เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทจะสร้างโอกาสหรือวิบัติให้กับประเทศได้อย่างไร?
รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังจะนำ “นรก” จากการผ่านกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมาให้ประชาชนชาวไทยทุกคนเป็นผู้ใช้หนี้
เหตุผลความจำเป็นในการขอกู้เงินจำนวนมหาศาลนี้ก็คือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยการทำให้ต้นทุนค่าขนส่งถูกลง ส่วนเหตุผลลำดับรองลงไปก็คือต้องการความต่อเนื่องในการลงทุน ดังนั้นจึงต้องขอ “เซ็นเช็คเปล่า” จากประชาชนกู้รวดเดียวทั้งก้อน 2 ล้านล้านบาทโดยไม่บอกว่าจะไปทำอะไร? เมื่อไร? และอย่างไร?
ประเด็นที่ประชาชนผู้ที่จะต้องใช้หนี้ดังกล่าวสมควรจะต้องรู้ก็คือ การกู้เงินดังกล่าวสามารถบรรลุถึงการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศได้จริงหรือไม่และจำเป็นต้องกู้ด้วยวิธีพิเศษหรือมีวิธีบริหารจัดการเงินกู้อื่นๆ อันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
วิธีที่จะตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นได้ดีที่สุดก็คือดูจากประสบการณ์ของประเทศอื่น การสร้างชาติญี่ปุ่นเกิดจากการสร้างคนให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น หาได้ขึ้นอยู่กับทุนหรือแรงงานแต่เพียงลำพังไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นหลังสงครามจะฟื้นคืนเศรษฐกิจกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วโดยใช้เวลาเพียง 2 ทศวรรษได้อย่างไร
การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปน่าจะสะท้อนให้เห็นอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับขีดความสามารถในการแข่งขันว่าจะมาได้ด้วยวิธีใด
หากไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไปนักก็ต้องบอกว่าญี่ปุ่นที่ผ่านมามีประสบการณ์เหนือกว่าไทยมากในการสร้างผู้เล่นที่มีขีดความสามารถสูง
โรงเรียนและการศึกษาเป็นแหล่งผลิตผู้เล่นที่มีความสามารถดังกล่าว คิมูระ ซาโอริ (29 ปี) หรือ ยามะชิตะ ฮารุกะ (19 ปี) เป็นตัวอย่างที่ดีว่าความสามารถในการแข่งขันมิได้ถูกสร้างได้แค่ชั่วข้ามคืนหรือเพียง 49 วันก็สามารถสร้างประสบการณ์ให้เพียงพอที่จะเป็นนายกฯ ได้แล้วแต่อย่างใด
ซาโอริเริ่มต้นเล่นวอลเลย์บอลมาตั้งแต่โรงเรียนประถมจนมามีชื่อเสียงเอาตอนอยู่โรงเรียนมัธยมปลายชิโมะคิตะซะว่า เซโทคุ 5 สถานีไฟจากชิบุยะใจกลางโตเกียวที่มีชื่อเสียงด้านวอลเลย์บอลขณะอยู่ปี 2 (ม. 5) เมื่อได้รับคัดเลือกเป็นผู้เล่นทีมชาติในปี ค.ศ. 2003 และได้เป็นผู้เล่นตัวจริง 6 คนแรกเมื่อไปแข่งโอลิมปิกปี ค.ศ. 2004 พบกับอิตาลีโดยทำแต้มได้ถึง 14 คะแนน
“ซูเปอร์ ม.ปลาย” หรือ “ซาโอริ-อนาคตไม่มีวันหมด” จึงเป็นฉายาที่มิได้ได้มาโดยบังเอิญแต่ประการใด link ดูประสบการณ์ความสำเร็จของเธอในวัยละอ่อนได้ที่ www.youtube.com/watch?v=oQKGZYxZA1k หรือ www.youtube.com/watch?v=NJ18AYhiV2M
การติดทีมชาติเป็นตัวจริงกว่า 10 ปีติดต่อกันจึงมิได้มาเพราะ “พี่ช่วย” และเป็น idol ที่ดีจากรุ่นน้องของอารากิ เอริกะ (ทั้งจากโรงเรียนมัธยมชิโมะคิตะซะว่า เซโทคุ ทีมโทเร และทีมชาติ) จนกลายมาเป็นรุ่นพี่ที่กำลังจะต้องส่งภาระให้รุ่นน้องเช่นฮารุกะได้เจริญรอยตาม
คำตอบจึงอยู่ที่การศึกษาที่เป็นแหล่งที่มาของ “ทุนมนุษย์” ที่ใช้บ่มเพาะเพิ่มขีดความสามารถในตัวคนไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬาหรืออื่นๆ เป็นสำคัญ มิใช่ “ทุน” ที่เป็นวัตถุหรือเงินที่ในปัจจุบันญี่ปุ่นสามารถมีให้ได้อย่างเหลือเฟือแต่เพียงลำพัง
แต่คำตอบจากโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของนายกฯ ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยที่ไม่มีแม้แต่บาทเดียวที่ไปลงทุนในการศึกษา สาธารณสุข หรือแม้แต่การชลประทานเพื่อทำให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการเพาะปลูกได้มากขึ้น
เงินเกือบครึ่งหนึ่งไปจมอยู่กับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับประเทศใดเลย ในขณะที่สมองในหัวคนที่นั่งรถไฟความเร็วสูง (ที่หากได้สร้าง) จึงเป็นสมองที่ไม่ได้รับการอัพเกรดให้เพิ่มขีดความสามารถแต่อย่างใด แล้วประเทศจะมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?
ส่วนโครงการอื่นๆ เกือบทั้งหมด เช่น รถไฟทางคู่และการปรับปรุงระบบรถไฟ ก็ล้วนเป็นโครงการที่มีมาก่อนและบางโครงการก็ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณไปแล้ว หากแต่ยิ่งลักษณ์กลับชะลอ/ยับยั้งไม่ทำและนำไปพ่วงติดเป็น “ตัวประกัน” ควบกับโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งๆ ที่หาก “ไม่แก้แค้น-มุ่งแก้ไข” เอาประโยชน์ประชาชนมาก่อนการเมืองตามที่อ้างปล่อยให้ทำไปเมื่อ 2 ปีก่อนตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ปัจจุบันก็เห็นหน้าเห็นหลังไปแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยมีปัญหาอย่างมากในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับเสียงข้างมากและประชาธิปไตยจนกลายมาเป็นเผด็จการรัฐสภา
การบริหารโครงการโดยผูกพันการลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยเอาความคิดตัวเองเป็นที่ตั้งไปอีกหลายปี ไม่รับฟังเหตุผลหรือพยายามหาแนวคิดทางเลือกอื่นที่ดีกว่า และไม่ยินยอมให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ “ตัวจริง” มิใช่ “ตัวแทน” ที่จะไปยกเลิก/เปลี่ยนแปลงในอนาคต ผูกขาดความถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว หากจะไม่เรียกว่าเผด็จการรัฐสภาแล้วจะให้เรียกว่าอะไร
อย่าลืมว่าโครงการลงทุนที่ประกอบเป็นเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้นในกฎหมายที่ขอกู้ไม่ได้ระบุชื่อโครงการ ไม่ได้มีการทำการวิเคราะห์ประเมินโครงการที่จะชี้ว่าจะได้รับผลประโยชน์คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไปหรือไม่
ตัวอย่างที่ดีที่ยังมีพรรคฝ่ายค้านอภิปรายให้ประชาชนได้รับทราบก็คือ รถไฟความเร็วสูงมีโอกาสสูงพอๆ กับความ “เร็ว” และความ “เลว” ที่จะไม่คุ้มทุน จะหาคนโดยสาร 4 หมื่นคนต่อวันตามสมมติฐานในการประมาณการรายได้เพื่อให้คุ้มทุนมาได้อย่างไร ในเมื่อผู้โดยสารเครื่องบินที่เป็นคู่แข่งขันซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงในจังหวัดทั่วทั้งอีสานยังมีแค่หลักพันคนต่อวัน
นี่คือสิ่งสำคัญที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์หลีกเลี่ยงไม่แจ้งต่อประชาชน เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่นำไปลงทุนในปัจจุบันจะสามารถสร้างรายได้นำมาคืนเงินลงทุนที่กู้ยืมมาได้หรือไม่ ความคุ้มทุนในด้านการเงิน หรือ financial returns จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า ความคุ้มทุนด้านเศรษฐกิจ หรือ economic returns
อย่าสับสนกับคำ “แถ” ของยิ่งลักษณ์ว่าให้คำนึงถึงประโยชน์ทางอ้อมที่จะมีมากกว่า ประโยชน์ทางตรงยังมีไม่พอคุ้มทุนแล้วจะอ้างประโยชน์ทางอ้อมได้อย่างไร มันเกิดจากโครงการนี้หรืออย่างไร หน้าไม่อายบ้างหรือ?
หากขาดทุนจนมีรายได้ไม่พอเพียง คืนเงินกู้ไม่ได้ หนี้ก้อนนี้ก็จะต้องคืนหนี้ด้วยหนี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องคืนเงินกู้ด้วยการกู้มาคืน หนี้ก้อนนี้มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีทางชำระคืนไปอีกนานมากกว่า 50 ปีอย่างแน่นอน
ขณะที่ประสิทธิภาพในการใช้เงินก็มีอย่างจำกัด มีโอกาสสูงที่จะไม่สามารถใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทให้หมดได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ดูตัวอย่างการเบิกจ่ายเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทที่บอกว่าเร่งด่วนจนต้องออกเป็นพ.ร.ก.ก็ได้ว่ามีขีดความสามารถในการใช้อย่างไร
มิพักจะกล่าวถึงว่า มีความเข้าใจผิดว่าเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทที่ได้ไปนั้นเพื่อการชลประทานสำหรับเกษตรกร แต่แท้จริงแล้วเป็นไปเฉพาะเพื่อแก้ไขน้ำท่วมที่บัดนี้ก็ยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์เองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ตามที่ศาลวินิจฉัยเอาไว้ หาใช่ศาลมาขวางแต่อย่างใดไม่
หากเกษตรกรไม่มีน้ำ ขีดความสามารถในการผลิตก็ต้องพึ่งพาเทวดาเท่านั้นที่จะเอาน้ำมาให้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะมีนโยบายจำนำข้าวหรือไม่ก็ไม่ได้แก้ไขให้เกษตรกรหายจนแต่อย่างใดเพราะไม่มีผลผลิตมาขาย
“นรก” ของชนชั้นกลางล่างและคนอื่นๆ ทุกคนจึงมาเยือนแล้วอย่างแน่นอนหากกฎหมายนี้สามารถผ่านศาลรัฐธรรมนูญไปได้
รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังจะนำ “นรก” จากการผ่านกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมาให้ประชาชนชาวไทยทุกคนเป็นผู้ใช้หนี้
เหตุผลความจำเป็นในการขอกู้เงินจำนวนมหาศาลนี้ก็คือ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยการทำให้ต้นทุนค่าขนส่งถูกลง ส่วนเหตุผลลำดับรองลงไปก็คือต้องการความต่อเนื่องในการลงทุน ดังนั้นจึงต้องขอ “เซ็นเช็คเปล่า” จากประชาชนกู้รวดเดียวทั้งก้อน 2 ล้านล้านบาทโดยไม่บอกว่าจะไปทำอะไร? เมื่อไร? และอย่างไร?
ประเด็นที่ประชาชนผู้ที่จะต้องใช้หนี้ดังกล่าวสมควรจะต้องรู้ก็คือ การกู้เงินดังกล่าวสามารถบรรลุถึงการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศได้จริงหรือไม่และจำเป็นต้องกู้ด้วยวิธีพิเศษหรือมีวิธีบริหารจัดการเงินกู้อื่นๆ อันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
วิธีที่จะตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นได้ดีที่สุดก็คือดูจากประสบการณ์ของประเทศอื่น การสร้างชาติญี่ปุ่นเกิดจากการสร้างคนให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น หาได้ขึ้นอยู่กับทุนหรือแรงงานแต่เพียงลำพังไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นหลังสงครามจะฟื้นคืนเศรษฐกิจกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วโดยใช้เวลาเพียง 2 ทศวรรษได้อย่างไร
การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชียที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปน่าจะสะท้อนให้เห็นอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับขีดความสามารถในการแข่งขันว่าจะมาได้ด้วยวิธีใด
หากไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไปนักก็ต้องบอกว่าญี่ปุ่นที่ผ่านมามีประสบการณ์เหนือกว่าไทยมากในการสร้างผู้เล่นที่มีขีดความสามารถสูง
โรงเรียนและการศึกษาเป็นแหล่งผลิตผู้เล่นที่มีความสามารถดังกล่าว คิมูระ ซาโอริ (29 ปี) หรือ ยามะชิตะ ฮารุกะ (19 ปี) เป็นตัวอย่างที่ดีว่าความสามารถในการแข่งขันมิได้ถูกสร้างได้แค่ชั่วข้ามคืนหรือเพียง 49 วันก็สามารถสร้างประสบการณ์ให้เพียงพอที่จะเป็นนายกฯ ได้แล้วแต่อย่างใด
ซาโอริเริ่มต้นเล่นวอลเลย์บอลมาตั้งแต่โรงเรียนประถมจนมามีชื่อเสียงเอาตอนอยู่โรงเรียนมัธยมปลายชิโมะคิตะซะว่า เซโทคุ 5 สถานีไฟจากชิบุยะใจกลางโตเกียวที่มีชื่อเสียงด้านวอลเลย์บอลขณะอยู่ปี 2 (ม. 5) เมื่อได้รับคัดเลือกเป็นผู้เล่นทีมชาติในปี ค.ศ. 2003 และได้เป็นผู้เล่นตัวจริง 6 คนแรกเมื่อไปแข่งโอลิมปิกปี ค.ศ. 2004 พบกับอิตาลีโดยทำแต้มได้ถึง 14 คะแนน
“ซูเปอร์ ม.ปลาย” หรือ “ซาโอริ-อนาคตไม่มีวันหมด” จึงเป็นฉายาที่มิได้ได้มาโดยบังเอิญแต่ประการใด link ดูประสบการณ์ความสำเร็จของเธอในวัยละอ่อนได้ที่ www.youtube.com/watch?v=oQKGZYxZA1k หรือ www.youtube.com/watch?v=NJ18AYhiV2M
การติดทีมชาติเป็นตัวจริงกว่า 10 ปีติดต่อกันจึงมิได้มาเพราะ “พี่ช่วย” และเป็น idol ที่ดีจากรุ่นน้องของอารากิ เอริกะ (ทั้งจากโรงเรียนมัธยมชิโมะคิตะซะว่า เซโทคุ ทีมโทเร และทีมชาติ) จนกลายมาเป็นรุ่นพี่ที่กำลังจะต้องส่งภาระให้รุ่นน้องเช่นฮารุกะได้เจริญรอยตาม
คำตอบจึงอยู่ที่การศึกษาที่เป็นแหล่งที่มาของ “ทุนมนุษย์” ที่ใช้บ่มเพาะเพิ่มขีดความสามารถในตัวคนไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬาหรืออื่นๆ เป็นสำคัญ มิใช่ “ทุน” ที่เป็นวัตถุหรือเงินที่ในปัจจุบันญี่ปุ่นสามารถมีให้ได้อย่างเหลือเฟือแต่เพียงลำพัง
แต่คำตอบจากโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของนายกฯ ยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยที่ไม่มีแม้แต่บาทเดียวที่ไปลงทุนในการศึกษา สาธารณสุข หรือแม้แต่การชลประทานเพื่อทำให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการเพาะปลูกได้มากขึ้น
เงินเกือบครึ่งหนึ่งไปจมอยู่กับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับประเทศใดเลย ในขณะที่สมองในหัวคนที่นั่งรถไฟความเร็วสูง (ที่หากได้สร้าง) จึงเป็นสมองที่ไม่ได้รับการอัพเกรดให้เพิ่มขีดความสามารถแต่อย่างใด แล้วประเทศจะมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างไร?
ส่วนโครงการอื่นๆ เกือบทั้งหมด เช่น รถไฟทางคู่และการปรับปรุงระบบรถไฟ ก็ล้วนเป็นโครงการที่มีมาก่อนและบางโครงการก็ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณไปแล้ว หากแต่ยิ่งลักษณ์กลับชะลอ/ยับยั้งไม่ทำและนำไปพ่วงติดเป็น “ตัวประกัน” ควบกับโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งๆ ที่หาก “ไม่แก้แค้น-มุ่งแก้ไข” เอาประโยชน์ประชาชนมาก่อนการเมืองตามที่อ้างปล่อยให้ทำไปเมื่อ 2 ปีก่อนตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ปัจจุบันก็เห็นหน้าเห็นหลังไปแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยมีปัญหาอย่างมากในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับเสียงข้างมากและประชาธิปไตยจนกลายมาเป็นเผด็จการรัฐสภา
การบริหารโครงการโดยผูกพันการลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยเอาความคิดตัวเองเป็นที่ตั้งไปอีกหลายปี ไม่รับฟังเหตุผลหรือพยายามหาแนวคิดทางเลือกอื่นที่ดีกว่า และไม่ยินยอมให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ “ตัวจริง” มิใช่ “ตัวแทน” ที่จะไปยกเลิก/เปลี่ยนแปลงในอนาคต ผูกขาดความถูกต้องแต่เพียงผู้เดียว หากจะไม่เรียกว่าเผด็จการรัฐสภาแล้วจะให้เรียกว่าอะไร
อย่าลืมว่าโครงการลงทุนที่ประกอบเป็นเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนั้นในกฎหมายที่ขอกู้ไม่ได้ระบุชื่อโครงการ ไม่ได้มีการทำการวิเคราะห์ประเมินโครงการที่จะชี้ว่าจะได้รับผลประโยชน์คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไปหรือไม่
ตัวอย่างที่ดีที่ยังมีพรรคฝ่ายค้านอภิปรายให้ประชาชนได้รับทราบก็คือ รถไฟความเร็วสูงมีโอกาสสูงพอๆ กับความ “เร็ว” และความ “เลว” ที่จะไม่คุ้มทุน จะหาคนโดยสาร 4 หมื่นคนต่อวันตามสมมติฐานในการประมาณการรายได้เพื่อให้คุ้มทุนมาได้อย่างไร ในเมื่อผู้โดยสารเครื่องบินที่เป็นคู่แข่งขันซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงในจังหวัดทั่วทั้งอีสานยังมีแค่หลักพันคนต่อวัน
นี่คือสิ่งสำคัญที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์หลีกเลี่ยงไม่แจ้งต่อประชาชน เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่นำไปลงทุนในปัจจุบันจะสามารถสร้างรายได้นำมาคืนเงินลงทุนที่กู้ยืมมาได้หรือไม่ ความคุ้มทุนในด้านการเงิน หรือ financial returns จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า ความคุ้มทุนด้านเศรษฐกิจ หรือ economic returns
อย่าสับสนกับคำ “แถ” ของยิ่งลักษณ์ว่าให้คำนึงถึงประโยชน์ทางอ้อมที่จะมีมากกว่า ประโยชน์ทางตรงยังมีไม่พอคุ้มทุนแล้วจะอ้างประโยชน์ทางอ้อมได้อย่างไร มันเกิดจากโครงการนี้หรืออย่างไร หน้าไม่อายบ้างหรือ?
หากขาดทุนจนมีรายได้ไม่พอเพียง คืนเงินกู้ไม่ได้ หนี้ก้อนนี้ก็จะต้องคืนหนี้ด้วยหนี้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องคืนเงินกู้ด้วยการกู้มาคืน หนี้ก้อนนี้มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีทางชำระคืนไปอีกนานมากกว่า 50 ปีอย่างแน่นอน
ขณะที่ประสิทธิภาพในการใช้เงินก็มีอย่างจำกัด มีโอกาสสูงที่จะไม่สามารถใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทให้หมดได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ดูตัวอย่างการเบิกจ่ายเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทที่บอกว่าเร่งด่วนจนต้องออกเป็นพ.ร.ก.ก็ได้ว่ามีขีดความสามารถในการใช้อย่างไร
มิพักจะกล่าวถึงว่า มีความเข้าใจผิดว่าเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทที่ได้ไปนั้นเพื่อการชลประทานสำหรับเกษตรกร แต่แท้จริงแล้วเป็นไปเฉพาะเพื่อแก้ไขน้ำท่วมที่บัดนี้ก็ยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์เองที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ตามที่ศาลวินิจฉัยเอาไว้ หาใช่ศาลมาขวางแต่อย่างใดไม่
หากเกษตรกรไม่มีน้ำ ขีดความสามารถในการผลิตก็ต้องพึ่งพาเทวดาเท่านั้นที่จะเอาน้ำมาให้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะมีนโยบายจำนำข้าวหรือไม่ก็ไม่ได้แก้ไขให้เกษตรกรหายจนแต่อย่างใดเพราะไม่มีผลผลิตมาขาย
“นรก” ของชนชั้นกลางล่างและคนอื่นๆ ทุกคนจึงมาเยือนแล้วอย่างแน่นอนหากกฎหมายนี้สามารถผ่านศาลรัฐธรรมนูญไปได้