เสียงข้างมากของรัฐสภาซึ่งก็คือเสียงฝ่ายรัฐบาล ผ่านวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาที่ไปของสมาชิกวุฒิสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือจะต้องนำร่างแก้ไขนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป แต่ระหว่างนี้ก็มีปัญหา กล่าวคือ การที่จะมีการลงมติในวาระ 3 สมาชิกรัฐสภาส่วนหนึ่งร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เพราะเนื้อหาสาระในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่มาที่ไปของสมาชิกวุฒิสภาจนหมดสิ้น ที่เคยบอกว่า เป็นผัว เป็นเมียสมาชิกสภาผู้แทนฯ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ยกเลิก เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดจะต้องลาออกอย่างน้อย 5 ปี ก็ยกเลิก เป็นสมาชิกอยู่วันนี้ ลาออกวันนี้ พรุ่งนี้ก็สมัครรับเลือกตั้งได้ และที่เคยห้ามเป็นวุฒิสภาต่อเนื่องไม่ได้ก็เป็นได้ไม่จำกัด
ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แถลงว่า ได้ยื่นหนังสือถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อขอให้ระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่มา ส.ว.เนื่องจากวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา กลุ่ม ส.ว.ได้ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยล่าสุดทราบว่าประธานวุฒิสภากำลังให้ฝ่ายธุรการตรวจสอบลายมือชื่อส.ว.และจะส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญพร้อมแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบในสัปดาห์นี้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีควรระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการอ้างว่าจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วันนั้น ใช้ในกรณีที่ร่างกฎหมายไม่มีการยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ แต่หากยื่นให้ศาลตรวจสอบตามมาตรา 154 แล้ว ต้องระงับการทูลเกล้าฯ ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย แม้จะพ้นกำหนด 20 วันแล้วก็ตาม ซึ่งล่าสุดกรณีร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ก็เลยกำหนดการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วันแล้วเช่นเดียวกัน
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า หากนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบผิดปกติตามคำแนะนำของบุคคลใกล้ชิด ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาและจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการตรวจสอบร่างกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เชื่อได้ว่าอาจจะมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่มีปัญหามากมายยังไม่สิ้นข้อสงสัย และอยู่ในระหว่างการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่กลับนำขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบ เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง เพราะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจถูกกล่าวโทษว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 157 จึงหวังว่านายกรัฐมนตรี จะระงับนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ไม่เชื่อว่านายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเชื่อนายไพบูลย์ นิติตะวัน คนที่นางสาวยิ่งลักษณ์เชื่อมีเพียง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของนางเท่านั้น
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ แน่นอนว่าจะต้องมีการกลั่นกรองก่อน เชื่อว่าไม่น่าจะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ โดยฝ่ายกลั่นกรองซึ่งก็อาจจะเป็นคณะองคมนตรี หรืออาจจะผ่านจากองคมนตรีก็จะมีปัญหาที่จะต้องติดตามมาอย่างแน่นอน
ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจะต้องพิจารณาคำร้อง พิจารณาพยานหลักฐานอื่นๆ เป็นต้นว่า ผ่านการพิจารณาวาระที่ 1 โดยที่ไม่ได้พูดถึงที่ไปที่มาของวุฒิสมาชิก ไม่ได้พูดถึงการแปรญัตติที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ไกลถึงขนาดนี้
นี่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนคุณสมบัติของวุฒิสมาชิกไว้อย่างหนึ่ง คราวนี้เปลี่ยนปลงไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง
เรื่องเช่นนี้ แน่นอนว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านก็จะต้องวินิจฉัย
ฝ่ายรัฐบาลอาศัยเสียงข้างมากลงมติไปแล้ว เหมือนจะบอกว่านี่เป็นเรื่องของสภาฯ ศาลรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยว (แค่ศาลรับเรื่องไว้พิจารณาบรรดาขี้ข้าม้าใช้ของระบอบทักษิณก็หอนกันเกรียวเลยว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินขอบเขต ขี้ข้าบางคนเคยเป็นตุลาการด้วยก็พลอยเป็นไปกับเขาด้วย)
ลองพิจารณาดูเถอะว่า ความขัดแย้งในสังคมทุกวันนี้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่สร้างมันขึ้นมา ปัญหาที่มาที่ไปของวุฒิสมาชิกนี้ เขาเขียนรัฐธรรมนูญเอาไว้ถึงที่มาที่ไปของวุฒิสภาก็เพื่อป้องกันสภาฯ ผัว สภาฯ เมีย สภาฯ ทาสที่เป็นกันทั้งตระกูล แล้วก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ
เพราะวุฒิสภาเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งองค์กรอิสระ เกี่ยวข้องกับการถอดถอนนักการเมือง ถ้าหากเริ่มต้นด้วยการเป็นขี้ข้าม้าใช้เขาเสียแล้ว วุฒิสภาจะมีความหมายอันใด จะเอาใครไปทำงานในองค์กรอิสระ เขาก็หยิบเอาได้ ประชาชนจะถอดถอนนักการเมืองคนไหนฝ่ายรัฐบาลก็ยากที่จะทำได้ ถ้าหากวุฒิสภาเป็นขี้ข้าเขาเสียแล้ว
จะให้ใครมาช่วยตรวจสอบนักการเมืองเมื่อตรวจสอบไม่ได้ เขาก็ใช้อำนาจตามอำเภอใจ
เรามีวุฒิสภาส่วนหนึ่งที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน เขาก็ยังไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่ฟังเสียงวุฒิสภา ไม่เกรงใจศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าหากสามารถแก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภาเป็นข้าทาสเขาอย่างเบ็ดเสร็จ บ้านเมืองมิแย่ไปกว่าทุกวันนี้อีกหรือ?
เพราะเนื้อหาสาระในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่มาที่ไปของสมาชิกวุฒิสภาจนหมดสิ้น ที่เคยบอกว่า เป็นผัว เป็นเมียสมาชิกสภาผู้แทนฯ หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ยกเลิก เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดจะต้องลาออกอย่างน้อย 5 ปี ก็ยกเลิก เป็นสมาชิกอยู่วันนี้ ลาออกวันนี้ พรุ่งนี้ก็สมัครรับเลือกตั้งได้ และที่เคยห้ามเป็นวุฒิสภาต่อเนื่องไม่ได้ก็เป็นได้ไม่จำกัด
ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แถลงว่า ได้ยื่นหนังสือถึง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อขอให้ระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่มา ส.ว.เนื่องจากวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา กลุ่ม ส.ว.ได้ยื่นเรื่องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อขอส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 ว่า ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โดยล่าสุดทราบว่าประธานวุฒิสภากำลังให้ฝ่ายธุรการตรวจสอบลายมือชื่อส.ว.และจะส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญพร้อมแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบในสัปดาห์นี้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีควรระงับการดำเนินการทูลเกล้าฯ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีการอ้างว่าจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วันนั้น ใช้ในกรณีที่ร่างกฎหมายไม่มีการยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ แต่หากยื่นให้ศาลตรวจสอบตามมาตรา 154 แล้ว ต้องระงับการทูลเกล้าฯ ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย แม้จะพ้นกำหนด 20 วันแล้วก็ตาม ซึ่งล่าสุดกรณีร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ก็เลยกำหนดการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วันแล้วเช่นเดียวกัน
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า หากนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบผิดปกติตามคำแนะนำของบุคคลใกล้ชิด ซึ่งเป็นการแสดงเจตนาและจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการตรวจสอบร่างกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เชื่อได้ว่าอาจจะมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่มีปัญหามากมายยังไม่สิ้นข้อสงสัย และอยู่ในระหว่างการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่กลับนำขึ้นทูลเกล้าฯ อย่างเร่งรีบ เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่ง เพราะทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจถูกกล่าวโทษว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 157 จึงหวังว่านายกรัฐมนตรี จะระงับนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ไม่เชื่อว่านายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเชื่อนายไพบูลย์ นิติตะวัน คนที่นางสาวยิ่งลักษณ์เชื่อมีเพียง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของนางเท่านั้น
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ แน่นอนว่าจะต้องมีการกลั่นกรองก่อน เชื่อว่าไม่น่าจะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ โดยฝ่ายกลั่นกรองซึ่งก็อาจจะเป็นคณะองคมนตรี หรืออาจจะผ่านจากองคมนตรีก็จะมีปัญหาที่จะต้องติดตามมาอย่างแน่นอน
ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจะต้องพิจารณาคำร้อง พิจารณาพยานหลักฐานอื่นๆ เป็นต้นว่า ผ่านการพิจารณาวาระที่ 1 โดยที่ไม่ได้พูดถึงที่ไปที่มาของวุฒิสมาชิก ไม่ได้พูดถึงการแปรญัตติที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ไกลถึงขนาดนี้
นี่ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ ซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนคุณสมบัติของวุฒิสมาชิกไว้อย่างหนึ่ง คราวนี้เปลี่ยนปลงไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง
เรื่องเช่นนี้ แน่นอนว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านก็จะต้องวินิจฉัย
ฝ่ายรัฐบาลอาศัยเสียงข้างมากลงมติไปแล้ว เหมือนจะบอกว่านี่เป็นเรื่องของสภาฯ ศาลรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยว (แค่ศาลรับเรื่องไว้พิจารณาบรรดาขี้ข้าม้าใช้ของระบอบทักษิณก็หอนกันเกรียวเลยว่า ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจเกินขอบเขต ขี้ข้าบางคนเคยเป็นตุลาการด้วยก็พลอยเป็นไปกับเขาด้วย)
ลองพิจารณาดูเถอะว่า ความขัดแย้งในสังคมทุกวันนี้ฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่สร้างมันขึ้นมา ปัญหาที่มาที่ไปของวุฒิสมาชิกนี้ เขาเขียนรัฐธรรมนูญเอาไว้ถึงที่มาที่ไปของวุฒิสภาก็เพื่อป้องกันสภาฯ ผัว สภาฯ เมีย สภาฯ ทาสที่เป็นกันทั้งตระกูล แล้วก็สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ
เพราะวุฒิสภาเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งองค์กรอิสระ เกี่ยวข้องกับการถอดถอนนักการเมือง ถ้าหากเริ่มต้นด้วยการเป็นขี้ข้าม้าใช้เขาเสียแล้ว วุฒิสภาจะมีความหมายอันใด จะเอาใครไปทำงานในองค์กรอิสระ เขาก็หยิบเอาได้ ประชาชนจะถอดถอนนักการเมืองคนไหนฝ่ายรัฐบาลก็ยากที่จะทำได้ ถ้าหากวุฒิสภาเป็นขี้ข้าเขาเสียแล้ว
จะให้ใครมาช่วยตรวจสอบนักการเมืองเมื่อตรวจสอบไม่ได้ เขาก็ใช้อำนาจตามอำเภอใจ
เรามีวุฒิสภาส่วนหนึ่งที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน เขาก็ยังไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่ฟังเสียงวุฒิสภา ไม่เกรงใจศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าหากสามารถแก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภาเป็นข้าทาสเขาอย่างเบ็ดเสร็จ บ้านเมืองมิแย่ไปกว่าทุกวันนี้อีกหรือ?