ASTVผู้จัดการรายวัน-กก.กลั่นกรองเห็นชอบเพิ่มชดเชยเสียงสุวรรณภูมิกับผู้อยู่อาศัยช่วงปี 44-49 เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวและไม่ให้กระทบการก้อสร้างเฟส 2 จากกรอบเดิมชดเชยเฉพาะสิ่งปลูกสร้างก่อนปี 44 "ชัชชาติ"ชี้ใช้เงินอีก1,000 ล.ซึ่งไม่เกินกรอบที่ได้รับอนุมัติ 1.12 หมื่นล.กำชับทอท.ลงสำรวจรายหลังเปิดช่องชดเชยรายที่อยู่นอกเส้นเสียงหากวัดเสียงแล้วมีผลกระทบตามหักธรรมาภิบาล ลุ้นชงครม.เห็นชอบ 1 ต.ค.นี้
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบปรับการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงจากการเปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยให้ชดเชยกับผู้อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างอาคารระหว่างปี 2544-2549 เพิ่มจากเดิมที่จะชดเชยผู้อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างก่อนปี 2544 โดยประมาณว่าจะใช้งบเพิ่มอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติไว้ 11,233 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ เห็นว่าการเพิ่มเยียวยาชดเชยให้กับประชาชนที่ปลูกสร้างหลังปี 2544 ซึ่งรับรู้ถึงการก่อสร้างโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวและเพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 โดยหลังจากนี้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. จะต้องพิจารณารายละเอียดเพื่อแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายๆ
ด้วยรวมถึงกรณีที่ไม่ได้อยู่ในเส้นเสียงแต่เมื่อตรวจวัดเสียงแล้วได้รับผลกระทบ ทอท.ก็ต้องเยียวยาด้วย ซึ่งจะไม่กระทบต่อการเงิน เนื่องจากที่ผ่านมาได้จ่ายชดเชยผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท จากกรอบวงเงิน 11,233 ล้านบาท
"ทอท.ต้องทำการบ้านหนักขึ้น ต้องแก้ปัญหารายหลังลงไปวัดจริงแล้วมีผลกระทบต้องเยียวยาให้กรอบวงเงินยังมีเพียงพอ ไม่ใช่โยนให้ครม.ตัดสินใจอย่างเดียว เพราปัญหาในระดับย่อย เป็นรายหลังคาครม.คงตัดสินใจแทนไม่ได้ กรอบที่ครม.อนุมัติไว้เป็นขั้นต่ำสุดซึ่งทอท.ทำเหนือกรอบได้เพราะการแก้ปัญหาต้องยึดหลักธรรมาภิบาลแต่จะให้อนุมัติชดเชยทุกหลังทั้งหมดเป็นกรอบใหญ่แล้วใช้เงินเป็นแสนล้านบาทก็คงไม่ได้ ประเด็นคือทอท.ต้องจริงใจและเร่งรัดในการแก้ปัญหามากกว่าที่ผ่านมา"นายชัชชาติกล่าว
สำหรับผลกระทบทางเสียงในการขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 นั้น ยังไม่มีการหารือโดยจะต้องให้เฟส1 ยุติก่อน และเชื่อว่าผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงของเฟส 2 จะซ้อนกับเฟส1 เป็นส่วนใหญ่เพราะเส้นเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนการก่อสร้างรันเวย์สำรองนั้นหากมีผลกระทบทางเสียงต้องอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการดลก่อสร้างให้ประชาชนเข้าใจซึ่งผกระทบอาจลดลงก็ได้เนื่องจากมีการเฉลี่ยการใช้งาน เป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ไม่ยาก
สำหรับมติครม.ปี 2550 และปี 2553 ยังเป็นไปไปตามเดิมโดย โดยแบ่งพื้นที่ NEF 30-40 ให้ชดเชยจ่ายค่าปรับปรุงอาคาร และ NEF มากกว่า 40 ให้ซื้อสิ่งปลูกสร้างหรือปรับปรุง ส่วนรันเวย์ที่ 3 ทอท.ประเมินค่าชดเชยเสียงไว้ประมาณ 7,000 ล้านบาท
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมาได้มีมติเห็นชอบปรับการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงจากการเปิดให้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยให้ชดเชยกับผู้อยู่อาศัยที่ปลูกสร้างอาคารระหว่างปี 2544-2549 เพิ่มจากเดิมที่จะชดเชยผู้อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างก่อนปี 2544 โดยประมาณว่าจะใช้งบเพิ่มอีกประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติไว้ 11,233 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ทั้งนี้ เห็นว่าการเพิ่มเยียวยาชดเชยให้กับประชาชนที่ปลูกสร้างหลังปี 2544 ซึ่งรับรู้ถึงการก่อสร้างโครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวและเพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 โดยหลังจากนี้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. จะต้องพิจารณารายละเอียดเพื่อแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบเป็นรายๆ
ด้วยรวมถึงกรณีที่ไม่ได้อยู่ในเส้นเสียงแต่เมื่อตรวจวัดเสียงแล้วได้รับผลกระทบ ทอท.ก็ต้องเยียวยาด้วย ซึ่งจะไม่กระทบต่อการเงิน เนื่องจากที่ผ่านมาได้จ่ายชดเชยผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วกว่า 3,000 ล้านบาท จากกรอบวงเงิน 11,233 ล้านบาท
"ทอท.ต้องทำการบ้านหนักขึ้น ต้องแก้ปัญหารายหลังลงไปวัดจริงแล้วมีผลกระทบต้องเยียวยาให้กรอบวงเงินยังมีเพียงพอ ไม่ใช่โยนให้ครม.ตัดสินใจอย่างเดียว เพราปัญหาในระดับย่อย เป็นรายหลังคาครม.คงตัดสินใจแทนไม่ได้ กรอบที่ครม.อนุมัติไว้เป็นขั้นต่ำสุดซึ่งทอท.ทำเหนือกรอบได้เพราะการแก้ปัญหาต้องยึดหลักธรรมาภิบาลแต่จะให้อนุมัติชดเชยทุกหลังทั้งหมดเป็นกรอบใหญ่แล้วใช้เงินเป็นแสนล้านบาทก็คงไม่ได้ ประเด็นคือทอท.ต้องจริงใจและเร่งรัดในการแก้ปัญหามากกว่าที่ผ่านมา"นายชัชชาติกล่าว
สำหรับผลกระทบทางเสียงในการขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 นั้น ยังไม่มีการหารือโดยจะต้องให้เฟส1 ยุติก่อน และเชื่อว่าผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงของเฟส 2 จะซ้อนกับเฟส1 เป็นส่วนใหญ่เพราะเส้นเสียงใกล้เคียงกัน ส่วนการก่อสร้างรันเวย์สำรองนั้นหากมีผลกระทบทางเสียงต้องอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการดลก่อสร้างให้ประชาชนเข้าใจซึ่งผกระทบอาจลดลงก็ได้เนื่องจากมีการเฉลี่ยการใช้งาน เป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ไม่ยาก
สำหรับมติครม.ปี 2550 และปี 2553 ยังเป็นไปไปตามเดิมโดย โดยแบ่งพื้นที่ NEF 30-40 ให้ชดเชยจ่ายค่าปรับปรุงอาคาร และ NEF มากกว่า 40 ให้ซื้อสิ่งปลูกสร้างหรือปรับปรุง ส่วนรันเวย์ที่ 3 ทอท.ประเมินค่าชดเชยเสียงไว้ประมาณ 7,000 ล้านบาท