยาและสงครามข่าวจากทางรัฐบาลก็ดี อาจทำให้ฝ่ายชุมนุมกำลังตกจนกลายเป็นเหยื่อไปได้ง่ายๆ
ต้องยอมรับว่า ภาวะผู้นำของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้นเยี่ยมยอดทำให้ “สานต่อ” และระดมสรรพกำลังฝ่ายชุมนุมต่อต้านรัฐบาลให้ใหญ่โตได้อย่างน่ามหัศจรรย์ แต่ธรรมชาติของการลุกฮือแบบนี้ ย่อมจะหลีกเลี่ยงการคัดค้านบ่อนทำลายแก่งแย่งหรือแย่งชิงการนำกันระหว่างกลุ่มต่างๆ มิได้หรือได้ยาก การรักษาสมดุลและสัดส่วนระหว่างมวลชนรักในหลวง มวลชนเกลียดทักษิณ มวลชนต้องการปฏิรูป ย่อมมิใช่เรื่องหมูๆ เลย
นายสุเทพจะต้องยกระดับทางจิตวิญญาณในการปฏิบัติหน้าที่ผู้นำ “มวลมหาประชาชน” ให้ข้ามพ้นความสงสัยที่ติดมากับคราบพรรคและนักการเมือง เครือข่ายความสัมพันธ์และอิทธิพลของธุรกิจอภิสิทธิ์รวมทั้งกลุ่มทหารการเมืองที่ใกล้ชิดกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และผบ.ทบ.คนปัจจุบัน ถึงเรื่องจะไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนมากพากันเชื่อว่ามีสัญญาต่างตอบแทนกันซุกซ่อนอยู่ พลังของการปฏิวัติประชาชนก็จะสะดุดหยุดลงในทันที และเมื่อนั้นการชุมนุมก็จะถูกบดขยี้โดยรัฐบาลซึ่งปิดปากและมัดมือกองทัพไว้ได้
กล่าวเช่นนี้แล้ว ผมขอให้ทุกฝ่ายยืนหยัดในความเป็นเอกภาพ สนับสนุนการนำของนายสุเทพ ยกระดับปริมาณและคุณภาพของการต่อสู้ขึ้นไปอีกจนประสบชัยชนะ เพราะโอกาสของประชาชนกับบ้านเมืองอย่างนี้จะไม่มีอีกแล้ว
สาเหตุใหญ่อีกอย่างของการนองเลือดอาจเกิดจากศาลต่างๆ รวมทั้งศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่กึ่งศาล เช่น ป.ป.ช. กกต. ล่าช้าล้มเหลว จนตกเป็นข่าวร่ำลือว่าหวาดกลัวหรือตกอยู่ใต้อามิสทางการเมือง จนไม่ “ตระหนัก” และ “ตั้งใจประพฤติตัว ปฏิบัติงานให้สมฐานะและหน้าที่เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวม คือ ความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมือง”
ถ้าหากตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2556 เป็นต้นไป บรรดาองค์กรที่กล่าวมานี้ยังอ้าง due process และเทคนิคทางกฎหมายต่างๆ วางเฉยและยื้อยุดฉุดความยุติธรรม ฟังพระราชดำรัสไม่ได้ยินเช่นเดียวกับรัฐบาล ผมในฐานะอดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ (2518-2519) และนักเรียนวิชาการเมืองไทย (2495-ปัจจุบัน) จำต้องยกสรุปของดร.อมร จันทรสมบูรณ์ มาเป็นข้อสังเกตว่ามาตรฐานความรู้และความรับผิดชอบทางกฎหมายของท่านยังต่ำ และเพิ่มของผมเองเข้าไปว่าจริยธรรมความกล้าหาญและความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ยังบกพร่อง นอกจากจะไม่สามารถระงับภัยพิบัติชัดแจ้งในปัจจุบันและการกระทำอันป่าเถื่อนนอกกฎหมายในขณะนี้ของผู้ใช้อำนาจรัฐ จนกระทั่งความมั่นคงปลอดภัยของชาติสั่นคลอนได้แล้ว ท่านจะต้องร่วมรับผิดชอบหากเกิดการนองเลือด การปฏิวัติรัฐประหาร และวงจรอุบาทว์ขึ้นมาอีก
จบตอนที่ 1