ASTVผู้จัดการรายวัน-รพ.ราชวิถีโต้ปฏิเสธทำคลอดหญิงท้อง แจง รพ.เอกชนแนะนำให้มารักษาจริง แต่กลับไปทำคลอดเองที่บ้านจนเด็กตาย ด้าน สบส.เร่งตั้งกรรมการสอบรพ.เอกชน คนไข้เข้าข่ายเป็นเคสฉุกเฉินหรือไม่ ฝั่งสธ.เตรียมเสนอรัฐเพิ่มโครงการคลอดทุกที่ไม่ต้องจ่ายก่อน ส่วน สปส.เตรียมปรับเกณฑ์เบิกค่าคลอดบุตรให้รพ.เบิกจากสปส.โดยตรง สำหรับรพ.เอกชนคู่กรณี หากผิดจริงขู่ลดโควต้า และถอนใบอนุญาต พบหญิงท้อง จ่ายประกันตนไม่ครบเกณฑ์
วานนี้ (14 ต.ค.) นพ.อุดม เชาวรินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวถึงกรณีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งปฏิเสธทำคลอดให้ น.ส.ชลธิชา วรรณทิพย์ วัย 31 ปี จ.ขอนแก่น เนื่องจากสิทธิประกันสังคมไม่ครอบคลุม และต้องจ่ายค่าทำคลอดเอง 18,000 บาท จนกลับไปคลอดเองที่บ้านและเด็กเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและมูลนิธิร่วมกตัญญูได้นำ น.ส.ชลธิชา ส่งเข้า รพ.ราชวิถี เพื่อทำการรักษา แต่กลับถูกปฏิเสธให้ไป รพ.รามาธิบดี แทน ว่า รพ.ราชวิถีไม่เคยปฏิเสธการรับตัวผู้ป่วย แต่จากการสอบถามเจ้าหน้าที่พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจขอให้ทางโรงพยาบาลช่วยชันสูตรเด็กด้วย เนื่องจากอาจเป็นคดี แต่ รพ.ราชวิถีไม่มีแพทย์นิติเวชประจำจึงแนะนำให้ส่งตัวต่อไปที่ รพ.รามาธิบดี ซึ่งมีแพทย์นิติเวช แทน ซึ่งหญิงคนดังกล่าวและเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ขัดข้อง จึงทำการส่งตัวหญิงคนดังกล่าวและลูกไปชันสูตรที่ รพ.รามาธิบดี
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า จากข้อมูลรพ.เอกชน ได้อธิบายสิทธิให้คนไข้ทราบว่า สิทธิในการคลอด โดยหากไปคลอดที่ รพ.รัฐ ราคาจะถูกกว่า และสามารถเบิกแบบเหมาจ่ายได้ 1.3 หมื่นบาท แม้ค่าทำคลอดจะไม่ถึงจำนวนเหมาจ่าย ก็จะมีเงินเหลือใช้ในการดูแลลูกต่อไป จึงแนะนำให้ไปคลอดที่ รพ.ราชวิถี แต่ลงเอยด้วยการเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น
สำหรับ การเบิกค่าทำคลอดสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่ต่ำว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือน จึงจะได้สิทธิซึ่งสามารถไปทำคลอดที่ใดก็ได้ ทั้ง รพ.รัฐขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก รพ.เอกชน แต่เท่าที่ทราบคือหญิงคนดังกล่าวยังจ่ายสมทบไม่ครบ 7 เดือนตามที่กำหนด คือจ่ายเพียง 4 เดือนเท่านั้น
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผอ.โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลกำลังดำเนินการชันสูตรศพคาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนคนไข้นั้น ขณะนี้ได้ไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนที่มีสิทธิ์ประกันสังคมแล้ว
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตามมาตรา 36 ใน พ.ร.บ.สถานพยาบาล ได้มีการคุ้มครองผู้รับบริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและ รมว.สาธารณสุข คือเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิ ซึ่ง สบส.จะตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางเวชระเบียน โดยมีผู้แทนวิชาชีพร่วมตรวจสอบ แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีนโยบายเรื่องฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ แต่หากจะดียิ่งขึ้นรัฐบาลอาจจะต้องเพิ่มเรื่องคลอดทุกที่ด้วย แต่การดำเนินงานจะต้องเซ็ตระบบให้มีความพร้อม 2 ด้าน คือ 1.สถานบริการ และ 2.ระบบการตามจ่ายทั้ง 3 กองทุน จะต้องมีความพร้อมด้วย ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือว่าไม่ง่ายในการดำเนินการ
สปส.เร่งสอบรพ.เอกชน
วันเดียวกัน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานและรักษาการเลขาธิการประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการ สปส. ไปตรวจสอบโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวว่าเป็นกระทำผิดหรือไม่ หากเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะลงโทษโดยการตักเตือนและลดโควตาผู้ประกันตน ถ้ายังกระทำผิดซ้ำก็จะมีโทษถูกยกเลิกการเป็นคู่สัญญากับสปส.และถ้ากระทำผิดพ.ร.บ.ทางการแพทย์อีกก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการรักษา คาดว่าจะรู้ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ตนมีแนวคิดในการแก้ปัญหาข้างต้นโดยการปรับเกณฑ์การเบิกเงินสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตรให้โรงพยาบาลที่ทำเบิกเงินกับสปส.ได้โดยตรงเพื่อตัดปัญหาในเรื่องการปฏิเสธการทำคลอดให้แก่ผู้ประกันตน โดยจะเสนอต่อคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ในเร็วๆ นี้
วานนี้ (14 ต.ค.) นพ.อุดม เชาวรินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวถึงกรณีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งปฏิเสธทำคลอดให้ น.ส.ชลธิชา วรรณทิพย์ วัย 31 ปี จ.ขอนแก่น เนื่องจากสิทธิประกันสังคมไม่ครอบคลุม และต้องจ่ายค่าทำคลอดเอง 18,000 บาท จนกลับไปคลอดเองที่บ้านและเด็กเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและมูลนิธิร่วมกตัญญูได้นำ น.ส.ชลธิชา ส่งเข้า รพ.ราชวิถี เพื่อทำการรักษา แต่กลับถูกปฏิเสธให้ไป รพ.รามาธิบดี แทน ว่า รพ.ราชวิถีไม่เคยปฏิเสธการรับตัวผู้ป่วย แต่จากการสอบถามเจ้าหน้าที่พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจขอให้ทางโรงพยาบาลช่วยชันสูตรเด็กด้วย เนื่องจากอาจเป็นคดี แต่ รพ.ราชวิถีไม่มีแพทย์นิติเวชประจำจึงแนะนำให้ส่งตัวต่อไปที่ รพ.รามาธิบดี ซึ่งมีแพทย์นิติเวช แทน ซึ่งหญิงคนดังกล่าวและเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ขัดข้อง จึงทำการส่งตัวหญิงคนดังกล่าวและลูกไปชันสูตรที่ รพ.รามาธิบดี
นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า จากข้อมูลรพ.เอกชน ได้อธิบายสิทธิให้คนไข้ทราบว่า สิทธิในการคลอด โดยหากไปคลอดที่ รพ.รัฐ ราคาจะถูกกว่า และสามารถเบิกแบบเหมาจ่ายได้ 1.3 หมื่นบาท แม้ค่าทำคลอดจะไม่ถึงจำนวนเหมาจ่าย ก็จะมีเงินเหลือใช้ในการดูแลลูกต่อไป จึงแนะนำให้ไปคลอดที่ รพ.ราชวิถี แต่ลงเอยด้วยการเกิดเรื่องดังกล่าวขึ้น
สำหรับ การเบิกค่าทำคลอดสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบไม่ต่ำว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือน จึงจะได้สิทธิซึ่งสามารถไปทำคลอดที่ใดก็ได้ ทั้ง รพ.รัฐขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก รพ.เอกชน แต่เท่าที่ทราบคือหญิงคนดังกล่าวยังจ่ายสมทบไม่ครบ 7 เดือนตามที่กำหนด คือจ่ายเพียง 4 เดือนเท่านั้น
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผอ.โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลกำลังดำเนินการชันสูตรศพคาดว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ ส่วนคนไข้นั้น ขณะนี้ได้ไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเอกชนที่มีสิทธิ์ประกันสังคมแล้ว
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตามมาตรา 36 ใน พ.ร.บ.สถานพยาบาล ได้มีการคุ้มครองผู้รับบริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและ รมว.สาธารณสุข คือเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิ ซึ่ง สบส.จะตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางเวชระเบียน โดยมีผู้แทนวิชาชีพร่วมตรวจสอบ แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีนโยบายเรื่องฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ แต่หากจะดียิ่งขึ้นรัฐบาลอาจจะต้องเพิ่มเรื่องคลอดทุกที่ด้วย แต่การดำเนินงานจะต้องเซ็ตระบบให้มีความพร้อม 2 ด้าน คือ 1.สถานบริการ และ 2.ระบบการตามจ่ายทั้ง 3 กองทุน จะต้องมีความพร้อมด้วย ซึ่งประเด็นหลังนี้ถือว่าไม่ง่ายในการดำเนินการ
สปส.เร่งสอบรพ.เอกชน
วันเดียวกัน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงานและรักษาการเลขาธิการประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการ สปส. ไปตรวจสอบโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวว่าเป็นกระทำผิดหรือไม่ หากเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะลงโทษโดยการตักเตือนและลดโควตาผู้ประกันตน ถ้ายังกระทำผิดซ้ำก็จะมีโทษถูกยกเลิกการเป็นคู่สัญญากับสปส.และถ้ากระทำผิดพ.ร.บ.ทางการแพทย์อีกก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการรักษา คาดว่าจะรู้ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ ตนมีแนวคิดในการแก้ปัญหาข้างต้นโดยการปรับเกณฑ์การเบิกเงินสิทธิประโยชน์ค่าคลอดบุตรให้โรงพยาบาลที่ทำเบิกเงินกับสปส.ได้โดยตรงเพื่อตัดปัญหาในเรื่องการปฏิเสธการทำคลอดให้แก่ผู้ประกันตน โดยจะเสนอต่อคณะกรรมการการแพทย์ของสปส.ในเร็วๆ นี้