เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (17 ต.ค.) ที่ห้องโถงอาคารรัฐสภา นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย รับหนังสือร้องเรียนพร้อมภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ จากนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีกทม. นำเครื่องปั่นไฟของราชการไปอำนวยความสะดวกการชุมนุมเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย(คปท.) ซึ่งเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุและอาจผิดต่อระเบียบราชการเพราะนำทรัพย์สินของทางราชการมาใช้ประโยชน์ โดยมิชอบ กระทรวงมหาดไทยรับปากว่าจะเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใน2สัปดาห์ โดยเตรียมเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงต่อไป
นายวิสาร กล่าวว่า จากการที่ตนกำลังตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งมีผู้ชุมนุมอยู่ประมาณ 400 คน แต่กลับมีผู้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจลงบันทึกประจำวันแล้วกว่า 20ราย โดยการชุมนุมเปิดเผยในที่สาธารณะสามารถกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชน ขณะเดียวกันกทม.ก็มีหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แต่ก็ไม่ใช่สนับสนุนการชุมนุมจนเกินเลย
ดังนั้น ถ้าใครกระทำผิดเกินเลยหน้าที่ก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย ซึ่งการลงโทษคงไม่ได้ถึงขั้นรุนแรงอยู่แล้ว อาจจะเป็นการตักเตือนก่อน หรือหาของทางราชการเสียหายก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ตนเชื่อว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ อาจจะไม่ทราบเรื่องนี้ น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้องของผอ.เขต หรือผอ.สำนักโยธาฯ มากกว่า ที่อาจจะเชียร์ม็อบแล้วไปสนับสนุน หรืออาจะเป็นการให้ความช่วยเหลือตามปกติ แต่ถ้าเกินความเป็นธรรมเรื่องนี้ก็ต้องตรวจสอบ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ตนไม่อยากให้นำมาเป็นประเด็นตอบโต้ทางการเมือง และยืนยันไม่มีการกลั่นแกล้งใครแต่เราก็ไม่ควรไปสนับสนุนม็อบให้กีดขวางการจราจร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในระหว่างการสัมภาษณ์ น.ส.สมจิตต์ เครือนวสุนทร ผู้สื่อข่าวช่อง 7 ได้พยายามสอบถาม นายวิสาร ถึงท่าทีของรัฐบาลว่า กำลังกดดันผู้ว่าฯกทม. เพื่อให้ไปจัดการกับม็อบใช่หรือไม่ ซึ่งนายวิสาร ปฏิเสธตอบคำถามของ น.ส.สมจิตต์ เนื่องจากเห็นว่าไปเข้าร่วมชุมนุมกับม็อบดังกล่าว พร้อมกับโชว์ภาพจากโทรศัพท์มือถือ และระบุว่า “มีผู้ส่งรูปถ่ายมาให้ผมหลายภาพ โดย 1 ใน 40 คนของผู้ร่วมชุมนุม ก็มีคุณสมจิตต์ อยู่คนเดียวที่เอาสุนัขไปเลี้ยง ไปอยู่ที่นั่นกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งตนไม่อยากขยายความ และคุณก็อยู่ในม็อบ ผมไม่อยากตอบคำถามคุณ และคุณสมจิตต์ ทำหน้าที่เกินเลยความเป็นนักข่าว” นอกจากนี้ ก็ยังมีเยาวชน อายุแค่ 16-17 ปี มาร่วมการชุมนุม และมีรูปถ่ายถูกมาจากการจัดตั้งทางการเมืองค่อนข้างชัดเจน รวมถึงมีชาวบ้านมาร้องเรียนถึงกระทรวงมหาดไทย ว่า อยู่อาศัยไม่ได้ เนื่องจากม็อบส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งตนก็เห็นว่า ผู้ชุมนุมมีแค่ 40 คน แต่ต้องกางเต้นท์ ปิดถนน มีส้วมหน้าบ้าน จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และการรับเรื่องของนายพร้อมพงศ์ในวันนี้ ไม่ได้บอกว่า ผู้ว่าฯกทม. ถูกหรือผิด เพราะทุกอย่างต้องว่าไปตามหลักฐาน กระบวนการของกฎหมาย ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม ต้องมีความเสมอภาค ซึ่งต้องตรวจสอบว่าใครทำผิด ก็ต้องว่าไปตามระเบียบ
ทำให้เกิดการโต้เถียงสลับกันไปมา โดย น.ส.สมจิตต์ ก็ได้ตั้งคำถามยกเปรียบเทียบมาตรฐานของรัฐบาล ที่ปล่อยให้ม็อบเสื้อแดงบริเวณราชประสงค์สามารถปิดถนนได้เช่นกัน จนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท แล้วอย่างนี้รัฐบาล 2 มาตรฐานหรือไม่ ในฐานะที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับความเดือดร้อน ก็ควรดูแลไม่ใช่หรืออย่างไร การที่บอกว่านิติรัฐ นิติธรรม ต้องมีความเสมอภาค แล้วแบบนี้เสมอภาคหรือไม่ “ถ้าหนูเป็น 1 ใน 40 จะมาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร แค่อยากถามในเรื่องความเสมอภาคเท่านั้น”
นายวิสาร ได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถาม โดยใช้วิธีกล่าวหาผู้สื่อข่าวที่ถาม ว่าสร้างความขัดแย้ง พร้อมกับนำภาพผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวที่อยู่ในที่ชุมนุมมาแสดงต่อสื่อมวลชน จึงถูกย้อนถามจากผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวว่า ตนไปอยู่ในที่ชุมนุมไม่ได้หรือ นายวิสาร กล่าวว่า ได้ เป็นสิทธิ แต่ยังคงพยายามที่จะดิสเครดิต ด้วยการโชว์รูปภาพต่อ และพูดว่า ช่วงเช้าตนก็เป็นประชาชน ใส่กางเกงขาสั้น แต่ตอนนี้ใส่สูท เป็นรมช.มหาดไทย ก็ทำหน้าที่ จึงถูกผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวสวนกลับว่า กรณีของท่านก็ไม่แตกต่าง จากกรณีของหนู เพราะขณะนี้หนูกำลังทำหน้าที่สื่อมวลชน ถามในเชิงตรวจสอบ ไม่ใช่ชวนทะเลาะ ขอความกรุณาอย่าเบี่ยงเบนประเด็น ทำให้ นายวิสาร พยายามที่จะไม่ตอบคำถาม และพูดกับสื่อมวลชนคนอื่นว่ามีใครต้องการถามบ้างหรือไม่ แต่ไม่มีใครถาม ทำให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว ยังคงถามต่อว่า กรณีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ มีคำพิพากษาถึงสองครั้ง ว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย แต่กรณีที่อุรุพงษ์ ยังไม่มีการตัดสินว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย เหตุใดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ จึงแตกต่างกัน นายวิสาร อ้างว่า ม็อบราชประสงค์ เป็นเรื่องเก่าที่ไม่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ จะยึดแค่วันนี้ที่มีอำนาจ ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมาย ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้
ขณะที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยืนอยู่ด้วย ก็กล่าวตั้งคำถามกลับน.ส.สมจิตต์ ว่า “แล้วในฐานะที่เป็นสื่อ คุณสมจิตต์สนับสนุนให้ม็อบปิดถนนหรือไม่”ซึ่งน.ส.สมจิตต์ ปฏิเสธตอบคำถามเช่นเดียวกัน แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า “แล้วพวกท่านสนับสนุนให้เสื้อแดง ปิดแยกราชประสงค์หรือไม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างนั้น นายวิสาร ได้โชว์รูปน.ส.สมจิตต์ อุ้มสุนัขไปร่วมชุมนุมเป็นรอบที่สอง จากนั้นนายวิสาร พยายามไกล่เกลี่ยว่า ไม่อยากตอบโต้ น.ส.สมจิตต์อีก เพราะพูดไปก็เหมือนตอบโต้กับม็อบ และวันนี้สังคมก็ไม่ควรแตกแยก
อย่างไรก็ดี นายวิสาร ก็ได้กล่าวตอนท้ายถึงการตรวจสอบกลุ่มผู้ชุมนุมที่พบว่ามีกลุ่มการเมืองบางส่วนเข้าร่วมจัดตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มจ้องล้มรัฐบาลอยู่ ซึ่งตรงนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลในการตรวจสอบรายละเอียด เช่น จากกล้องวงจรปิด ส่วนตนก็มีหน้าที่ดูแล กทม.
ทั้งนี้ หลังการให้สัมภาษณ์ นายวิสารได้ขอจับมือสร้างความสามัคคีกับ น.ส.สมจิตต์ แต่น.ส.สมจิตต์ ดึงมือหนี พร้อมกับชักสีหน้า และพูดว่า "เป็นการเบี่ยงประเด็นที่น่ารังเกียจ" ทำให้นายวิสาร ที่เดินคล้อยหลังไปแล้ว และหันมาตอบว่า “ไม่ยอมให้จับไม่เป็นไร ผมไม่มีอะไรเลยนะ ความจริงอยากหอมแก้มด้วยซ้ำไป" ก่อนนายวิสาร จะเดินออกจากวงสัมภาษณ์ "ยังไงผมก็ยังรักคุณอยู่นะ คุณสมจิตต์" พร้อมกับยกมือไหว้ ขณะเดียวกันนายวิสาร ก็ได้กล่าวกับสื่อว่า“ผมพยายามแล้วนะ ทำเต็มที่ พวกคุณเห็นไหม” ก่อนที่การ์ดจะมากันผู้สื่อข่าวออก และนายวิสาร เดินแหวกวงล้อมออกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า จากนั้นนายพร้อมพงศ์ ได้ทวงคำตอบจาก น.ส.สมจิตต์ ที่ถามว่า “ในฐานะที่เป็นสื่อ คุณสมจิตต์ สนับสนุนให้ม็อบปิดถนนหรือไม่" ซึ่ง น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า "ไม่ใช่คำถามที่จำเป็นต้องตอบ และจะบอกด้วยว่าไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคปท.จริง และไปทุกวันด้วย ทำให้นายพร้อมพงศ์ ตอบทันควันว่า " ก็ดีแล้ว ประชาชนจะได้รู้ว่า คุณสมจิตต์ สนับสนุนม็อบปิดถนน " แล้วเดินหนี ก่อนที่ น.ส.สมจิตต์ จะเดินตามและเรียกว่า "นี่ๆ คำพูดแบบนี้ดิฉันฟ้องกับท่านได้นะคะ"
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ ก็สวนกลับมาทันทีว่า "เชิญคุณสมจิตต์ฟ้องได้เลยตามสบาย"
**นปช.ยื่นผู้ตรวจฯสอบจริยธรรม"สุขุมพันธุ์"
นายสมหวัง อัสราษี รองประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยว่าในวันที่ 21 ต.ค. เวลา 10.00 น. ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมและจริยธรรมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. และคณะที่ปรึกษา ที่มีการสั่งการและให้การสนับสนุนกลุ่มมวลชน กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) จัดชุมนุมทางการเมืองปิดถนน ยึดสวนสาธารณะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับประชาชน เพื่อมุ่งหวังโค่นล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มีมาจากการเลือกตั้งเสียงส่วนใหญ่ประเทศ
นายวิสาร กล่าวว่า จากการที่ตนกำลังตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งมีผู้ชุมนุมอยู่ประมาณ 400 คน แต่กลับมีผู้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจลงบันทึกประจำวันแล้วกว่า 20ราย โดยการชุมนุมเปิดเผยในที่สาธารณะสามารถกระทำได้ แต่ต้องไม่กระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชน ขณะเดียวกันกทม.ก็มีหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แต่ก็ไม่ใช่สนับสนุนการชุมนุมจนเกินเลย
ดังนั้น ถ้าใครกระทำผิดเกินเลยหน้าที่ก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย ซึ่งการลงโทษคงไม่ได้ถึงขั้นรุนแรงอยู่แล้ว อาจจะเป็นการตักเตือนก่อน หรือหาของทางราชการเสียหายก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ตนเชื่อว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ อาจจะไม่ทราบเรื่องนี้ น่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความเกี่ยวข้องของผอ.เขต หรือผอ.สำนักโยธาฯ มากกว่า ที่อาจจะเชียร์ม็อบแล้วไปสนับสนุน หรืออาจะเป็นการให้ความช่วยเหลือตามปกติ แต่ถ้าเกินความเป็นธรรมเรื่องนี้ก็ต้องตรวจสอบ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ตนไม่อยากให้นำมาเป็นประเด็นตอบโต้ทางการเมือง และยืนยันไม่มีการกลั่นแกล้งใครแต่เราก็ไม่ควรไปสนับสนุนม็อบให้กีดขวางการจราจร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในระหว่างการสัมภาษณ์ น.ส.สมจิตต์ เครือนวสุนทร ผู้สื่อข่าวช่อง 7 ได้พยายามสอบถาม นายวิสาร ถึงท่าทีของรัฐบาลว่า กำลังกดดันผู้ว่าฯกทม. เพื่อให้ไปจัดการกับม็อบใช่หรือไม่ ซึ่งนายวิสาร ปฏิเสธตอบคำถามของ น.ส.สมจิตต์ เนื่องจากเห็นว่าไปเข้าร่วมชุมนุมกับม็อบดังกล่าว พร้อมกับโชว์ภาพจากโทรศัพท์มือถือ และระบุว่า “มีผู้ส่งรูปถ่ายมาให้ผมหลายภาพ โดย 1 ใน 40 คนของผู้ร่วมชุมนุม ก็มีคุณสมจิตต์ อยู่คนเดียวที่เอาสุนัขไปเลี้ยง ไปอยู่ที่นั่นกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งตนไม่อยากขยายความ และคุณก็อยู่ในม็อบ ผมไม่อยากตอบคำถามคุณ และคุณสมจิตต์ ทำหน้าที่เกินเลยความเป็นนักข่าว” นอกจากนี้ ก็ยังมีเยาวชน อายุแค่ 16-17 ปี มาร่วมการชุมนุม และมีรูปถ่ายถูกมาจากการจัดตั้งทางการเมืองค่อนข้างชัดเจน รวมถึงมีชาวบ้านมาร้องเรียนถึงกระทรวงมหาดไทย ว่า อยู่อาศัยไม่ได้ เนื่องจากม็อบส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งตนก็เห็นว่า ผู้ชุมนุมมีแค่ 40 คน แต่ต้องกางเต้นท์ ปิดถนน มีส้วมหน้าบ้าน จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และการรับเรื่องของนายพร้อมพงศ์ในวันนี้ ไม่ได้บอกว่า ผู้ว่าฯกทม. ถูกหรือผิด เพราะทุกอย่างต้องว่าไปตามหลักฐาน กระบวนการของกฎหมาย ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม ต้องมีความเสมอภาค ซึ่งต้องตรวจสอบว่าใครทำผิด ก็ต้องว่าไปตามระเบียบ
ทำให้เกิดการโต้เถียงสลับกันไปมา โดย น.ส.สมจิตต์ ก็ได้ตั้งคำถามยกเปรียบเทียบมาตรฐานของรัฐบาล ที่ปล่อยให้ม็อบเสื้อแดงบริเวณราชประสงค์สามารถปิดถนนได้เช่นกัน จนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท แล้วอย่างนี้รัฐบาล 2 มาตรฐานหรือไม่ ในฐานะที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับความเดือดร้อน ก็ควรดูแลไม่ใช่หรืออย่างไร การที่บอกว่านิติรัฐ นิติธรรม ต้องมีความเสมอภาค แล้วแบบนี้เสมอภาคหรือไม่ “ถ้าหนูเป็น 1 ใน 40 จะมาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร แค่อยากถามในเรื่องความเสมอภาคเท่านั้น”
นายวิสาร ได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถาม โดยใช้วิธีกล่าวหาผู้สื่อข่าวที่ถาม ว่าสร้างความขัดแย้ง พร้อมกับนำภาพผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวที่อยู่ในที่ชุมนุมมาแสดงต่อสื่อมวลชน จึงถูกย้อนถามจากผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวว่า ตนไปอยู่ในที่ชุมนุมไม่ได้หรือ นายวิสาร กล่าวว่า ได้ เป็นสิทธิ แต่ยังคงพยายามที่จะดิสเครดิต ด้วยการโชว์รูปภาพต่อ และพูดว่า ช่วงเช้าตนก็เป็นประชาชน ใส่กางเกงขาสั้น แต่ตอนนี้ใส่สูท เป็นรมช.มหาดไทย ก็ทำหน้าที่ จึงถูกผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวสวนกลับว่า กรณีของท่านก็ไม่แตกต่าง จากกรณีของหนู เพราะขณะนี้หนูกำลังทำหน้าที่สื่อมวลชน ถามในเชิงตรวจสอบ ไม่ใช่ชวนทะเลาะ ขอความกรุณาอย่าเบี่ยงเบนประเด็น ทำให้ นายวิสาร พยายามที่จะไม่ตอบคำถาม และพูดกับสื่อมวลชนคนอื่นว่ามีใครต้องการถามบ้างหรือไม่ แต่ไม่มีใครถาม ทำให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว ยังคงถามต่อว่า กรณีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ มีคำพิพากษาถึงสองครั้ง ว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย แต่กรณีที่อุรุพงษ์ ยังไม่มีการตัดสินว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย เหตุใดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ จึงแตกต่างกัน นายวิสาร อ้างว่า ม็อบราชประสงค์ เป็นเรื่องเก่าที่ไม่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ จะยึดแค่วันนี้ที่มีอำนาจ ทุกคนต้องอยู่ใต้กฎหมาย ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองเดินหน้าไม่ได้
ขณะที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยืนอยู่ด้วย ก็กล่าวตั้งคำถามกลับน.ส.สมจิตต์ ว่า “แล้วในฐานะที่เป็นสื่อ คุณสมจิตต์สนับสนุนให้ม็อบปิดถนนหรือไม่”ซึ่งน.ส.สมจิตต์ ปฏิเสธตอบคำถามเช่นเดียวกัน แต่ได้ย้อนถามกลับไปว่า “แล้วพวกท่านสนับสนุนให้เสื้อแดง ปิดแยกราชประสงค์หรือไม่”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างนั้น นายวิสาร ได้โชว์รูปน.ส.สมจิตต์ อุ้มสุนัขไปร่วมชุมนุมเป็นรอบที่สอง จากนั้นนายวิสาร พยายามไกล่เกลี่ยว่า ไม่อยากตอบโต้ น.ส.สมจิตต์อีก เพราะพูดไปก็เหมือนตอบโต้กับม็อบ และวันนี้สังคมก็ไม่ควรแตกแยก
อย่างไรก็ดี นายวิสาร ก็ได้กล่าวตอนท้ายถึงการตรวจสอบกลุ่มผู้ชุมนุมที่พบว่ามีกลุ่มการเมืองบางส่วนเข้าร่วมจัดตั้ง ซึ่งเป็นกลุ่มจ้องล้มรัฐบาลอยู่ ซึ่งตรงนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลในการตรวจสอบรายละเอียด เช่น จากกล้องวงจรปิด ส่วนตนก็มีหน้าที่ดูแล กทม.
ทั้งนี้ หลังการให้สัมภาษณ์ นายวิสารได้ขอจับมือสร้างความสามัคคีกับ น.ส.สมจิตต์ แต่น.ส.สมจิตต์ ดึงมือหนี พร้อมกับชักสีหน้า และพูดว่า "เป็นการเบี่ยงประเด็นที่น่ารังเกียจ" ทำให้นายวิสาร ที่เดินคล้อยหลังไปแล้ว และหันมาตอบว่า “ไม่ยอมให้จับไม่เป็นไร ผมไม่มีอะไรเลยนะ ความจริงอยากหอมแก้มด้วยซ้ำไป" ก่อนนายวิสาร จะเดินออกจากวงสัมภาษณ์ "ยังไงผมก็ยังรักคุณอยู่นะ คุณสมจิตต์" พร้อมกับยกมือไหว้ ขณะเดียวกันนายวิสาร ก็ได้กล่าวกับสื่อว่า“ผมพยายามแล้วนะ ทำเต็มที่ พวกคุณเห็นไหม” ก่อนที่การ์ดจะมากันผู้สื่อข่าวออก และนายวิสาร เดินแหวกวงล้อมออกไป
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า จากนั้นนายพร้อมพงศ์ ได้ทวงคำตอบจาก น.ส.สมจิตต์ ที่ถามว่า “ในฐานะที่เป็นสื่อ คุณสมจิตต์ สนับสนุนให้ม็อบปิดถนนหรือไม่" ซึ่ง น.ส.สมจิตต์ กล่าวว่า "ไม่ใช่คำถามที่จำเป็นต้องตอบ และจะบอกด้วยว่าไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคปท.จริง และไปทุกวันด้วย ทำให้นายพร้อมพงศ์ ตอบทันควันว่า " ก็ดีแล้ว ประชาชนจะได้รู้ว่า คุณสมจิตต์ สนับสนุนม็อบปิดถนน " แล้วเดินหนี ก่อนที่ น.ส.สมจิตต์ จะเดินตามและเรียกว่า "นี่ๆ คำพูดแบบนี้ดิฉันฟ้องกับท่านได้นะคะ"
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ ก็สวนกลับมาทันทีว่า "เชิญคุณสมจิตต์ฟ้องได้เลยตามสบาย"
**นปช.ยื่นผู้ตรวจฯสอบจริยธรรม"สุขุมพันธุ์"
นายสมหวัง อัสราษี รองประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เปิดเผยว่าในวันที่ 21 ต.ค. เวลา 10.00 น. ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมและจริยธรรมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. และคณะที่ปรึกษา ที่มีการสั่งการและให้การสนับสนุนกลุ่มมวลชน กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) และเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) จัดชุมนุมทางการเมืองปิดถนน ยึดสวนสาธารณะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับประชาชน เพื่อมุ่งหวังโค่นล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นรัฐบาลที่มีมาจากการเลือกตั้งเสียงส่วนใหญ่ประเทศ