ในช่วงที่มีการประท้วงรัฐบาลอย่างกว้างขวางนี้ มีการอ้างถึง “ระบอบทักษิณ” และ “ทุนสามานย์” กันอย่างกว้างขวาง แต่ไม่มีการให้คำจำกัดความ หรือคำอธิบายอย่างแจ้งชัดว่าผู้อ้างหมายความว่าอะไร ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์เจ้าเก่าที่ได้วิพากษ์ระบอบทักษิณมาเป็นเวลากว่า 12 ปีนับตั้งแต่วันที่นักโทษหนีคุกคนนั้นเริ่มเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ขอนำคำอธิบายที่เสนอไว้ในที่ต่างๆ มาปันกันสั้นๆ อีกครั้งดังนี้
ระบอบทักษิณ (Taksinocracy) เป็นคำเกิดใหม่ซึ่งใช้เรียกกระบวนการเจาะกินแก่นในของสังคมไทยผ่านการใช้การบริหารบ้านเมืองแบบลับลวงพราง ระบอบอันแสนเลวร้ายนี้มีส่วนประกอบ 5 ด้านด้วยกันคือ
อัตตาธิปไตย (Autocracy) ซึ่งหมายถึงหัวหน้ารัฐบาล หรือผู้บงการอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้สั่งการทุกอย่างไม่ต่างกับระบอบเผด็จการ ตามหลักประชาธิปไตย การบริหารบ้านเมืองจะทำโดยรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ส่วนระบอบทักษิณเป็นขั้วตรงข้ามโดยสิ้นเชิง นั่นคือ การบริหารบ้านเมืองทำโดยรัฐบาลที่มีคนเพียงคนเดียวสั่งการให้ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนคนนั้นเป็นหลัก แต่อ้างเอาการเป็นประชาธิปไตยบังหน้าแบบไม่อายเทวดาฟ้าดิน
ธนาธิปไตย (Plutocracy) ได้แก่เงินเป็นทั้งเป้าหมายในการกระทำทุกอย่างและการใช้เงินปูทางไปสู่เป้าหมายนั้นโดยเฉพาะการเข้าถึงอำนาจ การใช้เงินจ้างนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสนับสนุนผู้บงการและการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนั้น ยังมีมาตรการอีกมาก เช่น การแต่งตั้งผู้สนับสนุนไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ การใช้เงินฟาดหัวองค์กรเอกชน บุคคลและนักวิชาการเพื่อจูงใจให้พวกเขาสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลแบบผิดๆ และไร้จิตสำนึก
ขโมยาธิปไตย (Kleptocracy) ได้แก่การจงใจใช้ความฉ้อฉลเป็นบรรทัดฐานในการบริหารบ้านเมือง ความฉ้อฉลไม่จำกัดอยู่ที่การฉ้อราษฎร์บังหลวงจำพวกหักเงินใต้โต๊ะในอัตราร้อยละ 30 ของโครงการรัฐบาลและการติดสินบนในกิจการต่างๆ เท่านั้น หากยังครอบคลุมไปถึงการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและศีลธรรมจรรยาอีกด้วย
ญาติกาธิปไตย (Cronyismocracy) ได้แก่การแต่งตั้งญาติพี่น้องและพวกพ้องให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ และการกระทำทุกอย่างเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้เป็นหลักนอกเหนือจากของตัวผู้บงการเองแล้ว
ประชานิยมาธิปไตย (Populismocracy) คือการมอมเมาประชาชนด้วยมาตรการและโครงการประชานิยมซึ่งเป็นการหยิบยื่นสิ่งต่างๆ ให้ประชาชนแบบให้เปล่าโดยซุกซ่อนที่มาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการหยิบยื่นนั้น ตั้งแต่ปี 2544 โครงการจำพวกนี้ทยอยออกมาแบบไม่ขาดสาย โครงการสุดท้ายที่จะทำลายประเทศไทยแบบราบคาบคือโครงการรับจำนำข้าว
ส่วนทุนสามานย์อาจหมายถึงบุคคล หรือองค์กรก็ได้ซึ่งบิดเบือนหรือละเมิดฐานทางจรรยาบรรณและกฎเกณฑ์ของระบบตลาดเสรีเพื่อผลประโยชน์ของพวกตน
ระบบตลาดเสรีอยู่คู่กับสังคมมนุษย์มานมนาน เนื่องจากมันสะท้อนสัญชาตญาณในสองด้านของมนุษย์ นั่นคือ เราเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวที่เมื่อมีอะไรอยู่ในมือ หรือในครอบครองจะนำมาแลกเปลี่ยนกัน การกระทำเช่นนั้นเป็นกระบวนการพื้นฐานของ “ตลาด” การแลกเปลี่ยนอาจเกิดขึ้นในภาวะแวดล้อมที่มีเพียงสองคน หรือในภาวะที่มีคนนับล้านก็ได้ นอกจากนั้น เราต้องการความ “เสรี” ในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งในด้านการแลกเปลี่ยน ด้วยเหตุนี้ ตลาดเสรีจึงมีอยู่คู่กับมนุษย์เรามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลแม้รูปแบบจะต่างกันบ้างในต่างกาลและสถานที่ก็ตาม ระบบตลาดเสรีจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อบุคคลมีจรรยาบรรณและทำตามกฎเกณฑ์ของมันโดยเฉพาะจะต้องไม่มีการผูกขาดเกิดขึ้น
เศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นระบบไหนต้องใช้ “ทุน” ซึ่งทุกคนดูจะรู้ว่าแปลมาจาก Capital แต่ส่วนใหญ่จะไม่ตระหนักว่ามันมีที่มาอย่างไร Capital มีรากมาจากภาษาละติน Caput, Capit หรือ Capita ซึ่งมีความหมายว่า “หัว” หากสืบสาวต่อไปถึงการใช้คำนี้ทางเศรษฐกิจ “ทุน” อาจหมายถึงสิ่งที่อยู่ใน “หัว” หรือมันสมองของคนก็ได้ ถ้าไม่มีมันสมองย่อมทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มี “ทุน” หรืออาจหมายถึงจำนวนของสัตว์เช่นวัวที่เกษตรกรเลี้ยงไว้โดยที่วัวหนึ่งตัวมีหนึ่งหัว ใครที่มีวัวมากตัวยิ่งมีทุนมากและผู้อื่นอาจเช่าไปใช้ได้เช่นเดียวกับเรายืมเงินไปลงทุนในปัจจุบัน จากมุมมองนี้ แม้แต่ระบบคอมมิวนิสต์ซึ่งอยู่คนละขั้วกับรบบตลาดเสรีก็จะต้องมี “ทุน”
ในโลกปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ทุน” เรามักหมายถึงเงินที่นำมาใช้ในกิจการทางด้านการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับโรงงาน การค้าขาย หรือการสร้างปัจจัยพื้นฐานจำพวกถนนหนทาง ทั้งที่ทุนมีความหมายกว้างกว่านั้นซึ่งเรามักได้ยินกันในนามของทุนทางสังคม ทุนทางปัญญาและทุนทางสถาบัน เป็นต้น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะทุนทางการเงินมักถูกเน้นให้เป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดในระบบตลาดเสรีหลังจากวันที่ระบบศักดินาในยุโรปล่มสลายไปเมื่อราว 600 ปีก่อน จึงอาจพูดได้ว่านั่นเป็นที่มาของระบบ “ทุนนิยม” หรือ Capitalism ในหลายๆ กรณีมักมีการใช้คำว่าทุนนิยมแทนตลาดเสรีทั้งที่ตลาดเสรีมีความครอบคลุมมากกว่า นอกจากนั้น การมองว่าเงินมีความสำคัญในโลกปัจจุบันเหนือสิ่งอื่นใดยังมีส่วนทำให้สถานะของทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
การเน้นความสำคัญของเงินทุนนำไปสู่การมุ่งสะสมเงินกันอย่างกว้างขวาง ผู้มีเงินทุนจำนวนมากสามารถบันดาลให้อะไรๆ เกิดขึ้นได้ในด้านเศรษฐกิจ ทั้งในทางที่ดีตามระบบตลาดเสรีทั่วไป และในทางชั่วร้ายที่ขัดกับกฎเกณฑ์ของระบบตลาดเสรีโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการผูกขาด ยิ่งถ้าผู้มีเงินทุนเป็นผู้มีอำนาจและขาดศีลธรรมจรรยาด้วยแล้ว ระบบตลาดเสรีจะไม่มีโอกาสประสบประสิทธิผลตามอุดมการณ์ได้เลย ด้วยเหตุนี้ สังคมที่ต้องการใช้ระบบตลาดเสรีตามอุดมการณ์จึงต้องพยายามป้องกันอย่างสุดความสามารถที่จะมิให้การผูกขาดเกิดขึ้น
โดยทั่วไปในโลกปัจจุบัน การป้องกันมิให้เกิดการผูกขาดในรูปแบบต่างๆ ดูจะไม่ค่อยได้ผล ทั้งนี้เพราะเงินได้เข้าไปแทรกแซงถึงแก่นในของโลกส่วนใหญ่ที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยบริหารประเทศแล้ว ยิ่งกว่านั้น ในหลายๆ กรณี ประเทศที่เป็นมหาอำนาจมักเอื้อให้บริษัทสัญชาติตนเข้าไปผูกขาดและก้าวก่ายในเศรษฐกิจของประเทศที่มีอำนาจน้อยกว่า ปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของคำว่า “ทุนสามานย์”
จากความหมายดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่านักโทษหนีคุกทักษิณและระบอบทักษิณมีส่วนประกอบของทุนสามานย์แบบแทบครบถ้วน โดยเฉพาะในการใช้เงินนำหน้า การแสวงหาอำนาจ การขาดจรรยาบรรณ และการต้องการผูกขาดตลาดต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีการให้ความร่วมมือกับทุนสามานย์ต่างชาติเพื่อก่อให้เกิดการผูกขาดในส่วนที่ตนไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนละเมิดกฎเกณฑ์เบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีทั้งสิ้น
ในช่วงเวลากว่า 12 ปีที่ระบอบทักษิณและทุนสามานย์พยายามขับเคลื่อนกระบวนการทุกอย่างในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ หรือทางสังคมนั้นเปรียบเสมือนการจับคนไทยใส่เข่ง 5 เหลี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสามารถจับได้ พวกขับเคลื่อนกระบวนการก็จะปิดฝาแล้วถีบเข่งให้ตกหน้าผา หรือไม่ก็นำไปโยนลงในมหาสมุทร ส่งผลให้สังคมไทยล่มสลาย หรืออย่างน้อยก็กลายเป็นรัฐล้มเหลวแบบสมบูรณ์
ระบอบทักษิณ (Taksinocracy) เป็นคำเกิดใหม่ซึ่งใช้เรียกกระบวนการเจาะกินแก่นในของสังคมไทยผ่านการใช้การบริหารบ้านเมืองแบบลับลวงพราง ระบอบอันแสนเลวร้ายนี้มีส่วนประกอบ 5 ด้านด้วยกันคือ
อัตตาธิปไตย (Autocracy) ซึ่งหมายถึงหัวหน้ารัฐบาล หรือผู้บงการอยู่เบื้องหลัง เป็นผู้สั่งการทุกอย่างไม่ต่างกับระบอบเผด็จการ ตามหลักประชาธิปไตย การบริหารบ้านเมืองจะทำโดยรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ส่วนระบอบทักษิณเป็นขั้วตรงข้ามโดยสิ้นเชิง นั่นคือ การบริหารบ้านเมืองทำโดยรัฐบาลที่มีคนเพียงคนเดียวสั่งการให้ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนคนนั้นเป็นหลัก แต่อ้างเอาการเป็นประชาธิปไตยบังหน้าแบบไม่อายเทวดาฟ้าดิน
ธนาธิปไตย (Plutocracy) ได้แก่เงินเป็นทั้งเป้าหมายในการกระทำทุกอย่างและการใช้เงินปูทางไปสู่เป้าหมายนั้นโดยเฉพาะการเข้าถึงอำนาจ การใช้เงินจ้างนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสนับสนุนผู้บงการและการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นส่วนประกอบสำคัญ นอกจากนั้น ยังมีมาตรการอีกมาก เช่น การแต่งตั้งผู้สนับสนุนไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งกรรมการและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ การใช้เงินฟาดหัวองค์กรเอกชน บุคคลและนักวิชาการเพื่อจูงใจให้พวกเขาสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลแบบผิดๆ และไร้จิตสำนึก
ขโมยาธิปไตย (Kleptocracy) ได้แก่การจงใจใช้ความฉ้อฉลเป็นบรรทัดฐานในการบริหารบ้านเมือง ความฉ้อฉลไม่จำกัดอยู่ที่การฉ้อราษฎร์บังหลวงจำพวกหักเงินใต้โต๊ะในอัตราร้อยละ 30 ของโครงการรัฐบาลและการติดสินบนในกิจการต่างๆ เท่านั้น หากยังครอบคลุมไปถึงการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมและศีลธรรมจรรยาอีกด้วย
ญาติกาธิปไตย (Cronyismocracy) ได้แก่การแต่งตั้งญาติพี่น้องและพวกพ้องให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ และการกระทำทุกอย่างเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้เป็นหลักนอกเหนือจากของตัวผู้บงการเองแล้ว
ประชานิยมาธิปไตย (Populismocracy) คือการมอมเมาประชาชนด้วยมาตรการและโครงการประชานิยมซึ่งเป็นการหยิบยื่นสิ่งต่างๆ ให้ประชาชนแบบให้เปล่าโดยซุกซ่อนที่มาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการหยิบยื่นนั้น ตั้งแต่ปี 2544 โครงการจำพวกนี้ทยอยออกมาแบบไม่ขาดสาย โครงการสุดท้ายที่จะทำลายประเทศไทยแบบราบคาบคือโครงการรับจำนำข้าว
ส่วนทุนสามานย์อาจหมายถึงบุคคล หรือองค์กรก็ได้ซึ่งบิดเบือนหรือละเมิดฐานทางจรรยาบรรณและกฎเกณฑ์ของระบบตลาดเสรีเพื่อผลประโยชน์ของพวกตน
ระบบตลาดเสรีอยู่คู่กับสังคมมนุษย์มานมนาน เนื่องจากมันสะท้อนสัญชาตญาณในสองด้านของมนุษย์ นั่นคือ เราเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวที่เมื่อมีอะไรอยู่ในมือ หรือในครอบครองจะนำมาแลกเปลี่ยนกัน การกระทำเช่นนั้นเป็นกระบวนการพื้นฐานของ “ตลาด” การแลกเปลี่ยนอาจเกิดขึ้นในภาวะแวดล้อมที่มีเพียงสองคน หรือในภาวะที่มีคนนับล้านก็ได้ นอกจากนั้น เราต้องการความ “เสรี” ในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งในด้านการแลกเปลี่ยน ด้วยเหตุนี้ ตลาดเสรีจึงมีอยู่คู่กับมนุษย์เรามาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลแม้รูปแบบจะต่างกันบ้างในต่างกาลและสถานที่ก็ตาม ระบบตลาดเสรีจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อบุคคลมีจรรยาบรรณและทำตามกฎเกณฑ์ของมันโดยเฉพาะจะต้องไม่มีการผูกขาดเกิดขึ้น
เศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นระบบไหนต้องใช้ “ทุน” ซึ่งทุกคนดูจะรู้ว่าแปลมาจาก Capital แต่ส่วนใหญ่จะไม่ตระหนักว่ามันมีที่มาอย่างไร Capital มีรากมาจากภาษาละติน Caput, Capit หรือ Capita ซึ่งมีความหมายว่า “หัว” หากสืบสาวต่อไปถึงการใช้คำนี้ทางเศรษฐกิจ “ทุน” อาจหมายถึงสิ่งที่อยู่ใน “หัว” หรือมันสมองของคนก็ได้ ถ้าไม่มีมันสมองย่อมทำอะไรไม่ได้เพราะไม่มี “ทุน” หรืออาจหมายถึงจำนวนของสัตว์เช่นวัวที่เกษตรกรเลี้ยงไว้โดยที่วัวหนึ่งตัวมีหนึ่งหัว ใครที่มีวัวมากตัวยิ่งมีทุนมากและผู้อื่นอาจเช่าไปใช้ได้เช่นเดียวกับเรายืมเงินไปลงทุนในปัจจุบัน จากมุมมองนี้ แม้แต่ระบบคอมมิวนิสต์ซึ่งอยู่คนละขั้วกับรบบตลาดเสรีก็จะต้องมี “ทุน”
ในโลกปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ทุน” เรามักหมายถึงเงินที่นำมาใช้ในกิจการทางด้านการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับโรงงาน การค้าขาย หรือการสร้างปัจจัยพื้นฐานจำพวกถนนหนทาง ทั้งที่ทุนมีความหมายกว้างกว่านั้นซึ่งเรามักได้ยินกันในนามของทุนทางสังคม ทุนทางปัญญาและทุนทางสถาบัน เป็นต้น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะทุนทางการเงินมักถูกเน้นให้เป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดในระบบตลาดเสรีหลังจากวันที่ระบบศักดินาในยุโรปล่มสลายไปเมื่อราว 600 ปีก่อน จึงอาจพูดได้ว่านั่นเป็นที่มาของระบบ “ทุนนิยม” หรือ Capitalism ในหลายๆ กรณีมักมีการใช้คำว่าทุนนิยมแทนตลาดเสรีทั้งที่ตลาดเสรีมีความครอบคลุมมากกว่า นอกจากนั้น การมองว่าเงินมีความสำคัญในโลกปัจจุบันเหนือสิ่งอื่นใดยังมีส่วนทำให้สถานะของทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
การเน้นความสำคัญของเงินทุนนำไปสู่การมุ่งสะสมเงินกันอย่างกว้างขวาง ผู้มีเงินทุนจำนวนมากสามารถบันดาลให้อะไรๆ เกิดขึ้นได้ในด้านเศรษฐกิจ ทั้งในทางที่ดีตามระบบตลาดเสรีทั่วไป และในทางชั่วร้ายที่ขัดกับกฎเกณฑ์ของระบบตลาดเสรีโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการผูกขาด ยิ่งถ้าผู้มีเงินทุนเป็นผู้มีอำนาจและขาดศีลธรรมจรรยาด้วยแล้ว ระบบตลาดเสรีจะไม่มีโอกาสประสบประสิทธิผลตามอุดมการณ์ได้เลย ด้วยเหตุนี้ สังคมที่ต้องการใช้ระบบตลาดเสรีตามอุดมการณ์จึงต้องพยายามป้องกันอย่างสุดความสามารถที่จะมิให้การผูกขาดเกิดขึ้น
โดยทั่วไปในโลกปัจจุบัน การป้องกันมิให้เกิดการผูกขาดในรูปแบบต่างๆ ดูจะไม่ค่อยได้ผล ทั้งนี้เพราะเงินได้เข้าไปแทรกแซงถึงแก่นในของโลกส่วนใหญ่ที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยบริหารประเทศแล้ว ยิ่งกว่านั้น ในหลายๆ กรณี ประเทศที่เป็นมหาอำนาจมักเอื้อให้บริษัทสัญชาติตนเข้าไปผูกขาดและก้าวก่ายในเศรษฐกิจของประเทศที่มีอำนาจน้อยกว่า ปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของคำว่า “ทุนสามานย์”
จากความหมายดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่านักโทษหนีคุกทักษิณและระบอบทักษิณมีส่วนประกอบของทุนสามานย์แบบแทบครบถ้วน โดยเฉพาะในการใช้เงินนำหน้า การแสวงหาอำนาจ การขาดจรรยาบรรณ และการต้องการผูกขาดตลาดต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีการให้ความร่วมมือกับทุนสามานย์ต่างชาติเพื่อก่อให้เกิดการผูกขาดในส่วนที่ตนไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนละเมิดกฎเกณฑ์เบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีทั้งสิ้น
ในช่วงเวลากว่า 12 ปีที่ระบอบทักษิณและทุนสามานย์พยายามขับเคลื่อนกระบวนการทุกอย่างในเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ หรือทางสังคมนั้นเปรียบเสมือนการจับคนไทยใส่เข่ง 5 เหลี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสามารถจับได้ พวกขับเคลื่อนกระบวนการก็จะปิดฝาแล้วถีบเข่งให้ตกหน้าผา หรือไม่ก็นำไปโยนลงในมหาสมุทร ส่งผลให้สังคมไทยล่มสลาย หรืออย่างน้อยก็กลายเป็นรัฐล้มเหลวแบบสมบูรณ์