ASTVผู้จัดการรายวัน – ตลาดโฆษณารวมปีนี้วูบแน่อย่างมากโตไม่เกิน 2% ต่ำกว่าต้นปีที่ตั้งไว้โต 10% ชี้เทรนด์โฆษณาสร้างแบรนด์สำคัญที่สุดในยุคนี้
นายสุบรรณ โค้ว ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท บีบีดีโอ แบงคอก จำกัด ในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวด Adman Awards and Symposium 2013 ครั้งที่ 10 เปิดเผยว่า ตลาดรวมโฆษณาในปีนี้คาดว่าจะเติบโตอย่างมากก็ 2% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้เมื่อช่วงต้นปีว่าจะเติบโตถึง 10% หรือมีมูลค่ากว่า 1.25 แสนล้านบาท ซึ่งล่าสุดช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เติบโตไม่ถึง 2% หรือมีมูลค่า 85,607 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่มีการรายงานนี้ เป็นตัวเลขที่มาจากสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้จากสื่อหลักและสื่อรองทั่วไป ขณะที่ยังมีสื่ออีกหลากหลายชนิดในโลกโซเชียลมีเดียปัจจุบันที่มีการใช้กัน แต่ไม่สามารถรวบรวมตัวเลขงบประมาณโฆษณาได้อีก
ทั้งนี้ตัวเลขงบโฆษณารวมช่วง 9 เดือนแรกปี 2556 ( มกราคม-กันยายน ) พบว่า มีการเติบโตเพียง 1.28% เท่านั้นเองหรือมีมูลค่ารวมประมาณ 85,607 ล้านบาท
โดยแยกเป็นสื่อทีวี มูลค่า 52,071 ล้านบาท เติบโต 2.63% สื่อวิทยุมูลค่า 4,631 ล้านบาท ตกลง 0.94% สื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 11,066 ล้านบาท ตกลง 0.75% สื่อนิตยสารมูลค่า 4,050 ล้านบาท ตกลง 0.05% สื่อในโรงภาพยนตร์มูลค่า 5,420 ล้านบาท ตกลง 5.49% สื่อบิลบอร์ดมูลค่า 3,099 ล้านบาท ตกลง 10.10% สื่อเคลื่อนที่มูลค่า 2,601 ล้านบาท เติบโต 20.75% สื่อในห้างสรรพสินค้ามูลค่า 2,019 ล้านบาท ตกลง 6.01% และสื่ออินเทอร์เน็ตมูลค่า 651 ล้านบาท เติบโต 51.75%
อย่างไรก็ตาม แม้เม็ดเงินโฆษณาขณะนี้จะไม่เติบโตในทิศทางที่ดี แต่การแข่งขันในด้านธุรกิจโฆษาก็ยังมีอยู่โดยเฉพาะสื่อหลักอย่างทีวี ยังคงเป็นตลาดสำคัญ แม้ว่าทุกวันนี้จะมีสื่อเคเบิลทีวีหรือสื่อทีวีดาวเทียมเกิดขึ้นมามากก็ตาม ซึ่งตลาดรวมก็ใหญ่ขึ้นเป็นเงาตามตัว อีกทั้งการสร้างสรรค์งานโฆษณาก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยโดยเฉพาะการสร้างแบรนด์และยอดขายให้ไปด้วยกันควบคู่ไปกับการเลือกใช้สื่อโฆษณา
นายรติ พันธุ์ทวี กรรมการสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากมองในแง่ของตัวสินค้าแล้ว ทุกวันนี้สินค้าแต่ละตัวไม่มีอะไรที่แตกต่างกันมากนัก ทั้งเทคโนโล การผลิต การทำตลาด จะแตกต่างกันตรงตลาดรวมมากกว่า เพราะแต่ละตลาดจะไม่เหมือนกันทั้งสภาพการแข่งขัน จำนวนผู้เล่น เป็นต้น แต่สำคัญที่การสร้างโฆษณาว่าจะสร้างงานขึ้นมาเพื่อให้แบรนด์มีความแตกต่างกับคู่แข่งอย่างไร แต่สุดท้ายแล้ว เจ้าของโฆษณาก็ต้องการหวังผลในแง่ยอดขายแน่นอน
นางอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย มองว่า แนวโน้มการใช้พรีเซ็นเตอร์ในการโฆษณาของไทยก็ยังมีอยู่เพราะผู้บริโภคคนไทยมีความชื่นชอบดาราหรือคนดังเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้โฆษณาง่ายขึ้น สร้างแบรนด์ให้เป็นที่ร้จักแค่เวลาอันสั้น แต่ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียในการสร้างแบรนด์เช่นกัน
เพราะการใช้พรีเซ็นเตอร์นั้น ต้องคิดให้ลึกซึ้งว่าจะต่อยอดต่อไปได้อย่างไร ไม่ใช่แค่ตีหัวเข้าบ้าน ต้องคำนึงหลายปัจจัยเช่น พรีเซ็นเตอร์คนนั้นมีโฆษณาสินค้าหลายตัวในเวลาเดีนวกันหรือไม่ เพราะถ้าเป็นแบนนี้ก็ต้องระวังจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนและสินค้าที่มีงบน้อยกว่าหรือแบนด์เล็กกว่าก็จะเสียเปรียบ และจะเป็นปัญหาภาพลักษณ์หากดาราคนนั้นมีข่าวและสำคัญที่สุดต้องมีคอนเทนต์หรือเนื้อหาโฆษณาที่ดีด้วย และการสร้างงานโฆษณานั้น จะต้องวางพล็อตเรื่องและคอนเซ็ปต์โฆษณาไว้ก่อน แทนที่จะเอาตัวดาราพรีเซ็นเตอร์คนนั้นมากำหนดพล็อตและคอนเซ็ปท์ของงานโฆษณา และถ้าดีจริงพรีเซ็นเตอร์คนนั้นควรใช้สินค้าตัวนั้นอยู่แล้วในชีวิตจริงด้วย
สำหรับงานประกวด Adman Awards and Symposium 2013 ครั้งที่ 10 ปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวนรวม 956 ชิ้นงาน เพิ่มขึ้น 12% จากปีที่แล้วที่มีรวม 847 ชิ้นงาน แบ่งเป็น สื่อทีวี 152 ชิ้นงาน สื่อวิ่งพิมพ์ 132 ชิ้นงน สื่ดโฆษณานอกบ้านและแฝงในบรรยากาศ 149 ชิ้น สื่อดิจิตอล 158 ชิ้นงาน
นายสุบรรณ โค้ว ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท บีบีดีโอ แบงคอก จำกัด ในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวด Adman Awards and Symposium 2013 ครั้งที่ 10 เปิดเผยว่า ตลาดรวมโฆษณาในปีนี้คาดว่าจะเติบโตอย่างมากก็ 2% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้เมื่อช่วงต้นปีว่าจะเติบโตถึง 10% หรือมีมูลค่ากว่า 1.25 แสนล้านบาท ซึ่งล่าสุดช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เติบโตไม่ถึง 2% หรือมีมูลค่า 85,607 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่มีการรายงานนี้ เป็นตัวเลขที่มาจากสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้จากสื่อหลักและสื่อรองทั่วไป ขณะที่ยังมีสื่ออีกหลากหลายชนิดในโลกโซเชียลมีเดียปัจจุบันที่มีการใช้กัน แต่ไม่สามารถรวบรวมตัวเลขงบประมาณโฆษณาได้อีก
ทั้งนี้ตัวเลขงบโฆษณารวมช่วง 9 เดือนแรกปี 2556 ( มกราคม-กันยายน ) พบว่า มีการเติบโตเพียง 1.28% เท่านั้นเองหรือมีมูลค่ารวมประมาณ 85,607 ล้านบาท
โดยแยกเป็นสื่อทีวี มูลค่า 52,071 ล้านบาท เติบโต 2.63% สื่อวิทยุมูลค่า 4,631 ล้านบาท ตกลง 0.94% สื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 11,066 ล้านบาท ตกลง 0.75% สื่อนิตยสารมูลค่า 4,050 ล้านบาท ตกลง 0.05% สื่อในโรงภาพยนตร์มูลค่า 5,420 ล้านบาท ตกลง 5.49% สื่อบิลบอร์ดมูลค่า 3,099 ล้านบาท ตกลง 10.10% สื่อเคลื่อนที่มูลค่า 2,601 ล้านบาท เติบโต 20.75% สื่อในห้างสรรพสินค้ามูลค่า 2,019 ล้านบาท ตกลง 6.01% และสื่ออินเทอร์เน็ตมูลค่า 651 ล้านบาท เติบโต 51.75%
อย่างไรก็ตาม แม้เม็ดเงินโฆษณาขณะนี้จะไม่เติบโตในทิศทางที่ดี แต่การแข่งขันในด้านธุรกิจโฆษาก็ยังมีอยู่โดยเฉพาะสื่อหลักอย่างทีวี ยังคงเป็นตลาดสำคัญ แม้ว่าทุกวันนี้จะมีสื่อเคเบิลทีวีหรือสื่อทีวีดาวเทียมเกิดขึ้นมามากก็ตาม ซึ่งตลาดรวมก็ใหญ่ขึ้นเป็นเงาตามตัว อีกทั้งการสร้างสรรค์งานโฆษณาก็เป็นสิ่งสำคัญด้วยโดยเฉพาะการสร้างแบรนด์และยอดขายให้ไปด้วยกันควบคู่ไปกับการเลือกใช้สื่อโฆษณา
นายรติ พันธุ์ทวี กรรมการสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากมองในแง่ของตัวสินค้าแล้ว ทุกวันนี้สินค้าแต่ละตัวไม่มีอะไรที่แตกต่างกันมากนัก ทั้งเทคโนโล การผลิต การทำตลาด จะแตกต่างกันตรงตลาดรวมมากกว่า เพราะแต่ละตลาดจะไม่เหมือนกันทั้งสภาพการแข่งขัน จำนวนผู้เล่น เป็นต้น แต่สำคัญที่การสร้างโฆษณาว่าจะสร้างงานขึ้นมาเพื่อให้แบรนด์มีความแตกต่างกับคู่แข่งอย่างไร แต่สุดท้ายแล้ว เจ้าของโฆษณาก็ต้องการหวังผลในแง่ยอดขายแน่นอน
นางอ่อนอุษา ลำเลียงพล นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย มองว่า แนวโน้มการใช้พรีเซ็นเตอร์ในการโฆษณาของไทยก็ยังมีอยู่เพราะผู้บริโภคคนไทยมีความชื่นชอบดาราหรือคนดังเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้โฆษณาง่ายขึ้น สร้างแบรนด์ให้เป็นที่ร้จักแค่เวลาอันสั้น แต่ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียในการสร้างแบรนด์เช่นกัน
เพราะการใช้พรีเซ็นเตอร์นั้น ต้องคิดให้ลึกซึ้งว่าจะต่อยอดต่อไปได้อย่างไร ไม่ใช่แค่ตีหัวเข้าบ้าน ต้องคำนึงหลายปัจจัยเช่น พรีเซ็นเตอร์คนนั้นมีโฆษณาสินค้าหลายตัวในเวลาเดีนวกันหรือไม่ เพราะถ้าเป็นแบนนี้ก็ต้องระวังจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนและสินค้าที่มีงบน้อยกว่าหรือแบนด์เล็กกว่าก็จะเสียเปรียบ และจะเป็นปัญหาภาพลักษณ์หากดาราคนนั้นมีข่าวและสำคัญที่สุดต้องมีคอนเทนต์หรือเนื้อหาโฆษณาที่ดีด้วย และการสร้างงานโฆษณานั้น จะต้องวางพล็อตเรื่องและคอนเซ็ปต์โฆษณาไว้ก่อน แทนที่จะเอาตัวดาราพรีเซ็นเตอร์คนนั้นมากำหนดพล็อตและคอนเซ็ปท์ของงานโฆษณา และถ้าดีจริงพรีเซ็นเตอร์คนนั้นควรใช้สินค้าตัวนั้นอยู่แล้วในชีวิตจริงด้วย
สำหรับงานประกวด Adman Awards and Symposium 2013 ครั้งที่ 10 ปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวนรวม 956 ชิ้นงาน เพิ่มขึ้น 12% จากปีที่แล้วที่มีรวม 847 ชิ้นงาน แบ่งเป็น สื่อทีวี 152 ชิ้นงาน สื่อวิ่งพิมพ์ 132 ชิ้นงน สื่ดโฆษณานอกบ้านและแฝงในบรรยากาศ 149 ชิ้น สื่อดิจิตอล 158 ชิ้นงาน