กทม.หวั่นน้ำเหนือทะลักเข้ากรุงโดยเฉพาะโซนตะวันออก หลังน้ำในเขื่อนป่าสักฯ ปริมาณเกิน 100% ส่งผลเร่งระบายเข้าคลองระพีพัฒน์ ออกคลองแสนแสบ ระบุพร่องน้ำรอรับแล้ว เจ้าพระยาที่กรุงเก่าสุงขึ้นอีก 30 ซม.กระทบชาวบ้านริม 2 ฝั่งตลอด 18 กม.หนัก "สระแก้ว" วิกฤตน้ำป่าพัดรถยนต์กู้ภัย-กระบะตกถนนน้ำจมมิด ชาวบ้านสูญหาย 2 ยังหาไม่เจอ ชาวบุรีรัมย์ผวาน้ำล้นสปิลเวย์ "เขื่อนลำนางรอง"ครั้งแรกในรอบ 30 ปีหลังเกินความจุ 121 ล้าน ลบ.ม.ท่ามกลางลือสะพัดสันเขื่อนร้าว ส่วน "สียัด" แปดริ้วก็ใกล้วิกฤตเช่นกัน
*ศภช."เตือน 5 จังหวัดจ่ออันตรายน้ำป่าหลากโคลนถล่ม 6-9 ต.ค.นี้ "ปู"ทองคาถามั่นใจน้ำท่วมไม่ซ้ำรอยปี 54
วานนี้ (6 ต.ค.) นายอดิศักดิ์ ขันตี ผอ.สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า จากการรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า กทม.จะมีฝนตก ร้อยละ 40 ของพื้นที่ แต่ที่ต้องเฝ้าระวังยังคงเป็นระดับน้ำเหนือที่มาจากคลองระพีพัฒน์ เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณเกิน 100% กรมชลประทานจึงต้องเร่งระบายน้ำ ทำให้เขื่อนพระราม 6 ซึ่งรับน้ำแม่น้ำป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำมากถึง 859 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที โดยส่วนหนึ่งระบายมายังคลองระพีพัฒน์และจะเข้าพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก อย่างไรก็ตาม กทม.ได้พร่องน้ำในคลองเพื่อรองรับน้ำไว้แล้ว รวมทั้งมาตรการต่างๆ โดยในวันที่ 7 ต.ค.นี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.จะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
นายอดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้เฝ้าระวังระดับน้ำในคลองแสนแสบด้วย เนื่องจากรับน้ำมาจากคลองระพีพัฒน์ โดยขณะนี้ระดับน้ำยังปกติอยู่ที่ -0.26 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ซึ่งคลองแสนแสบจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า -60 ม.รทก. และไม่ให้สูงกว่า 0.40 ม.รทก. เพื่อไม่ให้กระทบกับการเดินเรือ หากน้ำน้อยหรือมากเกินไปจากการควบคุม จะต้องขอความร่วมมือบริษัทเดินเรือให้หยุดเดินเรือ เพื่อเพิ่มระดับน้ำหรือพร่องระดับน้ำให้สามารถเดินเรือได้
**เจ้าพระยาในกรุงเก่าสูงขึ้นอีก 30 ซม.
ด้าน จ.พระนครศรีอยุธยาวานนี้ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอีกหลังจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 เร่งปล่อยน้ำเพราะปริมาณความจุเกิดกำหนด ส่งผลกระทบให้บ้านเรือนประชาชนที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตลอด 18 กิโลกเมตร ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบที่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่า 30 ซม.
ขณะที่นายลายทองเหรียญ มีพันธุ์ และชาวบ้านช้างเพนียดหลวง ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการอพยพช้างแม่-ลูกจำนวน 10 เชือก และช้างชราอีก 10 เชือก ออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่พักชั่วคราวรอบนอก เนื่องจากแม่น้ำลพบุรี มีน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนส่งผลให้ช้างต้องยืนแช่น้ำและเกรงว่าช้างจะถูกน้ำกัดเท้า ขณะที่อาหารช้างเริ่มขาดแคลน จึงต้องเร่งทำการอพยพช้างออกจากพื้นที่ประสบภัยภัยก่อนที่น้ำจะท่วมมากกว่านี้ ขณะที่ชาวบ้านก็ต้องเร่งขนของหนีน้ำ และออกไปหาที่พักนอกหมู่บ้านเช่นกัน
**ชาวป่าโมกผวาพนังกั้นน้ำรั่วนับสิบจุด
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.อ่างทอง แม่น้ำเจ้าพระยา ลดลงเล็กน้อยแต่รอยรั่วบริเวณพนังกั้นน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอป่าโมก หลังเก่าหลายจุดมีน้ำไหลทะลักเข้ามาเป็นช่วงๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเกิดความไม่สบายใจต้องเดินมาตรวจสอบกันบ่อยครั้ง บางรายถึงกับนอนไม่หลับ เนื่องจากเกรงว่าพนังกั้นน้ำดังกล่าวจะทานแรงดันน้ำไม่ไหว และอาจจะทำให้น้ำทะลุกำแพงคอนกรีตทั้งด้านล่างและด้านบนออกมา เหมือนปี 54 จนทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏร บ้านพักข้าราชการ ตำรวจ และสถานที่ราชการในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าบางจุด นอกจากจะมีน้ำไหลทะลุพนังคอนกรีตแล้วบริเวณพื้นด้านล่างยังมีน้ำผุดใต้ดินออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาด้านนอกสูงกว่าแนวตลิ่งถึง 1.5 ซึ่งจากการสอบถามไปยังเทศบาลตำบลป่าโมก เจ้าของพื้นที่พบว่า ได้ลงไปตรวจสอบแล้ว แต่ต้องปล่อยให้น้ำไหลเช่นนั้นและใช้วิธีตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่สูบน้ำออกแทนเพราะหากไปปิดไว้จะทำให้พนังและพื้นคอนกรีตอาจจะระเบิดได้ นอกจากนี้ ยังจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย
**สระแก้ววิกฤตน้ำพัดรถตกน้ำ-หาย2คน
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ยังวิกฤตหนักโดยเฉพาะใน จ.สระแก้ว น้ำท่วมได้ทะลักเข้าท่วมถนนสาย 359 สระแก้ว-เขาหินซ้อนแล้ว ขณะที่มวลน้ำที่ฝั่งกัมพูชา ได้ทะลักเข้าท่วมตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ ทำให้การการสัญจรค่อนข้างลำบาก ด้านแม่ค้า นักท่องเที่ยวต่างหนีน้ำกันชุลมุน ขณะที่สินค้าได้รับความเสียหายจำนวนมาก เนื่องจากขนย้ายไม่ทัน
นอกจากนี้ ยังได้มีน้ำป่าจากเทือกเขาสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ไหลเข้าท่วม อ.วังสมบูรณ์, อ.วังน้ำเย็น, อ.เขาฉกรรจ์ และ อ.เมืองสระแก้ว และยังได้ไหลเข้าท่วมถนนสายหลักหมายเลข 317 จันทบุรี-สระแก้ว บริเวณบ้านเขาแหลม อ.วังสมบูรณ์ สูงประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร รวมทั้งน้ำยังเข้าท่วมถนนตัดใหม่สายอรัญประเทศ-เขาหินซ้อน บริเวณบ้านสระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว สูง 1 เมตร และอีก 1 เส้นทาง คือ ถนนสายหลักทางหลวงหมายเลข 33 สระแก้ว-กบินทร์บุรี บริเวณศูนย์มาสด้า เขตเทศบาลเมืองสระแก้ว อ.เมืองสระแก้ว ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 80 ซม.ซึ่งเป็นถนน 4 เลน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในพื้นที่ อ.เขาฉกรรจ์มี 4 ตำบลเป็นที่ต่ำน้ำได้ไหลท่วมจมไป 3 ตำบลมีผู้ถูกพัดสูญหายยังหาไม่พบ 2 ราย ฟาร์มหมู 500 ตัวจมน้ำ ขณะที่รถกู้ภัยออฟโรดยกสูงของมูลนิธิสว่างสระแก้วจุดวังใหม่ ที่นำนักข่าวเข้าไปสำรวจหมู่บ้านเขาฉกรรจ์หมู่ 1 ได้ถูกกระแสน้ำพัดตกลงข้างทางรถจมมิดคัน ทุกคนต้องสละรถกระโดดลงน้ำเอาตัวรอด ส่วน ที่ อ.เมืองสระแก้ว มีรายงานว่ารถกระบะ 1 คันถูกน้ำพัดตกถนนคนขับได้รับบาดเจ็บหน่วยกู้ภัยได้ช่วยเหลือออกมาได้
**"พนัสนิคม"อ่วม! จมบาดาลน้ำสูง 2 เมตร
ส่วนที่ จ.ชลบุรี หลังฝนตกอย่างหนัตลอดคืนที่ผ่านมาทำให้เช้าวันนี้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมากาท่วมผิวจราจร และบ้านเรือนใน อ.เมือง อ.พานทอง อ.ศรีราชา โดยเฉพาะ อ.พนัสนิคม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ถนนถูกตัดขาด บ้านเรือนถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยานพาหนะส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต 1 รายเนื่องจากโดนไฟฟ้าช็อต
นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้นายอำเภอเมืองพนัสนิคม เร่งประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น ในเรื่องการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นแล้ว คาดว่าหากไม่มีฝนตกหนักมาซ้ำ จะสามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมดภายในเวลา 2 วัน
**"อ่างเก็บน้ำสียัด"แปดริ้วจ่อวิกฤตแล้ว
นายทินกร รัตนพัวพันธ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองสียัด อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสียัด ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุด ในภาคตะวันออก มีปริมาณใกล้เต็มความจุแล้ว หลังจากมีมวลน้ำจากในป่าเขตรอยต่อระหว่าง จ.ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และ สระแก้ว ไหลลงสู่ด้านท้ายอ่างโดยไหลเข้ามาเพียงวันเดียว ในปริมาณมากถึงกว่า 44 ล้าน ลบ.ม.จึงทำให้จนถึงขณะนี้มีน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำคลองสียัดจำนวนมากถึง 391 ล้าน ลบ.ม.แล้ว หรือคิดเป็นร้อยละ 93 ของความจุขอบอ่างที่เสริมขอบยางสปิลเวย์แล้ว
นอกจากนี้ น้ำในอ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ซึ่งมีความจุเพียง 4 ล้าน ลบ.ม.นั้น ขณะนี้มีน้ำเต็มแล้ว รวมทั้งอ่างเก็บน้ำคลองระบม ที่มีน้ำเต็มความจุเช่นเดียวกัน โดยมีปริมาณน้ำไหลออกทิ้งมากถึงวันละกว่า 1 ล้าน ลบ.ม.
**ผวา"เขื่อนลำนางรอง"แตกน้ำล้นสปิลเวย์
ด้านชาวบ้าน อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ นับร้อยคนต่างพากันแห่ไปดูน้ำล้นสปิลเวย์เขื่อนลำนางรอง ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุ 121 ล้าน ลบ.ม.หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้น้ำที่สะสมตามเทือกเขาในเขตป่าดงใหญ่ไหลลงมาสมทบกับน้ำต้นทุนในเขื่อน ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสูงเกินระดับกักเก็บประมาณ 12 ซม.จนล้นออกสปิลเวย์ เฉลี่ย 8 ลบ.ม.ต่อวินาที
ทั้งนี้ ชาวบ้านที่เดินทางมาดูบางคนได้นำกล้องถ่ายและโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพน้ำล้นสปิลเวย์เก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วย เพราะถือเป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในรอบ 30 ปี จากที่ก่อนหน้านี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2526 หลังก่อสร้างเขื่อนเมื่อปี 2523 ส่วนน้ำที่ล้นออกสปิลเวย์เริ่มส่งผลกระทบเอ่อท่วมถนน และนาข้าวในเขตพื้นที่ ต.ส้มป่อย แล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและเป็นทางน้ำไหลผ่าน นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวลือสะพัดจากชาวบ้านในพื้นที่ด้วยว่า สันเขื่อนลำนางรองดังกล่าวมีรอยร้าว จึงทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดผวาเกรงเขื่อนจะแตก หรือได้รับความเสียหาย ประกอบกับช่วงนี้มีปริมาณน้ำมากผิดปกติ
นายสนธยา คุ้มชุ่ม นายช่างชลประทานอาวุโส โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนลำนางรอง ยืนยันว่า จากการตรวจสอบเขื่อนยังมีความมั่นคงแข็งแรงดีไม่ได้มีรอยร้าว หรือเสียหายตามที่มีกระแสข่าวลือ และเจ้าหน้าที่ได้ออกสำรวจอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้น้ำจะเกินระดับกักเก็บ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ขณะนี้ทางชลประทานยังไม่ได้มีการระบายน้ำออกเพราะเกรงจะกระทบต่อประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ลุ่มต่ำ แต่ได้ประสานไปยังทางอำเภอ เพื่อให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่น้ำไหลผ่านให้เฝ้าระวังและติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่องด้วยเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำที่ล้นออกสปิลเวย์ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนอีกมากน้อยเพียงใด เพราะในพื้นที่ อ.โนนดินแดง ไม่มีสถานีวัดปริมาณน้ำ
**ฝนถล่มภูเก็ตอ่วมถนนหลายสายจม
ส่วนที่ จ.ภูเก็ต ผู้สื่อข่าวรายงานว่ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตได้มีน้ำท่วมผิวถนนการจราจรหลายสาย ประกอบไปด้วยถนนภูเก็ต หน้าลานนวมินทร์ ถนมนตรี สี่แยกโรงแรมเพิร์ล สามแยกธนาคารชาร์เตอร์ บริเวณหน้าธนาคารกรุงไทย ถนนรัษฎา รวมทั้งถนนเส้นอื่นๆ อีกหลายสาย เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีฝนตกหนักติดต่อกันมาตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 5 ต.ค.ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 6 ต.ค.ทำให้ถนนหลายสายในเขตเทศบาลนครภูเก็ตได้มีน้ำท่วมขังประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่ทัน
น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำรถยนต์ขยายเสียงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มและใกล้กับคลองบางใหญ่ให้ขนสิ่งของเครื่องใช้เก็บไว้ในที่สูง รวมทั้งได้ส่งให้เจ้าหน้าที่เฝ้าตรวจสอบระดับน้ำบริเวณคลองบางใหญ่ บริเวณสะพานต่วนประดิษฐ์ แยกธนาคารชาร์เตอร์ ชุมชนถนนหลวงพ่อ และสะพานพระพิทักษ์ ข้างไปรษณีย์ ภูเก็ต พร้อมได้มีป้ายแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบถึงบริเวณถนนต่างๆ มีน้ำท่วมขัง
"ทางเทศบาลนครภูเก็ตได้ใช้เครื่องสูบน้ำเร่งสูบน้ำลงสู่คลองบางใหญ่ โดยคาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง น้ำที่ท่วมขังในเขตเทศบาลนครภูเก็ตได้แห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้ได้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นอุปสรรคในการสูบน้ำลงสู่ทะเล พร้อมได้มีป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาทราบว่าข้างหน้ามีน้ำท่วมถนน รวมทั้งหากประชาชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ตต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ 199 หรือโทรศัพท์ 076-211111 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง" น.ส.สมใจ กล่าว
***สธ.ส่งบุคลากรเสริมช่วยหน่วยแพทย์
ทางด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.พบผู้ป่วยสะสม 68,919 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคเดิมคือ น้ำกัดเท้า ดังนั้น ขอให้ประชาชนช่วยกันลดสิ่งสกปรกในน้ำท่วมขัง อย่างการถ่ายอุจจาระหากส้วมใช้การไม่ได้ ก็ขอให้ถ่ายลงในถุงดำ และทิ้งขยะลงในถุงแล้วมัดปากถุงให้แน่นเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาด
ส่วนผลกระทบด้านสุขภาพจิต ตรวจประเมินแล้ว 4,786 ราย พบมีความเครียดรวม 703 ราย ในจำนวนนี้มี 230 รายที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยร้อยละ 2 มีอาการซึมเศร้า ทั้งนี้ สธ.จะทำการตรวจประเมินผลสุขภาพจิตผู้ประสบภัยภายหลังน้ำลด เพื่อฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดยวันที่ 7 ต.ค. ได้มอบหมายให้นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข ลงพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือประชาชนและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ในฐานะประธานวอร์รูม สธ.กล่าวว่า สถานบริการได้รับผลกระทบ 72 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 64 แห่ง เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ลุ่มมีโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม 7 แห่ง แต่เปิดให้บริการได้
สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้มีบุคลากรสาธารณสุขประสบภัยรวมทั้งสิ้น 937 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 242 คน ที่เหลืออีก 695 คน เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.ปราจีนบุรี สธ.ได้ระดมหน่วยแพทย์จากจังหวัดอื่น มาช่วยในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เช่น ชลบุรี ลพบุรี เป็นต้น
***ศภช.เตือน 5 จว.รับมือน้ำป่าดินถล่ม
วานนี้ (6 ต.ค.) น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) กล่าวเตือนว่า ในวันที่ 6-7 ตุลาคมนี้อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่จังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระมัดระวัง หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งเตือนว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยหน้าประจวบคีรีขันธ์มีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งในวันนี้ (7 ต.ค.56) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค.56 ไว้ด้วย
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงอีกละลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค.56 ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิลดลงและมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 27 จังหวัดเพิ่มขึ้นอีก 3 จังหวัด คือ จันทบุรี, ชลบุรี, ขอนแก่น 184 อำเภอ 1,112 ตำบล 8,201 หมู่บ้าน 567,057 ครัวเรือน 2,007,775 คน อพยพ 5,833 ครัวเรือน 18,699 คน ใน จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ และสระแก้ว ส่วนจังหวัดที่คลี่คลายแล้ว 9 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, กาฬสินธุ์, นครราชสีมา, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, มุกดาหาร มีผู้เสียชีวิตแล้ว 31 ราย
**"ปู"ย้ำมั่นใจน้ำท่วมไม่ซ้ำรอยปี 54
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วานนี้ (6 ต.ค.56) เวลา 08.40 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนออกเดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย เพื่อร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ถึงการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ว่า ได้สั่งการให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ และทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกันลงพื้นที่แล้ว ซึ่งในวันนี้ นายปลอดประสพ ก็ได้ลงพื้นที่ที่จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเบื้องต้นสถานการณ์น้ำในปีนี้ไม่มากเท่ากับปี 2554 แต่มีปัญหาคือปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาเฉพาะจุด ทำให้บางพื้นที่เกิดน้ำสะสม เช่นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งได้สั่งการให้ กบอ. ติดตามสถานการณ์ และแก้ปัญหาเฉพาะจุด โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เรือผลักดันน้ำ และนำกระสอบทรายไปกั้นในจุดสำคัญ โดยการทำงานวันนี้ มีการบูรณาการ โดยให้ผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดที่จะมีศูนย์ส่วนหน้าไปลงพื้นที่ เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกับ ปภ. และกองทัพ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ที่เป็นห่วงในขณะนี้ คือ กบินทร์บุรี รวมทั้งต้องติดตามปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งทางกรมชลประทานและกบอ.ได้ติดตามดู อย่างไรก็ตามข้อกังวลว่าสถานการณ์น้ำจะซ้ำรอยปี 2554 นั้น ปีนี้รัฐบาลบูรณาการเข้าไปแก้ปัญหาล่วงหน้าได้เร็วขึ้น ช่วยประชาชนเคลื่อนย้ายสิ่งของและเตรียมการป้องกัน เราเตรียมตัวดีขึ้น และมีการเก็บข้อมูล เพื่อนำไปแก้ปัญหาต่อไป ต่างจากปี 2554 ที่เราทำหลังจากเกิดเหตุแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าในพื้นที่ กทม.ได้ประสานการทำงานกับทางผู้ว่าฯอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เบื้องต้นจะมอนิเตอร์ เขื่อนหลักที่จะกระทบกับภาคเศรษฐกิจ โดยทางกบอ. และกรมชลประทาน ก็ได้ประสานกทม.อยู่เป็นระยะ แต่ขอความร่วมมือทางกทม. หากเกิดสถานการณ์ให้หันมาร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่
*ศภช."เตือน 5 จังหวัดจ่ออันตรายน้ำป่าหลากโคลนถล่ม 6-9 ต.ค.นี้ "ปู"ทองคาถามั่นใจน้ำท่วมไม่ซ้ำรอยปี 54
วานนี้ (6 ต.ค.) นายอดิศักดิ์ ขันตี ผอ.สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า จากการรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า กทม.จะมีฝนตก ร้อยละ 40 ของพื้นที่ แต่ที่ต้องเฝ้าระวังยังคงเป็นระดับน้ำเหนือที่มาจากคลองระพีพัฒน์ เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณเกิน 100% กรมชลประทานจึงต้องเร่งระบายน้ำ ทำให้เขื่อนพระราม 6 ซึ่งรับน้ำแม่น้ำป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำมากถึง 859 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที โดยส่วนหนึ่งระบายมายังคลองระพีพัฒน์และจะเข้าพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก อย่างไรก็ตาม กทม.ได้พร่องน้ำในคลองเพื่อรองรับน้ำไว้แล้ว รวมทั้งมาตรการต่างๆ โดยในวันที่ 7 ต.ค.นี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการ กทม.จะลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
นายอดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้เฝ้าระวังระดับน้ำในคลองแสนแสบด้วย เนื่องจากรับน้ำมาจากคลองระพีพัฒน์ โดยขณะนี้ระดับน้ำยังปกติอยู่ที่ -0.26 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ซึ่งคลองแสนแสบจะควบคุมให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า -60 ม.รทก. และไม่ให้สูงกว่า 0.40 ม.รทก. เพื่อไม่ให้กระทบกับการเดินเรือ หากน้ำน้อยหรือมากเกินไปจากการควบคุม จะต้องขอความร่วมมือบริษัทเดินเรือให้หยุดเดินเรือ เพื่อเพิ่มระดับน้ำหรือพร่องระดับน้ำให้สามารถเดินเรือได้
**เจ้าพระยาในกรุงเก่าสูงขึ้นอีก 30 ซม.
ด้าน จ.พระนครศรีอยุธยาวานนี้ น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้เพิ่มระดับสูงขึ้นอีกหลังจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และเขื่อนพระราม 6 เร่งปล่อยน้ำเพราะปริมาณความจุเกิดกำหนด ส่งผลกระทบให้บ้านเรือนประชาชนที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตลอด 18 กิโลกเมตร ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบที่ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่า 30 ซม.
ขณะที่นายลายทองเหรียญ มีพันธุ์ และชาวบ้านช้างเพนียดหลวง ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ทำการอพยพช้างแม่-ลูกจำนวน 10 เชือก และช้างชราอีก 10 เชือก ออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่พักชั่วคราวรอบนอก เนื่องจากแม่น้ำลพบุรี มีน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนส่งผลให้ช้างต้องยืนแช่น้ำและเกรงว่าช้างจะถูกน้ำกัดเท้า ขณะที่อาหารช้างเริ่มขาดแคลน จึงต้องเร่งทำการอพยพช้างออกจากพื้นที่ประสบภัยภัยก่อนที่น้ำจะท่วมมากกว่านี้ ขณะที่ชาวบ้านก็ต้องเร่งขนของหนีน้ำ และออกไปหาที่พักนอกหมู่บ้านเช่นกัน
**ชาวป่าโมกผวาพนังกั้นน้ำรั่วนับสิบจุด
ด้านสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.อ่างทอง แม่น้ำเจ้าพระยา ลดลงเล็กน้อยแต่รอยรั่วบริเวณพนังกั้นน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอป่าโมก หลังเก่าหลายจุดมีน้ำไหลทะลักเข้ามาเป็นช่วงๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเกิดความไม่สบายใจต้องเดินมาตรวจสอบกันบ่อยครั้ง บางรายถึงกับนอนไม่หลับ เนื่องจากเกรงว่าพนังกั้นน้ำดังกล่าวจะทานแรงดันน้ำไม่ไหว และอาจจะทำให้น้ำทะลุกำแพงคอนกรีตทั้งด้านล่างและด้านบนออกมา เหมือนปี 54 จนทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏร บ้านพักข้าราชการ ตำรวจ และสถานที่ราชการในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าบางจุด นอกจากจะมีน้ำไหลทะลุพนังคอนกรีตแล้วบริเวณพื้นด้านล่างยังมีน้ำผุดใต้ดินออกมาอีกเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาด้านนอกสูงกว่าแนวตลิ่งถึง 1.5 ซึ่งจากการสอบถามไปยังเทศบาลตำบลป่าโมก เจ้าของพื้นที่พบว่า ได้ลงไปตรวจสอบแล้ว แต่ต้องปล่อยให้น้ำไหลเช่นนั้นและใช้วิธีตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่สูบน้ำออกแทนเพราะหากไปปิดไว้จะทำให้พนังและพื้นคอนกรีตอาจจะระเบิดได้ นอกจากนี้ ยังจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าดูแลตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย
**สระแก้ววิกฤตน้ำพัดรถตกน้ำ-หาย2คน
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ยังวิกฤตหนักโดยเฉพาะใน จ.สระแก้ว น้ำท่วมได้ทะลักเข้าท่วมถนนสาย 359 สระแก้ว-เขาหินซ้อนแล้ว ขณะที่มวลน้ำที่ฝั่งกัมพูชา ได้ทะลักเข้าท่วมตลาดโรงเกลือ อ.อรัญประเทศ ทำให้การการสัญจรค่อนข้างลำบาก ด้านแม่ค้า นักท่องเที่ยวต่างหนีน้ำกันชุลมุน ขณะที่สินค้าได้รับความเสียหายจำนวนมาก เนื่องจากขนย้ายไม่ทัน
นอกจากนี้ ยังได้มีน้ำป่าจากเทือกเขาสอยดาว อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ไหลเข้าท่วม อ.วังสมบูรณ์, อ.วังน้ำเย็น, อ.เขาฉกรรจ์ และ อ.เมืองสระแก้ว และยังได้ไหลเข้าท่วมถนนสายหลักหมายเลข 317 จันทบุรี-สระแก้ว บริเวณบ้านเขาแหลม อ.วังสมบูรณ์ สูงประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร รวมทั้งน้ำยังเข้าท่วมถนนตัดใหม่สายอรัญประเทศ-เขาหินซ้อน บริเวณบ้านสระขวัญ อ.เมืองสระแก้ว สูง 1 เมตร และอีก 1 เส้นทาง คือ ถนนสายหลักทางหลวงหมายเลข 33 สระแก้ว-กบินทร์บุรี บริเวณศูนย์มาสด้า เขตเทศบาลเมืองสระแก้ว อ.เมืองสระแก้ว ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 80 ซม.ซึ่งเป็นถนน 4 เลน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในพื้นที่ อ.เขาฉกรรจ์มี 4 ตำบลเป็นที่ต่ำน้ำได้ไหลท่วมจมไป 3 ตำบลมีผู้ถูกพัดสูญหายยังหาไม่พบ 2 ราย ฟาร์มหมู 500 ตัวจมน้ำ ขณะที่รถกู้ภัยออฟโรดยกสูงของมูลนิธิสว่างสระแก้วจุดวังใหม่ ที่นำนักข่าวเข้าไปสำรวจหมู่บ้านเขาฉกรรจ์หมู่ 1 ได้ถูกกระแสน้ำพัดตกลงข้างทางรถจมมิดคัน ทุกคนต้องสละรถกระโดดลงน้ำเอาตัวรอด ส่วน ที่ อ.เมืองสระแก้ว มีรายงานว่ารถกระบะ 1 คันถูกน้ำพัดตกถนนคนขับได้รับบาดเจ็บหน่วยกู้ภัยได้ช่วยเหลือออกมาได้
**"พนัสนิคม"อ่วม! จมบาดาลน้ำสูง 2 เมตร
ส่วนที่ จ.ชลบุรี หลังฝนตกอย่างหนัตลอดคืนที่ผ่านมาทำให้เช้าวันนี้ปริมาณน้ำฝนจำนวนมากาท่วมผิวจราจร และบ้านเรือนใน อ.เมือง อ.พานทอง อ.ศรีราชา โดยเฉพาะ อ.พนัสนิคม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ถนนถูกตัดขาด บ้านเรือนถูกน้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยานพาหนะส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต 1 รายเนื่องจากโดนไฟฟ้าช็อต
นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้นายอำเภอเมืองพนัสนิคม เร่งประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น ในเรื่องการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นแล้ว คาดว่าหากไม่มีฝนตกหนักมาซ้ำ จะสามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ทั้งหมดภายในเวลา 2 วัน
**"อ่างเก็บน้ำสียัด"แปดริ้วจ่อวิกฤตแล้ว
นายทินกร รัตนพัวพันธ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองสียัด อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสียัด ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุด ในภาคตะวันออก มีปริมาณใกล้เต็มความจุแล้ว หลังจากมีมวลน้ำจากในป่าเขตรอยต่อระหว่าง จ.ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และ สระแก้ว ไหลลงสู่ด้านท้ายอ่างโดยไหลเข้ามาเพียงวันเดียว ในปริมาณมากถึงกว่า 44 ล้าน ลบ.ม.จึงทำให้จนถึงขณะนี้มีน้ำอยู่ในอ่างเก็บน้ำคลองสียัดจำนวนมากถึง 391 ล้าน ลบ.ม.แล้ว หรือคิดเป็นร้อยละ 93 ของความจุขอบอ่างที่เสริมขอบยางสปิลเวย์แล้ว
นอกจากนี้ น้ำในอ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ซึ่งมีความจุเพียง 4 ล้าน ลบ.ม.นั้น ขณะนี้มีน้ำเต็มแล้ว รวมทั้งอ่างเก็บน้ำคลองระบม ที่มีน้ำเต็มความจุเช่นเดียวกัน โดยมีปริมาณน้ำไหลออกทิ้งมากถึงวันละกว่า 1 ล้าน ลบ.ม.
**ผวา"เขื่อนลำนางรอง"แตกน้ำล้นสปิลเวย์
ด้านชาวบ้าน อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ นับร้อยคนต่างพากันแห่ไปดูน้ำล้นสปิลเวย์เขื่อนลำนางรอง ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุ 121 ล้าน ลบ.ม.หลังมีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้น้ำที่สะสมตามเทือกเขาในเขตป่าดงใหญ่ไหลลงมาสมทบกับน้ำต้นทุนในเขื่อน ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสูงเกินระดับกักเก็บประมาณ 12 ซม.จนล้นออกสปิลเวย์ เฉลี่ย 8 ลบ.ม.ต่อวินาที
ทั้งนี้ ชาวบ้านที่เดินทางมาดูบางคนได้นำกล้องถ่ายและโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพน้ำล้นสปิลเวย์เก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วย เพราะถือเป็นปรากฏการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในรอบ 30 ปี จากที่ก่อนหน้านี้ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2526 หลังก่อสร้างเขื่อนเมื่อปี 2523 ส่วนน้ำที่ล้นออกสปิลเวย์เริ่มส่งผลกระทบเอ่อท่วมถนน และนาข้าวในเขตพื้นที่ ต.ส้มป่อย แล้ว เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและเป็นทางน้ำไหลผ่าน นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าวลือสะพัดจากชาวบ้านในพื้นที่ด้วยว่า สันเขื่อนลำนางรองดังกล่าวมีรอยร้าว จึงทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดผวาเกรงเขื่อนจะแตก หรือได้รับความเสียหาย ประกอบกับช่วงนี้มีปริมาณน้ำมากผิดปกติ
นายสนธยา คุ้มชุ่ม นายช่างชลประทานอาวุโส โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนลำนางรอง ยืนยันว่า จากการตรวจสอบเขื่อนยังมีความมั่นคงแข็งแรงดีไม่ได้มีรอยร้าว หรือเสียหายตามที่มีกระแสข่าวลือ และเจ้าหน้าที่ได้ออกสำรวจอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้น้ำจะเกินระดับกักเก็บ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ขณะนี้ทางชลประทานยังไม่ได้มีการระบายน้ำออกเพราะเกรงจะกระทบต่อประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ลุ่มต่ำ แต่ได้ประสานไปยังทางอำเภอ เพื่อให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่น้ำไหลผ่านให้เฝ้าระวังและติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่องด้วยเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำที่ล้นออกสปิลเวย์ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนอีกมากน้อยเพียงใด เพราะในพื้นที่ อ.โนนดินแดง ไม่มีสถานีวัดปริมาณน้ำ
**ฝนถล่มภูเก็ตอ่วมถนนหลายสายจม
ส่วนที่ จ.ภูเก็ต ผู้สื่อข่าวรายงานว่ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ตได้มีน้ำท่วมผิวถนนการจราจรหลายสาย ประกอบไปด้วยถนนภูเก็ต หน้าลานนวมินทร์ ถนมนตรี สี่แยกโรงแรมเพิร์ล สามแยกธนาคารชาร์เตอร์ บริเวณหน้าธนาคารกรุงไทย ถนนรัษฎา รวมทั้งถนนเส้นอื่นๆ อีกหลายสาย เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีฝนตกหนักติดต่อกันมาตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 5 ต.ค.ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 6 ต.ค.ทำให้ถนนหลายสายในเขตเทศบาลนครภูเก็ตได้มีน้ำท่วมขังประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุน ทำให้น้ำระบายลงสู่ทะเลไม่ทัน
น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนำรถยนต์ขยายเสียงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มและใกล้กับคลองบางใหญ่ให้ขนสิ่งของเครื่องใช้เก็บไว้ในที่สูง รวมทั้งได้ส่งให้เจ้าหน้าที่เฝ้าตรวจสอบระดับน้ำบริเวณคลองบางใหญ่ บริเวณสะพานต่วนประดิษฐ์ แยกธนาคารชาร์เตอร์ ชุมชนถนนหลวงพ่อ และสะพานพระพิทักษ์ ข้างไปรษณีย์ ภูเก็ต พร้อมได้มีป้ายแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทราบถึงบริเวณถนนต่างๆ มีน้ำท่วมขัง
"ทางเทศบาลนครภูเก็ตได้ใช้เครื่องสูบน้ำเร่งสูบน้ำลงสู่คลองบางใหญ่ โดยคาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง น้ำที่ท่วมขังในเขตเทศบาลนครภูเก็ตได้แห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้ได้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นอุปสรรคในการสูบน้ำลงสู่ทะเล พร้อมได้มีป้ายประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาทราบว่าข้างหน้ามีน้ำท่วมถนน รวมทั้งหากประชาชนในเขตเทศบาลนครภูเก็ตต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ 199 หรือโทรศัพท์ 076-211111 โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง" น.ส.สมใจ กล่าว
***สธ.ส่งบุคลากรเสริมช่วยหน่วยแพทย์
ทางด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จากการออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.พบผู้ป่วยสะสม 68,919 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคเดิมคือ น้ำกัดเท้า ดังนั้น ขอให้ประชาชนช่วยกันลดสิ่งสกปรกในน้ำท่วมขัง อย่างการถ่ายอุจจาระหากส้วมใช้การไม่ได้ ก็ขอให้ถ่ายลงในถุงดำ และทิ้งขยะลงในถุงแล้วมัดปากถุงให้แน่นเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาด
ส่วนผลกระทบด้านสุขภาพจิต ตรวจประเมินแล้ว 4,786 ราย พบมีความเครียดรวม 703 ราย ในจำนวนนี้มี 230 รายที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยร้อยละ 2 มีอาการซึมเศร้า ทั้งนี้ สธ.จะทำการตรวจประเมินผลสุขภาพจิตผู้ประสบภัยภายหลังน้ำลด เพื่อฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด โดยวันที่ 7 ต.ค. ได้มอบหมายให้นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข ลงพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือประชาชนและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ในฐานะประธานวอร์รูม สธ.กล่าวว่า สถานบริการได้รับผลกระทบ 72 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 64 แห่ง เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ลุ่มมีโรงพยาบาลถูกน้ำท่วม 7 แห่ง แต่เปิดให้บริการได้
สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้มีบุคลากรสาธารณสุขประสบภัยรวมทั้งสิ้น 937 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 242 คน ที่เหลืออีก 695 คน เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.ปราจีนบุรี สธ.ได้ระดมหน่วยแพทย์จากจังหวัดอื่น มาช่วยในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เช่น ชลบุรี ลพบุรี เป็นต้น
***ศภช.เตือน 5 จว.รับมือน้ำป่าดินถล่ม
วานนี้ (6 ต.ค.) น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) กล่าวเตือนว่า ในวันที่ 6-7 ตุลาคมนี้อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ในพื้นที่จังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระมัดระวัง หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แจ้งเตือนว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลอ่าวไทยหน้าประจวบคีรีขันธ์มีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งในวันนี้ (7 ต.ค.56) ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต ระวังอันตรายจากฝนตกหนักในช่วงวันที่ 6-8 ต.ค.56 ไว้ด้วย
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงอีกละลอกหนึ่งจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 7-11 ต.ค.56 ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิลดลงและมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่า ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 27 จังหวัดเพิ่มขึ้นอีก 3 จังหวัด คือ จันทบุรี, ชลบุรี, ขอนแก่น 184 อำเภอ 1,112 ตำบล 8,201 หมู่บ้าน 567,057 ครัวเรือน 2,007,775 คน อพยพ 5,833 ครัวเรือน 18,699 คน ใน จ.อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ และสระแก้ว ส่วนจังหวัดที่คลี่คลายแล้ว 9 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, กาฬสินธุ์, นครราชสีมา, พะเยา, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง, มุกดาหาร มีผู้เสียชีวิตแล้ว 31 ราย
**"ปู"ย้ำมั่นใจน้ำท่วมไม่ซ้ำรอยปี 54
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วานนี้ (6 ต.ค.56) เวลา 08.40 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนออกเดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย เพื่อร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ถึงการรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ว่า ได้สั่งการให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ และทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ร่วมกันลงพื้นที่แล้ว ซึ่งในวันนี้ นายปลอดประสพ ก็ได้ลงพื้นที่ที่จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเบื้องต้นสถานการณ์น้ำในปีนี้ไม่มากเท่ากับปี 2554 แต่มีปัญหาคือปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาเฉพาะจุด ทำให้บางพื้นที่เกิดน้ำสะสม เช่นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งได้สั่งการให้ กบอ. ติดตามสถานการณ์ และแก้ปัญหาเฉพาะจุด โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เรือผลักดันน้ำ และนำกระสอบทรายไปกั้นในจุดสำคัญ โดยการทำงานวันนี้ มีการบูรณาการ โดยให้ผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดที่จะมีศูนย์ส่วนหน้าไปลงพื้นที่ เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกับ ปภ. และกองทัพ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ที่เป็นห่วงในขณะนี้ คือ กบินทร์บุรี รวมทั้งต้องติดตามปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งทางกรมชลประทานและกบอ.ได้ติดตามดู อย่างไรก็ตามข้อกังวลว่าสถานการณ์น้ำจะซ้ำรอยปี 2554 นั้น ปีนี้รัฐบาลบูรณาการเข้าไปแก้ปัญหาล่วงหน้าได้เร็วขึ้น ช่วยประชาชนเคลื่อนย้ายสิ่งของและเตรียมการป้องกัน เราเตรียมตัวดีขึ้น และมีการเก็บข้อมูล เพื่อนำไปแก้ปัญหาต่อไป ต่างจากปี 2554 ที่เราทำหลังจากเกิดเหตุแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่าในพื้นที่ กทม.ได้ประสานการทำงานกับทางผู้ว่าฯอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เบื้องต้นจะมอนิเตอร์ เขื่อนหลักที่จะกระทบกับภาคเศรษฐกิจ โดยทางกบอ. และกรมชลประทาน ก็ได้ประสานกทม.อยู่เป็นระยะ แต่ขอความร่วมมือทางกทม. หากเกิดสถานการณ์ให้หันมาร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่