ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา ดูเหมือนประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน การชุมนุมจะมีมากขึ้น
สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดในช่วงสั้นๆ คือหลังเหตุการณ์การเข่นฆ่าประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ช่วงที่พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจแล้วให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นยุคมืดของสื่อทุกประเภทยิ่งกว่ายุคใดๆ หนังสือพิมพ์ถูกปิดต้องขออนุญาตเปิดใหม่ และก็เปิดได้เป็นบางฉบับซึ่งก็ต้องมีเงื่อนไข บางฉบับต้องเอากองบรรณาธิการชุดเดิมออกไป หรือไม่ก็ไม่ต้องทำงาน ให้กองบรรณาธิการที่รับใช้นายสมัคร สุนทรเวช หรือรัฐบาลขณะนั้นมาทำ
ทุกวันนี้สื่อเกิดขึ้นมากมาย สื่อหนังสือพิมพ์ก็ดูเหมือนจะมีความมั่นคงขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วก็ไม่ต่างไปจากยุคมืดของนายสมัครสักเท่าไรนัก เพียงแต่ว่า ยุคนายสมัครใช้อำนาจเผด็จการ ทุกวันนี้สื่อหนังสือพิมพ์ทำตัวเอง เลือกทางเดินของตัวเอง
ก่อน 14 ตุลาคม 2516 หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพอันจำกัด ข่าวสารการเมืองนำเสนอเฉพาะกิจกรรมของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีปฏิบัติงานในแต่ละวันให้สัมภาษณ์ถึงการทำงานในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์ไปเรื่อยๆ คล้ายๆ ข่าววิทยุกรมประชาสัมพันธ์ นอกนั้นก็เป็นข่าวดารา ข่าวบุคคลในวงการสังคมชั้นสูง หมา แมวของผู้ลากมากดีออกลูก
มาถึงวันนี้ ถ้าหากสังเกตให้ดีการเสนอข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างไปจากยุคก่อน 14 ตุลาคม สักเท่าไร หนังสือพิมพ์ให้ความสนใจความเป็นไปของดารานักแสดงที่เปลี่ยนผัวเปลี่ยนเมียบ้าง คนโน้นมีคนรักใหม่บ้าง เพิ่งพบรักบ้าง เพิ่งอกหักบ้าง แล้วดาราก็เกิดขึ้นมากมายให้เสนอข่าวไม่หวาดไม่ไหวเสียด้วย ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะประชาชนให้ความสนใจข่าวทำนองนี้ เพราะมันทำให้ลืมความทุกข์ยากจากค่าครองชีพ ลืมหนี้สินที่พอกพูนขึ้น
ดูเหมือนสื่อจะเลือกสนับสนุนรัฐบาล แทนที่จะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล สื่อกลับทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายค้านเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนรัฐบาลก็จะพูดแต่เพียงว่า มาจากการเลือกตั้ง ถ้าหากไม่ดีก็ตัดสินใจจะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ในการเลือกตั้งคราวหน้า
เน้นที่การเลือกตั้ง น้ำเสียงไม่ต่างขี้ข้าม้าใช้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ผิดเพี้ยน ที่พูดอยู่ตลอดว่า มาจากการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย ไม่ได้พิจารณาการเลือกตั้งมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ไปกวาดต้อนใครมาเข้าพรรคบ้าง เทคโอเวอร์พรรคการเมืองใดเข้าไปบ้าง ใช้อำนาจขู่เข็ญใครให้เข้าพรรคบ้าง หรือที่เข้ามาเป็นสมัครพรรคพวก เป็นขี้ข้านั้นมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร
ขอให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวพอ เข้าใจแต่เพียงว่า เมื่อมาจากการเลือกตั้งแล้ว ประเทศชาติก็เป็นของตัว จะโกหกตอแหลอย่างไร จะมีนโยบายพาให้บ้านเมืองฉิบหายวายวอดอย่างไรทำได้ทั้งสิ้น
ซึ่งไม่ใช่
ไม่เช่นนั้นจะมีสื่อ จะมีหนังสือพิมพ์ไว้ทำอะไร จะต้องมีฝ่ายค้านไว้ทำไม จะต้องมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะต้องมีการยื่นกระทู้ซักถามกันทำไม และจะต้องมีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ หรือจะต้องมีการถอดถอนทำไม
สื่อเคยยอมรับเผด็จการทหารไม่ได้ แต่สื่อกลับยอมรับเผด็จการในรัฐสภาได้ สื่อยอมรับการโกหกของพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่บอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับมาเป็น แต่สื่อยอมรับการตอแหลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ ยอมรับอาการโง่เขลาเบาปัญญาของคนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ อาการโง่ๆ เปิ่นๆ เชยๆ กลายเป็นเรื่องน่าถนอมรักของสื่อไป
นี่จะไม่ให้เข้าใจว่าเป็นยุคตกต่ำของสื่อได้อย่างไร?
รัฐบาลนี้จำนำข้าวด้วยราคาที่สูงกว่าท้องตลาด นี่ก็เป็นการโกหกตอแหลอยู่แล้ว ซ้ำขาดทุนอีกปีละ 2.6 แสนล้านบาท ซึ่งมองเห็นความฉิบหายอยู่ตรงหน้าชัดๆ แต่สื่อกลับมองไม่เห็น ไปเห็นดีเห็นงามด้วยเสียอีกว่า เป็นการช่วยชาวนาทั้งที่ความเป็นจริงชาวนาได้ประโยชน์ก็แต่เฉพาะชาวนาที่มีพื้นที่นามากๆ เท่านั้นเอง ชาวนาจนแทบจะไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้เลย
รัฐบาลจะออกกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมาพัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคม ไม่มีใครค้านในเรื่องนี้ เพียงแต่ค้านว่า ทำไมไม่มีโครงการดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน เพื่อที่จะได้มีการตรวจสอบจากสภาฯ และหน่วยงานอื่นๆ
แทนที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลทำในสิ่งที่ถูกต้อง กลับเน้นจำเพาะที่ว่า เป็นความจำเป็นที่จะต้องมีรถไฟความเร็วสูง ไม่เช่นนั้นจะไม่เจริญเท่าเทียมประเทศอื่น เขาไม่ได้บอกว่าไม่ให้สร้างไม่ให้ทำ แต่จะต้องทำบนพื้นฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย บนพื้นฐานของการตรวจสอบ
สื่อกลับไม่ทำหน้าที่
มีการยกขบวนไปข่มขู่ศาล สื่อกลับเฉย
นี่เพราะอะไร? เพราะสื่อขาดเสรีภาพในการเสนอหรือ เพระสื่อเลือกที่จะไม่ใช้เสรีภาพ เลือกที่จะไม่ทำหน้าที่สื่อ
นี่เป็นเรื่องที่สื่อควรจะสำรวจตรวจสอบตัวเอง ก่อนที่ประชาชนจะลุกขึ้นตรวจสอบ
สิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดในช่วงสั้นๆ คือหลังเหตุการณ์การเข่นฆ่าประชาชนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ช่วงที่พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจแล้วให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เป็นยุคมืดของสื่อทุกประเภทยิ่งกว่ายุคใดๆ หนังสือพิมพ์ถูกปิดต้องขออนุญาตเปิดใหม่ และก็เปิดได้เป็นบางฉบับซึ่งก็ต้องมีเงื่อนไข บางฉบับต้องเอากองบรรณาธิการชุดเดิมออกไป หรือไม่ก็ไม่ต้องทำงาน ให้กองบรรณาธิการที่รับใช้นายสมัคร สุนทรเวช หรือรัฐบาลขณะนั้นมาทำ
ทุกวันนี้สื่อเกิดขึ้นมากมาย สื่อหนังสือพิมพ์ก็ดูเหมือนจะมีความมั่นคงขึ้น มีเสรีภาพมากขึ้น แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วก็ไม่ต่างไปจากยุคมืดของนายสมัครสักเท่าไรนัก เพียงแต่ว่า ยุคนายสมัครใช้อำนาจเผด็จการ ทุกวันนี้สื่อหนังสือพิมพ์ทำตัวเอง เลือกทางเดินของตัวเอง
ก่อน 14 ตุลาคม 2516 หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพอันจำกัด ข่าวสารการเมืองนำเสนอเฉพาะกิจกรรมของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีปฏิบัติงานในแต่ละวันให้สัมภาษณ์ถึงการทำงานในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์ไปเรื่อยๆ คล้ายๆ ข่าววิทยุกรมประชาสัมพันธ์ นอกนั้นก็เป็นข่าวดารา ข่าวบุคคลในวงการสังคมชั้นสูง หมา แมวของผู้ลากมากดีออกลูก
มาถึงวันนี้ ถ้าหากสังเกตให้ดีการเสนอข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างไปจากยุคก่อน 14 ตุลาคม สักเท่าไร หนังสือพิมพ์ให้ความสนใจความเป็นไปของดารานักแสดงที่เปลี่ยนผัวเปลี่ยนเมียบ้าง คนโน้นมีคนรักใหม่บ้าง เพิ่งพบรักบ้าง เพิ่งอกหักบ้าง แล้วดาราก็เกิดขึ้นมากมายให้เสนอข่าวไม่หวาดไม่ไหวเสียด้วย ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะประชาชนให้ความสนใจข่าวทำนองนี้ เพราะมันทำให้ลืมความทุกข์ยากจากค่าครองชีพ ลืมหนี้สินที่พอกพูนขึ้น
ดูเหมือนสื่อจะเลือกสนับสนุนรัฐบาล แทนที่จะตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล สื่อกลับทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายค้านเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนรัฐบาลก็จะพูดแต่เพียงว่า มาจากการเลือกตั้ง ถ้าหากไม่ดีก็ตัดสินใจจะเลือกหรือไม่เลือกก็ได้ในการเลือกตั้งคราวหน้า
เน้นที่การเลือกตั้ง น้ำเสียงไม่ต่างขี้ข้าม้าใช้ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ผิดเพี้ยน ที่พูดอยู่ตลอดว่า มาจากการเลือกตั้ง เป็นประชาธิปไตย ไม่ได้พิจารณาการเลือกตั้งมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ไปกวาดต้อนใครมาเข้าพรรคบ้าง เทคโอเวอร์พรรคการเมืองใดเข้าไปบ้าง ใช้อำนาจขู่เข็ญใครให้เข้าพรรคบ้าง หรือที่เข้ามาเป็นสมัครพรรคพวก เป็นขี้ข้านั้นมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไร
ขอให้มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวพอ เข้าใจแต่เพียงว่า เมื่อมาจากการเลือกตั้งแล้ว ประเทศชาติก็เป็นของตัว จะโกหกตอแหลอย่างไร จะมีนโยบายพาให้บ้านเมืองฉิบหายวายวอดอย่างไรทำได้ทั้งสิ้น
ซึ่งไม่ใช่
ไม่เช่นนั้นจะมีสื่อ จะมีหนังสือพิมพ์ไว้ทำอะไร จะต้องมีฝ่ายค้านไว้ทำไม จะต้องมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะต้องมีการยื่นกระทู้ซักถามกันทำไม และจะต้องมีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ หรือจะต้องมีการถอดถอนทำไม
สื่อเคยยอมรับเผด็จการทหารไม่ได้ แต่สื่อกลับยอมรับเผด็จการในรัฐสภาได้ สื่อยอมรับการโกหกของพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่บอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี แต่กลับมาเป็น แต่สื่อยอมรับการตอแหลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ ยอมรับอาการโง่เขลาเบาปัญญาของคนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ อาการโง่ๆ เปิ่นๆ เชยๆ กลายเป็นเรื่องน่าถนอมรักของสื่อไป
นี่จะไม่ให้เข้าใจว่าเป็นยุคตกต่ำของสื่อได้อย่างไร?
รัฐบาลนี้จำนำข้าวด้วยราคาที่สูงกว่าท้องตลาด นี่ก็เป็นการโกหกตอแหลอยู่แล้ว ซ้ำขาดทุนอีกปีละ 2.6 แสนล้านบาท ซึ่งมองเห็นความฉิบหายอยู่ตรงหน้าชัดๆ แต่สื่อกลับมองไม่เห็น ไปเห็นดีเห็นงามด้วยเสียอีกว่า เป็นการช่วยชาวนาทั้งที่ความเป็นจริงชาวนาได้ประโยชน์ก็แต่เฉพาะชาวนาที่มีพื้นที่นามากๆ เท่านั้นเอง ชาวนาจนแทบจะไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้เลย
รัฐบาลจะออกกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมาพัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคม ไม่มีใครค้านในเรื่องนี้ เพียงแต่ค้านว่า ทำไมไม่มีโครงการดังกล่าวไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน เพื่อที่จะได้มีการตรวจสอบจากสภาฯ และหน่วยงานอื่นๆ
แทนที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลทำในสิ่งที่ถูกต้อง กลับเน้นจำเพาะที่ว่า เป็นความจำเป็นที่จะต้องมีรถไฟความเร็วสูง ไม่เช่นนั้นจะไม่เจริญเท่าเทียมประเทศอื่น เขาไม่ได้บอกว่าไม่ให้สร้างไม่ให้ทำ แต่จะต้องทำบนพื้นฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย บนพื้นฐานของการตรวจสอบ
สื่อกลับไม่ทำหน้าที่
มีการยกขบวนไปข่มขู่ศาล สื่อกลับเฉย
นี่เพราะอะไร? เพราะสื่อขาดเสรีภาพในการเสนอหรือ เพระสื่อเลือกที่จะไม่ใช้เสรีภาพ เลือกที่จะไม่ทำหน้าที่สื่อ
นี่เป็นเรื่องที่สื่อควรจะสำรวจตรวจสอบตัวเอง ก่อนที่ประชาชนจะลุกขึ้นตรวจสอบ