โดย ดร.สุวินัย ภรณวลัย
www.dragon-press.com
*จาก “กิริยา” สู่ตันตระ (ต่อ)*
(50) “มาตรแม้นประหวัดถึงการร่วมรัก ได้ไร้การตระกองกอดคือการแปรเปลี่ยนสภาวะ”
ขยายความ วิธีนี้ใช้การหวนรำลึกถึงประสบการณ์ในการร่วมรักแบบตันตระ โดยไม่จำเป็นต้องมีคู่พิศวาส แล้วหยั่งชำแรกเข้าสู่มันไปเลยโดยการหลับตาลง ล่วงรู้ถึงชั่วขณะที่ตัวเองไร้ตัวตน มีเพียงพลังอันไหวสะท้าน ซึ่งกลายเป็นหนึ่งเดียว มีเพียงตัวเองเท่านั้นที่ดำรงอยู่เพียงแค่ระลึกถึงมันไว้ราวกับว่าตัวเองกำลังอยู่ร่วมกับคู่พิศวาสของตน ปล่อยมันอยู่กับความสั่นสะท้านและไหวเร่าอยู่เช่นนั้น จากนั้นให้ขยับเคลื่อนตัวเสมือนว่าตัวเองกำลังเข้าสู่ห้วงเล้าโลมจริงๆ วิธีนี้เหมาะกับสตรีเพศ ในยามนั้นเอกภาพทั้งมวลย่อมกลับกลายเป็นบุรุษ ตัวเองกำลังอยู่ในห้วงปฏิสังสรรค์อย่างลึกล้ำกับการดำรงอยู่เอง ตัวเองเพียงกำลังร่วมรักกับการดำรงอยู่ เมื่อการดำรงอยู่ทั้งมวลล้วนกลับกลายเป็นคู่รัก เป็นยอดเสน่หาของตน เมื่อนั้นอุบายวิธีนี้ย่อมนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และตัวเองยังสามารถคงอยู่ในห้วงปฏิสังสรรค์กับการดำรงอยู่ได้สืบไป ไม่ว่าตัวเองจะทำกิจกรรมอะไรในแต่ละวัน
ตันตระเชื่อว่า เรื่องเพศคือพันธนาการอันลึกล้ำที่สุดแต่ก็สามารถใช้เป็นพาหนะไปสู่อิสรภาพอันสูงสุดได้ โดยการหยั่งล่วงสู่ห้วงแห่งการร่วมรักอย่างเต็มที่ ลืมตัวเอง ลืมศาสนา ลืมวัฒนธรรม ลืมค่านิยม ลืมทุกสิ่งให้หมดสิ้น เพียงหยั่งล่วงสู่การร่วมรัก หยั่งล่วงไปในนั้นอย่างบริบูรณ์ กลับกลายเป็นสภาพปลอดความคิดล้วนๆ ได้ นี่คือสิ่งที่ตันตระเรียกว่า “การแปรเปลี่ยนสภาวะ”
ตันตระคือการยอมรับอันลุ่มลึกบริบูรณ์ต่อชีวิต ไม่ละทิ้งสิ่งใด ไม่ต่อต้านสิ่งใด และไม่สร้างข้อขัดแย้งใดๆ ขึ้นมา หากทำได้เช่นนี้การร่วมรักแบบตันตระย่อมกลายเป็นการภาวนาได้
(51) “ในห้วงปีติยามได้พบมิตรผู้ห่างหายไปนาน จงซึมซ่านเข้าสู่ปีติภาวะนี้”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้เราสำรวมใจอยู่ที่ความปีติดังกล่าวที่ผุดขึ้นในดวงใจของเราอย่างฉับพลันยามได้เจอะหน้ามิตรสหาย ให้รู้สึกและกลับกลายเป็นความปีตินี้ จงเสวนากับมิตรสหายขณะที่ยังคงความตระหนักรู้ และถั่งท้นด้วยความปีตินั้น สิ่งนี้ยังสามารถทำได้ในสถานการณ์อื่นๆ อีกมากมาย ยามใดที่เกิดปีติขึ้นมา จงลืมสิ่งที่ทำให้ปีตินั้นให้มันคงอยู่ที่ขอบนอก แต่จงตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในความรู้สึกของพลังแห่งปีติที่ผุดขึ้นของตัวเองชั่วพริบตาที่ตัวเองเพ่ง “ดูจิต” ที่เกิดความปีตินั้น มันจะค่อยๆ แผ่ลามออกไปเป็นภาวะทั้งมวลของตัวเอง จงผนวกรวมเข้ากับมัน อย่าลืมว่าความปีติคงอยู่ภายในตัวเราเสมอ มิตรสหายเป็นเพียงสภาพการณ์ที่ทำให้มันเผยตัวออกมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจงหมั่นเพ่งไปในความรู้สึกด้านในอย่างไม่ลดละ ช่วงใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในตัวเอง ให้กลายเป็นความตระหนักรู้ล้วนๆ
(52) “ในขณะดื่มกินนั้น จงกลับกลายเป็นรสชาติแห่งอาหารหรือเครื่องดื่ม และบรรลุถึงความเต็มเปี่ยม”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้เรากิน และดื่มอย่างมีสติ ด้วยการค่อยๆ กินหรือดื่มอย่างช้าๆ ลิ้มลองรสชาติไปโดยไม่เร่งร้อน และกลับกลายเป็นรสชาตินั้น กล่าวคือ แทนที่จะพยายามบังคับขืนใจตนเองให้ดื่มกินอย่างไม่ติดในรสชาติ ตันตระกลับแนะให้ลิ้มรสให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีสัมผัสที่เฉียบไว มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น กระทั่งตัวเองกลายเป็นรสชาตินั้น เพราะเมื่อตัวเองมีสัมผัสเฉียบไวขึ้น ตัวเราจะยิ่งคึกคักกระฉับกระเฉง และพลังชีวิตที่มากกว่าเดิมจะชำแรกแทรกซอนสู่ภาวะด้านในของตัวเอง ทำให้เรามีลักษณะเปิดรับยิ่งขึ้น เต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น ความเปิดรับ ความมีชีวิตชีวา และความเต็มเปี่ยมนี้แหละที่จะทำให้เราไม่พรั่นต่อความตายได้
(53) “โอ้ ปทุมเนตรผู้เปี่ยมมธุรส ในยามขับขานยลมอง ลิ้มรส จงตระหนักรู้ว่าเธอเป็นอยู่แลประสบซึ่งนิรันตชีพ”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้เราตระหนักรู้หรือรู้สึกตัวหรือรำลึกตนเองได้ ระหว่างกระทำสิ่งใดอยู่ ไม่ว่าขับขาน ยลมอง ลิ้มรส ฯลฯ ตันตระบอกว่า จงตระหนักรู้ว่าเธอเป็นอยู่ ณ ห้วงยามนั้น และสัมผัสกระแสแห่งพลังชีวิตอันเป็นนิรันตชีพในตัวเองให้จงได้ นี่คืออุบายวิธีในการหมั่นเจริญสติ หรือหมั่นรู้สึกตัวให้บ่อยๆ ของตันตระ อันที่จริง การรำลึกรู้ตัวเองไม่ว่ากำลังกระทำสิ่งใดอยู่เป็นเรื่องที่ยากเย็นยิ่ง เพราะเราจะรู้สึกตัวหรือรำลึกรู้ตัวเองได้แค่ช่วงสั้นเพียงสามสี่วินาที แล้วเราก็จะหลงลืมตนเข้าไปสู่ในโลกของความคิดอีกโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากกระบวนการทางจิตใจมันเป็นเช่นนี้ ในการรำลึกรู้ตนเองอย่างแท้จริงนั้น จะปลอดซึ่งความนึกคิดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมันจะเกิดขึ้นได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่เราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ ถ้าจิตของเราก็สามารถจดจำสภาวะนั้นได้
หากเราสามารถแลเห็นประกายแห่งภาวะความรู้สึกตัว หรือความรำลึกรู้ตัวเองได้แม้ในพริบตาเดียว นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับจุดเริ่มต้นแล้วเหตุไฉนจึงเพียงพอเล่า เพราะเราจะไม่มีวันได้รับสองขณะพร้อมกันในเวลาเดียวได้ มีขณะเดียวเท่านั้นที่คงอยู่กับเราเสมอ เราย่อมคงอยู่ในนั้นได้ สิ่งที่เราต้องมีคือ ความพากเพียรพยายามอันต่อเนื่องที่จะหมั่นรู้สึกตัวให้บ่อยๆ เท่านั้น เพราะหากเราสามารถตระหนักรู้ถึงขณะเดียวแล้ว เราย่อมตระหนักรู้ได้ชั่วชีวิตของเราเลยทีเดียว วิธีฝึกอันนี้มีข้อดีตรงที่สามารถทำได้ตลอดวัน โดยไม่ต้องไปหาเวลาพิเศษเฉพาะเพื่อมาฝึกแต่อย่างใดเลย แค่ตัวเราผ่อนคลายลืมเลือนทุกสิ่งเสีย อยู่กับภาวะอันเรียบง่ายที่เราเป็นอยู่ ไม่ต้องกล่าวหรือพากษ์กับตนเองว่า เราเป็นใคร เป็นนั่นเป็นนี่ จงลืมทุกสิ่งให้สิ้นแค่มีเพียงตัวเราเป็นอยู่ล้วนๆ แค่รู้สึกถึงมันเท่านั้น
เธอในฐานะชาวพุทธ ชาวอิสลาม ชาวฮินดู ชาวคริสต์จะต้องวางวาย เธอในฐานะนักอุดมการณ์ นักอเทวนิยม นักเทวนิยมจะต้องล่วงลับ เธอในฐานะนามและรูปจะต้องดับสลาย แต่ทว่าภาวะการดำรงอยู่ในตัวเธอไม่มีวันดับสลาย ทันทีที่รูปและนามทั้งหลายถูกลืมเลือน ทันทีที่เธอมุ่งมองภายในสู่ภาวะไร้นามและไร้รูป เธอก็ได้เคลื่อนคล้อยสู่อมตภาวะแล้วเป็นที่เรียบร้อย จงลองปฏิบัติดูเถิด นี่คือวิธีเจริญสติอันเป็นเลิศ หากเธอยืนหยัดแน่วแน่อยู่กับอุบายวิธีนี้ มันจะสามารถหยิบยื่นประกายภาวะแห่งความเป็นจริงให้แก่เธอ และความเป็นจริงนั้นจะสถิตอยู่ชั่วกาลนาน
(54) “ณ แห่งใดที่ได้ประสบซึ่งความพึงใจในการกระทำใดก็ตาม พึงประจักษ์แจ้งในสิ่งนี้”
ขยายความ วิธีนี้แนะนำให้ตัวเรามีท่าทีหรือทัศนคติในเชิงบวกต่อตัวเอง ต่อชีวิต และต่อทุกสิ่ง เพราะจิตมนุษย์ที่เป็นปุถุชนนั้น มักรู้สึกถึงความขุ่นข้อง ความไม่สบอารมณ์มากกว่าความพึงใจ ผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบมากกว่าแง่บวก ด้วยเหตุนี้ ชีวิตจึงกลับกลายเป็นขุมนรก สำหรับพวกเขาผู้คนส่วนใหญ่หาได้ตระหนักว่า สุขและทุกข์คือการตีความของพวกเขาเองคือ ทัศนคติคือท่าทีคือวิธีที่เฝ้ามองโลก คือ จิตของพวกเขาเอง และคือวิธีที่มันไปยึดถือเข้าใจต่อสิ่งนั้น วิธีนี้จึงแนะให้เราหมั่นรำลึกรู้ และพินิจชีวิตของเราเองในเชิงบวกอยู่เสมอซึ่งกลับตาลปัตรกับสภาพจิตใจปกติของปุถุชน และกระบวนการของมันโดยสิ้นเชิง ณ แห่งใดที่เธอได้ประสบซึ่งความพึงพอใจในการกระทำใดก็ตาม ตันตระบอกว่า พึงประจักษ์แจ้งในสิ่งนี้ จงรู้สึกถึงมันกลับกลายเป็นหนึ่งเดียวกับมัน เพราะความพึงใจนั้นสามารถกลายเป็นประกายภาวะของการดำรงอยู่ในแง่บวกอันสูงล้ำกว่าเดิมได้
ตันตระบอกว่า ทุกสิ่งทุกเรื่องราวเป็นเพียงบานหน้าต่างเท่านั้น หากเราไปติดยึดกับความปวดร้าว เราก็กำลังเฝ้ามองโลกจากช่องหน้าต่างแห่งความปวดร้าว แต่หากเราเป็นหนึ่งเดียวกับชั่วขณะแห่งความพึงใจ ชั่วขณะแห่งความสุขสราญ ชั่วขณะแห่งความปีติแล้ว เรากำลังเปิดหน้าต่างอีกบานหนึ่งแทน จงอย่าลืมว่า การดำรงอยู่นั้นเป็นเช่นเดิม ทว่าบานหน้าต่างของเรากลับแตกต่างไป
ณ จุดใดก็ตาม หากเธอพบมิตรสหายแล้วเธอรู้สึกยินดี หากเธอปะหน้าคู่รักแล้วรู้สึกแช่มชื่น พึงประจักษ์แจ้งในสิ่งนี้ จงมีความสุขในชั่วขณะนั้น และแปรความสุขนั้นให้เป็นบานหน้าต่างเมื่อนั้น เรากำลังเปลี่ยนแปลงจิตใจของเราเองกลับพลิกเป็นด้านบวก และโลกใบเดิมก็จะดูแปลกไป (ยังมีต่อ)
www.dragon-press.com
*จาก “กิริยา” สู่ตันตระ (ต่อ)*
(50) “มาตรแม้นประหวัดถึงการร่วมรัก ได้ไร้การตระกองกอดคือการแปรเปลี่ยนสภาวะ”
ขยายความ วิธีนี้ใช้การหวนรำลึกถึงประสบการณ์ในการร่วมรักแบบตันตระ โดยไม่จำเป็นต้องมีคู่พิศวาส แล้วหยั่งชำแรกเข้าสู่มันไปเลยโดยการหลับตาลง ล่วงรู้ถึงชั่วขณะที่ตัวเองไร้ตัวตน มีเพียงพลังอันไหวสะท้าน ซึ่งกลายเป็นหนึ่งเดียว มีเพียงตัวเองเท่านั้นที่ดำรงอยู่เพียงแค่ระลึกถึงมันไว้ราวกับว่าตัวเองกำลังอยู่ร่วมกับคู่พิศวาสของตน ปล่อยมันอยู่กับความสั่นสะท้านและไหวเร่าอยู่เช่นนั้น จากนั้นให้ขยับเคลื่อนตัวเสมือนว่าตัวเองกำลังเข้าสู่ห้วงเล้าโลมจริงๆ วิธีนี้เหมาะกับสตรีเพศ ในยามนั้นเอกภาพทั้งมวลย่อมกลับกลายเป็นบุรุษ ตัวเองกำลังอยู่ในห้วงปฏิสังสรรค์อย่างลึกล้ำกับการดำรงอยู่เอง ตัวเองเพียงกำลังร่วมรักกับการดำรงอยู่ เมื่อการดำรงอยู่ทั้งมวลล้วนกลับกลายเป็นคู่รัก เป็นยอดเสน่หาของตน เมื่อนั้นอุบายวิธีนี้ย่อมนำไปใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และตัวเองยังสามารถคงอยู่ในห้วงปฏิสังสรรค์กับการดำรงอยู่ได้สืบไป ไม่ว่าตัวเองจะทำกิจกรรมอะไรในแต่ละวัน
ตันตระเชื่อว่า เรื่องเพศคือพันธนาการอันลึกล้ำที่สุดแต่ก็สามารถใช้เป็นพาหนะไปสู่อิสรภาพอันสูงสุดได้ โดยการหยั่งล่วงสู่ห้วงแห่งการร่วมรักอย่างเต็มที่ ลืมตัวเอง ลืมศาสนา ลืมวัฒนธรรม ลืมค่านิยม ลืมทุกสิ่งให้หมดสิ้น เพียงหยั่งล่วงสู่การร่วมรัก หยั่งล่วงไปในนั้นอย่างบริบูรณ์ กลับกลายเป็นสภาพปลอดความคิดล้วนๆ ได้ นี่คือสิ่งที่ตันตระเรียกว่า “การแปรเปลี่ยนสภาวะ”
ตันตระคือการยอมรับอันลุ่มลึกบริบูรณ์ต่อชีวิต ไม่ละทิ้งสิ่งใด ไม่ต่อต้านสิ่งใด และไม่สร้างข้อขัดแย้งใดๆ ขึ้นมา หากทำได้เช่นนี้การร่วมรักแบบตันตระย่อมกลายเป็นการภาวนาได้
(51) “ในห้วงปีติยามได้พบมิตรผู้ห่างหายไปนาน จงซึมซ่านเข้าสู่ปีติภาวะนี้”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้เราสำรวมใจอยู่ที่ความปีติดังกล่าวที่ผุดขึ้นในดวงใจของเราอย่างฉับพลันยามได้เจอะหน้ามิตรสหาย ให้รู้สึกและกลับกลายเป็นความปีตินี้ จงเสวนากับมิตรสหายขณะที่ยังคงความตระหนักรู้ และถั่งท้นด้วยความปีตินั้น สิ่งนี้ยังสามารถทำได้ในสถานการณ์อื่นๆ อีกมากมาย ยามใดที่เกิดปีติขึ้นมา จงลืมสิ่งที่ทำให้ปีตินั้นให้มันคงอยู่ที่ขอบนอก แต่จงตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในความรู้สึกของพลังแห่งปีติที่ผุดขึ้นของตัวเองชั่วพริบตาที่ตัวเองเพ่ง “ดูจิต” ที่เกิดความปีตินั้น มันจะค่อยๆ แผ่ลามออกไปเป็นภาวะทั้งมวลของตัวเอง จงผนวกรวมเข้ากับมัน อย่าลืมว่าความปีติคงอยู่ภายในตัวเราเสมอ มิตรสหายเป็นเพียงสภาพการณ์ที่ทำให้มันเผยตัวออกมาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจงหมั่นเพ่งไปในความรู้สึกด้านในอย่างไม่ลดละ ช่วงใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้ ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในตัวเอง ให้กลายเป็นความตระหนักรู้ล้วนๆ
(52) “ในขณะดื่มกินนั้น จงกลับกลายเป็นรสชาติแห่งอาหารหรือเครื่องดื่ม และบรรลุถึงความเต็มเปี่ยม”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้เรากิน และดื่มอย่างมีสติ ด้วยการค่อยๆ กินหรือดื่มอย่างช้าๆ ลิ้มลองรสชาติไปโดยไม่เร่งร้อน และกลับกลายเป็นรสชาตินั้น กล่าวคือ แทนที่จะพยายามบังคับขืนใจตนเองให้ดื่มกินอย่างไม่ติดในรสชาติ ตันตระกลับแนะให้ลิ้มรสให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีสัมผัสที่เฉียบไว มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น กระทั่งตัวเองกลายเป็นรสชาตินั้น เพราะเมื่อตัวเองมีสัมผัสเฉียบไวขึ้น ตัวเราจะยิ่งคึกคักกระฉับกระเฉง และพลังชีวิตที่มากกว่าเดิมจะชำแรกแทรกซอนสู่ภาวะด้านในของตัวเอง ทำให้เรามีลักษณะเปิดรับยิ่งขึ้น เต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น ความเปิดรับ ความมีชีวิตชีวา และความเต็มเปี่ยมนี้แหละที่จะทำให้เราไม่พรั่นต่อความตายได้
(53) “โอ้ ปทุมเนตรผู้เปี่ยมมธุรส ในยามขับขานยลมอง ลิ้มรส จงตระหนักรู้ว่าเธอเป็นอยู่แลประสบซึ่งนิรันตชีพ”
ขยายความ วิธีนี้แนะให้เราตระหนักรู้หรือรู้สึกตัวหรือรำลึกตนเองได้ ระหว่างกระทำสิ่งใดอยู่ ไม่ว่าขับขาน ยลมอง ลิ้มรส ฯลฯ ตันตระบอกว่า จงตระหนักรู้ว่าเธอเป็นอยู่ ณ ห้วงยามนั้น และสัมผัสกระแสแห่งพลังชีวิตอันเป็นนิรันตชีพในตัวเองให้จงได้ นี่คืออุบายวิธีในการหมั่นเจริญสติ หรือหมั่นรู้สึกตัวให้บ่อยๆ ของตันตระ อันที่จริง การรำลึกรู้ตัวเองไม่ว่ากำลังกระทำสิ่งใดอยู่เป็นเรื่องที่ยากเย็นยิ่ง เพราะเราจะรู้สึกตัวหรือรำลึกรู้ตัวเองได้แค่ช่วงสั้นเพียงสามสี่วินาที แล้วเราก็จะหลงลืมตนเข้าไปสู่ในโลกของความคิดอีกโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากกระบวนการทางจิตใจมันเป็นเช่นนี้ ในการรำลึกรู้ตนเองอย่างแท้จริงนั้น จะปลอดซึ่งความนึกคิดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมันจะเกิดขึ้นได้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่เราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ ถ้าจิตของเราก็สามารถจดจำสภาวะนั้นได้
หากเราสามารถแลเห็นประกายแห่งภาวะความรู้สึกตัว หรือความรำลึกรู้ตัวเองได้แม้ในพริบตาเดียว นั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับจุดเริ่มต้นแล้วเหตุไฉนจึงเพียงพอเล่า เพราะเราจะไม่มีวันได้รับสองขณะพร้อมกันในเวลาเดียวได้ มีขณะเดียวเท่านั้นที่คงอยู่กับเราเสมอ เราย่อมคงอยู่ในนั้นได้ สิ่งที่เราต้องมีคือ ความพากเพียรพยายามอันต่อเนื่องที่จะหมั่นรู้สึกตัวให้บ่อยๆ เท่านั้น เพราะหากเราสามารถตระหนักรู้ถึงขณะเดียวแล้ว เราย่อมตระหนักรู้ได้ชั่วชีวิตของเราเลยทีเดียว วิธีฝึกอันนี้มีข้อดีตรงที่สามารถทำได้ตลอดวัน โดยไม่ต้องไปหาเวลาพิเศษเฉพาะเพื่อมาฝึกแต่อย่างใดเลย แค่ตัวเราผ่อนคลายลืมเลือนทุกสิ่งเสีย อยู่กับภาวะอันเรียบง่ายที่เราเป็นอยู่ ไม่ต้องกล่าวหรือพากษ์กับตนเองว่า เราเป็นใคร เป็นนั่นเป็นนี่ จงลืมทุกสิ่งให้สิ้นแค่มีเพียงตัวเราเป็นอยู่ล้วนๆ แค่รู้สึกถึงมันเท่านั้น
เธอในฐานะชาวพุทธ ชาวอิสลาม ชาวฮินดู ชาวคริสต์จะต้องวางวาย เธอในฐานะนักอุดมการณ์ นักอเทวนิยม นักเทวนิยมจะต้องล่วงลับ เธอในฐานะนามและรูปจะต้องดับสลาย แต่ทว่าภาวะการดำรงอยู่ในตัวเธอไม่มีวันดับสลาย ทันทีที่รูปและนามทั้งหลายถูกลืมเลือน ทันทีที่เธอมุ่งมองภายในสู่ภาวะไร้นามและไร้รูป เธอก็ได้เคลื่อนคล้อยสู่อมตภาวะแล้วเป็นที่เรียบร้อย จงลองปฏิบัติดูเถิด นี่คือวิธีเจริญสติอันเป็นเลิศ หากเธอยืนหยัดแน่วแน่อยู่กับอุบายวิธีนี้ มันจะสามารถหยิบยื่นประกายภาวะแห่งความเป็นจริงให้แก่เธอ และความเป็นจริงนั้นจะสถิตอยู่ชั่วกาลนาน
(54) “ณ แห่งใดที่ได้ประสบซึ่งความพึงใจในการกระทำใดก็ตาม พึงประจักษ์แจ้งในสิ่งนี้”
ขยายความ วิธีนี้แนะนำให้ตัวเรามีท่าทีหรือทัศนคติในเชิงบวกต่อตัวเอง ต่อชีวิต และต่อทุกสิ่ง เพราะจิตมนุษย์ที่เป็นปุถุชนนั้น มักรู้สึกถึงความขุ่นข้อง ความไม่สบอารมณ์มากกว่าความพึงใจ ผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะมองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบมากกว่าแง่บวก ด้วยเหตุนี้ ชีวิตจึงกลับกลายเป็นขุมนรก สำหรับพวกเขาผู้คนส่วนใหญ่หาได้ตระหนักว่า สุขและทุกข์คือการตีความของพวกเขาเองคือ ทัศนคติคือท่าทีคือวิธีที่เฝ้ามองโลก คือ จิตของพวกเขาเอง และคือวิธีที่มันไปยึดถือเข้าใจต่อสิ่งนั้น วิธีนี้จึงแนะให้เราหมั่นรำลึกรู้ และพินิจชีวิตของเราเองในเชิงบวกอยู่เสมอซึ่งกลับตาลปัตรกับสภาพจิตใจปกติของปุถุชน และกระบวนการของมันโดยสิ้นเชิง ณ แห่งใดที่เธอได้ประสบซึ่งความพึงพอใจในการกระทำใดก็ตาม ตันตระบอกว่า พึงประจักษ์แจ้งในสิ่งนี้ จงรู้สึกถึงมันกลับกลายเป็นหนึ่งเดียวกับมัน เพราะความพึงใจนั้นสามารถกลายเป็นประกายภาวะของการดำรงอยู่ในแง่บวกอันสูงล้ำกว่าเดิมได้
ตันตระบอกว่า ทุกสิ่งทุกเรื่องราวเป็นเพียงบานหน้าต่างเท่านั้น หากเราไปติดยึดกับความปวดร้าว เราก็กำลังเฝ้ามองโลกจากช่องหน้าต่างแห่งความปวดร้าว แต่หากเราเป็นหนึ่งเดียวกับชั่วขณะแห่งความพึงใจ ชั่วขณะแห่งความสุขสราญ ชั่วขณะแห่งความปีติแล้ว เรากำลังเปิดหน้าต่างอีกบานหนึ่งแทน จงอย่าลืมว่า การดำรงอยู่นั้นเป็นเช่นเดิม ทว่าบานหน้าต่างของเรากลับแตกต่างไป
ณ จุดใดก็ตาม หากเธอพบมิตรสหายแล้วเธอรู้สึกยินดี หากเธอปะหน้าคู่รักแล้วรู้สึกแช่มชื่น พึงประจักษ์แจ้งในสิ่งนี้ จงมีความสุขในชั่วขณะนั้น และแปรความสุขนั้นให้เป็นบานหน้าต่างเมื่อนั้น เรากำลังเปลี่ยนแปลงจิตใจของเราเองกลับพลิกเป็นด้านบวก และโลกใบเดิมก็จะดูแปลกไป (ยังมีต่อ)