วันนี้ประเทศไทยเกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมา เมื่อพลังมวลชนผู้รักความถูกต้องทั่วประเทศทุกหมู่เหล่า รวมถึงคนไทยที่อาศัยอยู่ต่างแดนพร้อมใจกันลุกขึ้นมาคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่ผ่านสภาฉลุยทั้งสามวาระ และกำลังจะเข้าสู่วุฒิสภาเร็วๆนี้
นี่เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าระบบการเมืองไทยผ่านระบบรัฐสภานั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แม้ว่าตั้งแต่ก่อนจะผ่านวาระหนึ่งพรรคฝ่ายค้านจะสามารถใช้ไม้ตายยกพรรคลาออกจาก ส.ส. ให้สภาไม่สามารถเดินต่อไปได้ในการหยุดยั้งการพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ตาม แต่คำว่าเสียสละนั้นไม่เคยมีในกมลสันดานของนักการเมือง จนในที่สุดเมื่อไม่มีทางเลือกประชาชนไม่รู้จะพึ่งใครจึงต้องพึ่งตัวเองพากันออกมาแสดงการคัดค้านร่วมกันพรึ่บพรั่บดังที่เป็นอยู่
วันนี้ไม่สำคัญอีกต่อไปว่าม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษจะจัดโดยใคร จะมีม็อบไหนบ้าง และใครจะมีจุดมุ่งหมายอย่างไรและพยายามจะผลักดันม็อบไปในทิศทางใด เพราะเมื่อมวลชนตื่นรู้และพร้อมจะต้านจนสุดซอยแล้ว ผู้จัดม็อบย่อมไม่เหลือทางเลือกใดนอกจากเดินตามหัวใจของประชาชน การเกิดขึ้นของม็อบอุรุพงษ์คือตัวอย่างแรกที่มวลชนเป็นคนนำม็อบหาใช่แกนนำเป็นผู้ตัดสินใจ
การตัดสินใจปักหลักที่ราชดำเนินของขบวนจากสามเสนก็เกิดขึ้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้งๆ ที่แต่แรกผู้จัดไม่มีแนวคิดที่จะเคลื่อนไหวในเชิงรุกจากเวทีสามเสนนอกจากผลักภาระไปยังเวทีวุฒิสภาขณะหวังใช้สามเสนเป็นเวทีปราศรัยหาเสียงเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนยุทธวิธีเมื่อประชาชนเริ่มเห็นแล้วว่าแกนนำสู้อย่างไม่เต็มที่
โดยที่ประชาชนที่เข้าร่วมจำนวนมากต้องการให้มีการยกระดับการชุมนุมเป็นรูปธรรม จึงมีแนวคิดในการเคลื่อนม็อบเกิดขึ้น และเมื่อไปแล้วก็ไม่อยากกลับมาอยู่ที่เดิม เสียงเรียกร้องอันทรงพลังของผู้เข้าร่วมชุมนุมทำให้คณะผู้จัดม็อบต้องประชุมด่วนกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อหารือเพื่อปรับทิศทางกันใหม่
"ม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมรอบนี้ทุกม็อบจึงถูกกำหนดทิศทางโดยประชาชนอย่างแท้จริง"
เมื่อรวมเข้ากับภาพของประชาชนคนทั่วไปที่ร่วมกันเป่านกหวีดกันเต็มสีลม จนแม้แต่นักการเมืองบางคนยังต้องทิ้งม็อบตัวเองกระโดดเข้าไปร่วมเกาะกระแสเมื่อวันก่อน ภาพของพลังนักศึกษาจุฬาฯ เมื่อวันวานเดินแสดงพลังกันเต็นถนนไปยังลานหอศิลป์ กรุงเทพมหานคร และอีกหลายเครือข่ายและสถาบันการศึกษาที่ทยอยตามๆ ออกมา อาทิ ม.รังสิต มหิดล ยิ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยทุกเพศทุกวัยหลากสาขาอาชีพพร้อมแล้ว และไม่มีอะไรจะมาหยุดกระแสการต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในครั้งนี้ได้
การออกมาประกาศความชอบธรรมของกระบวนการทางรัฐสภาในการผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ดังกล่าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และการเกณฑ์กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือคนเสื้อแดงบางส่วนมาสร้างม็อปปาหี่สนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทษ ราวกับจะประกาศศักดาฮึดสู้และโยนหินถามทางไปในเวลาเดียวกัน ก็ยิ่งจะเป็นเชื้อไฟชั้นดีที่ทำให้กระแสต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ลุกลามไปรวดเร็วกว่าไฟลามทุ่งและมีแต่จะรุนแรงขึ้น
ถ้าพรรครัฐบาลยังคงใช้เสียงวุฒิสภาที่มากกว่าในทิศทางเดิมแม้จะเป็นไปตามกระบวนการทางประชาธิปไตยในขั้นสุดท้ายก็รับรองว่า ประเทศไทยจะต้องมีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน คล้ายกับประเทศอียิปต์ เพราะวันนี้มวลชนพร้อมที่จะต้านสุดซอย ไม่ว่าแกนนำบางส่วนจะไม่ต้องการให้มีสุญญากาศทางการเมืองอย่างไรก็คงเอาไม่อยู่
หรือหากทหารที่ปัจจุบันประกาศเป็นขี้ข้ารัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงอย่างไร หากประชาชนพบว่าโดนแหกตาก็คงจะยิ่งวุ่นวาย พลังของประชาชนในชั่วโมงนี้นั้นมีพลานุภาพพอที่จะกดดันให้ทหารมีการจัดการกันเองภายในให้เข้ารูปเข้ารอยได้ด้วยซ้ำ ถ้าประชาชนคอยเฝ้าระวังการชุบมือเปิบกันอย่างแข็งขัน
การลุกฮือขึ้นต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในเวลานี้เท่ากับเป็นการส่งสัญญากลายๆ ว่าประชาชนหมดความอดทนกับระบอบทักษิณและเป็นการส่งสารถึงครอบครัวตระกูลชินวัตรว่าพวกคุณไม่เป็นที่ต้อนรับในแวดวงสังคมอีกต่อไป เรื่องนี้แม้แต่ “อุ๊งอิ๊ง” น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กก็ยังรู้สึกได้จนถึงกับต้องตัดพ้อออกมาว่ารู้สึกท้อแท้
ดังนั้นการจะเดินให้สุดซอยของรัฐบาลนอมินีทักษิณ ชินวัตร คงจะต้องแลกกับการที่ครอบครัวและวงศาคณาญาติทั้งหมดจะต้องระหกระเหินออกจากประเทศไทย เพราะคนไทยทุกคนส่วนใหญ่ที่ออกมาเคลื่อนไหวตรงนี้ทุกสีทุกเพศทุกวัย มีจุดร่วมที่ตรงกันและเป็นจุดร่วมที่ทรงพลัง
ซึ่งถึงที่สุดแล้วยังไงฝ่ายประชาชนก็ต้องเป็นฝ่ายชนะ เรื่องนี้สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าไม่ยากนักหากเอาความเข้มข้นของสถานการณ์และความตื่นตัวของประชาชนในปัจจุบันเป็นตัวตั้ง
แต่หากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจจะหาทางลงโดยการลอบบี้ให้วุฒิสภาไม่รับร่างก็ดี หรือใช้ไม้เด็ดโดยการยุบสภาก็ดี ซึ่งกรณีเหล่านี้มีโอกาสพลิกผันเป็นไปได้ทั้งนั้น จุดนี้จึงเป็นหัวข้อสำคัญที่คนไทยผู้รักความถูกต้องจะต้องคิดกันให้ตกผลึกเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆว่า
"ในภาวะที่ระบบสภาล้มเหลวอยู่อย่างในปัจจุบันนี้ และสถานการณ์บ้านเมืองมันดำเนินมาจนถึงขั้นนี้ เราพร้อมที่จะกลับไปเลือกตั้งกันหรือยัง?"
ในเมื่อเรามีตัวอย่าง สมการที่สามารถเขียนให้เข้าใจง่ายๆ ว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านสภาโดยที่ประชาชนพากันคัดค้าน = ความล้มเหลวของระบบรัฐสภา = ความล้มเหลวของฝ่ายค้าน = การหมดความชอบธรรมของรัฐบาล (นี่ยังไม่นับเรื่องค่าครองชีพ คอร์รัปชั่น และการสูญเสียอธิปไตย)
ในขณะที่ขบวนการภาคประชาชนตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้งและรวมพลังกันติดทุกเครือข่าย มีพลังอยู่ในมือพอที่จะผลักดันประเทศไทยออกไปจากวังวนเดิมๆ ได้
คำถามคือถ้าเราเจอกับดักการยุบสภาหนีปัญหาของรัฐบาลที่หมดความชอบธรรม เราจะหยุดอยู่เพียงเท่านี้ ปล่อยให้มีการยุบสภาหนียอมให้มีการเลือกตั้งผ่านประชาธิปไตย 4 วินาทีพวกมากลากไป เพื่อรอให้ปัญหาเดิมๆ มันกลับมาให้เราต้องประท้วงกันใหม่หรือ?
ตรรกะ และ คำถามเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ไกลตัวอีกต่อไป หากแต่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ พรุ่งนี้? มะรืนนี้? พ.ร.บ.ยังไม่ผ่านแล้วยุบสภา? หรือ พ.ร.บ.ผ่านแล้วยุบทันที?
วันนี้เราได้เตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้าแล้วหรือยังว่าจะเอายังไง?
นี่เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าระบบการเมืองไทยผ่านระบบรัฐสภานั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แม้ว่าตั้งแต่ก่อนจะผ่านวาระหนึ่งพรรคฝ่ายค้านจะสามารถใช้ไม้ตายยกพรรคลาออกจาก ส.ส. ให้สภาไม่สามารถเดินต่อไปได้ในการหยุดยั้งการพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็ตาม แต่คำว่าเสียสละนั้นไม่เคยมีในกมลสันดานของนักการเมือง จนในที่สุดเมื่อไม่มีทางเลือกประชาชนไม่รู้จะพึ่งใครจึงต้องพึ่งตัวเองพากันออกมาแสดงการคัดค้านร่วมกันพรึ่บพรั่บดังที่เป็นอยู่
วันนี้ไม่สำคัญอีกต่อไปว่าม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษจะจัดโดยใคร จะมีม็อบไหนบ้าง และใครจะมีจุดมุ่งหมายอย่างไรและพยายามจะผลักดันม็อบไปในทิศทางใด เพราะเมื่อมวลชนตื่นรู้และพร้อมจะต้านจนสุดซอยแล้ว ผู้จัดม็อบย่อมไม่เหลือทางเลือกใดนอกจากเดินตามหัวใจของประชาชน การเกิดขึ้นของม็อบอุรุพงษ์คือตัวอย่างแรกที่มวลชนเป็นคนนำม็อบหาใช่แกนนำเป็นผู้ตัดสินใจ
การตัดสินใจปักหลักที่ราชดำเนินของขบวนจากสามเสนก็เกิดขึ้นในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้งๆ ที่แต่แรกผู้จัดไม่มีแนวคิดที่จะเคลื่อนไหวในเชิงรุกจากเวทีสามเสนนอกจากผลักภาระไปยังเวทีวุฒิสภาขณะหวังใช้สามเสนเป็นเวทีปราศรัยหาเสียงเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนยุทธวิธีเมื่อประชาชนเริ่มเห็นแล้วว่าแกนนำสู้อย่างไม่เต็มที่
โดยที่ประชาชนที่เข้าร่วมจำนวนมากต้องการให้มีการยกระดับการชุมนุมเป็นรูปธรรม จึงมีแนวคิดในการเคลื่อนม็อบเกิดขึ้น และเมื่อไปแล้วก็ไม่อยากกลับมาอยู่ที่เดิม เสียงเรียกร้องอันทรงพลังของผู้เข้าร่วมชุมนุมทำให้คณะผู้จัดม็อบต้องประชุมด่วนกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อหารือเพื่อปรับทิศทางกันใหม่
"ม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมรอบนี้ทุกม็อบจึงถูกกำหนดทิศทางโดยประชาชนอย่างแท้จริง"
เมื่อรวมเข้ากับภาพของประชาชนคนทั่วไปที่ร่วมกันเป่านกหวีดกันเต็มสีลม จนแม้แต่นักการเมืองบางคนยังต้องทิ้งม็อบตัวเองกระโดดเข้าไปร่วมเกาะกระแสเมื่อวันก่อน ภาพของพลังนักศึกษาจุฬาฯ เมื่อวันวานเดินแสดงพลังกันเต็นถนนไปยังลานหอศิลป์ กรุงเทพมหานคร และอีกหลายเครือข่ายและสถาบันการศึกษาที่ทยอยตามๆ ออกมา อาทิ ม.รังสิต มหิดล ยิ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยทุกเพศทุกวัยหลากสาขาอาชีพพร้อมแล้ว และไม่มีอะไรจะมาหยุดกระแสการต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในครั้งนี้ได้
การออกมาประกาศความชอบธรรมของกระบวนการทางรัฐสภาในการผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ดังกล่าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และการเกณฑ์กำนันผู้ใหญ่บ้านหรือคนเสื้อแดงบางส่วนมาสร้างม็อปปาหี่สนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทษ ราวกับจะประกาศศักดาฮึดสู้และโยนหินถามทางไปในเวลาเดียวกัน ก็ยิ่งจะเป็นเชื้อไฟชั้นดีที่ทำให้กระแสต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ลุกลามไปรวดเร็วกว่าไฟลามทุ่งและมีแต่จะรุนแรงขึ้น
ถ้าพรรครัฐบาลยังคงใช้เสียงวุฒิสภาที่มากกว่าในทิศทางเดิมแม้จะเป็นไปตามกระบวนการทางประชาธิปไตยในขั้นสุดท้ายก็รับรองว่า ประเทศไทยจะต้องมีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน คล้ายกับประเทศอียิปต์ เพราะวันนี้มวลชนพร้อมที่จะต้านสุดซอย ไม่ว่าแกนนำบางส่วนจะไม่ต้องการให้มีสุญญากาศทางการเมืองอย่างไรก็คงเอาไม่อยู่
หรือหากทหารที่ปัจจุบันประกาศเป็นขี้ข้ารัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงอย่างไร หากประชาชนพบว่าโดนแหกตาก็คงจะยิ่งวุ่นวาย พลังของประชาชนในชั่วโมงนี้นั้นมีพลานุภาพพอที่จะกดดันให้ทหารมีการจัดการกันเองภายในให้เข้ารูปเข้ารอยได้ด้วยซ้ำ ถ้าประชาชนคอยเฝ้าระวังการชุบมือเปิบกันอย่างแข็งขัน
การลุกฮือขึ้นต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในเวลานี้เท่ากับเป็นการส่งสัญญากลายๆ ว่าประชาชนหมดความอดทนกับระบอบทักษิณและเป็นการส่งสารถึงครอบครัวตระกูลชินวัตรว่าพวกคุณไม่เป็นที่ต้อนรับในแวดวงสังคมอีกต่อไป เรื่องนี้แม้แต่ “อุ๊งอิ๊ง” น.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรสาวคนเล็กก็ยังรู้สึกได้จนถึงกับต้องตัดพ้อออกมาว่ารู้สึกท้อแท้
ดังนั้นการจะเดินให้สุดซอยของรัฐบาลนอมินีทักษิณ ชินวัตร คงจะต้องแลกกับการที่ครอบครัวและวงศาคณาญาติทั้งหมดจะต้องระหกระเหินออกจากประเทศไทย เพราะคนไทยทุกคนส่วนใหญ่ที่ออกมาเคลื่อนไหวตรงนี้ทุกสีทุกเพศทุกวัย มีจุดร่วมที่ตรงกันและเป็นจุดร่วมที่ทรงพลัง
ซึ่งถึงที่สุดแล้วยังไงฝ่ายประชาชนก็ต้องเป็นฝ่ายชนะ เรื่องนี้สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าไม่ยากนักหากเอาความเข้มข้นของสถานการณ์และความตื่นตัวของประชาชนในปัจจุบันเป็นตัวตั้ง
แต่หากรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจจะหาทางลงโดยการลอบบี้ให้วุฒิสภาไม่รับร่างก็ดี หรือใช้ไม้เด็ดโดยการยุบสภาก็ดี ซึ่งกรณีเหล่านี้มีโอกาสพลิกผันเป็นไปได้ทั้งนั้น จุดนี้จึงเป็นหัวข้อสำคัญที่คนไทยผู้รักความถูกต้องจะต้องคิดกันให้ตกผลึกเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆว่า
"ในภาวะที่ระบบสภาล้มเหลวอยู่อย่างในปัจจุบันนี้ และสถานการณ์บ้านเมืองมันดำเนินมาจนถึงขั้นนี้ เราพร้อมที่จะกลับไปเลือกตั้งกันหรือยัง?"
ในเมื่อเรามีตัวอย่าง สมการที่สามารถเขียนให้เข้าใจง่ายๆ ว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผ่านสภาโดยที่ประชาชนพากันคัดค้าน = ความล้มเหลวของระบบรัฐสภา = ความล้มเหลวของฝ่ายค้าน = การหมดความชอบธรรมของรัฐบาล (นี่ยังไม่นับเรื่องค่าครองชีพ คอร์รัปชั่น และการสูญเสียอธิปไตย)
ในขณะที่ขบวนการภาคประชาชนตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้งและรวมพลังกันติดทุกเครือข่าย มีพลังอยู่ในมือพอที่จะผลักดันประเทศไทยออกไปจากวังวนเดิมๆ ได้
คำถามคือถ้าเราเจอกับดักการยุบสภาหนีปัญหาของรัฐบาลที่หมดความชอบธรรม เราจะหยุดอยู่เพียงเท่านี้ ปล่อยให้มีการยุบสภาหนียอมให้มีการเลือกตั้งผ่านประชาธิปไตย 4 วินาทีพวกมากลากไป เพื่อรอให้ปัญหาเดิมๆ มันกลับมาให้เราต้องประท้วงกันใหม่หรือ?
ตรรกะ และ คำถามเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ไกลตัวอีกต่อไป หากแต่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ พรุ่งนี้? มะรืนนี้? พ.ร.บ.ยังไม่ผ่านแล้วยุบสภา? หรือ พ.ร.บ.ผ่านแล้วยุบทันที?
วันนี้เราได้เตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้าแล้วหรือยังว่าจะเอายังไง?