xs
xsm
sm
md
lg

ศาลรธน.ชี้ขาดงบ57วันนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วันนี้ (4 ต.ค.) เวลา 10.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดแถลงด้วยวาจา และลงมติในคำร้องที่ประธานรัฐสภาส่งความเห็นของส.ส. และส.ว. รวม 112 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มาตรา 27 ในส่วนของสำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลปกครอง และ มาตรา 28 ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ( ป.ป.ช.) ขัดหรือแย้งหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 168 วรรคแปด และวรรคเก้า หรือไม่ โดยคำร้องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญจะมีการชี้ขาดในวันเดียวกัน
ทั้งนี้ ผลของคำวินิจฉัย อาจจะออกมาได้ 2 แนวทางคือ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯนั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 วรรคสี่ โดยส่งคืนให้สภานำกลับไปแก้ไขในมาตรา หรือข้อความที่ขัดรัฐธรรมนูญ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการตา มาตรา 150 ต่อไป แต่หากศาลวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการตามมาตรา 150 ต่อไป
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2557 กล่าวว่า ไม่รู้สึกกังวลที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีการวินิจฉัยเรื่องนี้ ซึ่งตนมั่นใจในกระบวนการที่สภา และกรรมาธิการดำเนินการ ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญทุกประการ อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับดุลพินิจขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร เพราะได้ไปชี้แจงมาหมดแล้ว
นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีปัญหา เพราะถือว่าได้ทำถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่าง การจัดทำงบประมาณ สำนักงบประมาณเป็นผู้จัดสรร โดยสำนักงบประมาณรู้ว่า แต่ละหน่วยงานเป็นอย่างไร ส่วนการพิจารณาของรัฐสภา เป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้ว เรามีหน้าที่พิจารณาให้ถูกต้องเท่านั้น
หากสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณขัดรัฐธรรมนูญ ก็ต้องขอดูรายละเอียดในคำวินิจฉัยของศาลฯก่อน เพราะหากชี้ว่าผิด ศาลจะต้องชี้แจงว่า จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร
“กรณีเดียวที่รัฐบาลต้องยุบสภา คือ พรรคเพื่อไทยแพ้โหวตในการลงมติตอนพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ในวาระ 3 จนทำให้กฎหมายไม่สามารถประกาศใช้ได้ แต่กรณีศาลจะวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญแล้วเราจะต้องรับผิดชอบด้วยการยุบสภานั้น ไม่เกี่ยวกันเลย ”นายอำนวย ระบุ
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ยื่นเรื่องให้ตีความ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ใน มาตรา 27 และ มาตรา 28 อาจให้รัฐสภากลับไปแก้ไขกฎหมายให้ถูกต้อง ทั้งนี้เชื่อว่าการพิจารณาของศาลฯ จะพิจารณา ใน 2 มาตราดังกล่าวเท่านั้น และไม่ใช่การทำให้ร่างดังกล่าวตกไปทั้งฉบับ ขณะเดียวกันหากศาลพิจารณาว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
กำลังโหลดความคิดเห็น