**ได้รับความเมตตาปราณีแล้วยังไม่สำนึก สำหรับ “ลิ่วล้อนายใหญ่” ที่ออกมาตีโพยตีพายกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่มา ส.ว. ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง
ทั้งที่จริงๆ น่าจะตายคาที่ไปแล้ว หากศาลรัฐธรรมนูญไม่คำนึงถึงสถานการณ์บ้านเมืองว่า อาจจะร้อนเป็นไฟจากผู้ไม่หวังดีที่อาจหยิบคำวินิจฉัยไปปลุกปั่นปลุกระดมให้คนมาฆ่ากันตามความถนัด
เพราะหากวัดกันตามบาลีบนตัวบทกฎหมายแบบเถรตรง โดยเฉพาะมติ 5 ต่อ 4 ของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ขัดต่อมาตรา 68 เนื่องจากมีเนื้อความเป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 1
**โทษคือ ยุบพรรคการเมือง หรือขั้นสูงสุดถึงประหารชีวิต!!
ทว่าโชคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังเอาหลักรัฐศาสตร์มาเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยด้วย ไม่อย่างนั้น“ตายหมู่” กันไปยกเข่งแล้ว
จะเห็นว่า มีแต่ลิ่วล้อมาโวยวายกันโหวกเหวก ท่องเป็นกลอนว่า อำนาจตุลาการไม่สามารถก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติได้ แต่ไม่มีใครสักคนที่จะออกมาหักล้างเหตุผลกับคำวินิจฉัยที่ขัดรัฐธรรมนูญไม่รู้กี่จุดต่อกี่จุด
เพราะเอาเข้าจริงๆ มันเถียงกันไม่ขึ้นด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นพยานหลักฐานที่โจ่งแจ้งคาตา หรือตัวบทกฎหมายที่ฝ่าฝืนกันแบบเละเทะ เลยทำได้แต่ฟาดงวงฟาดงา
โดยเฉพาะแกนนำคนเสื้อแดงที่เก่งแต่ปลุกระดม แต่เรื่องกฎหมายสอบตกกันรูด ดันตีความคำวินิจฉัยว่า เป็นชัยชนะของตัวเอง เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่กล้ายุบพรรคการเมือง
**แต่หารู้ไม่ว่า เงาหัวจะขาดไม่รู้ตัว!!
เพราะหากพลิกรัฐธรรมนูญไปดูมาตรา 216 วรรค 5 ที่ระบุว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ”
นั่นหมายความว่า บรรดา 312 ส.ส. และส.ว.เหล่านี้คือ ผู้กระทำความผิดแบบสำเร็จแล้ว
ต่อให้ “ลิ่วล้อนายใหญ่” จะประกาศจุดยืนไม่รับอำนาจ หรือจะคัดค้านรูปแบบใดก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแล้วคือ “คนผิด” อยู่วันยังค่ำตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
และแม้จะไม่โดนยุบพรรค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ขบวนการชำแหละรัฐธรรมนูญว่าที่ผู้ต้องหา 312 ราย จะเดินลอยไปลอยมาสบายใจเฉิบได้ เพราะต้องอย่าลืมว่า สงครามครั้งนี้ระหว่างฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณกับเครือข่ายระบอบทักษิณยังไม่จบ และยังต้องต่อสู้กันอีกยาวอีกหลายยก
โดยเฉพาะเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 ว่า “การดำเนินการพิจารณาและล้มมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายรัฐธธรมนูญ โดยกฎหมายมาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และ วรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 วรรค 2 และวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ว่ามีเนื้อความเป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธธรมนูญมาตรา 68 วรรค 1”
และเมื่อมาตรา 216 ระบุว่า ให้คำวินิจฉัยขอศาลรัฐธรรมนูญมีผลพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ย่อมทำให้สามารถนำเรื่องนี้ไปยื่นเรื่องถอดถอน 312 ส.ส.และส.ว. จากตำแหน่งที่ร่วมลงชื่อในครั้งนี้ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้อีกทอดหนึ่ง
แน่นอนว่า เมื่อคำวินิจฉัยมีผลผูกพันกับทุกองค์กร ว่ากันตามความเป็นจริง “ป.ป.ช.” แทบไม่ต้องคิดอะไรมากด้วยซ้ำเมื่อหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา หลังจากที่มีคนยื่นเรื่องนี้เอาไว้แล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่วินิจฉัยความผิดให้แล้ว
**ชนิดชี้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ต้องชี้ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างเดียวนั่นคือ 312 ส.ส. และส.ว.กระทำความผิด ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญาทุกคน
ตามสภาพ “ป.ป.ช.” จึงเหลือแค่ทำตามกระบวนการขั้นตอนถอดถอนให้ถูกต้องเท่านั้น แล้วไปจบกันที่ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หากศาลรับไว้พิจารณา พวกนี้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที ภาษาชาวบ้านก็คือ ท่านผู้ทรงเกียรติเหล่านี้รอวันนอนคุก หรือรอวันตายดีๆ นี่เอง
หรือจะมองอีกมุมหนึ่ง การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในครั้งนี้ ผู้กระทำความผิดไม่ได้ตายคามือ แต่ตายไปตามครรลองและกระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แม้จะตีกรรเชียงหนีฝ่าวงล้อมชั้นรัฐสภามาได้ แต่ตอนนี้เองก็ตกอยู่ในสภาวะลำบากเหมือนกัน เพราะแม้จะไม่ได้ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องเต็มๆ เพราะเป็นผู้นำกฎหมายฉบับนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งที่อยู่ระหว่างการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีหลายฝ่ายออกมาท้วงติงว่าอาจเป็นการทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท แต่นายกฯหญิงกลับไม่ได้รับฟังเลย เอาแต่ท่องโพยว่า ต้องทูลเกล้าฯภายใน 20 วันราวกับถูกโปรแกรมไว้
**จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้หากจะถูกโจมตีและกดดันให้รับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี!!
กระนั้นก็ตาม ด้วยพะยี่ห้อ “ซุปเปอร์ด้าน”การลาออกจากผู้นำประเทศจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเกิดขึ้น สำหรับรัฐบาลภายใต้การบงการของ “น.ช.ทักษิณ” เพราะไม่เคยคิดจะแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ตัวเองผิดพลาดเลยสักครั้ง ไม่ว่าทั้งในอดีตหรือปัจจุบัน
ทางเดียวที่เหลือให้ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” พอดิ้นได้ก็คือ การยุบสภาเพื่อฟอกตัวเองแล้วกลับสู่อำนาจใหม่อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นทางลงที่นุ่มนวลและชาญฉลาดที่สุด แถมมีข้ออ้างสวยหรูให้หยิบยกมาแหกตาชาวบ้านชาวช่องได้อีก
แต่ปัญหาคือ จะไปรอดตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เพราะต้องอย่าลืมว่า การยุบสภาไม่ได้ทำให้คดีความที่อยู่ในชั้น“ป.ป.ช.” หรือ “ศาล” สลายหายไปด้วย หากแต่ติดตัวไปจนกว่าคดีจะสิ้นสุด จะเลือกตั้งมาใหม่กี่ครั้ง หากคดียังค้ำคออยู่อย่างไรก็หายใจไม่โล่งคอ ดีไม่ดีได้รับเลือกตั้งกลับใหม่ วันดีคืนดีศาลพิพากษาว่าผิดขึ้นมา ก็สิ้นสภาพความเป็น ส.ส.อยู่ดี
การยุบสภาจึงอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ดีสำหรับรัฐบาลเสมอไป ที่สำคัญคือ ถ้าญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจถูกบรรจุเข้าวาระแล้ว จะยุบสภาไม่ได้
**เข้ารูปนี้คนไทยนั่งนับเวลาถอยหลังรอชม “โศกนาฎกรรมหมู่” 312 ส.ส.-ส.ว.กันดีกว่า.
ทั้งที่จริงๆ น่าจะตายคาที่ไปแล้ว หากศาลรัฐธรรมนูญไม่คำนึงถึงสถานการณ์บ้านเมืองว่า อาจจะร้อนเป็นไฟจากผู้ไม่หวังดีที่อาจหยิบคำวินิจฉัยไปปลุกปั่นปลุกระดมให้คนมาฆ่ากันตามความถนัด
เพราะหากวัดกันตามบาลีบนตัวบทกฎหมายแบบเถรตรง โดยเฉพาะมติ 5 ต่อ 4 ของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ขัดต่อมาตรา 68 เนื่องจากมีเนื้อความเป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 1
**โทษคือ ยุบพรรคการเมือง หรือขั้นสูงสุดถึงประหารชีวิต!!
ทว่าโชคดีที่ศาลรัฐธรรมนูญยังเอาหลักรัฐศาสตร์มาเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยด้วย ไม่อย่างนั้น“ตายหมู่” กันไปยกเข่งแล้ว
จะเห็นว่า มีแต่ลิ่วล้อมาโวยวายกันโหวกเหวก ท่องเป็นกลอนว่า อำนาจตุลาการไม่สามารถก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติได้ แต่ไม่มีใครสักคนที่จะออกมาหักล้างเหตุผลกับคำวินิจฉัยที่ขัดรัฐธรรมนูญไม่รู้กี่จุดต่อกี่จุด
เพราะเอาเข้าจริงๆ มันเถียงกันไม่ขึ้นด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นพยานหลักฐานที่โจ่งแจ้งคาตา หรือตัวบทกฎหมายที่ฝ่าฝืนกันแบบเละเทะ เลยทำได้แต่ฟาดงวงฟาดงา
โดยเฉพาะแกนนำคนเสื้อแดงที่เก่งแต่ปลุกระดม แต่เรื่องกฎหมายสอบตกกันรูด ดันตีความคำวินิจฉัยว่า เป็นชัยชนะของตัวเอง เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่กล้ายุบพรรคการเมือง
**แต่หารู้ไม่ว่า เงาหัวจะขาดไม่รู้ตัว!!
เพราะหากพลิกรัฐธรรมนูญไปดูมาตรา 216 วรรค 5 ที่ระบุว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ”
นั่นหมายความว่า บรรดา 312 ส.ส. และส.ว.เหล่านี้คือ ผู้กระทำความผิดแบบสำเร็จแล้ว
ต่อให้ “ลิ่วล้อนายใหญ่” จะประกาศจุดยืนไม่รับอำนาจ หรือจะคัดค้านรูปแบบใดก็ตาม แต่ในทางกฎหมายแล้วคือ “คนผิด” อยู่วันยังค่ำตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
และแม้จะไม่โดนยุบพรรค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ขบวนการชำแหละรัฐธรรมนูญว่าที่ผู้ต้องหา 312 ราย จะเดินลอยไปลอยมาสบายใจเฉิบได้ เพราะต้องอย่าลืมว่า สงครามครั้งนี้ระหว่างฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณกับเครือข่ายระบอบทักษิณยังไม่จบ และยังต้องต่อสู้กันอีกยาวอีกหลายยก
โดยเฉพาะเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 ต่อ 3 ว่า “การดำเนินการพิจารณาและล้มมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายรัฐธธรมนูญ โดยกฎหมายมาตรา 122 มาตรา 125 วรรค 1 และ วรรค 2 มาตรา 126 วรรค 3 มาตรา 291 และมาตรา 3 วรรค 2 และวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 ว่ามีเนื้อความเป็นสาระสำคัญขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธธรมนูญมาตรา 68 วรรค 1”
และเมื่อมาตรา 216 ระบุว่า ให้คำวินิจฉัยขอศาลรัฐธรรมนูญมีผลพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ย่อมทำให้สามารถนำเรื่องนี้ไปยื่นเรื่องถอดถอน 312 ส.ส.และส.ว. จากตำแหน่งที่ร่วมลงชื่อในครั้งนี้ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้อีกทอดหนึ่ง
แน่นอนว่า เมื่อคำวินิจฉัยมีผลผูกพันกับทุกองค์กร ว่ากันตามความเป็นจริง “ป.ป.ช.” แทบไม่ต้องคิดอะไรมากด้วยซ้ำเมื่อหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา หลังจากที่มีคนยื่นเรื่องนี้เอาไว้แล้ว เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่วินิจฉัยความผิดให้แล้ว
**ชนิดชี้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ต้องชี้ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างเดียวนั่นคือ 312 ส.ส. และส.ว.กระทำความผิด ต้องถูกดำเนินคดีทางอาญาทุกคน
ตามสภาพ “ป.ป.ช.” จึงเหลือแค่ทำตามกระบวนการขั้นตอนถอดถอนให้ถูกต้องเท่านั้น แล้วไปจบกันที่ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
หากศาลรับไว้พิจารณา พวกนี้ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที ภาษาชาวบ้านก็คือ ท่านผู้ทรงเกียรติเหล่านี้รอวันนอนคุก หรือรอวันตายดีๆ นี่เอง
หรือจะมองอีกมุมหนึ่ง การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในครั้งนี้ ผู้กระทำความผิดไม่ได้ตายคามือ แต่ตายไปตามครรลองและกระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แม้จะตีกรรเชียงหนีฝ่าวงล้อมชั้นรัฐสภามาได้ แต่ตอนนี้เองก็ตกอยู่ในสภาวะลำบากเหมือนกัน เพราะแม้จะไม่ได้ร่วมลงชื่อในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่มีส่วนเกี่ยวข้องเต็มๆ เพราะเป็นผู้นำกฎหมายฉบับนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ทั้งที่อยู่ระหว่างการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีหลายฝ่ายออกมาท้วงติงว่าอาจเป็นการทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท แต่นายกฯหญิงกลับไม่ได้รับฟังเลย เอาแต่ท่องโพยว่า ต้องทูลเกล้าฯภายใน 20 วันราวกับถูกโปรแกรมไว้
**จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้หากจะถูกโจมตีและกดดันให้รับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี!!
กระนั้นก็ตาม ด้วยพะยี่ห้อ “ซุปเปอร์ด้าน”การลาออกจากผู้นำประเทศจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเกิดขึ้น สำหรับรัฐบาลภายใต้การบงการของ “น.ช.ทักษิณ” เพราะไม่เคยคิดจะแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่ตัวเองผิดพลาดเลยสักครั้ง ไม่ว่าทั้งในอดีตหรือปัจจุบัน
ทางเดียวที่เหลือให้ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” พอดิ้นได้ก็คือ การยุบสภาเพื่อฟอกตัวเองแล้วกลับสู่อำนาจใหม่อีกครั้ง ซึ่งถือเป็นทางลงที่นุ่มนวลและชาญฉลาดที่สุด แถมมีข้ออ้างสวยหรูให้หยิบยกมาแหกตาชาวบ้านชาวช่องได้อีก
แต่ปัญหาคือ จะไปรอดตลอดรอดฝั่งหรือไม่ เพราะต้องอย่าลืมว่า การยุบสภาไม่ได้ทำให้คดีความที่อยู่ในชั้น“ป.ป.ช.” หรือ “ศาล” สลายหายไปด้วย หากแต่ติดตัวไปจนกว่าคดีจะสิ้นสุด จะเลือกตั้งมาใหม่กี่ครั้ง หากคดียังค้ำคออยู่อย่างไรก็หายใจไม่โล่งคอ ดีไม่ดีได้รับเลือกตั้งกลับใหม่ วันดีคืนดีศาลพิพากษาว่าผิดขึ้นมา ก็สิ้นสภาพความเป็น ส.ส.อยู่ดี
การยุบสภาจึงอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่ดีสำหรับรัฐบาลเสมอไป ที่สำคัญคือ ถ้าญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจถูกบรรจุเข้าวาระแล้ว จะยุบสภาไม่ได้
**เข้ารูปนี้คนไทยนั่งนับเวลาถอยหลังรอชม “โศกนาฎกรรมหมู่” 312 ส.ส.-ส.ว.กันดีกว่า.