ASTVผู้จัดการรายวัน-"ศศิน"แฉการจัดทำรายงานอีเอชไอเอเขื่อนแม่วงก์ไม่สมบูรณ์ และยังไม่ทำตามข้อเสนอให้ใช้พื้นที่เขาชนกันสร้างเขื่อน ลั่นไม่ถอดใจ แต่ห่วงพวกหนุนบิดเบือน ด้าน "สุพจน์"ยอมรับเอง รายงานไม่สมบูรณ์จริง เผย "ปู-ปลอด" เตรียมเชิญผู้ไม่เห็นด้วยให้ข้อมูล
วานนี้ (3ต.ค.) ในการประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน ได้เชิญนางรตยา จันทรเทียร ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร, นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ในฐานะตัวแทนของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เข้าชี้แจง กรณีที่กรรมาธิการฯ ได้มีการพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) กรณีโครงการเขื่อนแม่วงก์
นายศศิน ระบุว่า กระบวนการจัดทำรายงานอีเอชไอเอเขื่อนแม่วงก์มีความไม่สมบูรณ์และรับฟังความเห็นไม่รอบด้าน กระบวนการจัดทำที่ผ่านมา ทราบว่ามีการประชุมจำนวน 4 ครั้ง โดยได้เชิญตนเข้าร่วมจำนวน 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถแสดงความเห็นโต้แย้งได้ เพราะมีความรู้สึกกลัว เนื่องจากการจัดการรับฟังความเห็นดังกล่าว มีการนำประชาชนมาชุมนุมเพื่อสนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์อยู่หน้าเวทีจัดงาน และเมื่อรายงานอีเอชไอเอของกรมชลประทานแล้วเสร็จ ในฐานะผู้ที่ร่วมประเมิน พบว่ามีความไม่สมบูรณ์ของรายงาน เนื่องจากไม่ได้ระบุในด้านความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์วิทยา อีกทั้งพบว่าในการประเมินรายงานอีเอชไอเอ ในส่วนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ที่มีการเปลี่ยนตัว นายอุทิศ กุฏอินทร์ และนายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ ออกจากการเป็นกรรมการทำให้เชื่อว่ามีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นของกรมชลประทานที่มีการศึกษามาตั้งแต่ก่อนเหตุน้ำท่วมปี 2554 ต่อมาโครงการนี้ได้เข้าไปอยู่ใน สบอช. และกบอ. และโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2555 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ทั้งที่อีเอชไอเอยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งรายงานของอีเอชไอเอปี 2540 ที่สนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนบริเวณพื้นที่เขาชนกันแทนพื้นที่ปัจจุบัน เพราะหากไปสร้างที่เขาชนกันจะช่วยรองรับน้ำได้ 70% หรือ 500 ล้านลูกบาศ์กเมตร แต่หากก่อสร้างในพื้นที่ปัจจุบันจะรับน้ำได้ 30-40% เท่านั้น หรือประมาณ 200 ล้านลูกบาศ์กเมตร ซึ่งการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะกระทบระบบนิเวศน์ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งจำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก แม้จะเป็นพื้นที่แค่ 1% แต่ก็เป็น 1% ที่ต้องรักษาไว้ในเรื่องระบบนิเวศน์
“ประโยชน์ที่จะได้รับจากเขื่อนแม่วงก์ในการกักเก็บน้ำมีเพียง 1 แสนไร่ ไม่ใช่ 3 แสนไร่ ตามที่เข้าใจกัน อีกทั้งพื้นที่รองรับน้ำท่วมบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ก็ไม่ใช่พื้นที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ เพราะจุดประสงค์เดิมของเขื่อนแม่วงก์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ไม่ใช่แก้ปัญหาน้ำท่วม”นายศศินกล่าว
จากนั้นกรรมาธิการฯ ได้ซักถามถึงกรณีการระงับการออกกาศรายการคนค้นฅน ทางช่อง 9 เมื่อวันที่ 28 ก.ย. นายศศินชี้แจงว่า ไม่ทราบถึงเหตุผลการไม่ได้ออกอากาศ เพราะเป็นเรื่องของบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด กับช่อง 9 ทราบเพียงว่าเหตุที่ไม่ได้ออกอากาศเพราะเสนอเนื้อหาเพียงแค่ด้านเดียว แต่ก่อนออกอากาศก็มีการตรวจสอบเนื้อหารายการ 2 ครั้งแล้ว
ด้านนายสุพจน์ชี้แจงว่า รายงานอีเอชไอเอที่ระบุว่ายังไม่สมบูรณ์นั้น นายกรัฐมนตรีและนายปลอดประสพให้นโยบายว่าพร้อมจะเชิญนายศศินและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ และสื่อมวลชนมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ หากมีข้อมูลใหม่ก็พร้อมนำไปพิจารณาเพิ่มเติม
ทั้งนี้ นายศุภชัยได้สอบถามว่า การที่ ครม. อนุมัติโครงการเขื่อนแม่วงก์ ได้มีการเสนอรายงานอีเอชไอเอที่สมบูรณ์ต่อ ครม. หรือไม่ นายสุพจน์ ชี้แจงว่า รายงานของอีเอชไอเอที่เสนอให้ ครม. รับทราบนั้น เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ของกรมชลประทานเท่านั้นที่เสนอมายัง สบอช. แต่ยังไม่มีการสรุปรับฟังความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ ได้แสดงความห่วงใยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้นายศศินถอดใจเหมือนกรณีนายสืบ นาคะเสถียร ซึ่งนายศศินยืนยันว่าไม่ถอดใจ เพราะวันนี้ มีคนลุกขึ้นมาร่วมอนุรักษ์ป่าเป็นจำนวนมาก ไม่ได้ถูกทิ้งให้สู้แบบโดดเดี่ยวเหมือนสมัยนายสืบ แต่สิ่งที่กังวล คือ การขึ้นเวทีต่างๆ แล้วมีการบิดเบือนข้อมูลจากฝ่ายที่สนับสนุนให้สร้างเขื่อน
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการฯ หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ครม.อนุมัติการสร้างเขื่อนแม่วงก์ได้อย่างไร ในเมื่อรายงานอีเอชไอเอที่เสนอให้ ครม.พิจารณานั้น ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงไม่น่าจะถูกต้องในแง่ของหลักการ และท้ายที่สุด ในคณะกรรมาธิการ ได้เสนอว่า ภายหลังที่รายการคนค้นฅนเสนอตอน นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเดินเท้า ในวันที่ 12 ต.ค.2556 ทางช่อง 9 ก็ให้ กบอ. ออกชี้แจงทางช่อง 9 ทันที ในวันที่ 13 ต.ค.2556
วานนี้ (3ต.ค.) ในการประชุมคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน ได้เชิญนางรตยา จันทรเทียร ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร, นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ในฐานะตัวแทนของนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) เข้าชี้แจง กรณีที่กรรมาธิการฯ ได้มีการพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) กรณีโครงการเขื่อนแม่วงก์
นายศศิน ระบุว่า กระบวนการจัดทำรายงานอีเอชไอเอเขื่อนแม่วงก์มีความไม่สมบูรณ์และรับฟังความเห็นไม่รอบด้าน กระบวนการจัดทำที่ผ่านมา ทราบว่ามีการประชุมจำนวน 4 ครั้ง โดยได้เชิญตนเข้าร่วมจำนวน 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถแสดงความเห็นโต้แย้งได้ เพราะมีความรู้สึกกลัว เนื่องจากการจัดการรับฟังความเห็นดังกล่าว มีการนำประชาชนมาชุมนุมเพื่อสนับสนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์อยู่หน้าเวทีจัดงาน และเมื่อรายงานอีเอชไอเอของกรมชลประทานแล้วเสร็จ ในฐานะผู้ที่ร่วมประเมิน พบว่ามีความไม่สมบูรณ์ของรายงาน เนื่องจากไม่ได้ระบุในด้านความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์วิทยา อีกทั้งพบว่าในการประเมินรายงานอีเอชไอเอ ในส่วนของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ที่มีการเปลี่ยนตัว นายอุทิศ กุฏอินทร์ และนายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ ออกจากการเป็นกรรมการทำให้เชื่อว่ามีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
โครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นของกรมชลประทานที่มีการศึกษามาตั้งแต่ก่อนเหตุน้ำท่วมปี 2554 ต่อมาโครงการนี้ได้เข้าไปอยู่ใน สบอช. และกบอ. และโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เม.ย.2555 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ทั้งที่อีเอชไอเอยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งรายงานของอีเอชไอเอปี 2540 ที่สนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนบริเวณพื้นที่เขาชนกันแทนพื้นที่ปัจจุบัน เพราะหากไปสร้างที่เขาชนกันจะช่วยรองรับน้ำได้ 70% หรือ 500 ล้านลูกบาศ์กเมตร แต่หากก่อสร้างในพื้นที่ปัจจุบันจะรับน้ำได้ 30-40% เท่านั้น หรือประมาณ 200 ล้านลูกบาศ์กเมตร ซึ่งการสร้างเขื่อนแม่วงก์ จะกระทบระบบนิเวศน์ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งจำนวนมากเป็นอันดับสองของโลก แม้จะเป็นพื้นที่แค่ 1% แต่ก็เป็น 1% ที่ต้องรักษาไว้ในเรื่องระบบนิเวศน์
“ประโยชน์ที่จะได้รับจากเขื่อนแม่วงก์ในการกักเก็บน้ำมีเพียง 1 แสนไร่ ไม่ใช่ 3 แสนไร่ ตามที่เข้าใจกัน อีกทั้งพื้นที่รองรับน้ำท่วมบริเวณที่จะก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ก็ไม่ใช่พื้นที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ เพราะจุดประสงค์เดิมของเขื่อนแม่วงก์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ไม่ใช่แก้ปัญหาน้ำท่วม”นายศศินกล่าว
จากนั้นกรรมาธิการฯ ได้ซักถามถึงกรณีการระงับการออกกาศรายการคนค้นฅน ทางช่อง 9 เมื่อวันที่ 28 ก.ย. นายศศินชี้แจงว่า ไม่ทราบถึงเหตุผลการไม่ได้ออกอากาศ เพราะเป็นเรื่องของบริษัท ทีวีบูรพา จำกัด กับช่อง 9 ทราบเพียงว่าเหตุที่ไม่ได้ออกอากาศเพราะเสนอเนื้อหาเพียงแค่ด้านเดียว แต่ก่อนออกอากาศก็มีการตรวจสอบเนื้อหารายการ 2 ครั้งแล้ว
ด้านนายสุพจน์ชี้แจงว่า รายงานอีเอชไอเอที่ระบุว่ายังไม่สมบูรณ์นั้น นายกรัฐมนตรีและนายปลอดประสพให้นโยบายว่าพร้อมจะเชิญนายศศินและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ และสื่อมวลชนมาให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ หากมีข้อมูลใหม่ก็พร้อมนำไปพิจารณาเพิ่มเติม
ทั้งนี้ นายศุภชัยได้สอบถามว่า การที่ ครม. อนุมัติโครงการเขื่อนแม่วงก์ ได้มีการเสนอรายงานอีเอชไอเอที่สมบูรณ์ต่อ ครม. หรือไม่ นายสุพจน์ ชี้แจงว่า รายงานของอีเอชไอเอที่เสนอให้ ครม. รับทราบนั้น เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ของกรมชลประทานเท่านั้นที่เสนอมายัง สบอช. แต่ยังไม่มีการสรุปรับฟังความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ ได้แสดงความห่วงใยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้นายศศินถอดใจเหมือนกรณีนายสืบ นาคะเสถียร ซึ่งนายศศินยืนยันว่าไม่ถอดใจ เพราะวันนี้ มีคนลุกขึ้นมาร่วมอนุรักษ์ป่าเป็นจำนวนมาก ไม่ได้ถูกทิ้งให้สู้แบบโดดเดี่ยวเหมือนสมัยนายสืบ แต่สิ่งที่กังวล คือ การขึ้นเวทีต่างๆ แล้วมีการบิดเบือนข้อมูลจากฝ่ายที่สนับสนุนให้สร้างเขื่อน
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการฯ หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ครม.อนุมัติการสร้างเขื่อนแม่วงก์ได้อย่างไร ในเมื่อรายงานอีเอชไอเอที่เสนอให้ ครม.พิจารณานั้น ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงไม่น่าจะถูกต้องในแง่ของหลักการ และท้ายที่สุด ในคณะกรรมาธิการ ได้เสนอว่า ภายหลังที่รายการคนค้นฅนเสนอตอน นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเดินเท้า ในวันที่ 12 ต.ค.2556 ทางช่อง 9 ก็ให้ กบอ. ออกชี้แจงทางช่อง 9 ทันที ในวันที่ 13 ต.ค.2556