นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ต้องการให้พรรคการเมืองแต่ละพรรคลดการใช้โครงการประชานิยมที่ไม่สมเหตุสมผล เช่น การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด หรือการรับจำนำสินค้าเกษตรกรในราคาที่สูงกว่าตลาดโลกมากๆ เพราะจะกระทบต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความมั่นคงต่อฐานะการคลังของประเทศได้
“การที่พรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมที่สุดโต่ง หรือมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาในระยะยาว เชื่อว่าในอนาคตเศรษฐกิจของประเทศจะประสบปัญหาอย่างแน่นอน หรือเศรษฐกิจช็อคได้ สุดท้ายก็จะนำประเทศเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ”
สำหรับนโยบายที่นักวิชาการและภาคเอกชนเป็นห่วงมากที่สุดว่าและเกรงว่าจะเกิดขึ้นอีก ก็คือ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด เพราะหากมีการเพิ่มเป็น 350-400 บาทต่อวันทั่วประเทศ ภาคอุตสาหกรรมจะช็อคทันที เนื่องจากภาคเอกชนไม่สามารถรับภาระเรื่องต้นทุนได้มากกว่านี้อีกแล้ว รวมถึงนโยบายรับจำนำข้าวในลักษณะทุกเมล็ดและให้ราคาที่สูงเกินจริง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ แต่ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวของไทยได้เลย
อย่างไรก็ตาม การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ พบว่า ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนแรงงาน ก็มีการปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 350-400 บาทต่อวันไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนในต่างจังหวัดยังอยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน ดังนั้น หากต่อไปจะมีการปรับขึ้น ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ไม่ใช่ให้รัฐบาลมาแทรกแซง และที่สำคัญการปรับค่าจ้างไม่ควรปรับเท่ากันหมดทั่วประเทศ.
“การที่พรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมที่สุดโต่ง หรือมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาในระยะยาว เชื่อว่าในอนาคตเศรษฐกิจของประเทศจะประสบปัญหาอย่างแน่นอน หรือเศรษฐกิจช็อคได้ สุดท้ายก็จะนำประเทศเข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ”
สำหรับนโยบายที่นักวิชาการและภาคเอกชนเป็นห่วงมากที่สุดว่าและเกรงว่าจะเกิดขึ้นอีก ก็คือ การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด เพราะหากมีการเพิ่มเป็น 350-400 บาทต่อวันทั่วประเทศ ภาคอุตสาหกรรมจะช็อคทันที เนื่องจากภาคเอกชนไม่สามารถรับภาระเรื่องต้นทุนได้มากกว่านี้อีกแล้ว รวมถึงนโยบายรับจำนำข้าวในลักษณะทุกเมล็ดและให้ราคาที่สูงเกินจริง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ แต่ไม่สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวของไทยได้เลย
อย่างไรก็ตาม การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ พบว่า ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนแรงงาน ก็มีการปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 350-400 บาทต่อวันไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่วนในต่างจังหวัดยังอยู่ในระดับ 300 บาทต่อวัน ดังนั้น หากต่อไปจะมีการปรับขึ้น ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ไม่ใช่ให้รัฐบาลมาแทรกแซง และที่สำคัญการปรับค่าจ้างไม่ควรปรับเท่ากันหมดทั่วประเทศ.