มีคนไปเที่ยวเมือง Christchurch นิวซีแลนด์เล่าว่า สภาพของเมืองหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ยังซ่อมแซมไม่เสร็จ เมืองทางเกาะใต้นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนิวซีแลนด์ เพราะเป็นพื้นราบมีทะเลสาบ และภูเขาน้ำแข็ง Christchurch เป็นเมืองเล็กๆ มีแม่น้ำเอวอนไหลผ่าน ริมน้ำมีต้นหลิว นักท่องเที่ยวจะนั่งเรือล่องตามแม่น้ำ ที่นี่มีโรงเรียนประจำเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมากคือ Christ College และมีโรงเรียน St. Andrew ด้วย
นิวซีแลนด์ทำอะไรค่อนข้างช้า ดังนั้นอีกหลายปีเมืองนี้จึงจะมีการซ่อมแซมเรียบร้อย เมืองใหญ่แห่งอื่นของนิวซีแลนด์ก็ไม่ค่อยจะมีเสน่ห์ เช่น เมือง Auckland ก็มีถนนสายใหญ่อยู่สายเดียว แต่เวลานี้ยังมีการไปพัฒนาท่าเรือให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดี ส่วน Dunedin ก็อยู่สุดเกาะใต้ไกลเกินไป
เมืองหลวงของนิวซีแลนด์คือ กรุงเวลลิงตันเป็นเมืองอยู่ริมภูเขา กลางคืนมีแสงไฟระยิบระยับเหมือนฮ่องกง แต่ก่อนเมืองนี้มีถนนหลักๆ เพียงสายเดียว และมีร้านรวงน้อย ร้านอาหารก็ไม่ค่อยมี ร้านอาหารดีๆ ที่มีเหล้าขายด้วยก็ยิ่งมีน้อย เดี๋ยวนี้เมืองเปลี่ยนไปมากที่เห็นได้ชัดก็คือ ร้านอาหารซึ่งมีหลายชาติ ทั้งไทย จีน กรีก อิตาเลียน และฝรั่งเศส แต่ก่อนใกล้ๆ ชายทะเลพวกเราชอบไปกินกาแฟใส่ไอศกรีมที่ร้าน Beach Comber ไปคราวนี้ไม่มีแล้ว แต่มีร้านอาหารฝรั่งเศสมาแทน มีหอยนางรมอร่อย และที่มีใหม่ก็คือ กั้งอร่อยมาก ร้านนี้จำชื่อไม่ได้ แต่หาไม่ยากสีขาวอยู่ริมถนนชายหาด
เมืองเวลลิงตันมีเสน่ห์ตรงที่มีเคเบิลคาร์ขึ้นเขา เวลาผมไปมหาวิทยาลัย Victoria ก็ใช้เคเบิลคาร์นี้ หากไม่มีเงินก็ต้องเดินขึ้นบันไดหลายร้อยขั้น เวลลิงตันได้ชื่อว่าเป็นเมืองลมแรงมาก เรียกกันว่า Windy Wellington มหาวิทยาลัยเวลลิงตันมีชื่อเสียงโดยเฉพาะทางด้านธรณีวิทยา แต่ต่อมาก็ไม่มีคนเรียนได้ข่าวว่าถูกยุบไปในที่สุด
เมืองอื่นๆ ที่คนไทยรู้จักและไปเรียนก็คือที่ Massey ส่วนมากไปเรียนเกษตร และ Food Technology นิวซีแลนด์มีโรงเรียนมัธยมที่มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วย ดังนั้นเด็กก็จะได้เรียนทั้งด้านวิชาการ และฝึกปฏิบัติ คนไทยที่เคยไปคือคุณภุชง ยุวบูรณ์ เจ้าของสนามกอล์ฟสวนสามพราน คุณภุชง เป็นนักฟุตบอลฝีเท้าดี ในยุคนั้นเด็กไทยที่เล่นบอลเก่งคือ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไปอยู่โรงเรียนที่เมือง New Plymouth ตอนกลางของประเทศ มีคนรู้จักทั้งเมือง เพราะโรงเรียนนี้แข่งบอลกับอีกโรงเรียนหนึ่งแพ้มาเป็นสิบปี พอจีระไปก็ทำให้ทีมชนะได้เป็นข่าวใหญ่โต จีระฟอร์มทีมนักเรียนไทยแข่งกับมาเลเซียเป็นประเพณีทุกปี โดย ตนกู อับดุล ราห์มาน ให้ถ้วยมาด้วย
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากในนิวซีแลนด์เห็นจะเป็นสถานภาพของชาวเมารี เมื่อ 40 ปีก่อน ชาวเมารีจัดเป็นคนพื้นเมืองที่ด้อยพัฒนา มีน้อยคนที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แต่เดี๋ยวนี้ชาวเมารีได้ที่ดินกลับคืน และได้รับการศึกษาที่ดีกว่าเก่ามาก อีกทั้งนิวซีแลนด์ไปจัดให้เมารีเป็นภาษาประจำชาติด้วย ชาวเมารีน่ารักแม้จะชอบสนุกเฮฮาแต่ก็ไม่มีพิษมีภัย มีนิสัยรักครอบครัว และยังอยู่กันเป็นเผ่า แม้จะก้าวหน้ามากเพียงใดก็ตาม แต่ชาวเมารีก็ยังไม่อาจเป็นผู้นำทางการเมืองไทย แต่จะต้องยอมรับว่าสถานภาพทางการเมือง และสังคมดีขึ้นมาก
เวลานี้นิวซีแลนด์มีรายได้ใหม่คือ จากการท่องเที่ยวและการศึกษา ผมหวังว่านิวซีแลนด์คงแก้ไขปัญหา และฟื้นฟูเมืองได้ในไม่ช้า
นิวซีแลนด์ทำอะไรค่อนข้างช้า ดังนั้นอีกหลายปีเมืองนี้จึงจะมีการซ่อมแซมเรียบร้อย เมืองใหญ่แห่งอื่นของนิวซีแลนด์ก็ไม่ค่อยจะมีเสน่ห์ เช่น เมือง Auckland ก็มีถนนสายใหญ่อยู่สายเดียว แต่เวลานี้ยังมีการไปพัฒนาท่าเรือให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดี ส่วน Dunedin ก็อยู่สุดเกาะใต้ไกลเกินไป
เมืองหลวงของนิวซีแลนด์คือ กรุงเวลลิงตันเป็นเมืองอยู่ริมภูเขา กลางคืนมีแสงไฟระยิบระยับเหมือนฮ่องกง แต่ก่อนเมืองนี้มีถนนหลักๆ เพียงสายเดียว และมีร้านรวงน้อย ร้านอาหารก็ไม่ค่อยมี ร้านอาหารดีๆ ที่มีเหล้าขายด้วยก็ยิ่งมีน้อย เดี๋ยวนี้เมืองเปลี่ยนไปมากที่เห็นได้ชัดก็คือ ร้านอาหารซึ่งมีหลายชาติ ทั้งไทย จีน กรีก อิตาเลียน และฝรั่งเศส แต่ก่อนใกล้ๆ ชายทะเลพวกเราชอบไปกินกาแฟใส่ไอศกรีมที่ร้าน Beach Comber ไปคราวนี้ไม่มีแล้ว แต่มีร้านอาหารฝรั่งเศสมาแทน มีหอยนางรมอร่อย และที่มีใหม่ก็คือ กั้งอร่อยมาก ร้านนี้จำชื่อไม่ได้ แต่หาไม่ยากสีขาวอยู่ริมถนนชายหาด
เมืองเวลลิงตันมีเสน่ห์ตรงที่มีเคเบิลคาร์ขึ้นเขา เวลาผมไปมหาวิทยาลัย Victoria ก็ใช้เคเบิลคาร์นี้ หากไม่มีเงินก็ต้องเดินขึ้นบันไดหลายร้อยขั้น เวลลิงตันได้ชื่อว่าเป็นเมืองลมแรงมาก เรียกกันว่า Windy Wellington มหาวิทยาลัยเวลลิงตันมีชื่อเสียงโดยเฉพาะทางด้านธรณีวิทยา แต่ต่อมาก็ไม่มีคนเรียนได้ข่าวว่าถูกยุบไปในที่สุด
เมืองอื่นๆ ที่คนไทยรู้จักและไปเรียนก็คือที่ Massey ส่วนมากไปเรียนเกษตร และ Food Technology นิวซีแลนด์มีโรงเรียนมัธยมที่มีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ เป็นฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วย ดังนั้นเด็กก็จะได้เรียนทั้งด้านวิชาการ และฝึกปฏิบัติ คนไทยที่เคยไปคือคุณภุชง ยุวบูรณ์ เจ้าของสนามกอล์ฟสวนสามพราน คุณภุชง เป็นนักฟุตบอลฝีเท้าดี ในยุคนั้นเด็กไทยที่เล่นบอลเก่งคือ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไปอยู่โรงเรียนที่เมือง New Plymouth ตอนกลางของประเทศ มีคนรู้จักทั้งเมือง เพราะโรงเรียนนี้แข่งบอลกับอีกโรงเรียนหนึ่งแพ้มาเป็นสิบปี พอจีระไปก็ทำให้ทีมชนะได้เป็นข่าวใหญ่โต จีระฟอร์มทีมนักเรียนไทยแข่งกับมาเลเซียเป็นประเพณีทุกปี โดย ตนกู อับดุล ราห์มาน ให้ถ้วยมาด้วย
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากในนิวซีแลนด์เห็นจะเป็นสถานภาพของชาวเมารี เมื่อ 40 ปีก่อน ชาวเมารีจัดเป็นคนพื้นเมืองที่ด้อยพัฒนา มีน้อยคนที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แต่เดี๋ยวนี้ชาวเมารีได้ที่ดินกลับคืน และได้รับการศึกษาที่ดีกว่าเก่ามาก อีกทั้งนิวซีแลนด์ไปจัดให้เมารีเป็นภาษาประจำชาติด้วย ชาวเมารีน่ารักแม้จะชอบสนุกเฮฮาแต่ก็ไม่มีพิษมีภัย มีนิสัยรักครอบครัว และยังอยู่กันเป็นเผ่า แม้จะก้าวหน้ามากเพียงใดก็ตาม แต่ชาวเมารีก็ยังไม่อาจเป็นผู้นำทางการเมืองไทย แต่จะต้องยอมรับว่าสถานภาพทางการเมือง และสังคมดีขึ้นมาก
เวลานี้นิวซีแลนด์มีรายได้ใหม่คือ จากการท่องเที่ยวและการศึกษา ผมหวังว่านิวซีแลนด์คงแก้ไขปัญหา และฟื้นฟูเมืองได้ในไม่ช้า