นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อขอรับเงินสนับสนุนปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาท ว่า ล่าสุดเกษตรกรชาวสวนยาพารามายื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนแล้ว 730,638 ครัวเรือน หรือร้อยละ 62.12 จากประมาณการทั้งหมด 70 จังหวัด ซึ่งมีจำนวน 1,176,145 ครัวเรือน โดยทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนได้ส่งข้อมูลให้แก่คณะกรรมการเปิดกรีดระดับตำบล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ก่อนออกใบรับรอง และส่งข้อมูลให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เพื่อดำเนินการจ่ายเงินแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราต่อไป และเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จ.นครศรีธรรมราช ได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้ว ทั้งนี้ขอให้เกษตรกรฯที่เหลือ เร่งไปดำเนินการยื่นขอขึ้นทะเบียน เพื่อขอรับการช่วยเหลือในจุดที่รัฐบาลกำหนดไว้ ภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้
นอกจากนี้ทาง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือรายงานมายังรัฐบาลว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ย.56 เกษตรในพื้นที่ พร้อมคณะกรรมการขึ้นทะเบียนเกษตรได้ลงพื้นที่ ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เพื่อรับการขึ้นทะเบียนของชาวสวนยาง แต่ปรากฏว่า มีกลุ่มวัยรุ่นพยายามขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่ปฎิบัติหน้าที่ตามมติครม. โดยข่มขู่ ใช้จักรยานยนต์ส่งเสียงดัง ซึ่งเจ้าหน้าที่เกรงเกิดความไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่บ้าน จึงสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ และออกจากหมู่บ้าน ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้เกษตร มาลงทะเบียนไม่สะดวก
** ปล่อยกู้ภาคอุตสาหกรรมยาง1.5หมื่นล.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวภายหลัง การประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบถึงแผนการแก้ปัญหายางพาราในระยะยาว ทั้งการสนับสนุนเกษตรกร ให้รวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ ลงทุนแปรรูปวัตถุดิบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ในกรอบวงเงิน 5 พันล้านบาท ที่ธ.ก.ส. จะเป็นผู้จัดเตรียมเงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรน การสนับสนุนภาคธุรกิจที่จะผลิตสินค้าสำเร็จรูปทั้งสินค้าใหม่ หรือปรับปรุงเครื่องจักร ในวงเงิน1.5 หมื่นล้านบาท และการให้กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าไปดูแลเกษตรกร ในการปลูกพืชแซม เพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งทั้ง 3 เรื่องมีคืบหน้าไปได้ด้วยดี
นอกจากนี้ยังได้มีการรายงานเรื่องของกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ที่ปัจจุบันมีสภาพคล่องไม่มากนัก และมีการซื้อขายเฉพาะยางแผ่นรมควัน ขณะที่แนวโน้มการใช้สินค้ายางพารา ในอนาคต จะมีการใช้ยางแท่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้แทนของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็รับไปพิจารณา รวมถึงการสร้างตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรกลางเพิ่มขึ้น เพื่อความโปร่งใส และการเทียบเคียงราคาได้ เพราะขณะนี้มีการปลูกยางพาราทั่วประเทศแล้ว
เมื่อถามว่าการปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท จะมีการชดเชยดอกเบี้ยเท่าไร นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนแน่นอน แต่ขอดูโครงการให้ครบถ้วนเสียก่อน หากเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนที่ดีตามสมควร การผ่อนปรนดอกเบี้ยก็จะทำในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนที่ดีมาก แต่ว่าผลตอบแทนระยะสั้น ผลตอบแทนระกลางไม่ดีนัก รัฐบาลก็จะต้องช่วยเหลือในการตั้งงบประมาณมาดูแลดอกเบี้ยส่วนนี้ให้มากขึ้น แต่จะขอดูเนื้อโครงการและจะสรุปโครงการใน ในการระชุมครั้งหน้าในช่วงเดือนต.ค.ต่อไป
**ม็อบยางให้เวลานายกฯ7วันรีบไปเจรจา
นายทศพล ขวัญรอด ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่ยังคงชุมนุมที่ บริเวณแยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า หลังจากที่มีการหารือกับภาคีเครือข่ายชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ที่ ต.ห้วยปริก อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ได้ข้อสรุปว่า จะมีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ถึงข้อสรุปในการเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางต่อไป โดยยังยืนยันในข้อเสนอ 6 ข้อ ที่เคยออกแถลงการณ์ไปแล้ว แต่ครั้งนี้ จะมีการกำหนดขีดเส้นตายให้รัฐบาลภายใน 7 วัน ที่ต้องส่งตัวแทนมาเจรจากับทางกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ถ้ารัฐบาลยังคงเพิกเฉย จะมีการยกระดับการชุมนุมรุนแรงพร้อมกันทั้ง 16 จังหวัดภาคใต้แน่นอน แต่รูปแบบและวีธีการยังไม่สามารถบอกได้ ว่าจะดำเนินการยกระดับในลักษณะใด
ทั้งนี้ ใน 6 ข้อเสนอ ของชาวสวนยาง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม และตัวแทนของรัฐบาลที่จะไปเจรจา ต้องเป็นนายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายอำนาจเต็มเท่านั้น
** สปท.ลงพื้นที่ถกปัญหาชาวสวนยาง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่มกรีน ในฐานะคณะทำงานสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ( สปท.) กล่าวว่าวันนี้ (26ก.ย.) ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 น. ตนและคณะทำงานสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย 10 กว่าคน จะไปพบปะชาวสวนยาง ที่ยังชุมนุมกันอยู่ที่ ควนหนองหงษ์ จ.นครศรีธรรมราช โดยจะไปรับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาราคายางของผู้ชุมนุม
จากนั้นในช่วงบ่าย จะมีการจัดงานที่ ร.ร.ทักษิณ โดยทางสภาประชาชนฯได้เชิญชาวสวนยางจาก 16 จังหวัดกว่า 200 คน มาร่วมเสวนาพูดคุยเพื่อระดมความเห็นในการแก้ปัญหาชาวสวนยางทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
การลงพื้นที่พบปะประชาชนที่เดือดร้อนครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำงานของ สปท. ที่ต้องการสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชนให้สังคมวงกว้างได้รับรู้ และนำไปสู่การผลักดันการแก้ปัญหาระยะยาว และยั่งยืน เพราะที่ผ่านมา ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านหลายกลุ่ม หลายปัญหา หลายครั้ง มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยฝ่ายรัฐ ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนไม่ได้รับการแก้ไขที่ต้นเหตุ
นอกจากนี้ สปท. ยังมีแผนเดินสายพบปะประชาชนกลุ่มปัญหาต่างๆ ทั่วประเทศ โดยพื้นที่ต่อไปที่อยู่ระหว่างหารือกันคือ พื้นที่ที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่วงศ์ รวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ในแผนบริหารจัดการน้ำ หรือโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต่างๆ เช่น แผนจัดทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง การเวนคืนที่ดิน และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น เพราะการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนเป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศ สังคมจึงต้องมีส่วนร่วมและรู้เท่าทันนโยบายและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
-----------
นอกจากนี้ทาง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีหนังสือรายงานมายังรัฐบาลว่าเมื่อวันที่ 19 ก.ย.56 เกษตรในพื้นที่ พร้อมคณะกรรมการขึ้นทะเบียนเกษตรได้ลงพื้นที่ ต.ควนหนองหงส์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เพื่อรับการขึ้นทะเบียนของชาวสวนยาง แต่ปรากฏว่า มีกลุ่มวัยรุ่นพยายามขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ที่ปฎิบัติหน้าที่ตามมติครม. โดยข่มขู่ ใช้จักรยานยนต์ส่งเสียงดัง ซึ่งเจ้าหน้าที่เกรงเกิดความไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่บ้าน จึงสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ และออกจากหมู่บ้าน ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้เกษตร มาลงทะเบียนไม่สะดวก
** ปล่อยกู้ภาคอุตสาหกรรมยาง1.5หมื่นล.
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวภายหลัง การประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบถึงแผนการแก้ปัญหายางพาราในระยะยาว ทั้งการสนับสนุนเกษตรกร ให้รวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์ ลงทุนแปรรูปวัตถุดิบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ในกรอบวงเงิน 5 พันล้านบาท ที่ธ.ก.ส. จะเป็นผู้จัดเตรียมเงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรน การสนับสนุนภาคธุรกิจที่จะผลิตสินค้าสำเร็จรูปทั้งสินค้าใหม่ หรือปรับปรุงเครื่องจักร ในวงเงิน1.5 หมื่นล้านบาท และการให้กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าไปดูแลเกษตรกร ในการปลูกพืชแซม เพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งทั้ง 3 เรื่องมีคืบหน้าไปได้ด้วยดี
นอกจากนี้ยังได้มีการรายงานเรื่องของกลไกตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ที่ปัจจุบันมีสภาพคล่องไม่มากนัก และมีการซื้อขายเฉพาะยางแผ่นรมควัน ขณะที่แนวโน้มการใช้สินค้ายางพารา ในอนาคต จะมีการใช้ยางแท่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผู้แทนของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าก็รับไปพิจารณา รวมถึงการสร้างตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรกลางเพิ่มขึ้น เพื่อความโปร่งใส และการเทียบเคียงราคาได้ เพราะขณะนี้มีการปลูกยางพาราทั่วประเทศแล้ว
เมื่อถามว่าการปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท จะมีการชดเชยดอกเบี้ยเท่าไร นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนแน่นอน แต่ขอดูโครงการให้ครบถ้วนเสียก่อน หากเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนที่ดีตามสมควร การผ่อนปรนดอกเบี้ยก็จะทำในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเป็นโครงการที่มีผลตอบแทนที่ดีมาก แต่ว่าผลตอบแทนระยะสั้น ผลตอบแทนระกลางไม่ดีนัก รัฐบาลก็จะต้องช่วยเหลือในการตั้งงบประมาณมาดูแลดอกเบี้ยส่วนนี้ให้มากขึ้น แต่จะขอดูเนื้อโครงการและจะสรุปโครงการใน ในการระชุมครั้งหน้าในช่วงเดือนต.ค.ต่อไป
**ม็อบยางให้เวลานายกฯ7วันรีบไปเจรจา
นายทศพล ขวัญรอด ผู้ประสานงานกลุ่มเกษตรกรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่ยังคงชุมนุมที่ บริเวณแยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า หลังจากที่มีการหารือกับภาคีเครือข่ายชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ที่ ต.ห้วยปริก อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ได้ข้อสรุปว่า จะมีการออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ถึงข้อสรุปในการเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางต่อไป โดยยังยืนยันในข้อเสนอ 6 ข้อ ที่เคยออกแถลงการณ์ไปแล้ว แต่ครั้งนี้ จะมีการกำหนดขีดเส้นตายให้รัฐบาลภายใน 7 วัน ที่ต้องส่งตัวแทนมาเจรจากับทางกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ถ้ารัฐบาลยังคงเพิกเฉย จะมีการยกระดับการชุมนุมรุนแรงพร้อมกันทั้ง 16 จังหวัดภาคใต้แน่นอน แต่รูปแบบและวีธีการยังไม่สามารถบอกได้ ว่าจะดำเนินการยกระดับในลักษณะใด
ทั้งนี้ ใน 6 ข้อเสนอ ของชาวสวนยาง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม และตัวแทนของรัฐบาลที่จะไปเจรจา ต้องเป็นนายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายอำนาจเต็มเท่านั้น
** สปท.ลงพื้นที่ถกปัญหาชาวสวนยาง
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานกลุ่มกรีน ในฐานะคณะทำงานสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย ( สปท.) กล่าวว่าวันนี้ (26ก.ย.) ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 น. ตนและคณะทำงานสภาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย 10 กว่าคน จะไปพบปะชาวสวนยาง ที่ยังชุมนุมกันอยู่ที่ ควนหนองหงษ์ จ.นครศรีธรรมราช โดยจะไปรับฟังข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาราคายางของผู้ชุมนุม
จากนั้นในช่วงบ่าย จะมีการจัดงานที่ ร.ร.ทักษิณ โดยทางสภาประชาชนฯได้เชิญชาวสวนยางจาก 16 จังหวัดกว่า 200 คน มาร่วมเสวนาพูดคุยเพื่อระดมความเห็นในการแก้ปัญหาชาวสวนยางทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
การลงพื้นที่พบปะประชาชนที่เดือดร้อนครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำงานของ สปท. ที่ต้องการสะท้อนปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชนให้สังคมวงกว้างได้รับรู้ และนำไปสู่การผลักดันการแก้ปัญหาระยะยาว และยั่งยืน เพราะที่ผ่านมา ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านหลายกลุ่ม หลายปัญหา หลายครั้ง มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยฝ่ายรัฐ ทำให้ปัญหาความเดือดร้อนไม่ได้รับการแก้ไขที่ต้นเหตุ
นอกจากนี้ สปท. ยังมีแผนเดินสายพบปะประชาชนกลุ่มปัญหาต่างๆ ทั่วประเทศ โดยพื้นที่ต่อไปที่อยู่ระหว่างหารือกันคือ พื้นที่ที่จะมีการสร้างเขื่อนแม่วงศ์ รวมทั้งพื้นที่ที่อยู่ในแผนบริหารจัดการน้ำ หรือโครงการขนาดใหญ่ของรัฐต่างๆ เช่น แผนจัดทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง การเวนคืนที่ดิน และการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น เพราะการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนเป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศ สังคมจึงต้องมีส่วนร่วมและรู้เท่าทันนโยบายและโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ
-----------