พญ.ภัทรวลัย ตลึงจิตร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำเสนอโครงร่างงานวิจัยการศึกษามาตรการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับประเทศไทยว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เป็นปัญหาสุขภาพที่นักวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอันดับให้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญอันดับ 1 ของวัยรุ่น เนื่องจากอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง เพราะไม่มีข้อมูลเรื่องการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย ดังนั้น การป้องกันที่ดีคือ จะต้องให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน และต้องเพิ่มการเข้าถึงบริการการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัย
ทั้งนี้ การให้ความรู้เด็กและเยาวชน ควรต้องจัดความรู้เป็นแบบแพ็คเกจตามช่วงอายุ โดยในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น คือ อายุ 10-13 ปี เน้นเรื่องการอย่ามีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยจะต้องสอนให้มีทักษะในการใช้ชีวิต และรู้จักการปฏิเสธ ส่วนกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ซึ่งมีข้อมูลว่าเด็กวัยนี้ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งล้วนเคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแล้วนั้น ต้องเน้นการให้ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย รู้จักป้องกันตัวเอง และมีการคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง
ส่วนการเพิ่มการเข้าถึงบริการคุมกำเนิดแบบปลอดภัย เสนอให้มีการทำการ์ด สำหรับวัยรุ่น ซึ่งประยุกต์มาจากประเทศอังกฤษ ที่มีการทำ U-Card สำหรับวัยรุ่นหญิงในการขอรับบริการยาคุมฉุกเฉินฟรี และ C-Card สำหรับวัยรุ่นชายอายุน้อยกว่า 24 ปี ในการขอรับบริการถุงยางอนามัยฟรี ซึ่งเห็นผลชัดเจนว่าช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ โดยไทยจะทำเป็นการ์ดเพียงใบเดียว ซึ่งวัยรุ่นสามารถนำการ์ดนี้ไปขอรับบริการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยได้ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา เป็นต้น โดยจะต้องสแกนบาร์โคดบนการ์ด เพื่อส่งข้อมูลกลับไปยังฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ทราบว่าในแต่ละเดือนมีเด็กขอใช้บริการกี่ราย และมีการจ่ายอุปกรณ์คุมกำเนิดไปเป็นจำนวนเท่าไร
พญ.ภัทรวลัย กล่าวว่า หากประเทศไทยเดินหน้าตามโครงร่างนี้ ก็จะนำร่องในกลุ่มเด็กอาชีวะก่อน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์สูงมาก แต่เป็นสถานศึกษาที่เปิดกว้างในเรื่องนี้ คือ เมื่อนักเรียนคลอดแล้วยังสามารถกลับมาเรียนต่อได้ ไม่เหมือนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. โดยทางคณะผู้วิจัยจะเข้าไปดำเนินการอบรมให้แก่นักเรียนก่อน จากนั้นจะให้นักเรียนมาขอรับการ์ดตามความสมัครใจ โดยต้องกรอกแบบสอบถามเพื่อดูว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ และให้กรอกที่อยู่ที่สะดวกในการจัดส่ง เพราะเด็กบางรายอาจไม่ต้องการให้ที่บ้านรับรู้ หรือบางรายสามารถลงทะเบียนขอรับการ์ดผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยจะต้องมีการกรอกแบบสอบถามและที่อยู่เช่นกัน
"โครงร่างนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี งบประมาณสูงสุดอยู่ที่ 5 ล้านบาท เพื่อเก็บข้อมูลและติดตามผลว่าสามารถช่วยลดปัญหาได้หรือไม่ จึงอยากให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้ามาสนับสนุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าอาจจะมีแรงต้านพอสมควร เพราะเหมือนเป็นการส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์แบบเสรี แต่ก็ควรที่จะต้องเดินหน้า เพราะอย่างน้อยจะช่วยให้ไทยได้ข้อมูลเรื่องการคุมกำเนิดมากขึ้น และสามารถวัดผลได้ว่าการท้องในวัยรุ่น และการทำแท้งลดลงหรือไม่ หากดำเนินการแล้วพบว่าไม่สามารถแก้ปัญหาในบริบทของประเทศไทยได้เหมือนอังกฤษ ก็ค่อยหามาตรการอื่นในการแก้ปัญหา ดีกว่าไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย" พญ.ภัทรวลัย กล่าว
ทั้งนี้ การให้ความรู้เด็กและเยาวชน ควรต้องจัดความรู้เป็นแบบแพ็คเกจตามช่วงอายุ โดยในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น คือ อายุ 10-13 ปี เน้นเรื่องการอย่ามีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยจะต้องสอนให้มีทักษะในการใช้ชีวิต และรู้จักการปฏิเสธ ส่วนกลุ่มวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ซึ่งมีข้อมูลว่าเด็กวัยนี้ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งล้วนเคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแล้วนั้น ต้องเน้นการให้ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย รู้จักป้องกันตัวเอง และมีการคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง
ส่วนการเพิ่มการเข้าถึงบริการคุมกำเนิดแบบปลอดภัย เสนอให้มีการทำการ์ด สำหรับวัยรุ่น ซึ่งประยุกต์มาจากประเทศอังกฤษ ที่มีการทำ U-Card สำหรับวัยรุ่นหญิงในการขอรับบริการยาคุมฉุกเฉินฟรี และ C-Card สำหรับวัยรุ่นชายอายุน้อยกว่า 24 ปี ในการขอรับบริการถุงยางอนามัยฟรี ซึ่งเห็นผลชัดเจนว่าช่วยลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้ โดยไทยจะทำเป็นการ์ดเพียงใบเดียว ซึ่งวัยรุ่นสามารถนำการ์ดนี้ไปขอรับบริการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยได้ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา เป็นต้น โดยจะต้องสแกนบาร์โคดบนการ์ด เพื่อส่งข้อมูลกลับไปยังฐานข้อมูล ซึ่งจะทำให้ทราบว่าในแต่ละเดือนมีเด็กขอใช้บริการกี่ราย และมีการจ่ายอุปกรณ์คุมกำเนิดไปเป็นจำนวนเท่าไร
พญ.ภัทรวลัย กล่าวว่า หากประเทศไทยเดินหน้าตามโครงร่างนี้ ก็จะนำร่องในกลุ่มเด็กอาชีวะก่อน เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์สูงมาก แต่เป็นสถานศึกษาที่เปิดกว้างในเรื่องนี้ คือ เมื่อนักเรียนคลอดแล้วยังสามารถกลับมาเรียนต่อได้ ไม่เหมือนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. โดยทางคณะผู้วิจัยจะเข้าไปดำเนินการอบรมให้แก่นักเรียนก่อน จากนั้นจะให้นักเรียนมาขอรับการ์ดตามความสมัครใจ โดยต้องกรอกแบบสอบถามเพื่อดูว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ และให้กรอกที่อยู่ที่สะดวกในการจัดส่ง เพราะเด็กบางรายอาจไม่ต้องการให้ที่บ้านรับรู้ หรือบางรายสามารถลงทะเบียนขอรับการ์ดผ่านอินเทอร์เน็ตได้ โดยจะต้องมีการกรอกแบบสอบถามและที่อยู่เช่นกัน
"โครงร่างนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี งบประมาณสูงสุดอยู่ที่ 5 ล้านบาท เพื่อเก็บข้อมูลและติดตามผลว่าสามารถช่วยลดปัญหาได้หรือไม่ จึงอยากให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้ามาสนับสนุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าอาจจะมีแรงต้านพอสมควร เพราะเหมือนเป็นการส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์แบบเสรี แต่ก็ควรที่จะต้องเดินหน้า เพราะอย่างน้อยจะช่วยให้ไทยได้ข้อมูลเรื่องการคุมกำเนิดมากขึ้น และสามารถวัดผลได้ว่าการท้องในวัยรุ่น และการทำแท้งลดลงหรือไม่ หากดำเนินการแล้วพบว่าไม่สามารถแก้ปัญหาในบริบทของประเทศไทยได้เหมือนอังกฤษ ก็ค่อยหามาตรการอื่นในการแก้ปัญหา ดีกว่าไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย" พญ.ภัทรวลัย กล่าว