วานนี้ (29 ต.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเพื่อถอดถอนและตรวจสอบการกระทำอันมิชอบของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองปลัดกระทรวงการคลัง อันเนื่องจากการกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ และการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยมีตนเป็นประธานอนุกรรมการ นายภักดี โพธิศิริ และ พล ต.อ.สถาพร หลาวทอง คณะกรรมการ ป.ป.ช. ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ
** “กรีนมูฟ” เดิน -ยื่น -หยุดเขื่อนแม่วงก์
อีกด้าน นายสมิทธ์ ตุงคะสมิต ประธานเครือข่ายอาสาเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Move Thailand และในฐานะผู้ริเริ่มการรณรงค์บน Change.org เพื่อยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งมีประชาชนลงชื่อกว่าแสนคน จนเป็นแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เปิดเผยว่า ทางกลุ่มกรีนมูฟมีมติจัดกิจกรรมเดิน-ยื่น-หยุดเขื่อนแม่วงก์ ในวันที่ 2 พ.ย.56 โดยจะมีการเดินเท้าจากหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ บริเวณแยกปทุมวัน ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
“หลังจากที่ทางเครือข่าย Green Move Thailand ได้ประกาศเลื่อนกิจกรรมการยื่นรายชื่อมาตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรง ทางเครือข่ายฯได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะยังดำเนินอย่างต่อไปอย่างไม่มีกำหนด ทางเครือข่ายฯ จึงได้มีมติให้ปรับรูปแบบกิจกรรมให้สั้น กระชับมากขึ้น แต่ยังคงสาระสำคัญของกิจกรรมไว้ ซึ่งได้แก่ การเดินเพื่อยื่น 100,000 รายชื่อให้แก่ตัวแทนรัฐบาลและองค์การสหประชาชาติ โดยเริ่มต้นเดินที่บริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ”
**ชวนคนไทยร่วมสร้างประวัติศาสตร์
นายสมิทธ์ กล่าวอีกว่า ทางเครือข่ายฯเชื่อว่า การปรับเส้นทางการเดินให้อยู่นอกบริเวณพื้นที่ควบคุมภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯจะเอื้อให้กิจกรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นปลอดภัย และสามารถตอบสนองเจตนารมณ์ดั้งเดิมของเครือข่ายฯและประชาชนซึ่งเห็นด้วยกับการคัดค้านโครงการเขื่อนแม่วงก์ จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมแสดงพลังเพื่อปกป้องผืนป่าแม่วงก์ และทำให้วันเสาร์นี้เป็นวันที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่คนไทยจะแสดงออกให้รัฐและประชาคมโลกเห็นว่า เราคนไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเราไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์เพราะป่าคือแหล่งกักเก็บน้ำชั่วชีวิต ดังนั้นต้องเราต้องหยุดเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเป็นโดมิโนตัวแรกของการบุกรุกพื้นที่ป่าให้ได้ไม่เช่นนั้นอีก 20 กว่าเขื่อนจะถูกต้องถูกสร้างในพื้นที่อนุรักษ์อย่างแน่นอน
“หากเขื่อนแม่วงก์ถูกสร้างได้ เขื่อนอื่นๆก็จะตามมาอีกมาก ซึ่งการสร้างเขื่อนเป็นเรื่องที่พวกเรายอมไม่ได้ เพราะการแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการสร้างเขื่อนจึงไม่ใช่คำตอบ ซึ่งกรีนมูฟจะคัดค้านการสร้างเขื่อนตามโครงการ 3.5 แสนล้านบาทให้ถึงที่สุด" นายสมิทธ์ กล่าว
**เปิดชื่อ 21 เขื่อนในแผน 3.5 แสนล้าน
ทั้งนี้รายชื่อเขื่อนตามโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท มีจำนวน 21 เขื่อน ประกอบด้วย 1.เขื่อนแม่ยม ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ 2.เขื่อนแม่ยมตอนบน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 3.เขื่อนแม่ตีบ ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลำปาง 4.เขื่อนแม่อ้อน 2 ต.บ้านอ้อน อ.งาว จ.ลำปาง 5.เขื่อนห้วยโป่งผาก ต.เวียงมอกอ.เถิน จ.ลำปาง 6.เขื่อนแม่แลง ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ 7.เขื่อนน้ำงิม ต.งิมอ.ปง จ.พะเยา 8.เขื่อนแม่วงก์ ต.แม่เลย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ 9.เขื่อนแม่แจ่ม ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 10.เขื่อนคลองวังชมพู ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
11.เขื่อนแม่ขาน ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 12.เขื่อนน้ำปาด ต.ฟากท่า อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ 13.เขื่อนคลองสวนหมาก ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 14.เขื่อนห้วยตั้งต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน 15.เขื่อนคลองขลุงล่าง ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 16.เขื่อนห้วยฉลอม ต.ท้องฟ้า อ.บ้านตาก จ.ตาก 17.เขื่อนห้วยพังงา ต.บ้านฝาย อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 18.เขื่อนห้วยท่าพล ต.ท่าพล อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 19.เขื่อนสมุน อ.เมืองน่าน จ.น่าน 20.เขื่อนห้วยน้ำเฮี้ยอ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และ 21.เขื่อนคลองวังเจ้า ต.โกสัมพี อ.โกสัมพี จ.กำแพงเพชร
** “กรีนมูฟ” เดิน -ยื่น -หยุดเขื่อนแม่วงก์
อีกด้าน นายสมิทธ์ ตุงคะสมิต ประธานเครือข่ายอาสาเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Move Thailand และในฐานะผู้ริเริ่มการรณรงค์บน Change.org เพื่อยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งมีประชาชนลงชื่อกว่าแสนคน จนเป็นแคมเปญที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เปิดเผยว่า ทางกลุ่มกรีนมูฟมีมติจัดกิจกรรมเดิน-ยื่น-หยุดเขื่อนแม่วงก์ ในวันที่ 2 พ.ย.56 โดยจะมีการเดินเท้าจากหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ บริเวณแยกปทุมวัน ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
“หลังจากที่ทางเครือข่าย Green Move Thailand ได้ประกาศเลื่อนกิจกรรมการยื่นรายชื่อมาตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. อันเนื่องมาจากสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรง ทางเครือข่ายฯได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะยังดำเนินอย่างต่อไปอย่างไม่มีกำหนด ทางเครือข่ายฯ จึงได้มีมติให้ปรับรูปแบบกิจกรรมให้สั้น กระชับมากขึ้น แต่ยังคงสาระสำคัญของกิจกรรมไว้ ซึ่งได้แก่ การเดินเพื่อยื่น 100,000 รายชื่อให้แก่ตัวแทนรัฐบาลและองค์การสหประชาชาติ โดยเริ่มต้นเดินที่บริเวณด้านหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ และสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ”
**ชวนคนไทยร่วมสร้างประวัติศาสตร์
นายสมิทธ์ กล่าวอีกว่า ทางเครือข่ายฯเชื่อว่า การปรับเส้นทางการเดินให้อยู่นอกบริเวณพื้นที่ควบคุมภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯจะเอื้อให้กิจกรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นปลอดภัย และสามารถตอบสนองเจตนารมณ์ดั้งเดิมของเครือข่ายฯและประชาชนซึ่งเห็นด้วยกับการคัดค้านโครงการเขื่อนแม่วงก์ จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมแสดงพลังเพื่อปกป้องผืนป่าแม่วงก์ และทำให้วันเสาร์นี้เป็นวันที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทยในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่คนไทยจะแสดงออกให้รัฐและประชาคมโลกเห็นว่า เราคนไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อมและเราไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อนในพื้นที่อนุรักษ์เพราะป่าคือแหล่งกักเก็บน้ำชั่วชีวิต ดังนั้นต้องเราต้องหยุดเขื่อนแม่วงก์ ซึ่งเป็นโดมิโนตัวแรกของการบุกรุกพื้นที่ป่าให้ได้ไม่เช่นนั้นอีก 20 กว่าเขื่อนจะถูกต้องถูกสร้างในพื้นที่อนุรักษ์อย่างแน่นอน
“หากเขื่อนแม่วงก์ถูกสร้างได้ เขื่อนอื่นๆก็จะตามมาอีกมาก ซึ่งการสร้างเขื่อนเป็นเรื่องที่พวกเรายอมไม่ได้ เพราะการแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วยการสร้างเขื่อนจึงไม่ใช่คำตอบ ซึ่งกรีนมูฟจะคัดค้านการสร้างเขื่อนตามโครงการ 3.5 แสนล้านบาทให้ถึงที่สุด" นายสมิทธ์ กล่าว
**เปิดชื่อ 21 เขื่อนในแผน 3.5 แสนล้าน
ทั้งนี้รายชื่อเขื่อนตามโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท มีจำนวน 21 เขื่อน ประกอบด้วย 1.เขื่อนแม่ยม ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ 2.เขื่อนแม่ยมตอนบน ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 3.เขื่อนแม่ตีบ ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลำปาง 4.เขื่อนแม่อ้อน 2 ต.บ้านอ้อน อ.งาว จ.ลำปาง 5.เขื่อนห้วยโป่งผาก ต.เวียงมอกอ.เถิน จ.ลำปาง 6.เขื่อนแม่แลง ต.เวียงต้า อ.ลอง จ.แพร่ 7.เขื่อนน้ำงิม ต.งิมอ.ปง จ.พะเยา 8.เขื่อนแม่วงก์ ต.แม่เลย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ 9.เขื่อนแม่แจ่ม ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 10.เขื่อนคลองวังชมพู ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
11.เขื่อนแม่ขาน ต.น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 12.เขื่อนน้ำปาด ต.ฟากท่า อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ 13.เขื่อนคลองสวนหมาก ต.โป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 14.เขื่อนห้วยตั้งต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน 15.เขื่อนคลองขลุงล่าง ต.คลองลานพัฒนา อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 16.เขื่อนห้วยฉลอม ต.ท้องฟ้า อ.บ้านตาก จ.ตาก 17.เขื่อนห้วยพังงา ต.บ้านฝาย อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ 18.เขื่อนห้วยท่าพล ต.ท่าพล อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 19.เขื่อนสมุน อ.เมืองน่าน จ.น่าน 20.เขื่อนห้วยน้ำเฮี้ยอ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และ 21.เขื่อนคลองวังเจ้า ต.โกสัมพี อ.โกสัมพี จ.กำแพงเพชร