สคส.เตรียมดันร่าง พ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธุ์ ฉบับประชาชนหลังล่าช้ามากว่า 10 ปี ด้าน สธ.เผยสังคมเสื่อมลง เด็กอายุแค่ 10 ขวบก็เป็นคุณแม่แล้ว ส่วนวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำมากกว่า 1 หมื่นราย แห่ทำแท้งเพราะไม่ตั้งใจป่องถึง 70% สาเหตุเพราะอยากกลับไปเรียนต่อเกือบ 30% โดนฟันแล้วทิ้ง 4.4% อึ้ง! 50% ใช้ถุงยางครั้งแรกแต่ครั้งที่สองเลิกใช้
วันนี้ (26 ก.ย.) รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในเวทีอภิปรายเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ ฉบับประชาชน ว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยกร่างมานานกว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่ออกเป็นกฎหมายเสียที ทั้งที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแล้ว เนื่องจากกฤษฎีกามีความเห็นว่าไม่ควรออกเป็นกฎหมาย มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องผู้หญิง (สคส.) จึงออกมาเรียกร้องให้ออกเป็นกฎหมายให้ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 4 ภาค และในวันนี้เป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพฯ ก่อนจะรวบรวม ประมวลผล และแก้ไขร่าง พ.ร.บ.แล้วทำการขับเคลื่อนในกลุ่มนักการเมือง พรรคการเมือง และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเสนอได้ภายใน ก.ย. 2557
รศ.ดร.กฤตยา กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงสิทธิที่ประชาชนควรจะมีคือ สิทธิการเลือกมีคู่ชีวิตด้วยตัวเอง เลือกวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม สามารถเรียนหนังสือระหว่างตั้งครรภ์ได้ เลือกมีหรือไม่มี หรือจะมีกี่คนก็ได้ สิทธิในการทำงานอย่างเสรีไม่ถูกปฏิเสธ และในกรณีเป็นผู้ที่มีเพศกำกวมมีสิทธิในการเลือกเพศเองได้ นอกจากนี้ ร่างดังกล่าวยังระบุว่า รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าถึงสิทธิเหล่านี้อย่างเท่าเทียมกัน
“สิ่งที่ทำยากที่สุดคือกฎหมายการทำแท้ง เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีเหตุผลที่เหมาะสมในการทำแท้งก็ตาม แต่แพทย์จะปฏิเสธการทำแท้ง จึงทำเรื่องส่งต่อ ซึ่งกระบวนการตรงนี้ผลักดันให้ประชาชนต้องไปพึ่งพาสถานทำแท้งเถื่อน ซึ่งมีความอันตรายสูงมาก” รศ.ดร.กฤตยา
ด้าน นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผอ.สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย สธ.กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สธ.พบว่า นักศึกษา ปวช.ชั้นปีที่ 2 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 50% นักเรียนชั้น ม.5 ซึ่งมีอายุระดับเดียวกันมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 1 ใน 5 ของจำนวนนักเรียน ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถิติการคลอดซึ่งพบว่าอายุต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10 ขวบ แสดงให้เห็นว่าเด็กมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก่อนอายุ 10 ขวบ นอกจากนี้ จากการเก็บข้อมูลการคลอดปี 2555 พบว่า วัยรุ่นอายุระหว่าง 15-19 ปี มีอัตราคลอด 54 คนต่อ 1,000 คน หากรวมการทำแท้งเถื่อนจะมีอัตราคลอดสูงถึง 70-80 คนต่อประชากร 1,000 คน โดยผลการศึกษายังพบด้วยว่า วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี มีการตั้งครรภ์ซ้ำถึง 1 หมื่นราย หากรวมการคลอดนอกระบบด้วยอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำก็จะสูงถึง 14,000-15,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุ 10 ขวบตั้งครรภ์ซ้ำถึง 5 คน
นพ.กิตติพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลการทำแท้งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อปี 2555 ที่มีการเก็บตัวอย่างใน 13 จังหวัด พบว่า มาทำแท้งเพราะไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ร้อยละ 70 คุมกำเนิดแล้วพลาดร้อยละ 30 โดยร้อยละ 54 เป็นวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ส่วนอีกร้อยละ 46 เป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี จำนวนนี้เป็นนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 30 สาเหตุของการทำแท้งส่วนใหญ่เพราะอยากเรียนต่อร้อยละ 29.2 ผู้ไม่พร้อมแต่งงานร้อยละ 13.5 มีบุตรถี่เกินไปร้อยละ 5.4 ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบร้อยละ 4.4 ผู้ชายมีครอบครัวแล้วร้อยละ 1.6 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการทำแท้งประมาณ 25-30 คน ซึ่งเป็นตัวเลขจริงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นถ้าเข้าถึงการบริการที่เหมาะสม ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวไม่นับการทำแท้งเถื่อน
“ประเด็นสำคัญคือพบว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 50 ในการมีเซ็กซ์ครั้งแรก แต่การมีเซ็กซ์ครั้งต่อไปกลับพบว่าไม่มีการใช้ถุงยาง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น ดังนั้น ปัจจุบัน สธ.จึงส่งเสริมให้มีเซ็กซ์ปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยาง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์” นพ.กิตติพงศ์ กล่าวและว่า การตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยจะส่งผลให้เกิดปัญหาในเด็ก เช่น เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กและถือเป็นปัญหาใหญ่ของ สธ.ที่พยายามผลักดันให้เด็กมีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม และ สธ.ก็ได้กำหนดว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวตำกว่าเกณฑ์ในแต่ละปีไม่เกินร้อยละ 7 ของอัตราการคลอดทั้งหมด แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีเด็กที่คลอดด้วยน้ำหนักตัวที่น้อยถึงร้อยละ10 ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากมีกฎหมายดังกล่าวก็จะช่วยลดปัญหาการตายจากการทำแท้งและได้ทำให้วัยรุ่นมีความรู้ในเรื่องเพศมากขึ้น
วันนี้ (26 ก.ย.) รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในเวทีอภิปรายเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ ฉบับประชาชน ว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยกร่างมานานกว่า 10 ปี แต่ก็ยังไม่ออกเป็นกฎหมายเสียที ทั้งที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแล้ว เนื่องจากกฤษฎีกามีความเห็นว่าไม่ควรออกเป็นกฎหมาย มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องผู้หญิง (สคส.) จึงออกมาเรียกร้องให้ออกเป็นกฎหมายให้ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 4 ภาค และในวันนี้เป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายที่กรุงเทพฯ ก่อนจะรวบรวม ประมวลผล และแก้ไขร่าง พ.ร.บ.แล้วทำการขับเคลื่อนในกลุ่มนักการเมือง พรรคการเมือง และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง คาดว่าจะเสนอได้ภายใน ก.ย. 2557
รศ.ดร.กฤตยา กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงสิทธิที่ประชาชนควรจะมีคือ สิทธิการเลือกมีคู่ชีวิตด้วยตัวเอง เลือกวิธีคุมกำเนิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม สามารถเรียนหนังสือระหว่างตั้งครรภ์ได้ เลือกมีหรือไม่มี หรือจะมีกี่คนก็ได้ สิทธิในการทำงานอย่างเสรีไม่ถูกปฏิเสธ และในกรณีเป็นผู้ที่มีเพศกำกวมมีสิทธิในการเลือกเพศเองได้ นอกจากนี้ ร่างดังกล่าวยังระบุว่า รัฐบาลจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าถึงสิทธิเหล่านี้อย่างเท่าเทียมกัน
“สิ่งที่ทำยากที่สุดคือกฎหมายการทำแท้ง เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีเหตุผลที่เหมาะสมในการทำแท้งก็ตาม แต่แพทย์จะปฏิเสธการทำแท้ง จึงทำเรื่องส่งต่อ ซึ่งกระบวนการตรงนี้ผลักดันให้ประชาชนต้องไปพึ่งพาสถานทำแท้งเถื่อน ซึ่งมีความอันตรายสูงมาก” รศ.ดร.กฤตยา
ด้าน นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผอ.สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย สธ.กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สธ.พบว่า นักศึกษา ปวช.ชั้นปีที่ 2 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 50% นักเรียนชั้น ม.5 ซึ่งมีอายุระดับเดียวกันมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 1 ใน 5 ของจำนวนนักเรียน ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถิติการคลอดซึ่งพบว่าอายุต่ำสุดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10 ขวบ แสดงให้เห็นว่าเด็กมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก่อนอายุ 10 ขวบ นอกจากนี้ จากการเก็บข้อมูลการคลอดปี 2555 พบว่า วัยรุ่นอายุระหว่าง 15-19 ปี มีอัตราคลอด 54 คนต่อ 1,000 คน หากรวมการทำแท้งเถื่อนจะมีอัตราคลอดสูงถึง 70-80 คนต่อประชากร 1,000 คน โดยผลการศึกษายังพบด้วยว่า วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี มีการตั้งครรภ์ซ้ำถึง 1 หมื่นราย หากรวมการคลอดนอกระบบด้วยอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำก็จะสูงถึง 14,000-15,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุ 10 ขวบตั้งครรภ์ซ้ำถึง 5 คน
นพ.กิตติพงศ์ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลการทำแท้งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อปี 2555 ที่มีการเก็บตัวอย่างใน 13 จังหวัด พบว่า มาทำแท้งเพราะไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ร้อยละ 70 คุมกำเนิดแล้วพลาดร้อยละ 30 โดยร้อยละ 54 เป็นวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ส่วนอีกร้อยละ 46 เป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี จำนวนนี้เป็นนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 30 สาเหตุของการทำแท้งส่วนใหญ่เพราะอยากเรียนต่อร้อยละ 29.2 ผู้ไม่พร้อมแต่งงานร้อยละ 13.5 มีบุตรถี่เกินไปร้อยละ 5.4 ฝ่ายชายไม่รับผิดชอบร้อยละ 4.4 ผู้ชายมีครอบครัวแล้วร้อยละ 1.6 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการทำแท้งประมาณ 25-30 คน ซึ่งเป็นตัวเลขจริงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นถ้าเข้าถึงการบริการที่เหมาะสม ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวไม่นับการทำแท้งเถื่อน
“ประเด็นสำคัญคือพบว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 50 ในการมีเซ็กซ์ครั้งแรก แต่การมีเซ็กซ์ครั้งต่อไปกลับพบว่าไม่มีการใช้ถุงยาง ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น ดังนั้น ปัจจุบัน สธ.จึงส่งเสริมให้มีเซ็กซ์ปลอดภัยด้วยการใช้ถุงยาง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์” นพ.กิตติพงศ์ กล่าวและว่า การตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อยจะส่งผลให้เกิดปัญหาในเด็ก เช่น เด็กมีน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กและถือเป็นปัญหาใหญ่ของ สธ.ที่พยายามผลักดันให้เด็กมีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม และ สธ.ก็ได้กำหนดว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวตำกว่าเกณฑ์ในแต่ละปีไม่เกินร้อยละ 7 ของอัตราการคลอดทั้งหมด แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีเด็กที่คลอดด้วยน้ำหนักตัวที่น้อยถึงร้อยละ10 ซึ่งถือว่าสูงกว่าที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามหากมีกฎหมายดังกล่าวก็จะช่วยลดปัญหาการตายจากการทำแท้งและได้ทำให้วัยรุ่นมีความรู้ในเรื่องเพศมากขึ้น