หนูหริ่ง บก.ลายจุด แม่น้องเกด และคนชั้นกลางล่าง
คงได้คิดแล้วว่าตนเองนั้นมีสถานะเช่นใด
และแล้วคนชั้นกลางล่างของผู้เขียน หรือคนชั้นกลางใหม่ ในความหมายของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็กลายเป็นเหยื่อในการเข้าสู่อำนาจของระบอบทักษิณไปอย่างชัดเจนหมดสิ้นข้อสงสัย
การเปลี่ยนกระบอกไม้ไผ่ให้กลายเป็นบ้องกัญชาด้วยการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังจะผ่านออกมาให้กลายเป็นกฎหมายยกโทษแบบเหมาเข่งไม่เลือกความผิด ไม่ว่าจะเป็นฐานความผิดจากการโกงหรือฆาตกรรมก็ยกโทษให้หมด ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ “เสื้อแดง” กล่าวหาว่าเป็นฆาตกรก็จะได้รับการเว้นผิดไปด้วย
ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายอันเดียวก็คือ หักดิบกฎหมาย ยกเว้นผิดให้ทักษิณ ได้กลับบ้านอย่างเท่ห์ๆ ไม่ต้องติดคุกจากความผิดที่ได้กระทำลงไป
ถึงตอนนี้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วหรือยังว่าที่เขาหลุดปากว่าจะขึ้นเขา (เสื้อแดงหรือคนชั้นกลางล่าง) ไม่ต้องตามมา พายเรือมาส่งเพื่อให้เขาถีบหัวเรือส่งก็พอแล้ว
จุดจบของเรื่องนี้จะไปอยู่ ณ ที่ใด หลายคนคงใคร่อยากรู้ หากทบทวนจากอดีตเพื่อให้ทราบถึงอนาคตน่าจะเป็นคำตอบที่ดี
เผด็จการอย่างเช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่ทำนายอนาคตของทักษิณและคนของเขา
การเข้าสู่อำนาจของฮิตเลอร์เกิดขึ้นจากการที่เขาได้เสนอตัวให้เป็นความหวังของประเทศเยอรมนีภายหลังการล่มสลายจากการเป็นผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่แตกต่างไปจากที่ทักษิณเสนอตัวเองที่ทางเลือกจะพาประเทศไทยออกจากปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540
คนไทยอาจไม่อดทนเพียงพอและไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตของประเทศอื่นที่ผ่านมาว่า หนทางในการแก้ไขปัญหาใดๆ นั้นมิได้สำเร็จได้ด้วย “ชั่วข้ามคืน” เฉกเช่น One Night Success เพียงหลับตาตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็ประสบความสำเร็จก็หาไม่ ทุกปัญหามีต้นทุนในการแก้ไขทั้งสิ้น ไม่มีของฟรี ไม่มีทางลัด
วิถีทางการแก้ไขปัญหาของทั้งสองคนคือปัญหา เหตุก็เพราะต่างต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จด้วยการเป็นเผด็จการในระบอบรัฐสภาด้วยกันทั้งคู่ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1933 กับเมื่อปี 2001 ต่างก็ไม่ได้เสียงข้างมาก แต่เมื่อได้เสียงข้างมากก็ทำตนให้กลายเป็นเผด็จการเอาอัตตาตนเองเป็นใหญ่ ขจัดฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ฟังเสียงคนอื่นใด
การนำประเทศเยอรมนีเข้าสู่สงครามอีกครั้งจึงเป็นผลลัพธ์ของเผด็จการในระบอบรัฐสภาอาศัยเสียงข้างมากที่ขาดการถ่วงดุล สร้างภาพฮิตเลอร์ให้กลายเป็นผู้นำที่จะมาสร้างความภาคภูมิใจให้คนเยอรมันว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมจากอาณาจักรไรซ์ที่สามที่จะยืนยาวไปอีกพันปีด้วยการรุกรานยึดครองดินแดนจากประเทศอื่นๆ
แม้ว่าจะประสบความสำเร็จสามารถครอบครองดินแดนยุโรปตะวันตกได้เกือบหมดยกเว้นอังกฤษ แต่นั่นคือเป้าหลอก เป้าจริงอยู่ที่รัสเซียที่สามารถเป็นแหล่งป้อนทรัพยากรให้กับเยอรมนีและบรรลุถึงการยืนยาวนับพันปีของอาณาจักรไรซ์ที่สาม นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบจากการเข้ารุกรานรัสเซียทั้งๆที่มีสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน
การเป็นเผด็จการทำให้ขาดคนที่จะคอยถ่วงดุลเสนอทางเลือกที่ดีกว่าความคิดหรืออัตตาของตนเองที่อาจคับแคบ เป็นความจริงที่ปฏิเสธได้ยาก
ฮิตเลอร์จึงเลือกที่จะเปิดศึก 2 ด้านในเวลาเดียวกันด้วยความมั่นใจสูงจากความสำเร็จที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะรุกรานรัสเซียด้วยกำลังทหาร
หลายคนอาจจะบอกว่าฮิตเลอร์ไม่ได้ศึกษาอดีตของนโปเลียนซึ่งก็อาจมีส่วนจริง แต่ก็คงเป็นสันดานของเผด็จการอีกเช่นกันที่ลุ่มหลงในคำชมมากกว่าคำวิจารณ์ มีอีโก้ในตัวเองสูงว่าจะสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในเวลาอันสั้นก่อนฤดูหนาวจะมาถึง การตระเตรียมการทำสงครามในระยะยาวจึงไม่มี
ความย่อยยับในการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ของคนเยอรมันส่วนหนึ่งจึงอยู่ที่คนเยอรมันไม่มีระบบที่จะสามารถยับยั้งเผด็จการในคราบรัฐสภาได้ กลไกอันหนึ่งที่สร้างขึ้นมาภายหลังคือศาลรัฐธรรมนูญเพื่อนำมาถ่วงดุลกับเสียงข้างมากในสภาฯ เพื่อมิให้ฝ่ายบริหารฉ้อฉลนำเอาเสียงข้างมากนี้มาทำให้เกิดความผิดพลาดเช่นกรณีฮิตเลอร์ขึ้นมาอีก
กลับมายุคปัจจุบันในประเทศไทย แม้ว่าทักษิณเมื่อเปรียบเทียบกับฮิตเลอร์แล้วก็จะกลายเป็น “โจรกระจอก” ไปในบัดดล เหตุก็เพราะการเข้ามาสู่การเมืองก็เพื่อเพียงหวังจะรักษาผลประโยชน์จากธุรกิจตนเองมากกว่าที่จะมีอุดมการณ์ทางการเมือง กระเป๋าตนเองจึงมาก่อนชาติ
สิ่งที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้จึงเป็นการเปิดศึกหลายด้านไปพร้อมๆ กันจากความฮึกเหิมที่ได้เสียงข้างมากในรัฐสภา มีข้าราชการเป็นขี้ข้าอยู่อย่างมากมาย
ดูจากปฏิกิริยาของคนไทยในยุคที่มีศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน การปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมทำผิดให้เป็นถูกโดยอาศัยเสียงข้างมากจากสภาฯ แต่เพียงลำพังจะทำให้ “ไทยเฉย” เฉยอยู่ได้ต่อไปหรือไม่? กลไกศาลรัฐธรรมนูญจะทำงานได้ผลสมตามเจตนารมณ์ที่ออกแบบมาหรือไม่?
คำตอบคงมิใช่อยู่ในสายลมและแสงแดด หากแต่อยู่ที่ว่าคนไทยจะมีจิตสำนึกหรือไม่ว่า ต้นทุนที่ตนเองต้องจ่ายหากปล่อยให้ระบอบทักษิณคงอยู่มีเฉกเช่นเดียวกับ “นรก” ที่คนเยอรมันต้องประสบนั้นมีจริง หากตนเองปล่อยปละละเลยหน้าที่รับผิดชอบต่อชาติ
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลในระบอบทักษิณไม่ว่าจะเป็น จำนำข้าว รถคันแรก เงินกู้ผลาญชาติ 2 ล้านล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นกระดิ่งที่สั่นเตือนให้สังคมไทยรับรู้อยู่แล้วว่าหรือไม่ว่ามีต้นทุนที่ต้องจ่ายรออยู่ ยังไม่คิดถึงต้นทุนจากระบบคุณธรรมในสังคมที่กำลังจะพังพาบ
หากได้คิดหรือคิดได้ เชื่อหรือไม่ว่าสุดซอยนั้นส่วนมากจะตัน!
คงได้คิดแล้วว่าตนเองนั้นมีสถานะเช่นใด
และแล้วคนชั้นกลางล่างของผู้เขียน หรือคนชั้นกลางใหม่ ในความหมายของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็กลายเป็นเหยื่อในการเข้าสู่อำนาจของระบอบทักษิณไปอย่างชัดเจนหมดสิ้นข้อสงสัย
การเปลี่ยนกระบอกไม้ไผ่ให้กลายเป็นบ้องกัญชาด้วยการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังจะผ่านออกมาให้กลายเป็นกฎหมายยกโทษแบบเหมาเข่งไม่เลือกความผิด ไม่ว่าจะเป็นฐานความผิดจากการโกงหรือฆาตกรรมก็ยกโทษให้หมด ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ “เสื้อแดง” กล่าวหาว่าเป็นฆาตกรก็จะได้รับการเว้นผิดไปด้วย
ทั้งนี้ก็เพื่อเป้าหมายอันเดียวก็คือ หักดิบกฎหมาย ยกเว้นผิดให้ทักษิณ ได้กลับบ้านอย่างเท่ห์ๆ ไม่ต้องติดคุกจากความผิดที่ได้กระทำลงไป
ถึงตอนนี้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วหรือยังว่าที่เขาหลุดปากว่าจะขึ้นเขา (เสื้อแดงหรือคนชั้นกลางล่าง) ไม่ต้องตามมา พายเรือมาส่งเพื่อให้เขาถีบหัวเรือส่งก็พอแล้ว
จุดจบของเรื่องนี้จะไปอยู่ ณ ที่ใด หลายคนคงใคร่อยากรู้ หากทบทวนจากอดีตเพื่อให้ทราบถึงอนาคตน่าจะเป็นคำตอบที่ดี
เผด็จการอย่างเช่น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่ทำนายอนาคตของทักษิณและคนของเขา
การเข้าสู่อำนาจของฮิตเลอร์เกิดขึ้นจากการที่เขาได้เสนอตัวให้เป็นความหวังของประเทศเยอรมนีภายหลังการล่มสลายจากการเป็นผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่แตกต่างไปจากที่ทักษิณเสนอตัวเองที่ทางเลือกจะพาประเทศไทยออกจากปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540
คนไทยอาจไม่อดทนเพียงพอและไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตของประเทศอื่นที่ผ่านมาว่า หนทางในการแก้ไขปัญหาใดๆ นั้นมิได้สำเร็จได้ด้วย “ชั่วข้ามคืน” เฉกเช่น One Night Success เพียงหลับตาตื่นขึ้นมาในตอนเช้าก็ประสบความสำเร็จก็หาไม่ ทุกปัญหามีต้นทุนในการแก้ไขทั้งสิ้น ไม่มีของฟรี ไม่มีทางลัด
วิถีทางการแก้ไขปัญหาของทั้งสองคนคือปัญหา เหตุก็เพราะต่างต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จด้วยการเป็นเผด็จการในระบอบรัฐสภาด้วยกันทั้งคู่ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย การเลือกตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1933 กับเมื่อปี 2001 ต่างก็ไม่ได้เสียงข้างมาก แต่เมื่อได้เสียงข้างมากก็ทำตนให้กลายเป็นเผด็จการเอาอัตตาตนเองเป็นใหญ่ ขจัดฝ่ายตรงกันข้าม ไม่ฟังเสียงคนอื่นใด
การนำประเทศเยอรมนีเข้าสู่สงครามอีกครั้งจึงเป็นผลลัพธ์ของเผด็จการในระบอบรัฐสภาอาศัยเสียงข้างมากที่ขาดการถ่วงดุล สร้างภาพฮิตเลอร์ให้กลายเป็นผู้นำที่จะมาสร้างความภาคภูมิใจให้คนเยอรมันว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิมจากอาณาจักรไรซ์ที่สามที่จะยืนยาวไปอีกพันปีด้วยการรุกรานยึดครองดินแดนจากประเทศอื่นๆ
แม้ว่าจะประสบความสำเร็จสามารถครอบครองดินแดนยุโรปตะวันตกได้เกือบหมดยกเว้นอังกฤษ แต่นั่นคือเป้าหลอก เป้าจริงอยู่ที่รัสเซียที่สามารถเป็นแหล่งป้อนทรัพยากรให้กับเยอรมนีและบรรลุถึงการยืนยาวนับพันปีของอาณาจักรไรซ์ที่สาม นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบจากการเข้ารุกรานรัสเซียทั้งๆที่มีสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน
การเป็นเผด็จการทำให้ขาดคนที่จะคอยถ่วงดุลเสนอทางเลือกที่ดีกว่าความคิดหรืออัตตาของตนเองที่อาจคับแคบ เป็นความจริงที่ปฏิเสธได้ยาก
ฮิตเลอร์จึงเลือกที่จะเปิดศึก 2 ด้านในเวลาเดียวกันด้วยความมั่นใจสูงจากความสำเร็จที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะรุกรานรัสเซียด้วยกำลังทหาร
หลายคนอาจจะบอกว่าฮิตเลอร์ไม่ได้ศึกษาอดีตของนโปเลียนซึ่งก็อาจมีส่วนจริง แต่ก็คงเป็นสันดานของเผด็จการอีกเช่นกันที่ลุ่มหลงในคำชมมากกว่าคำวิจารณ์ มีอีโก้ในตัวเองสูงว่าจะสามารถเอาชนะรัสเซียได้ในเวลาอันสั้นก่อนฤดูหนาวจะมาถึง การตระเตรียมการทำสงครามในระยะยาวจึงไม่มี
ความย่อยยับในการแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ของคนเยอรมันส่วนหนึ่งจึงอยู่ที่คนเยอรมันไม่มีระบบที่จะสามารถยับยั้งเผด็จการในคราบรัฐสภาได้ กลไกอันหนึ่งที่สร้างขึ้นมาภายหลังคือศาลรัฐธรรมนูญเพื่อนำมาถ่วงดุลกับเสียงข้างมากในสภาฯ เพื่อมิให้ฝ่ายบริหารฉ้อฉลนำเอาเสียงข้างมากนี้มาทำให้เกิดความผิดพลาดเช่นกรณีฮิตเลอร์ขึ้นมาอีก
กลับมายุคปัจจุบันในประเทศไทย แม้ว่าทักษิณเมื่อเปรียบเทียบกับฮิตเลอร์แล้วก็จะกลายเป็น “โจรกระจอก” ไปในบัดดล เหตุก็เพราะการเข้ามาสู่การเมืองก็เพื่อเพียงหวังจะรักษาผลประโยชน์จากธุรกิจตนเองมากกว่าที่จะมีอุดมการณ์ทางการเมือง กระเป๋าตนเองจึงมาก่อนชาติ
สิ่งที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้จึงเป็นการเปิดศึกหลายด้านไปพร้อมๆ กันจากความฮึกเหิมที่ได้เสียงข้างมากในรัฐสภา มีข้าราชการเป็นขี้ข้าอยู่อย่างมากมาย
ดูจากปฏิกิริยาของคนไทยในยุคที่มีศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน การปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ ออกกฎหมายนิรโทษกรรมทำผิดให้เป็นถูกโดยอาศัยเสียงข้างมากจากสภาฯ แต่เพียงลำพังจะทำให้ “ไทยเฉย” เฉยอยู่ได้ต่อไปหรือไม่? กลไกศาลรัฐธรรมนูญจะทำงานได้ผลสมตามเจตนารมณ์ที่ออกแบบมาหรือไม่?
คำตอบคงมิใช่อยู่ในสายลมและแสงแดด หากแต่อยู่ที่ว่าคนไทยจะมีจิตสำนึกหรือไม่ว่า ต้นทุนที่ตนเองต้องจ่ายหากปล่อยให้ระบอบทักษิณคงอยู่มีเฉกเช่นเดียวกับ “นรก” ที่คนเยอรมันต้องประสบนั้นมีจริง หากตนเองปล่อยปละละเลยหน้าที่รับผิดชอบต่อชาติ
ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลในระบอบทักษิณไม่ว่าจะเป็น จำนำข้าว รถคันแรก เงินกู้ผลาญชาติ 2 ล้านล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นกระดิ่งที่สั่นเตือนให้สังคมไทยรับรู้อยู่แล้วว่าหรือไม่ว่ามีต้นทุนที่ต้องจ่ายรออยู่ ยังไม่คิดถึงต้นทุนจากระบบคุณธรรมในสังคมที่กำลังจะพังพาบ
หากได้คิดหรือคิดได้ เชื่อหรือไม่ว่าสุดซอยนั้นส่วนมากจะตัน!